นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการแถลงข่าวไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับนามิเบียในการพัฒนาและขยายอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
วันนี้ เวลา 11.50 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการแถลงข่าวภายหลังการประชุมหารือร่วมกับนายเนวิลล์ เมลวิน แกร์ตเซ (H.E. Mr. Neville Gertze) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐนามิเบียประจำประเทศไทย นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก และภาคเอกชน ว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศนามิเบียทั้งในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาลและเอกชนต่อเอกชนในการพัฒนาและขยายอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ โดยผ่านความร่วมมือกับประเทศนามิเบียในฐานะหุ้นส่วนธุรกิจเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Business Partner) ที่จะนำจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาร่วมกันเสริมสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ให้เจริญ เติบโตแบบก้าวกระโดด และเป็นผู้นำในตลาดโลกได้ในอนาคตอันใกล้
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้เข้าประเทศได้ถึงปีละกว่า 185,000 ล้านบาท ซึ่งมีบุคลากรในอุตสาหกรรมกว่า 1.5 ล้านคน อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบประเภทอัญมณีจากต่างประเทศอยู่โดยเฉพาะเพชรและพลอยดิบ เพื่อนำมาเจียระนัยและใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าเครื่องประดับ หากประเทศไทยสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผ่านความร่วมมือกับประเทศนามิเบีย ก็เชื่อมั่นว่ารายได้จากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะเพิ่มขึ้นเกิน 250,000 ล้านบาทได้ เนื่องจากประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญในด้านการเจียระนัยเพชรซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่า Bangkok Cut ตลอดจนการออกแบบและผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอยู่แล้ว
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่า ทางนามิเบียได้เชิญชวนให้ภาครัฐและเอกชนไทยเข้าไปศึกษาโอกาส ผลประโยชน์และความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปร่วมลงทุนระยะยาวในกิจการเหมืองแร่และอัญมณี รวมถึงช่องทางธุรกิจในการคัด ตัดและเจียระนัยอัญมณีและการประกอบตัวเรือนเครื่องประดับในนามิเบีย เนื่องจากนามิเบียเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น เพชร ทับทิม พลอย หินสีและอัญมณีต่าง ๆ รวมทั้งทองคำ ยูเรเนียม ทองแดง สังกะสี และก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของนามิเบียถูกจัดอันดับให้ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของทวีปแอฟริกา โดยแต่ละปีนามิเบียสามารถผลิตเพชรได้มากกว่า 2 ล้านกะรัต และยังคงมีการค้นพบแหล่งแร่เพชรใหม่ ๆ จำนวนมหาศาลทั้งบนบกและในทะเล จึงมีศักยภาพสูงที่จะเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวย้ำให้ภาคเอกชนไทยเห็นถึงโอกาสและช่องทางในการที่จะร่วมมือกับนามิเบียเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย โดยขอให้คำนึงถึง Business Model ที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรม โดยเอกชนอาจจะเข้าไปซื้อเพชรดิบจากนามิเบียมาทำการเจียระนัยในประเทศไทย หรือเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานเจียระนัยเพชรในนามิเบีย หรืออาจจะเข้าไปลงทุนทำเหมืองเพชรในนามิเบียเลยก็ได้ อย่างไรก็ดีรองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่าพร้อมที่จะนำคณะภาคราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเดินทางไปสำรวจและเจรจากับรัฐบาลนามิเบียในเร็ววันนี้ เพื่อเร่งให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยบรรลุเป้าหมายสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศถึง 250,000 ล้านบาท
“ วันนี้รัฐบาลไทยกำลังเปิดการเจรจากับเอกอัครราชทูตฯ นามิเบีย เพื่อจะเปิดการเจรจาขั้นที่สองในการให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปทำกิจการเพชรแล้วออกสู่ทั่วโลก ในหลายรูปแบบ คือ ภาคเอกชนสมาคมเพชรพลอยอัญมณีจะนำวัตถุดิบจากนามิเบีย เข้ามาทำการเจียระนัยสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือภาคเอกชนไทยเข้าไปลงทุนทำเหมืองเพชรที่นามิเบีย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเติบโตถึง 250,000 ล้านบาทต่อปี โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือภาคเอกชนด้วยการหาแหล่งวัตถุดิบให้ ผลิตบุคลากรด้านการเจียระนัยตั้งแต่พลอยระดับล่างขึ้นมาจนถึงเพชรระดับสูงสุด โดยกระทรวงแรงงานจะเปิดการฝึกอบรมการเจียระนัยพลอยให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจ ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการจะให้สถาบันอาชีวศึกษาเปิดการสอนวิชาเจียระนัยเพชรพลอยทั้งระดับ ปวช. ปวส. และจะมีมหาวิทยาลัย 4 แห่งที่จะเปิดหลักสูตรการสอนในระดับปริญญาตรีเพื่อพัฒนาบุคลากร ที่นอกจากจะเรียนวิชาการเจียระนัยเพชรพลอยระดับสูงแล้ว จะมีโอกาสได้เรียนต่อปริญญาโทสาขาวิชาการออกแบบอัญมณีเพชรพลอยและเครื่องประดับที่ต่างประเทศด้วย ซึ่งนั่นแปลว่าไทยจะเป็นศูนย์กลางอัญมณีของโลก” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 11.50 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการแถลงข่าวภายหลังการประชุมหารือร่วมกับนายเนวิลล์ เมลวิน แกร์ตเซ (H.E. Mr. Neville Gertze) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐนามิเบียประจำประเทศไทย นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก และภาคเอกชน ว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศนามิเบียทั้งในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาลและเอกชนต่อเอกชนในการพัฒนาและขยายอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ โดยผ่านความร่วมมือกับประเทศนามิเบียในฐานะหุ้นส่วนธุรกิจเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Business Partner) ที่จะนำจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาร่วมกันเสริมสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ให้เจริญ เติบโตแบบก้าวกระโดด และเป็นผู้นำในตลาดโลกได้ในอนาคตอันใกล้
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้เข้าประเทศได้ถึงปีละกว่า 185,000 ล้านบาท ซึ่งมีบุคลากรในอุตสาหกรรมกว่า 1.5 ล้านคน อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบประเภทอัญมณีจากต่างประเทศอยู่โดยเฉพาะเพชรและพลอยดิบ เพื่อนำมาเจียระนัยและใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าเครื่องประดับ หากประเทศไทยสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผ่านความร่วมมือกับประเทศนามิเบีย ก็เชื่อมั่นว่ารายได้จากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะเพิ่มขึ้นเกิน 250,000 ล้านบาทได้ เนื่องจากประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญในด้านการเจียระนัยเพชรซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่า Bangkok Cut ตลอดจนการออกแบบและผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอยู่แล้ว
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่า ทางนามิเบียได้เชิญชวนให้ภาครัฐและเอกชนไทยเข้าไปศึกษาโอกาส ผลประโยชน์และความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปร่วมลงทุนระยะยาวในกิจการเหมืองแร่และอัญมณี รวมถึงช่องทางธุรกิจในการคัด ตัดและเจียระนัยอัญมณีและการประกอบตัวเรือนเครื่องประดับในนามิเบีย เนื่องจากนามิเบียเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น เพชร ทับทิม พลอย หินสีและอัญมณีต่าง ๆ รวมทั้งทองคำ ยูเรเนียม ทองแดง สังกะสี และก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของนามิเบียถูกจัดอันดับให้ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของทวีปแอฟริกา โดยแต่ละปีนามิเบียสามารถผลิตเพชรได้มากกว่า 2 ล้านกะรัต และยังคงมีการค้นพบแหล่งแร่เพชรใหม่ ๆ จำนวนมหาศาลทั้งบนบกและในทะเล จึงมีศักยภาพสูงที่จะเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวย้ำให้ภาคเอกชนไทยเห็นถึงโอกาสและช่องทางในการที่จะร่วมมือกับนามิเบียเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย โดยขอให้คำนึงถึง Business Model ที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรม โดยเอกชนอาจจะเข้าไปซื้อเพชรดิบจากนามิเบียมาทำการเจียระนัยในประเทศไทย หรือเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานเจียระนัยเพชรในนามิเบีย หรืออาจจะเข้าไปลงทุนทำเหมืองเพชรในนามิเบียเลยก็ได้ อย่างไรก็ดีรองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่าพร้อมที่จะนำคณะภาคราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเดินทางไปสำรวจและเจรจากับรัฐบาลนามิเบียในเร็ววันนี้ เพื่อเร่งให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยบรรลุเป้าหมายสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศถึง 250,000 ล้านบาท
“ วันนี้รัฐบาลไทยกำลังเปิดการเจรจากับเอกอัครราชทูตฯ นามิเบีย เพื่อจะเปิดการเจรจาขั้นที่สองในการให้ภาคเอกชนไทยเข้าไปทำกิจการเพชรแล้วออกสู่ทั่วโลก ในหลายรูปแบบ คือ ภาคเอกชนสมาคมเพชรพลอยอัญมณีจะนำวัตถุดิบจากนามิเบีย เข้ามาทำการเจียระนัยสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือภาคเอกชนไทยเข้าไปลงทุนทำเหมืองเพชรที่นามิเบีย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเติบโตถึง 250,000 ล้านบาทต่อปี โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือภาคเอกชนด้วยการหาแหล่งวัตถุดิบให้ ผลิตบุคลากรด้านการเจียระนัยตั้งแต่พลอยระดับล่างขึ้นมาจนถึงเพชรระดับสูงสุด โดยกระทรวงแรงงานจะเปิดการฝึกอบรมการเจียระนัยพลอยให้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจ ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการจะให้สถาบันอาชีวศึกษาเปิดการสอนวิชาเจียระนัยเพชรพลอยทั้งระดับ ปวช. ปวส. และจะมีมหาวิทยาลัย 4 แห่งที่จะเปิดหลักสูตรการสอนในระดับปริญญาตรีเพื่อพัฒนาบุคลากร ที่นอกจากจะเรียนวิชาการเจียระนัยเพชรพลอยระดับสูงแล้ว จะมีโอกาสได้เรียนต่อปริญญาโทสาขาวิชาการออกแบบอัญมณีเพชรพลอยและเครื่องประดับที่ต่างประเทศด้วย ซึ่งนั่นแปลว่าไทยจะเป็นศูนย์กลางอัญมณีของโลก” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--