คณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดภาคใต้ (กพต.) เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมาตรการ แผนงาน โครงการ เพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2551 โดยมี นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เข้าร่วมประชุม
ที่ประชุมเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องการบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยกำหนดมาตรการพิเศษเพื่อรักษารากฐานการลงทุนเดิมและจูงใจการลงทุนใหม่ที่มีศักยภาพ ดังนี้ 1) พัฒนาสตูลเป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังการลุกลามของเหตุการณ์ความไม่สงบ และเป็นพื้นที่ตัวอย่างการพัฒนาบนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงสู่ฐานเศรษฐกิจหลักและประเทศเพื่อนบ้าน 2) พัฒนาสงขลาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับนานาชาติ และส่งต่อความเจริญและผลการพัฒนาสู่พื้นที่อื่นใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ โดยกำหนดบทบาทของแต่ละจังหวัดตามศักยภาพพื้นฐานและโอกาสการพัฒนาของพื้นที่ ดังนี้ สงขลาและสตูล: เป็นศูนย์เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าภายในและระหว่างประเทศ สงขลา: เป็นศูนย์กลางยางพาราโลก ศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวและกีฬาในระดับสากล ปัตตานี: เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ศูนย์กลางอิสลามศึกษานานาติ ยะลา: เป็นศูนย์กลางการเกษตรและตลาดสินค้าเกษตร นราธิวาส: เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ด้านตะวันออก (ECER) ของมาเลเซีย
สำหรับกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ 1) การคุ้มครองความปลอดภัย การอำนวยความเป็นธรรม เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐและสร้างภูมิคุ้มกันแก่กลุ่มเสี่ยง โดยเน้น 1.1) การบูรณาการแผนงานพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมกับแผนงานการรักษาความปลอดภัย 1.2) การพัฒนาประสิทธิภาพงานยุติธรรมตามหลักนิติธรรม 1.3) การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบ 1.4) การปรับความคิดความเชื่อกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบและการป้องกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด 2) การแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ในการพึ่งพาตนเอง โดยเน้น 2.1)การพัฒนาความมั่นคงในอาชีพ รายได้ และความมั่นคงในการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่ยากจนและผู้ที่ได้รับผลกระทบ 2.2) การสนับสนุนกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง 2.3) การฟื้นฟูและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) การพัฒนาคุณภาพคนเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเน้น 3.1) การปฏิรูปการศึกษาเชิงบูรณาการกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3.2) การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข 3.3) การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวและเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนโดยเฉพาะสตรีและเยาวชน 3.4) การพัฒนาด้านทักษะฝีมือแรงงานและจัดหาตลาดแรงงานรองรับ 4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่และการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ ซึ่งมีแนวทางหลักในการขยายฐานการผลิตด้านการเกษตรให้หลากหลาย เชื่อมโยงอุตสาหกรรมการแปรรูปและการตลาด โดยเน้น 4.1) การพัฒนาผลไม้ 4.2) พัฒนายางพาราครบวงจร 4.3) พัฒนาปัตตานีเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และแหล่งผลิตพลังงานจากลม 4.4) พัฒนานราธิวาสเป็นแหล่งผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน 4.5) การพัฒนาประมงเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอแก่โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ 4.6) พัฒนาปศุสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล 4.7) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การค้าและการบริการ 4.8) การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) โดยการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจสงขลา-ปีนัง-เมดาน 4.9) การสร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่โดยการเปิดประตูทางทะเลสู่นานาชาติผ่านสะพานเศรษฐกิจสตูล-สงขลา และ 4.10) การสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีกับต่างประเทศ 5) การบริหารจัดการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยเน้น 5.1) การปรับปรุงและจัดทำกฎระเบียบเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5.2) การบูรณาการ แผนงาน โครงการ งบประมาณ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ และกรอบงบประมาณดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ฯ ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์โดยเร็ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการ แผนงาน โครงการ เพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ดังนี้ 1) ด้านเศรษฐกิจ ให้มีการจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การกำหนดมาตรการด้านภาษีและการแก้ไขสภาพคล่องของภาคเอกชนเพื่อรักษานักลงทุนในพื้นที่ให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ และสนับสนุนให้เอกชนรายใหญ่จากนอกพื้นที่เข้ามาลงทุนเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบด้านสัตว์น้ำ การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล การพัฒนาเมืองชายแดนให้เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน การเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา การพัฒนาปาล์มน้ำมันและพลังงานทดแทน 2) ด้านการศึกษาและสังคม มีการเร่งรัดการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม การเพิ่มสมรรถนะในการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันศึกษาปอเนาะและศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด การสร้างโรงพยาบาลกรงปินัง จังหวัดยะลา และการเสริมสร้างสุขภาพประชาชนในภาวะวิกฤติ 3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรในเขตอุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี การจัดตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลปัตตานี การจัดทำปะการังเทียมเพิ่มเติมเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทรัพยากรชายฝั่ง 4) ด้านการบริหารจัดการ อาทิ การจัดตั้งศูนย์สันติประชาธรรม เพื่อพัฒนาทักษะและสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐ กำลังประจำถิ่น และกองกำลังภาคประชาชน การพัฒนาศูนย์นิติวิทยาศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การกำหนดมาตรการชดเชยรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ลดลงเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งการเร่งรัดมาตรการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2551 โดยมี นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เข้าร่วมประชุม
ที่ประชุมเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องการบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยกำหนดมาตรการพิเศษเพื่อรักษารากฐานการลงทุนเดิมและจูงใจการลงทุนใหม่ที่มีศักยภาพ ดังนี้ 1) พัฒนาสตูลเป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังการลุกลามของเหตุการณ์ความไม่สงบ และเป็นพื้นที่ตัวอย่างการพัฒนาบนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงสู่ฐานเศรษฐกิจหลักและประเทศเพื่อนบ้าน 2) พัฒนาสงขลาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับนานาชาติ และส่งต่อความเจริญและผลการพัฒนาสู่พื้นที่อื่นใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ โดยกำหนดบทบาทของแต่ละจังหวัดตามศักยภาพพื้นฐานและโอกาสการพัฒนาของพื้นที่ ดังนี้ สงขลาและสตูล: เป็นศูนย์เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าภายในและระหว่างประเทศ สงขลา: เป็นศูนย์กลางยางพาราโลก ศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวและกีฬาในระดับสากล ปัตตานี: เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ศูนย์กลางอิสลามศึกษานานาติ ยะลา: เป็นศูนย์กลางการเกษตรและตลาดสินค้าเกษตร นราธิวาส: เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ด้านตะวันออก (ECER) ของมาเลเซีย
สำหรับกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ 1) การคุ้มครองความปลอดภัย การอำนวยความเป็นธรรม เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐและสร้างภูมิคุ้มกันแก่กลุ่มเสี่ยง โดยเน้น 1.1) การบูรณาการแผนงานพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมกับแผนงานการรักษาความปลอดภัย 1.2) การพัฒนาประสิทธิภาพงานยุติธรรมตามหลักนิติธรรม 1.3) การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบ 1.4) การปรับความคิดความเชื่อกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบและการป้องกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด 2) การแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ในการพึ่งพาตนเอง โดยเน้น 2.1)การพัฒนาความมั่นคงในอาชีพ รายได้ และความมั่นคงในการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่ยากจนและผู้ที่ได้รับผลกระทบ 2.2) การสนับสนุนกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง 2.3) การฟื้นฟูและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) การพัฒนาคุณภาพคนเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเน้น 3.1) การปฏิรูปการศึกษาเชิงบูรณาการกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3.2) การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข 3.3) การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวและเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มคนโดยเฉพาะสตรีและเยาวชน 3.4) การพัฒนาด้านทักษะฝีมือแรงงานและจัดหาตลาดแรงงานรองรับ 4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่และการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ ซึ่งมีแนวทางหลักในการขยายฐานการผลิตด้านการเกษตรให้หลากหลาย เชื่อมโยงอุตสาหกรรมการแปรรูปและการตลาด โดยเน้น 4.1) การพัฒนาผลไม้ 4.2) พัฒนายางพาราครบวงจร 4.3) พัฒนาปัตตานีเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และแหล่งผลิตพลังงานจากลม 4.4) พัฒนานราธิวาสเป็นแหล่งผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน 4.5) การพัฒนาประมงเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอแก่โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ 4.6) พัฒนาปศุสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล 4.7) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การค้าและการบริการ 4.8) การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) โดยการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจสงขลา-ปีนัง-เมดาน 4.9) การสร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่โดยการเปิดประตูทางทะเลสู่นานาชาติผ่านสะพานเศรษฐกิจสตูล-สงขลา และ 4.10) การสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีกับต่างประเทศ 5) การบริหารจัดการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยเน้น 5.1) การปรับปรุงและจัดทำกฎระเบียบเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5.2) การบูรณาการ แผนงาน โครงการ งบประมาณ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ และกรอบงบประมาณดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ฯ ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์โดยเร็ว
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการ แผนงาน โครงการ เพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ดังนี้ 1) ด้านเศรษฐกิจ ให้มีการจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การกำหนดมาตรการด้านภาษีและการแก้ไขสภาพคล่องของภาคเอกชนเพื่อรักษานักลงทุนในพื้นที่ให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ และสนับสนุนให้เอกชนรายใหญ่จากนอกพื้นที่เข้ามาลงทุนเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบด้านสัตว์น้ำ การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล การพัฒนาเมืองชายแดนให้เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน การเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา การพัฒนาปาล์มน้ำมันและพลังงานทดแทน 2) ด้านการศึกษาและสังคม มีการเร่งรัดการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม การเพิ่มสมรรถนะในการส่งเสริมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันศึกษาปอเนาะและศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด การสร้างโรงพยาบาลกรงปินัง จังหวัดยะลา และการเสริมสร้างสุขภาพประชาชนในภาวะวิกฤติ 3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรในเขตอุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี การจัดตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลปัตตานี การจัดทำปะการังเทียมเพิ่มเติมเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทรัพยากรชายฝั่ง 4) ด้านการบริหารจัดการ อาทิ การจัดตั้งศูนย์สันติประชาธรรม เพื่อพัฒนาทักษะและสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐ กำลังประจำถิ่น และกองกำลังภาคประชาชน การพัฒนาศูนย์นิติวิทยาศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การกำหนดมาตรการชดเชยรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ลดลงเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งการเร่งรัดมาตรการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--