รองนายกรัฐมนตรีเผยคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เตรียมเสนอหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณรูปแบบใหม่ให้ครม.พิจารณา
วันนี้ เวลา 16.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนา ศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา จึงได้มอบนโยบายให้กับที่ประชุมว่า ในภาวะปัจจุบันที่ประเทศชาติกำลังเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากระหว่างประเทศ ทั้งผลกระทบจากสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์ ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยซึ่งเป็นเครื่องจักรที่มีบทบาทในการฉุดเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา เพราะฉะนั้น เศรษฐกิจภายในประเทศจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เราสามารถที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อไปได้ ดังนั้น มาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้มีเงินงบประมาณไปถึงประชาชนระดับรากหญ้า และการนำเงินงบประมาณไปสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนมีการเพิ่มรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต จึงจำเป็นจะต้องเร่งรัดดำเนินการโดยเร่งด่วน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ ปี 2551 มีทั้งหมด 78,358 หมู่บ้าน/ชุมชน แบ่งเป็น หมู่บ้าน จำนวน 74,944 หมู่บ้าน ชุมชน จำนวน 3,414 ชุมชน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2551) ซึ่งการจัดสรรงบประมาณในอดีตตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) ได้แบ่งการจัดสรรงบประมาณตามขนาดของหมู่บ้าน/ชุมชน ทางคณะกรรมการฯ จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ในรูปแบบใหม่ เป็นดังนี้ หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด พ 1 จำนวนประชากร 1-50 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 50,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด พ 2 จำนวนประชากร 51-100 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 100,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด พ 3 จำนวนประชากร 101-200 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 150,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด S จำนวนประชากร 201-500 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 200,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด M จำนวนประชากร 501-1,000 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 250,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด L จำนวนประชากร 1,001-1,500 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 300,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด XL จำนวนประชากร 1,501 คนขึ้นไป ได้รับจัดสรรงบประมาณ 350,000 บาท รวมทั้งสิ้น 78,358 หมู่บ้าน/ชุมชน จะใช้เงินงบประมาณ 18,687 ล้านบาทเศษ
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดทำผลการประชุมทั้งหมดเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 25 มีนาคมนี้ เพื่อให้พิจารณาเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีการดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในปี 2551 โดยให้มีการโอนเงินงบประมาณที่เหลือจ่ายจากโครงการอยู่ดีมีสุข มาใช้ในโครงการ SML จำนวน 15,000 ล้านบาท ซึ่งเงินงบประมาณส่วนหนึ่งทางกระทรวงมหาดไทยได้มีการเบิกจ่ายไปแล้ว โดยจะได้ประสานให้โครงการเหล่านั้นมาสอดรับกับวัตถุประสงค์ของโครงการ SML ส่วนที่เหลือที่เกินจาก 15,000 ล้านบาท จะขออนุมัติในหลักการจากคณะรัฐมนตรีให้เบิกจ่ายจากงบประมาณงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็นต่อไป
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขั้นตอนต่อจากนี้ หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการ SML แล้ว จะได้เร่งรัดดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ SML ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ประชาชนได้รับทราบอย่างกว้างขวาง พร้อมกันนี้ได้ตั้งเป้าไว้ว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนา อยากจะให้มีการจัดประชาคมหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อจะได้ร่วมกันพิจารณาโครงการที่หมู่บ้าน/ชุมชนนั้น ๆ ต้องการที่จะนำงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ไปใช้ในการพัฒนาเรื่องการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อทำให้ชุมชนนั้นมีความเข้มแข็งและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เมื่อได้โครงการที่ประชาชนได้ทำประชาคมแล้ว จะเสนอเข้ามาในระดับอำเภอและจังหวัด ซึ่งจะมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วย นายอำเภอ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มาให้คำแนะนำสำหรับโครงการของหมู่บ้าน/ชุมชน
นอกจากนี้ ในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนเมษายน 2551 จะมีการเปิดตัวโครงการ SML อย่างเป็นทางการ โดยกดปุ่มโอนเงินเข้าสู่ระบบของธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้หมู่บ้านที่ได้มีการจัดทำโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเบิกจ่ายงบประมาณไปดำเนินโครงการได้ คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคม เงินงบประมาณทั้งระบบจะสามารถเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชนได้ทั้งหมด 78,000 กว่าหมู่บ้าน ซึ่งจะเร็วกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะดำเนินการได้เสร็จสิ้นประมาณเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานของประชาชนระดับรากหญ้าได้เร่งในเรื่องของการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และสามารถรับมือกับเศรษฐกิจที่ผันผวนได้เร็วขึ้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการเร่งรัดกระบวนการดำเนินงานโดยเร็วที่สุด รวมทั้งจะมีแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มอีก 2 คณะ คือ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจและเร่งรัดการดำเนินการ และคณะอนุกรรมการวิชาการและรวบรวมองค์ความรู้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 16.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนา ศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา จึงได้มอบนโยบายให้กับที่ประชุมว่า ในภาวะปัจจุบันที่ประเทศชาติกำลังเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากระหว่างประเทศ ทั้งผลกระทบจากสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์ ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยซึ่งเป็นเครื่องจักรที่มีบทบาทในการฉุดเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา เพราะฉะนั้น เศรษฐกิจภายในประเทศจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เราสามารถที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อไปได้ ดังนั้น มาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้มีเงินงบประมาณไปถึงประชาชนระดับรากหญ้า และการนำเงินงบประมาณไปสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนมีการเพิ่มรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต จึงจำเป็นจะต้องเร่งรัดดำเนินการโดยเร่งด่วน
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ ปี 2551 มีทั้งหมด 78,358 หมู่บ้าน/ชุมชน แบ่งเป็น หมู่บ้าน จำนวน 74,944 หมู่บ้าน ชุมชน จำนวน 3,414 ชุมชน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2551) ซึ่งการจัดสรรงบประมาณในอดีตตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) ได้แบ่งการจัดสรรงบประมาณตามขนาดของหมู่บ้าน/ชุมชน ทางคณะกรรมการฯ จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ในรูปแบบใหม่ เป็นดังนี้ หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด พ 1 จำนวนประชากร 1-50 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 50,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด พ 2 จำนวนประชากร 51-100 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 100,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด พ 3 จำนวนประชากร 101-200 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 150,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด S จำนวนประชากร 201-500 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 200,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด M จำนวนประชากร 501-1,000 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 250,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด L จำนวนประชากร 1,001-1,500 คน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 300,000 บาท หมู่บ้าน/ชุมชน ขนาด XL จำนวนประชากร 1,501 คนขึ้นไป ได้รับจัดสรรงบประมาณ 350,000 บาท รวมทั้งสิ้น 78,358 หมู่บ้าน/ชุมชน จะใช้เงินงบประมาณ 18,687 ล้านบาทเศษ
ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดทำผลการประชุมทั้งหมดเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 25 มีนาคมนี้ เพื่อให้พิจารณาเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีการดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในปี 2551 โดยให้มีการโอนเงินงบประมาณที่เหลือจ่ายจากโครงการอยู่ดีมีสุข มาใช้ในโครงการ SML จำนวน 15,000 ล้านบาท ซึ่งเงินงบประมาณส่วนหนึ่งทางกระทรวงมหาดไทยได้มีการเบิกจ่ายไปแล้ว โดยจะได้ประสานให้โครงการเหล่านั้นมาสอดรับกับวัตถุประสงค์ของโครงการ SML ส่วนที่เหลือที่เกินจาก 15,000 ล้านบาท จะขออนุมัติในหลักการจากคณะรัฐมนตรีให้เบิกจ่ายจากงบประมาณงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินและจำเป็นต่อไป
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขั้นตอนต่อจากนี้ หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการ SML แล้ว จะได้เร่งรัดดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ SML ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนนี้เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ประชาชนได้รับทราบอย่างกว้างขวาง พร้อมกันนี้ได้ตั้งเป้าไว้ว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนา อยากจะให้มีการจัดประชาคมหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อจะได้ร่วมกันพิจารณาโครงการที่หมู่บ้าน/ชุมชนนั้น ๆ ต้องการที่จะนำงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ไปใช้ในการพัฒนาเรื่องการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพื่อทำให้ชุมชนนั้นมีความเข้มแข็งและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เมื่อได้โครงการที่ประชาชนได้ทำประชาคมแล้ว จะเสนอเข้ามาในระดับอำเภอและจังหวัด ซึ่งจะมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วย นายอำเภอ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มาให้คำแนะนำสำหรับโครงการของหมู่บ้าน/ชุมชน
นอกจากนี้ ในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนเมษายน 2551 จะมีการเปิดตัวโครงการ SML อย่างเป็นทางการ โดยกดปุ่มโอนเงินเข้าสู่ระบบของธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้หมู่บ้านที่ได้มีการจัดทำโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถเบิกจ่ายงบประมาณไปดำเนินโครงการได้ คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคม เงินงบประมาณทั้งระบบจะสามารถเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชนได้ทั้งหมด 78,000 กว่าหมู่บ้าน ซึ่งจะเร็วกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะดำเนินการได้เสร็จสิ้นประมาณเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานของประชาชนระดับรากหญ้าได้เร่งในเรื่องของการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และสามารถรับมือกับเศรษฐกิจที่ผันผวนได้เร็วขึ้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการเร่งรัดกระบวนการดำเนินงานโดยเร็วที่สุด รวมทั้งจะมีแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มอีก 2 คณะ คือ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจและเร่งรัดการดำเนินการ และคณะอนุกรรมการวิชาการและรวบรวมองค์ความรู้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--