นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 1 / 2551
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 1 / 2551 โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท. วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง นายประพัฒน์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังการประชุม นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการแถลงข่าว ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร สรุปสาระสำคัญว่า การพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานคร จะมีการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว โดยในส่วนของการต่อขยายรถไฟฟ้า BTS ออกไป (เส้นทางสายสีเขียว) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแจ้งว่าสามารถดำเนินการได้ไม่ยาก เพราะกทม.เป็นผู้ถือสัมปทานตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะเจรจากับกทม. เพื่อให้รัฐนำสายสีเขียวมาดำเนินการ โดยรัฐบาลจะชำระเงินที่ค้างอยู่จำนวน 89 เปอร์เซ็นต์กับต่างประเทศ และจะได้เจรจาใน 11 เปอร์เซ็นต์ที่กทม.บริหารอยู่ โดยรัฐบาลจะมาเป็นเจ้าของโครงการตามที่กระทรวงมหาดไทยได้ให้สัมปทานไว้ ซึ่งได้มีการเริ่มดำเนินการลงมือก่อสร้างมาก่อนที่รัฐบาลปัจจุบันจะเข้ามาทำหน้าที่ โดยมีการเตรียมการไว้เป็นเวลาหลายเดือนก่อนหน้าแต่ไม่ได้มีการแถลงให้ทราบ ซึ่งขณะนี้งานมีความคืบหน้าไปมากจะเริ่มมีการขายซองประกวดราคาในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียว การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเป็นผู้ดูแลให้การดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ รัฐบาลจะจ่ายเงินทั้งหมดให้กับกทม.ตามที่กทม.ได้จ่ายไปแล้ว เพื่อดำเนินการต่อขยายรถไฟฟ้า 3 ทิศ ให้เกิดประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว เพราะรถไฟฟ้า BTS ระยะทาง 24 กิโลเมตรมี 21 สถานีมาตรฐานที่มีศักยภาพสามารถจอดรถไฟฟ้าได้ถึง 6 ตู้ แต่ขณะนี้ BTS วิ่งบริการอยู่แค่ 3 ตู้ ซึ่งเมื่อจอดรถไฟฟ้าได้เพิ่มอีกเท่าตัวจะทำให้สามารถรับผู้โดยสารจากทุกทิศเข้ามากรุงเทพมหานครเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และจะช่วยลดเวลาเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนได้เร็วขึ้นอีกเท่าตัว
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนขณะนี้มีสองระบบคือรถไฟใต้ดินจากหัวลำโพง - บางซื่อระยะทาง 20 กิโลเมตร และระบบรถไฟลอยฟ้าระยะทาง 24 กิโลเมตร ศูนย์กลางอยู่ที่ปทุมวัน หมอชิต สะพานตากสิน ปลายทางอ่อนนุช ซึ่งโครงการทั้งหมดที่รัฐบาลจะดำเนินการคือเมื่อรัฐบาลได้เป็นผู้ที่สามารถต่อเติมขยายเส้นทางรถที่มีอยู่แล้วออกไปได้ จะทำให้ได้ทิศทางเพิ่มดังนี้ สายสีเขียวเข้ม จากหมอชิตออกไปทางสะพานใหม่ อนุสรณ์สถานดอนเมือง เลี้ยวไปลำลูกกาคลอง 4 ถนนดอนเมือง-ลำลูกกา ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร สายสีน้ำเงิน จากสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปถึงบางหว้า ถนนเพชรเกษม ออกไปถึงอ้อมน้อย และ สายสีเขียวอ่อน แบริ่ง - สมุทรปราการ ที่รัฐบาลจะทำต่อจากที่กทม. ดำเนินการ ให้ยาวออกไปถึงปากน้ำ บางปู ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการทำยกระดับออกไป 3 ทิศ โดยจะดำเนินการทันที นอกจากนี้ในส่วนของสายสีม่วง บางซื่อ — บางใหญ่ จะเปิดประมูลทันที และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือสายสีแดง ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะเข้ามาร่วมมือในโครงข่ายขนส่งมวลชนด้วย โดยจะมีการพัฒนารถไฟชานเมืองที่จะวิ่งจากทิศเหนือ พระนครศรีอยุธยา — บางซื่อ ทิศตะวันตก นครปฐม — บางซื่อ และทิศตะวันออก ฉะเชิงเทรา-หัวหมาก ผ่านสะพานเสาวนีย์ไปบางซื่อถึงหัวลำโพง
นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่าจะมีโครงการ open trench (ขุดคู) ที่บริเวณสะพานเสาวนีย์ซึ่งปัจจุบันใช้ไม้กั้นขณะที่รถไฟผ่าน โดยต่อไปจะถูกขุดลงไปเป็นสี่เหลี่ยมตัวยูลึก 5 เมตร เพื่อให้รถไฟลงไปวิ่งลอดใต้สะพานเสาวนีย์ สะพานยมราช ไปหัวลำโพง ซึ่ง open trench บางจุดจะเหมือนกับอยู่ใต้ดิน แต่ความจริงแล้วคือสถานี
“ ทั้งหมดนี้สุดท้ายซึ่งจะเป็นอนาคตซึ่งยังไม่ได้วางโปรแกรมกันตอนนี้ คือรถไฟใต้ดินซึ่งอยู่รอบถนนรัชดาภิเษก สองสายไขว้กันเป็นวงข้างใน และยกระดับอยู่ข้างนอกวงประมาณ 100 กิโลเมตร แปลว่าที่จะทำขณะนี้มี 4 ทิศก่อน คือทิศแรก สายสีม่วงที่ไม่เกี่ยวกับรถไฟใต้ดิน แต่วิ่งออกไปที่บางใหญ่ก่อนโดยอนาคตจะมีการขยายออกไปอีกทางทิศหนึ่ง ส่วนอีก 3 ทิศเป็นสายสีเขียว สีแดง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่าโครงการขยายระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดนี้รัฐบาลจะลงมือทำทันที โดยสายสีแดงได้เปิดประมูลแล้ว ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้าง 42 เดือน โดยโครงการทั้งหมดดังกล่าวมีมูลค่ารวม 700,000 กว่าล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังมีระบบการหาแหล่งเงินลงทุน ทั้งแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ และนอกประเทศที่ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นหรือเจบิกจะให้วงเงินกู้ทั้ง 5 โครงการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 1 / 2551 โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท. วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง นายประพัฒน์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังการประชุม นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการแถลงข่าว ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร สรุปสาระสำคัญว่า การพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานคร จะมีการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว โดยในส่วนของการต่อขยายรถไฟฟ้า BTS ออกไป (เส้นทางสายสีเขียว) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแจ้งว่าสามารถดำเนินการได้ไม่ยาก เพราะกทม.เป็นผู้ถือสัมปทานตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะเจรจากับกทม. เพื่อให้รัฐนำสายสีเขียวมาดำเนินการ โดยรัฐบาลจะชำระเงินที่ค้างอยู่จำนวน 89 เปอร์เซ็นต์กับต่างประเทศ และจะได้เจรจาใน 11 เปอร์เซ็นต์ที่กทม.บริหารอยู่ โดยรัฐบาลจะมาเป็นเจ้าของโครงการตามที่กระทรวงมหาดไทยได้ให้สัมปทานไว้ ซึ่งได้มีการเริ่มดำเนินการลงมือก่อสร้างมาก่อนที่รัฐบาลปัจจุบันจะเข้ามาทำหน้าที่ โดยมีการเตรียมการไว้เป็นเวลาหลายเดือนก่อนหน้าแต่ไม่ได้มีการแถลงให้ทราบ ซึ่งขณะนี้งานมีความคืบหน้าไปมากจะเริ่มมีการขายซองประกวดราคาในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียว การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเป็นผู้ดูแลให้การดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ รัฐบาลจะจ่ายเงินทั้งหมดให้กับกทม.ตามที่กทม.ได้จ่ายไปแล้ว เพื่อดำเนินการต่อขยายรถไฟฟ้า 3 ทิศ ให้เกิดประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว เพราะรถไฟฟ้า BTS ระยะทาง 24 กิโลเมตรมี 21 สถานีมาตรฐานที่มีศักยภาพสามารถจอดรถไฟฟ้าได้ถึง 6 ตู้ แต่ขณะนี้ BTS วิ่งบริการอยู่แค่ 3 ตู้ ซึ่งเมื่อจอดรถไฟฟ้าได้เพิ่มอีกเท่าตัวจะทำให้สามารถรับผู้โดยสารจากทุกทิศเข้ามากรุงเทพมหานครเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และจะช่วยลดเวลาเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนได้เร็วขึ้นอีกเท่าตัว
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนขณะนี้มีสองระบบคือรถไฟใต้ดินจากหัวลำโพง - บางซื่อระยะทาง 20 กิโลเมตร และระบบรถไฟลอยฟ้าระยะทาง 24 กิโลเมตร ศูนย์กลางอยู่ที่ปทุมวัน หมอชิต สะพานตากสิน ปลายทางอ่อนนุช ซึ่งโครงการทั้งหมดที่รัฐบาลจะดำเนินการคือเมื่อรัฐบาลได้เป็นผู้ที่สามารถต่อเติมขยายเส้นทางรถที่มีอยู่แล้วออกไปได้ จะทำให้ได้ทิศทางเพิ่มดังนี้ สายสีเขียวเข้ม จากหมอชิตออกไปทางสะพานใหม่ อนุสรณ์สถานดอนเมือง เลี้ยวไปลำลูกกาคลอง 4 ถนนดอนเมือง-ลำลูกกา ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร สายสีน้ำเงิน จากสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไปถึงบางหว้า ถนนเพชรเกษม ออกไปถึงอ้อมน้อย และ สายสีเขียวอ่อน แบริ่ง - สมุทรปราการ ที่รัฐบาลจะทำต่อจากที่กทม. ดำเนินการ ให้ยาวออกไปถึงปากน้ำ บางปู ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการทำยกระดับออกไป 3 ทิศ โดยจะดำเนินการทันที นอกจากนี้ในส่วนของสายสีม่วง บางซื่อ — บางใหญ่ จะเปิดประมูลทันที และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือสายสีแดง ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะเข้ามาร่วมมือในโครงข่ายขนส่งมวลชนด้วย โดยจะมีการพัฒนารถไฟชานเมืองที่จะวิ่งจากทิศเหนือ พระนครศรีอยุธยา — บางซื่อ ทิศตะวันตก นครปฐม — บางซื่อ และทิศตะวันออก ฉะเชิงเทรา-หัวหมาก ผ่านสะพานเสาวนีย์ไปบางซื่อถึงหัวลำโพง
นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่าจะมีโครงการ open trench (ขุดคู) ที่บริเวณสะพานเสาวนีย์ซึ่งปัจจุบันใช้ไม้กั้นขณะที่รถไฟผ่าน โดยต่อไปจะถูกขุดลงไปเป็นสี่เหลี่ยมตัวยูลึก 5 เมตร เพื่อให้รถไฟลงไปวิ่งลอดใต้สะพานเสาวนีย์ สะพานยมราช ไปหัวลำโพง ซึ่ง open trench บางจุดจะเหมือนกับอยู่ใต้ดิน แต่ความจริงแล้วคือสถานี
“ ทั้งหมดนี้สุดท้ายซึ่งจะเป็นอนาคตซึ่งยังไม่ได้วางโปรแกรมกันตอนนี้ คือรถไฟใต้ดินซึ่งอยู่รอบถนนรัชดาภิเษก สองสายไขว้กันเป็นวงข้างใน และยกระดับอยู่ข้างนอกวงประมาณ 100 กิโลเมตร แปลว่าที่จะทำขณะนี้มี 4 ทิศก่อน คือทิศแรก สายสีม่วงที่ไม่เกี่ยวกับรถไฟใต้ดิน แต่วิ่งออกไปที่บางใหญ่ก่อนโดยอนาคตจะมีการขยายออกไปอีกทางทิศหนึ่ง ส่วนอีก 3 ทิศเป็นสายสีเขียว สีแดง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่าโครงการขยายระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดนี้รัฐบาลจะลงมือทำทันที โดยสายสีแดงได้เปิดประมูลแล้ว ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้าง 42 เดือน โดยโครงการทั้งหมดดังกล่าวมีมูลค่ารวม 700,000 กว่าล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังมีระบบการหาแหล่งเงินลงทุน ทั้งแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ และนอกประเทศที่ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นหรือเจบิกจะให้วงเงินกู้ทั้ง 5 โครงการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--