นายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพความเข้มแข็งของไทย และพร้อมรองรับการลงทุนจากสหรัฐฯ โดยการค้าการลงทุนดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันกับสมาชิกหอการค้าอเมริกา ณ โรงแรม คอนราด กรุงเทพฯ และกล่าวสุนทรพจน์ สรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้รับเชิญจากหอการค้าอเมริกา และมีโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสสำคัญเช่นนี้ ทั้งนี้ เมื่อ 175 ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1833 ไทยและสหรัฐอเมริกาได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาความร่วมมือและการค้า เพื่อสนับสนุนการสร้าง “ สันติภาพถาวร” ของสองประเทศ ความสัมพันธ์ไทย — อเมริกานั้นเป็นสิ่งมีค่า ในอนาคตรุ่นหลานจะต้องมองย้อนกลับมา ณ วันนี้ และจะต้องขอบคุณที่ทั้งสองประเทศได้ฉลองโอกาสพิเศษครั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 1833 ไทย และสหรัฐอเมริกา ได้ดำรงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นมิตร มานานนับ 175 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว การค้าเป็นส่วนสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ตามที่สนธิสัญญาความร่วมมือและการค้าได้กล่าวไว้ “การค้า” คือสะพานเชื่อมของสองประเทศ ความสัมพันธ์ที่ผูกมัดระหว่างกันไว้ เห็นได้อย่างชัดเจนในวันนี้ที่สมาชิก ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทอเมริกาและความสนใจที่ยืนยาวในประเทศไทย
การค้านั้นเป็น และคงเป็นส่วนสำคัญของความสัมพันธ์มาโดยตลอด จึงต้องขอบคุณชุมชนนักธุรกิจอเมริกัน สำหรับความเชื่อมั่น และการตัดสินเกี่ยวกับโอกาสของไทยระยะยาว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาเป็นคู่ค้าอันดับสามของไทย และเป็นหนึ่งในห้าอันดับแรกของนักลงทุนในไทย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกายังคงเดินทางมาไทยจำนวนมาก และเมื่อปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเดินทางมาไทยถึง 521,627 ราย สหรัฐฯคงเป็นหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนที่น่าเชื่อถือของไทย ทั้งนี้ แม้ว่าไทยพยายามลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯยังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ
นอกจากนี้ ต้องขอบคุณหอการค้าอเมริกาและสมาชิกสำหรับการช่วยเหลือสังคมไทย โดยเฉพาะการริเริ่มการให้ทุนการศึกษาจำนวน 175 ทุนแก่นิสิตนักศึกษาไทยในโอกาสฉลองครบรอบความสัมพันธ์ 175 ปี อีกทั้งได้ช่วยเหลือโรงเรียนทั่วประเทศ เช่น สิ่งจำเป็นในการเรียนการสอน ห้องสมุด หนังสือ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ นับเป็นการช่วยเหลือประชาชนในระดับรากหญ้า ซึงผูกมัดประชาชนไทยและอเมริกันไว้อย่างเหนียวแน่น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยว่า เมื่อปีที่ผ่านมา ท่ามกลางความไม่แน่นอน พื้นฐานเศรษฐกิจของไทยยังคงเข้มแข็ง ด้วยอัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 4.8 และในปีนี้ คาดหมายว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 4 — 6 ทั้งนี้ มีตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงน่าสนใจสำหรับธุรกิจและการลงทุนจากต่างประเทศ ธนาคารโลกได้จัดอันดับการสำรวจการดำเนินธุรกิจปี 2008 โดยจัดอันดับประเทศไทยไว้ที่อันดับที่ 15 ของประเทศที่ดำเนินธุรกิจได้สะดวกที่สุด และนิตยสาร Wall Street Journal ได้สำรวจจัดอันดับประเทศเศรษฐกิจเสรีปี 2007 โดยไทยอยู่ในอันดับที่สามของเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ บริษัท Standard and Poor ได้ออกรายงานว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในสี่ของประเทศอาเซียน ที่ได้รับผลกระทบน้อยจากการหดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและภาวะชะลอตัวของโลก ซึ่งต้องขอบคุณพื้นฐานภายในประเทศที่เข้มแข็งและการส่งออกภายในอาเซียนที่เติบโต
สิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญอันดับแรกคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมกับแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางรายได้ และ ลดการพึ่งพาการส่งออก รัฐบาลมีแผนที่จะกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของประชาชน นอกจากนี้ยังมีแผนหลักที่จะพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นต่อการลงทุน เช่น ระบบการขนส่ง พลังงาน และการสื่อสาร ขณะนี้รัฐบาลกำลังพัฒนาระบบการขนส่งมวลชน เช่น รถไฟความเร็วสูง และ โครงการรถไฟรางคู่ เป็นต้น โดยหวังว่าการลงทุนของภาครัฐในด้านสาธารณูปโภคจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและขยายการส่งออกของประเทศได้
นายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ว่า ปีนี้เป็น 'ปีแห่งการลงทุน' รัฐบาลกำลังทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท การออกมาตรการเมื่อปีที่แล้วในเรื่องเงินสำรองเงินทุนระยะสั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท ได้สร้างความโกลาหลให้กับเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามได้หลังจากที่มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ในวันที่ 3 มีนาคม 2551 ก็ได้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว
ความพยายามของรัฐบาลอีกสิ่งหนึ่งคือการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ คณะรัฐมนตรีเสนอให้ใช้มาตรการการลดหย่อนภาษี ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยลดภาระภาษีแก่คนระดับล่าง เพื่อให้คนเหล่านั้นสามารถมีกำลังจับจ่ายใช้สอย และเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง ในระยะยาวรัฐบาลจะลดภาษีรายได้นิติบุคคลเพื่อกระตุ้นการลงทุนอีกด้วย
การเริ่มต้นธุรกิจในประเทศไทยช่วยขยายโอกาสแก่นักลงทุนด้วยเหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยจะช่วยให้นักลงทุนสามารถทำธุรกิจกับประเทศคู่ค้าเอเชียได้เป็นอย่างดี ไทยสามารถทั้งเป็นได้ทั้งประตู หรือเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจแก่ชาวอเมริกันที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังเป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่ตลาดใหญ่ เช่น จีน และอินเดีย
สิ่งที่เป็นความสำคัญสูงสุดอีกอย่างหนึ่งคือ การเป็นประธาน ASEAN ในปีหน้า จะทำให้เราสามารถสร้างความเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนได้ ประชาชนเป็นตัวหลักที่ช่วยขับเคลื่อนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ ASEAN จึงเปรียบเสมือนชุมชนทางเศรษฐกิจที่มีการไหลเข้าออกของสินค้า บริการและการลงทุนอย่างเสรี รวมถึงการไหลของเงินทุน ด้วยกฎบัตร ASEAN จะก่อให้เกิดระบบ ASEAN Single Window การทำธุรกิจในประเทศไทยไม่เพียงแต่เป็นการทำธุรกิจกับคนไทย 60 ล้านคนเท่านั้นแต่ยังรวมถึงคน 600 ล้านคนทั่วทั้งภูมิภาค โดยปราศจากข้อสงสัยสหรัฐอเมริกาเป็นเสาหลักด้านการตลาด เนื่องจากสหรัฐฯเป็นคู่ค้าอันดับ1 นายกรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ระหว่างที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน จะทำให้อาเซียนและสหรัฐฯ สามารถทำงานร่วมกัน ภายใต้ TIFA (the ASEAN-US Enhanced Partnership and Trade and Investment Framework Agreement) ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ของเรามีความแน่นแฟ้นมากขึ้นและเป็นประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสหรัฐฯสามารถเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ด้วย
สำหรับการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ175 ปี ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทย ร่วมกับ US-ASEAN Business Council และหอการค้าสหรัฐ จะร่วมกันจัดงาน Business Summit on Thailand-US Partnership Success Stories ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 28 เมษายน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเองก็จะเดินทางไปเปิดงานการประชุมทางธุรกิจดังกล่าวนี้ และมีความยินดีที่ได้ทราบว่าบริษัทหลายแห่งของอเมริกา ณ ที่นี่ได้ตอบรับคำเชิญการเข้าร่วมงานดังกล่าว แล้ว ซึ่งในโอกาสนั้น เราได้รับเกียรติจาก Mr.Chris Padilla, the US Under-Secretary of Commerce มาร่วมงานด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำว่า รัฐบาลชุดนี้ ตั้งใจจริงที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเกิดพลวัตรทางเศรษฐกิจ และมีนโยบายที่เปิดเป็นมิตรกับการตลาดการค้าและการลงทุน และรัฐบาลจะทำงานหนักเพื่อจะสร้างความมั่นใจทางธุรกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลจะยึดหลักการทำงานด้วยความโปร่งใสและธรรมาภิบาล และประเทศไทยยังคงต้อนรับทุกคนที่ประสงค์จะเป็นพันธมิตรเพื่อการพัฒนาทางธุรกิจกับประเทศไทย
ขอบคุณผู้มาร่วมงานทุกท่าน และ ยินดีสำหรับการครบรอบความสัมพันธ์ 175 ปี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันกับสมาชิกหอการค้าอเมริกา ณ โรงแรม คอนราด กรุงเทพฯ และกล่าวสุนทรพจน์ สรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้รับเชิญจากหอการค้าอเมริกา และมีโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสสำคัญเช่นนี้ ทั้งนี้ เมื่อ 175 ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1833 ไทยและสหรัฐอเมริกาได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาความร่วมมือและการค้า เพื่อสนับสนุนการสร้าง “ สันติภาพถาวร” ของสองประเทศ ความสัมพันธ์ไทย — อเมริกานั้นเป็นสิ่งมีค่า ในอนาคตรุ่นหลานจะต้องมองย้อนกลับมา ณ วันนี้ และจะต้องขอบคุณที่ทั้งสองประเทศได้ฉลองโอกาสพิเศษครั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 1833 ไทย และสหรัฐอเมริกา ได้ดำรงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นมิตร มานานนับ 175 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว การค้าเป็นส่วนสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ตามที่สนธิสัญญาความร่วมมือและการค้าได้กล่าวไว้ “การค้า” คือสะพานเชื่อมของสองประเทศ ความสัมพันธ์ที่ผูกมัดระหว่างกันไว้ เห็นได้อย่างชัดเจนในวันนี้ที่สมาชิก ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทอเมริกาและความสนใจที่ยืนยาวในประเทศไทย
การค้านั้นเป็น และคงเป็นส่วนสำคัญของความสัมพันธ์มาโดยตลอด จึงต้องขอบคุณชุมชนนักธุรกิจอเมริกัน สำหรับความเชื่อมั่น และการตัดสินเกี่ยวกับโอกาสของไทยระยะยาว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาเป็นคู่ค้าอันดับสามของไทย และเป็นหนึ่งในห้าอันดับแรกของนักลงทุนในไทย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกายังคงเดินทางมาไทยจำนวนมาก และเมื่อปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันเดินทางมาไทยถึง 521,627 ราย สหรัฐฯคงเป็นหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนที่น่าเชื่อถือของไทย ทั้งนี้ แม้ว่าไทยพยายามลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯยังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ
นอกจากนี้ ต้องขอบคุณหอการค้าอเมริกาและสมาชิกสำหรับการช่วยเหลือสังคมไทย โดยเฉพาะการริเริ่มการให้ทุนการศึกษาจำนวน 175 ทุนแก่นิสิตนักศึกษาไทยในโอกาสฉลองครบรอบความสัมพันธ์ 175 ปี อีกทั้งได้ช่วยเหลือโรงเรียนทั่วประเทศ เช่น สิ่งจำเป็นในการเรียนการสอน ห้องสมุด หนังสือ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ นับเป็นการช่วยเหลือประชาชนในระดับรากหญ้า ซึงผูกมัดประชาชนไทยและอเมริกันไว้อย่างเหนียวแน่น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยว่า เมื่อปีที่ผ่านมา ท่ามกลางความไม่แน่นอน พื้นฐานเศรษฐกิจของไทยยังคงเข้มแข็ง ด้วยอัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 4.8 และในปีนี้ คาดหมายว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 4 — 6 ทั้งนี้ มีตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงน่าสนใจสำหรับธุรกิจและการลงทุนจากต่างประเทศ ธนาคารโลกได้จัดอันดับการสำรวจการดำเนินธุรกิจปี 2008 โดยจัดอันดับประเทศไทยไว้ที่อันดับที่ 15 ของประเทศที่ดำเนินธุรกิจได้สะดวกที่สุด และนิตยสาร Wall Street Journal ได้สำรวจจัดอันดับประเทศเศรษฐกิจเสรีปี 2007 โดยไทยอยู่ในอันดับที่สามของเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ บริษัท Standard and Poor ได้ออกรายงานว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในสี่ของประเทศอาเซียน ที่ได้รับผลกระทบน้อยจากการหดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและภาวะชะลอตัวของโลก ซึ่งต้องขอบคุณพื้นฐานภายในประเทศที่เข้มแข็งและการส่งออกภายในอาเซียนที่เติบโต
สิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญอันดับแรกคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมกับแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางรายได้ และ ลดการพึ่งพาการส่งออก รัฐบาลมีแผนที่จะกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของประชาชน นอกจากนี้ยังมีแผนหลักที่จะพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นต่อการลงทุน เช่น ระบบการขนส่ง พลังงาน และการสื่อสาร ขณะนี้รัฐบาลกำลังพัฒนาระบบการขนส่งมวลชน เช่น รถไฟความเร็วสูง และ โครงการรถไฟรางคู่ เป็นต้น โดยหวังว่าการลงทุนของภาครัฐในด้านสาธารณูปโภคจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและขยายการส่งออกของประเทศได้
นายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ว่า ปีนี้เป็น 'ปีแห่งการลงทุน' รัฐบาลกำลังทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท การออกมาตรการเมื่อปีที่แล้วในเรื่องเงินสำรองเงินทุนระยะสั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท ได้สร้างความโกลาหลให้กับเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามได้หลังจากที่มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ในวันที่ 3 มีนาคม 2551 ก็ได้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว
ความพยายามของรัฐบาลอีกสิ่งหนึ่งคือการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ คณะรัฐมนตรีเสนอให้ใช้มาตรการการลดหย่อนภาษี ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยลดภาระภาษีแก่คนระดับล่าง เพื่อให้คนเหล่านั้นสามารถมีกำลังจับจ่ายใช้สอย และเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง ในระยะยาวรัฐบาลจะลดภาษีรายได้นิติบุคคลเพื่อกระตุ้นการลงทุนอีกด้วย
การเริ่มต้นธุรกิจในประเทศไทยช่วยขยายโอกาสแก่นักลงทุนด้วยเหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยจะช่วยให้นักลงทุนสามารถทำธุรกิจกับประเทศคู่ค้าเอเชียได้เป็นอย่างดี ไทยสามารถทั้งเป็นได้ทั้งประตู หรือเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจแก่ชาวอเมริกันที่เข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังเป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่ตลาดใหญ่ เช่น จีน และอินเดีย
สิ่งที่เป็นความสำคัญสูงสุดอีกอย่างหนึ่งคือ การเป็นประธาน ASEAN ในปีหน้า จะทำให้เราสามารถสร้างความเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนได้ ประชาชนเป็นตัวหลักที่ช่วยขับเคลื่อนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ ASEAN จึงเปรียบเสมือนชุมชนทางเศรษฐกิจที่มีการไหลเข้าออกของสินค้า บริการและการลงทุนอย่างเสรี รวมถึงการไหลของเงินทุน ด้วยกฎบัตร ASEAN จะก่อให้เกิดระบบ ASEAN Single Window การทำธุรกิจในประเทศไทยไม่เพียงแต่เป็นการทำธุรกิจกับคนไทย 60 ล้านคนเท่านั้นแต่ยังรวมถึงคน 600 ล้านคนทั่วทั้งภูมิภาค โดยปราศจากข้อสงสัยสหรัฐอเมริกาเป็นเสาหลักด้านการตลาด เนื่องจากสหรัฐฯเป็นคู่ค้าอันดับ1 นายกรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ระหว่างที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน จะทำให้อาเซียนและสหรัฐฯ สามารถทำงานร่วมกัน ภายใต้ TIFA (the ASEAN-US Enhanced Partnership and Trade and Investment Framework Agreement) ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ของเรามีความแน่นแฟ้นมากขึ้นและเป็นประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสหรัฐฯสามารถเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ด้วย
สำหรับการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ175 ปี ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทย ร่วมกับ US-ASEAN Business Council และหอการค้าสหรัฐ จะร่วมกันจัดงาน Business Summit on Thailand-US Partnership Success Stories ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 28 เมษายน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเองก็จะเดินทางไปเปิดงานการประชุมทางธุรกิจดังกล่าวนี้ และมีความยินดีที่ได้ทราบว่าบริษัทหลายแห่งของอเมริกา ณ ที่นี่ได้ตอบรับคำเชิญการเข้าร่วมงานดังกล่าว แล้ว ซึ่งในโอกาสนั้น เราได้รับเกียรติจาก Mr.Chris Padilla, the US Under-Secretary of Commerce มาร่วมงานด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำว่า รัฐบาลชุดนี้ ตั้งใจจริงที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเกิดพลวัตรทางเศรษฐกิจ และมีนโยบายที่เปิดเป็นมิตรกับการตลาดการค้าและการลงทุน และรัฐบาลจะทำงานหนักเพื่อจะสร้างความมั่นใจทางธุรกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลจะยึดหลักการทำงานด้วยความโปร่งใสและธรรมาภิบาล และประเทศไทยยังคงต้อนรับทุกคนที่ประสงค์จะเป็นพันธมิตรเพื่อการพัฒนาทางธุรกิจกับประเทศไทย
ขอบคุณผู้มาร่วมงานทุกท่าน และ ยินดีสำหรับการครบรอบความสัมพันธ์ 175 ปี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--