นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551 เพื่อเตรียมการจัดงานเนื่องในโอกาสวันน้ำโลก ประจำปี 2551 ภายใต้หัวข้อ "การบริหารจัดการลุ่มน้ำของประเทศ" ในวันที่ 24-25 มีนาคม 2551
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551 สรุปดังนี้
ที่ประชุมรับทราบการจัดงานเนื่องในโอกาสวันน้ำโลก ประจำปี 2551 ภายใต้หัวข้อ "การบริหารจัดการลุ่มน้ำของประเทศ" ในวันที่ 24-25 มีนาคม 2551 ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยมีกิจกรรมการสัมมนาวิชาการเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำของประเทศ และการจัดนิทรรศการในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ การจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การจัดการลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ การอุปโภคบริโภคทรัพยากรน้ำอย่างถูกสุขอนามัย การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ การนำภูมิปัญญามาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ และการเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพยากรน้ำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์ภัยแล้ง และการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆ สรุปดังนี้ 1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานพื้นที่ประสบภัยแล้งจำนวน 44 จังหวัด (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 - 10 มีนาคม 2551) และได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2551 โดยกำหนดมาตรการเร่งด่วน 5 ข้อ คือ การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร การสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น การดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2) กรมทรัพยากรน้ำ ได้สรุปจังหวัดที่เสี่ยงภัยแล้งในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวน 40 จังหวัด และกำหนดมาตรการบรรเทาภัยแล้ง คือ การเตรียมความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องจักร การปรับปรุง ฟื้นฟู และซ่อมบำรุงรักษาแหล่งน้ำต่างๆ การจัดหาระบบประปาเคลื่อนที่และซ่อมระบบประปา การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน การผลิตน้ำเพื่อแจกจ่าย และแผนการบูรณาการน้ำผิวดินและน้ำบาดาล 3) กรมอุตุนิยมวิทยา ได้สรุปจังหวัดที่เสี่ยงภัยแล้งในปี พ.ศ. 2551 จำนวน 43 จังหวัด ดังนั้น ประชาชนจึงควรประหยัดการใช้น้ำและวางแผนการใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด 4) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ดำเนินการตรวจสอบและจัดเตรียมแหล่งน้ำบาดาลให้พร้อมใช้งานในช่วงฤดูแล้ง 5) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการระบายน้ำเพื่อการชลประทาน และจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้บริการแก่ราษฎรที่ประสบภัยแล้งตามเขื่อนต่างๆ รวมจำนวน 30 คัน
สำหรับการกำหนดหลักเกณฑ์และกรอบแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในรายละเอียด แล้วส่งข้อเสนอแนะให้คณะอนุกรรมการฯ เพื่อปรับปรุงในรายละเอียดต่อไป ซึ่งหลักเกณฑ์และกรอบแนวทางฯ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์เบื้องต้น 2) การกำหนดมาตรการสำหรับแก้ไขปัญหา 3) สรุปประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข โดยกำหนดโครงการนำร่อง จำนวน 6 โครงการ คือ บึงบอระเพ็ด หนองหาร กว๊านพะเยา บึงสีไฟ บึงเสนาท และลำน้ำสาขา 1 แห่ง
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เรื่องคุณสมบัติ การสรรหา การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ของกรรมการในคณะกรรมการลุ่มน้ำ และมอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณาในรายละเอียด แล้วส่งข้อเสนอแนะให้ฝ่ายเลขานุการเพื่อรวบรวมนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551 สรุปดังนี้
ที่ประชุมรับทราบการจัดงานเนื่องในโอกาสวันน้ำโลก ประจำปี 2551 ภายใต้หัวข้อ "การบริหารจัดการลุ่มน้ำของประเทศ" ในวันที่ 24-25 มีนาคม 2551 ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยมีกิจกรรมการสัมมนาวิชาการเรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำของประเทศ และการจัดนิทรรศการในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ การจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การจัดการลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ การอุปโภคบริโภคทรัพยากรน้ำอย่างถูกสุขอนามัย การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ การนำภูมิปัญญามาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ และการเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพยากรน้ำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์ภัยแล้ง และการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆ สรุปดังนี้ 1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานพื้นที่ประสบภัยแล้งจำนวน 44 จังหวัด (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 - 10 มีนาคม 2551) และได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2551 โดยกำหนดมาตรการเร่งด่วน 5 ข้อ คือ การจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร การสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น การดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2) กรมทรัพยากรน้ำ ได้สรุปจังหวัดที่เสี่ยงภัยแล้งในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวน 40 จังหวัด และกำหนดมาตรการบรรเทาภัยแล้ง คือ การเตรียมความพร้อมอุปกรณ์และเครื่องจักร การปรับปรุง ฟื้นฟู และซ่อมบำรุงรักษาแหล่งน้ำต่างๆ การจัดหาระบบประปาเคลื่อนที่และซ่อมระบบประปา การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน การผลิตน้ำเพื่อแจกจ่าย และแผนการบูรณาการน้ำผิวดินและน้ำบาดาล 3) กรมอุตุนิยมวิทยา ได้สรุปจังหวัดที่เสี่ยงภัยแล้งในปี พ.ศ. 2551 จำนวน 43 จังหวัด ดังนั้น ประชาชนจึงควรประหยัดการใช้น้ำและวางแผนการใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด 4) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ดำเนินการตรวจสอบและจัดเตรียมแหล่งน้ำบาดาลให้พร้อมใช้งานในช่วงฤดูแล้ง 5) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการระบายน้ำเพื่อการชลประทาน และจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้บริการแก่ราษฎรที่ประสบภัยแล้งตามเขื่อนต่างๆ รวมจำนวน 30 คัน
สำหรับการกำหนดหลักเกณฑ์และกรอบแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในรายละเอียด แล้วส่งข้อเสนอแนะให้คณะอนุกรรมการฯ เพื่อปรับปรุงในรายละเอียดต่อไป ซึ่งหลักเกณฑ์และกรอบแนวทางฯ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์เบื้องต้น 2) การกำหนดมาตรการสำหรับแก้ไขปัญหา 3) สรุปประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข โดยกำหนดโครงการนำร่อง จำนวน 6 โครงการ คือ บึงบอระเพ็ด หนองหาร กว๊านพะเยา บึงสีไฟ บึงเสนาท และลำน้ำสาขา 1 แห่ง
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เรื่องคุณสมบัติ การสรรหา การแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ของกรรมการในคณะกรรมการลุ่มน้ำ และมอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณาในรายละเอียด แล้วส่งข้อเสนอแนะให้ฝ่ายเลขานุการเพื่อรวบรวมนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--