รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีขอให้ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย หากเห็นว่าคำสั่งโยกย้ายไม่เป็นธรรม
วันนี้ เวลา 15.30 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณี พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี รับทราบข้อกล่าวหาจาก นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง และได้ให้สัมภาษณ์ในลักษณะพาดพิงนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ด้วยการตั้งคำถามว่า การดุด่าลูกน้องมีปัญหาหรือไม่ พร้อมยกตัวอย่างว่ามีบางคนถามผู้สื่อข่าวว่าไปเสพเมถุนกับใครมา แต่ไม่มีใครว่าอะไร ว่าคำสัมภาษณ์ของ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ เป็นที่ทราบกันว่ามีจุดมุ่งหมายจะกระทบกระทั่งต่อนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา จนอาจเกิดความเข้าใจผิดและอาจเกิดแนวทางปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องในวงราชการ ซึ่งประเด็นสำคัญหนึ่งในสามข้อของการตั้งกรรมการสอบสวน พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ คือการเกษียนหนังสือราชการถึงผู้ใต้บังคับบัญชา โดยใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม ถ้าหาก พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ เห็นว่าคำสั่งโยกย้ายดังกล่าวไม่เป็นธรรม ก็ควรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีตัวอย่างคือข้าราชการตำรวจอย่างน้อย 2 นายที่ถูกโยกย้ายโดยไม่เป็นธรรมในรัฐบาลที่ผ่านมา จึงได้ไปยื่นคำร้องที่ศาลปกครองและคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการตำรวจพิจารณาแล้วเห็นว่าคำสั่งโยกย้ายดังกล่าว ไม่เป็นธรรม จึงมีคำสั่งให้ตำรวจทั้งสองนายกลับมารับราชการในกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ซึ่งถือเป็นตัวอย่างแนวทางที่ดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ จึงควรยุติการกระทำดังกล่าว ถ้าผลสรุปการสอบสวนพบว่าพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ บริสุทธิ์ รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบต่อคำสั่งโยกย้ายดังกล่าว ดังนั้น ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งโยกย้ายโดยรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม ควรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.30 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณี พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี รับทราบข้อกล่าวหาจาก นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง และได้ให้สัมภาษณ์ในลักษณะพาดพิงนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ด้วยการตั้งคำถามว่า การดุด่าลูกน้องมีปัญหาหรือไม่ พร้อมยกตัวอย่างว่ามีบางคนถามผู้สื่อข่าวว่าไปเสพเมถุนกับใครมา แต่ไม่มีใครว่าอะไร ว่าคำสัมภาษณ์ของ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ เป็นที่ทราบกันว่ามีจุดมุ่งหมายจะกระทบกระทั่งต่อนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา จนอาจเกิดความเข้าใจผิดและอาจเกิดแนวทางปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องในวงราชการ ซึ่งประเด็นสำคัญหนึ่งในสามข้อของการตั้งกรรมการสอบสวน พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ คือการเกษียนหนังสือราชการถึงผู้ใต้บังคับบัญชา โดยใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม ถ้าหาก พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ เห็นว่าคำสั่งโยกย้ายดังกล่าวไม่เป็นธรรม ก็ควรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีตัวอย่างคือข้าราชการตำรวจอย่างน้อย 2 นายที่ถูกโยกย้ายโดยไม่เป็นธรรมในรัฐบาลที่ผ่านมา จึงได้ไปยื่นคำร้องที่ศาลปกครองและคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการตำรวจพิจารณาแล้วเห็นว่าคำสั่งโยกย้ายดังกล่าว ไม่เป็นธรรม จึงมีคำสั่งให้ตำรวจทั้งสองนายกลับมารับราชการในกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ซึ่งถือเป็นตัวอย่างแนวทางที่ดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ จึงควรยุติการกระทำดังกล่าว ถ้าผลสรุปการสอบสวนพบว่าพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ฯ บริสุทธิ์ รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบต่อคำสั่งโยกย้ายดังกล่าว ดังนั้น ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งโยกย้ายโดยรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม ควรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--