โฆษกรัฐบาลระบุขณะนี้ประเทศกลับเข้าไปสู่ภาวะปกติมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่เข้าใจคำว่า "รัฐตำรวจ" ตามที่กลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวหา ส่วนการชุมนุมของกลุ่มต่าง ๆ นั้นทำได้แต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย
เมื่อเวลา 14.00 น. ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกล่าวหาว่ารัฐบาลเตรียมสถาปนารัฐตำรวจหลังมีการปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ว่า ฟังแล้วขำกลิ้งเลย ซึ่งปัจจุบันตนดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และพ้นจากราชการตำรวจมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ยศที่ได้ถือเป็นยศพระราชทานเอาออกจากตัวไม่ได้ และบังเอิญมีอดีตนายตำรวจมาลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส. และ ส.ว. เป็นจำนวนมาก และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน จึงถูกเลือกเข้ามาทำงานทางการเมือง แต่ทั้งหมดนี้เป็นอดีตนายตำรวจทั้งนั้น จึงไม่เข้าใจว่าคำว่า รัฐตำรวจหมายความว่าอะไร คิดว่าเป็นการเพ้อฝัน คิดอะไรไม่เป็นเรื่องเป็นราวมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มพันธมิตรฯ มองว่าการสถาปนารัฐตำรวจ เช่น การคืนตำแหน่งให้คนใกล้ชิด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกย้ายมาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ใช่ ทั้ง 4 คน ได้แก่ พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พล.ต.อ. พีรพันธุ์ เปรมภูติ และพล.ต.ท. ชลอ ชูวงษ์ เคยรับราชการตำรวจมาก่อนทั้งนั้น แต่กรณี พล.ต.อ. จุมพลฯ และพล.ต.อ. พีรพันธุ์ฯ ได้โอนย้ายมาเป็นข้าราชการพลเรือนหลายปีแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังปฏิวัติได้ 2 วัน ทั้ง 4 คน ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิม แล้วให้มาช่วยราชการอยู่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในเมื่อบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ มีรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ก็ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูว่าสิ่งที่ผ่านมามีอะไรไม่ถูกต้อง เช่น เอาคนที่มีหน้าที่ควรทำงานในที่ที่หนึ่งมาฝากไว้ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ก็ต้องส่งกลับไปที่เดิม นอกจากว่าจะพอใจอยู่ที่นี่
“ถ้าทั้ง 4 คนมีความผิดแล้วถูกย้ายมา ก็ต้องถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยมาเรียบร้อยแล้ว แต่นี่เขาย้ายมา ถ้าเป็นตำรวจอยู่ดี ๆ ย้ายมาอยู่สำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลที่แล้ว โดยไม่มีความผิด เพราะถ้า 4 คนนี้ผิดเป็นตำรวจต่อไปไม่ได้ ต้องให้มาอยู่สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง 4 คนก็ต้องถูกตั้งกรรมการสอบสวน แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้ง 4 คนนี้ควรจะอยู่ที่สำนักนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ เขาควรจะกลับต้นสังกัดของตนเอง เพราะฉะนั้น คนเป็นตำรวจเมื่อช่วงหนึ่งถูกย้ายออกนอกหน่วยแล้วมาฝากไว้ที่นี่ และไม่มีงานทำ เขาก็มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะขอกลับไปที่เดิมได้ เป็นเรื่องปกติ เพราะให้มาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ไม่มีงานทำ เขาก็กลับไปทำงานตำรวจ และจะได้ใช้วิชาความรู้ที่เขาเรียนมาเป็นตำรวจต่อไป ซึ่งเรื่องนี้คงไม่ใช่รัฐตำรวจ” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรฯ นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 28 มีนาคม ว่า ขณะนี้ประเทศเป็นประชาธิปไตย 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีตรงไหนไม่เป็นประชาธิปไตยเลย แล้วจะมาเรียกร้องประชาธิปไตยอะไรกันอีก ในช่วง 1 ปี 6 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มชนที่มีการเรียกร้องออกมาเคลื่อนไหวไปอยู่ที่ไหนกัน บางคนไปรับเงินเดือน อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ควรอยู่ จึงไม่อยากจะให้ประชาชนสับสน ถ้าไม่เชื่อลองไปดูรายชื่อในบัญชีของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะทราบว่ามีใครบ้าง ดังนั้น จึงอยากฝากประชาชนว่าบ้านเมืองกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว ที่ผ่านมา 1 ปี 6 เดือนเป็นสภาพอุบัติเหตุ ที่อะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่ขณะนี้เป็นปกติทุกอย่างแล้ว และรัฐบาลกำลังเดินหน้าแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้กลับไปอยู่สภาพเดิม ต่างประเทศได้กลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทั่วโลกก็ยอมรับว่าเราเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้ว ก็ถามว่ากลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวต้องการจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ หรือเผด็จการหรืออย่างไร วันนี้ทุกฝ่ายจึงควรแสดงความรับผิดชอบร่วมกันในฐานะคนไทย ไม่ใช่สร้างข่าว กุข่าวว่าจะมีกลียุค ต่างประเทศฟังแล้วก็ขำกลิ้ง
“บ้านเมืองมีขื่อมีแปร ถ้าจะเคลื่อนไหวชุมนุมก็สามารถทำได้ตามกฎหมาย แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ เรื่องการชุมนุมถือเป็นความคิดของแต่ละบุคคล คงจะห้ามกันไม่ได้ แต่การชุมนุมนั้นต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (เพิร์ค) รายงานว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศฟิลิปปินส์นั้น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีย้ำว่า รัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงานได้เพียง 3 สัปดาห์ และยังไม่ดำเนินการโครงการใด ๆ เลย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศชาติบอบช้ำมามากแล้ว ดังนั้น ทุกคนน่าที่จะร่วมมือกันสร้างชาติ ส่วนการตรวจสอบเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบนั้นจะต้องมีการตรวจสอบกันอย่างละเอียด จึงเชื่อว่าหากมีใครกระทำการทุจริตคอร์รัปชั่นก็เป็นเรื่องที่ปกปิดไม่ได้ และต้องถูกดำเนินคดีอย่างเฉียบขาด
นอกจากนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยุติการปฏิบัติหน้าที่ หลังถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ชี้มูลความผิดกรณีจัดซื้อเรือและรถดับเพลิง ว่า นายอภิรักษ์ฯ ยังอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ถูกร้องเพราะฉะนั้น การหยุดทำงานถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่ถ้านายอภิรักษ์ฯ ยังไม่ถูกชี้มูลและครบวาระการเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก่อน แล้วไปสมัคร ส.ส.หรือ ส.ว. หรือได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ก็ไม่ต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ แต่บังเอิญว่าได้รับการชี้มูลในขณะที่ดำรงตำแหน่งที่ถูกกล่าวหา เพราะฉะนั้น การหยุดทำงานถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ไม่ถือว่าเป็นสปิริต เป็นเรื่องปกติที่ต้องทำ เช่นเดียวกับกรรมการ ป.ป.ช. ชุดที่ถูกกล่าวหาว่ากำหนดค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 14.00 น. ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกล่าวหาว่ารัฐบาลเตรียมสถาปนารัฐตำรวจหลังมีการปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ว่า ฟังแล้วขำกลิ้งเลย ซึ่งปัจจุบันตนดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และพ้นจากราชการตำรวจมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ยศที่ได้ถือเป็นยศพระราชทานเอาออกจากตัวไม่ได้ และบังเอิญมีอดีตนายตำรวจมาลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส. และ ส.ว. เป็นจำนวนมาก และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน จึงถูกเลือกเข้ามาทำงานทางการเมือง แต่ทั้งหมดนี้เป็นอดีตนายตำรวจทั้งนั้น จึงไม่เข้าใจว่าคำว่า รัฐตำรวจหมายความว่าอะไร คิดว่าเป็นการเพ้อฝัน คิดอะไรไม่เป็นเรื่องเป็นราวมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่มพันธมิตรฯ มองว่าการสถาปนารัฐตำรวจ เช่น การคืนตำแหน่งให้คนใกล้ชิด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกย้ายมาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ใช่ ทั้ง 4 คน ได้แก่ พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พล.ต.อ. พีรพันธุ์ เปรมภูติ และพล.ต.ท. ชลอ ชูวงษ์ เคยรับราชการตำรวจมาก่อนทั้งนั้น แต่กรณี พล.ต.อ. จุมพลฯ และพล.ต.อ. พีรพันธุ์ฯ ได้โอนย้ายมาเป็นข้าราชการพลเรือนหลายปีแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังปฏิวัติได้ 2 วัน ทั้ง 4 คน ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิม แล้วให้มาช่วยราชการอยู่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในเมื่อบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ มีรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ก็ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูว่าสิ่งที่ผ่านมามีอะไรไม่ถูกต้อง เช่น เอาคนที่มีหน้าที่ควรทำงานในที่ที่หนึ่งมาฝากไว้ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ก็ต้องส่งกลับไปที่เดิม นอกจากว่าจะพอใจอยู่ที่นี่
“ถ้าทั้ง 4 คนมีความผิดแล้วถูกย้ายมา ก็ต้องถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยมาเรียบร้อยแล้ว แต่นี่เขาย้ายมา ถ้าเป็นตำรวจอยู่ดี ๆ ย้ายมาอยู่สำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลที่แล้ว โดยไม่มีความผิด เพราะถ้า 4 คนนี้ผิดเป็นตำรวจต่อไปไม่ได้ ต้องให้มาอยู่สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง 4 คนก็ต้องถูกตั้งกรรมการสอบสวน แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้ง 4 คนนี้ควรจะอยู่ที่สำนักนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ เขาควรจะกลับต้นสังกัดของตนเอง เพราะฉะนั้น คนเป็นตำรวจเมื่อช่วงหนึ่งถูกย้ายออกนอกหน่วยแล้วมาฝากไว้ที่นี่ และไม่มีงานทำ เขาก็มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะขอกลับไปที่เดิมได้ เป็นเรื่องปกติ เพราะให้มาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ไม่มีงานทำ เขาก็กลับไปทำงานตำรวจ และจะได้ใช้วิชาความรู้ที่เขาเรียนมาเป็นตำรวจต่อไป ซึ่งเรื่องนี้คงไม่ใช่รัฐตำรวจ” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรฯ นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 28 มีนาคม ว่า ขณะนี้ประเทศเป็นประชาธิปไตย 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีตรงไหนไม่เป็นประชาธิปไตยเลย แล้วจะมาเรียกร้องประชาธิปไตยอะไรกันอีก ในช่วง 1 ปี 6 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มชนที่มีการเรียกร้องออกมาเคลื่อนไหวไปอยู่ที่ไหนกัน บางคนไปรับเงินเดือน อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ควรอยู่ จึงไม่อยากจะให้ประชาชนสับสน ถ้าไม่เชื่อลองไปดูรายชื่อในบัญชีของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะทราบว่ามีใครบ้าง ดังนั้น จึงอยากฝากประชาชนว่าบ้านเมืองกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว ที่ผ่านมา 1 ปี 6 เดือนเป็นสภาพอุบัติเหตุ ที่อะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่ขณะนี้เป็นปกติทุกอย่างแล้ว และรัฐบาลกำลังเดินหน้าแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้กลับไปอยู่สภาพเดิม ต่างประเทศได้กลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทั่วโลกก็ยอมรับว่าเราเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้ว ก็ถามว่ากลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวต้องการจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ หรือเผด็จการหรืออย่างไร วันนี้ทุกฝ่ายจึงควรแสดงความรับผิดชอบร่วมกันในฐานะคนไทย ไม่ใช่สร้างข่าว กุข่าวว่าจะมีกลียุค ต่างประเทศฟังแล้วก็ขำกลิ้ง
“บ้านเมืองมีขื่อมีแปร ถ้าจะเคลื่อนไหวชุมนุมก็สามารถทำได้ตามกฎหมาย แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ เรื่องการชุมนุมถือเป็นความคิดของแต่ละบุคคล คงจะห้ามกันไม่ได้ แต่การชุมนุมนั้นต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
ส่วนกรณีที่บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (เพิร์ค) รายงานว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศฟิลิปปินส์นั้น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีย้ำว่า รัฐบาลเพิ่งเข้ามาทำงานได้เพียง 3 สัปดาห์ และยังไม่ดำเนินการโครงการใด ๆ เลย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศชาติบอบช้ำมามากแล้ว ดังนั้น ทุกคนน่าที่จะร่วมมือกันสร้างชาติ ส่วนการตรวจสอบเรื่องการทุจริตและประพฤติมิชอบนั้นจะต้องมีการตรวจสอบกันอย่างละเอียด จึงเชื่อว่าหากมีใครกระทำการทุจริตคอร์รัปชั่นก็เป็นเรื่องที่ปกปิดไม่ได้ และต้องถูกดำเนินคดีอย่างเฉียบขาด
นอกจากนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยุติการปฏิบัติหน้าที่ หลังถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ชี้มูลความผิดกรณีจัดซื้อเรือและรถดับเพลิง ว่า นายอภิรักษ์ฯ ยังอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ถูกร้องเพราะฉะนั้น การหยุดทำงานถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่ถ้านายอภิรักษ์ฯ ยังไม่ถูกชี้มูลและครบวาระการเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก่อน แล้วไปสมัคร ส.ส.หรือ ส.ว. หรือได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ก็ไม่ต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ แต่บังเอิญว่าได้รับการชี้มูลในขณะที่ดำรงตำแหน่งที่ถูกกล่าวหา เพราะฉะนั้น การหยุดทำงานถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ไม่ถือว่าเป็นสปิริต เป็นเรื่องปกติที่ต้องทำ เช่นเดียวกับกรรมการ ป.ป.ช. ชุดที่ถูกกล่าวหาว่ากำหนดค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--