นายกรัฐมนตรีสร้างความเชื่อมั่นแก่อินโดนีเซียว่าไทยมีรากฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และยังคงเป็นสถานที่น่าเชื่อถือและเอื้อต่อการลงทุน
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พบปะพร้อมกล่าวสุนทรพจน์แก่ภาคเอกชนไทยและอินโดนีเซีย ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2551 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์การเมืองไทยว่า ปัจจุบันไทยได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และสิ่งสำคัญลำดับแรกคือ การฟื้นฟูความมั่นใจของนานาชาติในเศรษฐกิจไทย แม้ปีที่ผ่านมาสถานการณ์ต่างๆ มีความผันผวน แต่ไทยก็มีรากฐานเศรษฐกิจกิจที่แข็งแกร่ง สามารถเผชิญหน้ากับสถานการณ์น้ำมันราคาแพง วิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่า จะเติบโตร้อยละ 4-6 และไทยยังคงเป็นสถานที่ที่น่าเชื่อถือและเอื้อต่อการลงทุน โดยมีการส่งออกภายในอาเซียนในปริมาณมาก รวมทั้งภาคเอกชนที่มีศักยภาพจำนวนมาก
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการเติบโต การลงทุน ให้มีความสมดุลกับการส่งออกที่เข้มแข็ง รัฐบาลประกาศให้ปีนี้เป็น “ปีแห่งการลงทุน” โดยผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเป็นศูนย์การการขนส่ง รวมทั้ง การสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินบาท และปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนที่เป็นมิตรต่อนักลงทุน
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า ไทยและอินโดนีเซียมีความร่วมมือทางธุรกิจกันอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต และในอีก 2 ปีข้างหน้าทั้งสองประเทศจะได้ร่วมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซียครบรอบ 60ปี คือ ปี ค.ศ. 2010 มูลค่าการค้าไทย-อินโดนีเซียสูงถึง 8.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 30 ไทยเป็นผู้เข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียสูงเป็นลำดับ 10 ขณะเดียวกัน ความสนใจในการลงทุนของอินโดนีเซียในไทยก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองประเทศ ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงครึ่ง ในการเดินทางไปมาหากันโดยทางเครื่องบิน และความสำเร็จในการลงนามในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มการค้าและการลงทุนและการติดต่อระหว่างกันดังเช่น การแลกเปลี่ยนการเดินทางของสำนักงานการลงทุนแห่งประเทศไทยในครั้งนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายนี้ว่า ไทยและอินโดนีเซียเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ ทั้งสองประเทศมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในสาขาความมั่นคงทางพลังงาน เนื่องจากอินโดนีเซียมีความอุดมสมบูรณ์ในด้านทรัพยากรพลังงาน ซึ่งไทยพร้อมที่จะเข้ามาลงทุนในสาขาดังกล่าว ขณะเดียวกันไทยก็สามารถป้อนผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการบริโภคให้กับอินโดนีเซียได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในสาขาต่างๆ อาทิ พลังงานทางเลือก การประมงและเหมืองแร่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทั้งสองประเทศพร้อมที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อภาคธุรกิจ แต่เอกชนคือผู้มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ความสำเร็จนั้นเป็นจริง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พบปะพร้อมกล่าวสุนทรพจน์แก่ภาคเอกชนไทยและอินโดนีเซีย ระหว่างการเยือนสาธารณรัฐอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2551 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์การเมืองไทยว่า ปัจจุบันไทยได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และสิ่งสำคัญลำดับแรกคือ การฟื้นฟูความมั่นใจของนานาชาติในเศรษฐกิจไทย แม้ปีที่ผ่านมาสถานการณ์ต่างๆ มีความผันผวน แต่ไทยก็มีรากฐานเศรษฐกิจกิจที่แข็งแกร่ง สามารถเผชิญหน้ากับสถานการณ์น้ำมันราคาแพง วิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่า จะเติบโตร้อยละ 4-6 และไทยยังคงเป็นสถานที่ที่น่าเชื่อถือและเอื้อต่อการลงทุน โดยมีการส่งออกภายในอาเซียนในปริมาณมาก รวมทั้งภาคเอกชนที่มีศักยภาพจำนวนมาก
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการเติบโต การลงทุน ให้มีความสมดุลกับการส่งออกที่เข้มแข็ง รัฐบาลประกาศให้ปีนี้เป็น “ปีแห่งการลงทุน” โดยผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเป็นศูนย์การการขนส่ง รวมทั้ง การสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงินบาท และปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนที่เป็นมิตรต่อนักลงทุน
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า ไทยและอินโดนีเซียมีความร่วมมือทางธุรกิจกันอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต และในอีก 2 ปีข้างหน้าทั้งสองประเทศจะได้ร่วมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซียครบรอบ 60ปี คือ ปี ค.ศ. 2010 มูลค่าการค้าไทย-อินโดนีเซียสูงถึง 8.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 30 ไทยเป็นผู้เข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียสูงเป็นลำดับ 10 ขณะเดียวกัน ความสนใจในการลงทุนของอินโดนีเซียในไทยก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองประเทศ ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงครึ่ง ในการเดินทางไปมาหากันโดยทางเครื่องบิน และความสำเร็จในการลงนามในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มการค้าและการลงทุนและการติดต่อระหว่างกันดังเช่น การแลกเปลี่ยนการเดินทางของสำนักงานการลงทุนแห่งประเทศไทยในครั้งนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายนี้ว่า ไทยและอินโดนีเซียเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ ทั้งสองประเทศมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในสาขาความมั่นคงทางพลังงาน เนื่องจากอินโดนีเซียมีความอุดมสมบูรณ์ในด้านทรัพยากรพลังงาน ซึ่งไทยพร้อมที่จะเข้ามาลงทุนในสาขาดังกล่าว ขณะเดียวกันไทยก็สามารถป้อนผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการบริโภคให้กับอินโดนีเซียได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในสาขาต่างๆ อาทิ พลังงานทางเลือก การประมงและเหมืองแร่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทั้งสองประเทศพร้อมที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อภาคธุรกิจ แต่เอกชนคือผู้มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ความสำเร็จนั้นเป็นจริง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--