นายกรัฐมนตรีระบุที่ประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีการจัดสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทหารในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดสงขลาและสตูลด้วย
เมื่อเวลา 12.10 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ในช่วงเช้าได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( กพต.) ที่ประชุมได้เสนอให้มีการพัฒนาในส่วนพลเรือนโดยเฉพาะ เนื่องจากที่ผ่านมาภาคเอกชนไม่กล้าที่จะไปลงทุนโครงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงขอให้กำหนดรูปแบบเป็นลักษณะอุตสาหกรรมทหาร เช่น ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอาหารกระป๋อง การก่อสร้างถนน โดยทหารจะเข้าถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ ภาคเอกชนถือหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ คล้ายกับรัฐวิสาหกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งภาคเอกชนพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที ทั้งนี้ การพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะรวมไปถึงจังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูลด้วย ในฐานะที่เป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้ง จะเป็นการช่วยและเชื่อมโยงพัฒนาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 25 มีนาคมนี้ และในเบื้องต้นจะใช้งบประมาณเหลือจ่ายปี 2551
ผู้สื่อข่าวถามว่า สถานการณ์ที่ยังมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นรัฐบาลมีนโยบายจะมอบหมายให้ใครรับผิดชอบโดยตรงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเป็นคนรับผิดชอบในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลนี้ต้องรับผิดชอบสถานการณ์ทั้งหมด ในขณะเดียวกันมีฝ่ายปฏิบัติการทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งทั้งหมดนี้มีความเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินการใหม่ ทำให้สถานการณ์ความรุนแรงเบาบางลง เพียงแต่เหตุระเบิดล่าสุดนั้นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบไม่ได้ต้องการยั่วยุ แต่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองลงไปมีบทบาท ดังนั้น จึงมอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปดูแลปัญหา และเราต้องไว้วางใจให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนการวิเคราะห์สถานการณ์และเหตุระเบิดล่าสุดนั้นจะต้องดูว่าผู้ก่อความไม่สงบต้องการอะไร เพราะฝ่ายความมั่นคงประเมินว่าจะมีก่อเหตุความไม่สงบในช่วง 12-15 มีนาคมที่ผ่านมา แต่ผู้ก่อความไม่สงบลงมือในวันที่ 16 มีนาคม เพราะเจ้าหน้าที่คลายความระมัดระวัง ซึ่งการที่สื่อมวลชนเสนอข่าวเอิกเกริกก็จะสมประโยชน์ของผู้ก่อความไม่สงบ และถ้านายกรัฐมนตรีลงไปในพื้นที่ด้วยก็จะยิ่งสมประโยชน์มากขึ้น เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ต้องมาดูแลนายกรัฐมนตรี โดยจะทำรายงานการแก้ไขปัญหาเสนอต่อสภาฯ ได้รับทราบเพื่อให้รู้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่จะไม่ตอบในสภาฯ เพราะไม่เช่นนั้นผู้ก่อการร้ายจะรู้หมดและจะพูดกับผู้ปฏิบัติการเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลนี้จะยึดแนวทางสันติวิธีเหมือนกับรัฐบาลที่ผ่านมาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากไม่แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีจะเดินมาถึงอย่างนี้หรือ เพราะเราแก้ไขปัญหาแบบสันติวิธี จึงทำให้คนฮึดฮัดอยู่อย่างนี้ และเมื่อไรจะเลิกกล่าวว่ามีการอุ้มฆ่ากันเสียที กล่าวหากันมาตั้งแต่ฮัจยีสุหลง แต่เดี๋ยวนี้อุ้มประคับประคองกลัวว่าฝ่ายตรงข้ามจะล้ม อย่างไรก็ตาม เห็นว่าสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้จะไม่ขยายออกไปอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันที่ 23 มีนาคมนี้เป็นวันครบรอบก่อตั้งขบวนการพูโลคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะรับฟังไว้ และเราจะต้องระมัดระวังว่าเขาจะลอบวางระเบิดอย่างนั้นหรือ ไม่เข้าเรื่องที่หลังอย่ามาบอกเรื่องอย่างนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่านายปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการเสนอให้เชิญนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแก้ไขปัญหาในภาคใต้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าไม่เชิญ ส่วนการเดินทางไปเยือนประเทศมาเลเซียนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนด เพราะต้องให้ทางมาเลเซียกำหนดเวลามาก่อน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 12.10 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ในช่วงเช้าได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( กพต.) ที่ประชุมได้เสนอให้มีการพัฒนาในส่วนพลเรือนโดยเฉพาะ เนื่องจากที่ผ่านมาภาคเอกชนไม่กล้าที่จะไปลงทุนโครงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงขอให้กำหนดรูปแบบเป็นลักษณะอุตสาหกรรมทหาร เช่น ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอาหารกระป๋อง การก่อสร้างถนน โดยทหารจะเข้าถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ ภาคเอกชนถือหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ คล้ายกับรัฐวิสาหกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งภาคเอกชนพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที ทั้งนี้ การพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะรวมไปถึงจังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูลด้วย ในฐานะที่เป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้ง จะเป็นการช่วยและเชื่อมโยงพัฒนาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 25 มีนาคมนี้ และในเบื้องต้นจะใช้งบประมาณเหลือจ่ายปี 2551
ผู้สื่อข่าวถามว่า สถานการณ์ที่ยังมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นรัฐบาลมีนโยบายจะมอบหมายให้ใครรับผิดชอบโดยตรงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเป็นคนรับผิดชอบในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลนี้ต้องรับผิดชอบสถานการณ์ทั้งหมด ในขณะเดียวกันมีฝ่ายปฏิบัติการทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งทั้งหมดนี้มีความเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินการใหม่ ทำให้สถานการณ์ความรุนแรงเบาบางลง เพียงแต่เหตุระเบิดล่าสุดนั้นกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบไม่ได้ต้องการยั่วยุ แต่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองลงไปมีบทบาท ดังนั้น จึงมอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปดูแลปัญหา และเราต้องไว้วางใจให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานต่อไป
นายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนการวิเคราะห์สถานการณ์และเหตุระเบิดล่าสุดนั้นจะต้องดูว่าผู้ก่อความไม่สงบต้องการอะไร เพราะฝ่ายความมั่นคงประเมินว่าจะมีก่อเหตุความไม่สงบในช่วง 12-15 มีนาคมที่ผ่านมา แต่ผู้ก่อความไม่สงบลงมือในวันที่ 16 มีนาคม เพราะเจ้าหน้าที่คลายความระมัดระวัง ซึ่งการที่สื่อมวลชนเสนอข่าวเอิกเกริกก็จะสมประโยชน์ของผู้ก่อความไม่สงบ และถ้านายกรัฐมนตรีลงไปในพื้นที่ด้วยก็จะยิ่งสมประโยชน์มากขึ้น เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ต้องมาดูแลนายกรัฐมนตรี โดยจะทำรายงานการแก้ไขปัญหาเสนอต่อสภาฯ ได้รับทราบเพื่อให้รู้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่จะไม่ตอบในสภาฯ เพราะไม่เช่นนั้นผู้ก่อการร้ายจะรู้หมดและจะพูดกับผู้ปฏิบัติการเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลนี้จะยึดแนวทางสันติวิธีเหมือนกับรัฐบาลที่ผ่านมาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากไม่แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีจะเดินมาถึงอย่างนี้หรือ เพราะเราแก้ไขปัญหาแบบสันติวิธี จึงทำให้คนฮึดฮัดอยู่อย่างนี้ และเมื่อไรจะเลิกกล่าวว่ามีการอุ้มฆ่ากันเสียที กล่าวหากันมาตั้งแต่ฮัจยีสุหลง แต่เดี๋ยวนี้อุ้มประคับประคองกลัวว่าฝ่ายตรงข้ามจะล้ม อย่างไรก็ตาม เห็นว่าสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้จะไม่ขยายออกไปอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันที่ 23 มีนาคมนี้เป็นวันครบรอบก่อตั้งขบวนการพูโลคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะรับฟังไว้ และเราจะต้องระมัดระวังว่าเขาจะลอบวางระเบิดอย่างนั้นหรือ ไม่เข้าเรื่องที่หลังอย่ามาบอกเรื่องอย่างนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่านายปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการเสนอให้เชิญนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแก้ไขปัญหาในภาคใต้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าไม่เชิญ ส่วนการเดินทางไปเยือนประเทศมาเลเซียนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนด เพราะต้องให้ทางมาเลเซียกำหนดเวลามาก่อน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--