นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 1 / 2551
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 1 / 2551 โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท. วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ เลขาธิการ ป.ป.ส. ตลอดจนคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังการประชุม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญว่า ที่ประชุมได้หารือถึงสถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบันของประเทศ และนโยบายการปราบปรามยาเสพติดโดยสรุปว่า สถานการณ์ยาเสพติดของประเทศไทยในปัจจุบันมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1. สถานการณ์นอกประเทศและการลักลอบนำเข้ายาเสพติด ซึ่งยังคงปรากฏการผลิตยาเสพติดนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง ยาเสพติดที่ลักลอบนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะยาบ้า เฮโรอีน และเอ็กซ์ตาซี พื้นที่นำเข้าที่สำคัญยังอยู่บริเวณชายแดนภาคเหนือ แต่เมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน ๆ มาพบว่ามีสัดส่วนการนำเข้าที่ลดลง ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนการลักลอบนำเข้ายาเสพติดเพิ่มขึ้น โดยในปี 2550 พบการลักลอบนำเข้ายาเสพติดใน 22 จังหวัด 54 อำเภอ ที่เป็นพื้นที่นำเข้าหลักซึ่งจัดเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสำคัญ 9 จังหวัด 22 อำเภอ 2. สถานการณ์ด้านการค้ายาเสพติด โดยจากการดำเนินการของ ป.ป.ส. พบว่าพื้นที่ปัญหาหลักของยาเสพติดได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 40 ของปัญหาทั้งประเทศ ทั้งนี้ ยาบ้า ยังเป็นยาเสพติดหลักที่มีการค้าและแพร่ระบาด ขณะที่ตัวยาเสพติดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคือเฮโรอีน เอ็กซ์ตาซี กระท่อม ยาแก้ไอ 3. สถานการณ์ด้านการแพร่ระบาด พบว่าการแพร่ระบาดของยาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มเยาวชนอายุ 15 — 24 ปี เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่น่าเป็นห่วงและต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าที่ประชุมได้หารือถึงข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจคือ มีการเปรียบเทียบตัวเลขประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในปี 2544 2546 และ 2550 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและมีนัยสำคัญที่น่าจะพิจารณาคือ ปี 2544 มีประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 1.9 ล้านคน ส่วนในปี 2546 ที่รัฐบาลขณะนั้นมีการประกาศสงครามกับยาเสพติด พบว่าประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ลดลงเหลือประมาณ 450,000 คน ขณะที่ปี 2550 ที่ผ่านมาพบว่ามีประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพิ่มขึ้นเป็น 570,000 คน จึงได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าภายหลังจากนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดของรัฐบาลขณะนั้น แล้วเมื่อมีการเปลี่ยนนโยบายเปลี่ยนผู้บริหาร จะมีผลสัมพันธ์กับจำนวนผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพิ่มขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ ข้อมูลปัจจุบันของ ป.ป.ส. พบว่าผู้เสพยาเสพติดประมาณร้อยละ 80 เป็นกลุ่มใหม่ และเป็นคนละกลุ่มกับผู้เสพในช่วงการประกาศสงครามกับยาเสพติด
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงแนวนโยบายในภาพรวมโดยมีข้อสรุปว่าวันที่ 2 เมษายน นี้ เวลา 14.00 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล รัฐบาลจะแถลงเปิดนโยบายการปราบปรามยาเสพติด โดยจะมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค มาร่วมประชุมพร้อมกันเพื่อเปิดปฏิบัติการ “รวมพลังไทย พ้นภัยยาเสพติด” ซึ่งมีแนวนโยบายการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล ที่ได้สรุปเป็นหลักการในภาพรวมก่อนที่จะแถลงรายละเอียดทั้งหมดให้ประชาชนได้รับทราบในวันที่ 2 เมษายน โดยมีนโยบายมุ่งลดปัญหาแพร่ระบาด ขจัดความเดือดร้อนของประชาชน ที่มีกลยุทธ์ 3 ลด 3 เพิ่ม 3 เน้น ซึ่ง 3 ลด หมายถึงการลดปัจจัยปัญหายาเสพติดทั้งผู้ค้า ผู้เสพ กลุ่มเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง 3 เพิ่ม คือเพิ่มมาตรการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ให้เข้มแข็ง เพิ่มบทบาทภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มบทบาทช่องทางสาธารณะร่วมเฝ้าระวังยาเสพติด 3 เน้น คือเน้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑลบางพื้นที่ เน้นพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเน้นพื้นที่นำเข้าและพื้นที่ต่อเนื่องซ้ำซาก
“ ท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายและกำชับในที่ประชุมว่า นโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลขอให้ดำเนินการอย่างเต็มที่ เข้มข้น ถ้าติดขัดในเรื่องการดำเนินงานโดยเฉพาเฉพาะเรื่องงบประมาณ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาหาแนวทางปรับจากแผนงบประมาณของรัฐบาลเป็นหลัก แต่หากมีโครงการมีปฏิบัติการเร่งด่วน นายกรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้โดยเร่งด่วนเช่นกัน และนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำกับที่ประชุมว่า การประกาศนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลในครั้งนี้ เน้นการปฏิบัติที่ชัดเจน เฉียบคม หวังผลได้ ภายในระยะเวลาอันสั้น และต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า รัฐบาลยืนยันไม่มีนโยบายที่จะใช้ความรุนแรงในการดำเนินการจับกุม ควบคุม หรือปราบปรามผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพยาเสพติด แต่รัฐบาลก็ยืนยันว่าจะบังคับใช้กฎหมายให้เด็ดขาด ให้เกิดผลสูงสุดในการปราบปรามยาเสพติด โดยเชื่อมั่นว่าหลังจากการแถลงเปิดนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลในวันที่ 2 เมษายน ที่รัฐบาลจะกำหนดระยะเวลาของแผนระยะแรกแล้ว จะสามารถบรรลุผลได้ตามแผนที่วางไว้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 1 / 2551 โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท. วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ เลขาธิการ ป.ป.ส. ตลอดจนคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังการประชุม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญว่า ที่ประชุมได้หารือถึงสถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบันของประเทศ และนโยบายการปราบปรามยาเสพติดโดยสรุปว่า สถานการณ์ยาเสพติดของประเทศไทยในปัจจุบันมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1. สถานการณ์นอกประเทศและการลักลอบนำเข้ายาเสพติด ซึ่งยังคงปรากฏการผลิตยาเสพติดนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง ยาเสพติดที่ลักลอบนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะยาบ้า เฮโรอีน และเอ็กซ์ตาซี พื้นที่นำเข้าที่สำคัญยังอยู่บริเวณชายแดนภาคเหนือ แต่เมื่อเทียบกับปีที่ผ่าน ๆ มาพบว่ามีสัดส่วนการนำเข้าที่ลดลง ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนการลักลอบนำเข้ายาเสพติดเพิ่มขึ้น โดยในปี 2550 พบการลักลอบนำเข้ายาเสพติดใน 22 จังหวัด 54 อำเภอ ที่เป็นพื้นที่นำเข้าหลักซึ่งจัดเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสำคัญ 9 จังหวัด 22 อำเภอ 2. สถานการณ์ด้านการค้ายาเสพติด โดยจากการดำเนินการของ ป.ป.ส. พบว่าพื้นที่ปัญหาหลักของยาเสพติดได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 40 ของปัญหาทั้งประเทศ ทั้งนี้ ยาบ้า ยังเป็นยาเสพติดหลักที่มีการค้าและแพร่ระบาด ขณะที่ตัวยาเสพติดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคือเฮโรอีน เอ็กซ์ตาซี กระท่อม ยาแก้ไอ 3. สถานการณ์ด้านการแพร่ระบาด พบว่าการแพร่ระบาดของยาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มเยาวชนอายุ 15 — 24 ปี เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่น่าเป็นห่วงและต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าที่ประชุมได้หารือถึงข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจคือ มีการเปรียบเทียบตัวเลขประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในปี 2544 2546 และ 2550 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและมีนัยสำคัญที่น่าจะพิจารณาคือ ปี 2544 มีประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 1.9 ล้านคน ส่วนในปี 2546 ที่รัฐบาลขณะนั้นมีการประกาศสงครามกับยาเสพติด พบว่าประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ลดลงเหลือประมาณ 450,000 คน ขณะที่ปี 2550 ที่ผ่านมาพบว่ามีประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเพิ่มขึ้นเป็น 570,000 คน จึงได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าภายหลังจากนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดของรัฐบาลขณะนั้น แล้วเมื่อมีการเปลี่ยนนโยบายเปลี่ยนผู้บริหาร จะมีผลสัมพันธ์กับจำนวนผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพิ่มขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ ข้อมูลปัจจุบันของ ป.ป.ส. พบว่าผู้เสพยาเสพติดประมาณร้อยละ 80 เป็นกลุ่มใหม่ และเป็นคนละกลุ่มกับผู้เสพในช่วงการประกาศสงครามกับยาเสพติด
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงแนวนโยบายในภาพรวมโดยมีข้อสรุปว่าวันที่ 2 เมษายน นี้ เวลา 14.00 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล รัฐบาลจะแถลงเปิดนโยบายการปราบปรามยาเสพติด โดยจะมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค มาร่วมประชุมพร้อมกันเพื่อเปิดปฏิบัติการ “รวมพลังไทย พ้นภัยยาเสพติด” ซึ่งมีแนวนโยบายการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล ที่ได้สรุปเป็นหลักการในภาพรวมก่อนที่จะแถลงรายละเอียดทั้งหมดให้ประชาชนได้รับทราบในวันที่ 2 เมษายน โดยมีนโยบายมุ่งลดปัญหาแพร่ระบาด ขจัดความเดือดร้อนของประชาชน ที่มีกลยุทธ์ 3 ลด 3 เพิ่ม 3 เน้น ซึ่ง 3 ลด หมายถึงการลดปัจจัยปัญหายาเสพติดทั้งผู้ค้า ผู้เสพ กลุ่มเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง 3 เพิ่ม คือเพิ่มมาตรการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ให้เข้มแข็ง เพิ่มบทบาทภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มบทบาทช่องทางสาธารณะร่วมเฝ้าระวังยาเสพติด 3 เน้น คือเน้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑลบางพื้นที่ เน้นพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเน้นพื้นที่นำเข้าและพื้นที่ต่อเนื่องซ้ำซาก
“ ท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายและกำชับในที่ประชุมว่า นโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลขอให้ดำเนินการอย่างเต็มที่ เข้มข้น ถ้าติดขัดในเรื่องการดำเนินงานโดยเฉพาเฉพาะเรื่องงบประมาณ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาหาแนวทางปรับจากแผนงบประมาณของรัฐบาลเป็นหลัก แต่หากมีโครงการมีปฏิบัติการเร่งด่วน นายกรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้โดยเร่งด่วนเช่นกัน และนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำกับที่ประชุมว่า การประกาศนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลในครั้งนี้ เน้นการปฏิบัติที่ชัดเจน เฉียบคม หวังผลได้ ภายในระยะเวลาอันสั้น และต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า รัฐบาลยืนยันไม่มีนโยบายที่จะใช้ความรุนแรงในการดำเนินการจับกุม ควบคุม หรือปราบปรามผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพยาเสพติด แต่รัฐบาลก็ยืนยันว่าจะบังคับใช้กฎหมายให้เด็ดขาด ให้เกิดผลสูงสุดในการปราบปรามยาเสพติด โดยเชื่อมั่นว่าหลังจากการแถลงเปิดนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลในวันที่ 2 เมษายน ที่รัฐบาลจะกำหนดระยะเวลาของแผนระยะแรกแล้ว จะสามารถบรรลุผลได้ตามแผนที่วางไว้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--