นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเข้าร่วมประชุมสุดยอด 6 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 (3rd GMS Summit) ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2551
โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Greater Mekong Subregion (GMS) เป็นการรวมตัวกันของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามและจีน (ยูนาน) โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก กลุ่มประเทศ GMS มีพื้นที่รวมกันประมาณ 2 ล้าน 3 แสน ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีขนาดประมาณเท่ากับพื้นที่ของยุโรปตะวันตก และเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่าง เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ GMS มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตรและบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก ความร่วมมือ GMS ประกอบไป ด้วย ความร่วมมือ 9 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน เกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สำหรับ ประชุม GMS Summit ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 มีหัวข้อหลัก (theme) คือ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงด้วยการพัฒนาเชื่อมโยงโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Enhancing Competitiveness for Greater Connectivity ซึ่งมีกำหนดการ ดังนี้
วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและคณะ จะออกเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังจังหวัดอุดรธานี โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 1002 จากนั้นเดินทางต่อโดยรถยนต์ไปยังจังหวัดหนองคาย และเวียงจันทน์ ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปยังด่านศุลกากรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งมีพิธีต้อนรับโดยฝ่ายลาว ก่อนการเดินทางไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้ง เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟหนองคายท่านาแล้ง และเยี่ยมชมบริเวณสถานีรถไฟ
จากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเดินทางต่อไปยังโรงแรมลาวพลาซ่า ซึ่งรัฐบาลลาวจัดให้เป็นโรงแรมที่พัก เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ก่อนเดินทางไปโรงแรมดอนจัน พาเลซ เพื่อเยี่ยมชม นิทรรศการ เกี่ยวกับ GMS พร้อมผู้นำทั้ง 6 ประเทศ จากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมประชุมผู้นำพบปะเยาวชน GMS และการประชุมระหว่างผู้นำประเทศสมาชิก GMS กับภาคเอกชน ตามลำดับ
ในช่วงเย็น นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการหารือทวิภาคีกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน ก่อนการร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลง 2 ฉบับ คือ (1) บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนสิทธิการจราจรระหว่างประเทศ ซึ่งจะลงนามโดย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ในฐานะรัฐมนตรีGMSของไทย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งลาว (2) ความตกลงว่าด้วยการเดินรถไฟร่วมกันระหว่างไทย-ลาว ซึ่งลงนามโดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งลาว
จากนั้น นายกรัฐมนตรีลาวเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี ผู้นำ GMS และประธาน ADB ณ โรงแรมดอนจันพาเลซ
วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2551 นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเข้าร่วมการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมดอนจันพาเลซ จากนั้น เข้าร่วมประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 แบบ Closed-Door Meeting ในหัวข้อหลัก (theme) “Enhancing Competitiveness for Greater Connectivity” โดยผู้นำประเทศสมาชิก GMS หารือกับประธาน ADB โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้นำแต่ละประเทศ กล่าวน ในแต่ละหัวข้อ ซึ่’ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญให้กล่าวนำในเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขัน (Building Human Resource Capacity for Enhanced Competitiveness)
จากนั้น นายกรัฐมนตรีจะร่วมพิธีฉลองความสำเร็จโครงการภายใต้กรอบ GMS ได้แก่ (1) พิธีฉลองการเปิดเส้นทาง R3 (ไทย-ลาว-จีน) ตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (2) พิธีฉลองความสำเร็จของการเชื่อมโยงโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Superhighway Project ระยะที่ 1) (3) พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่อง Road Map for Implementing the GMS Cross Border Power Trading (4) พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่อง Sustainable and Balanced Development of the Greater Mekong Subregion Economic Corridor and Enhanced Organizational Effectiveness for Development Economic Corridors (5) พิธีลงนามในร่างแถลงการณ์ผู้นำ
ภายหลังการร่วมพิธีฉลองความสำเร็จฯ นายกรัฐมนตรีลาวจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ผู้นำสมาชิก GMS และประธาน ADB
ในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาว ครั้งที่ 16 (General Border Committee — GBC) ณ โรงแรมลาวพลาซ่า ก่อนเดินทางกลับทางรถยนต์ข้ามด่านศุลกากรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปยังท่าอากาศยานจังหวัดอุดรธานี และเดินทางโดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 1015 ถึง กรุงเทพฯ ท่าอากาศยานดอนเมือง ในเวลา 20.50 น.
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Greater Mekong Subregion (GMS) เป็นการรวมตัวกันของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามและจีน (ยูนาน) โดยมีธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก กลุ่มประเทศ GMS มีพื้นที่รวมกันประมาณ 2 ล้าน 3 แสน ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีขนาดประมาณเท่ากับพื้นที่ของยุโรปตะวันตก และเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่าง เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ GMS มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตรและบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ส่งเสริมความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก ความร่วมมือ GMS ประกอบไป ด้วย ความร่วมมือ 9 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน เกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สำหรับ ประชุม GMS Summit ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 มีหัวข้อหลัก (theme) คือ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงด้วยการพัฒนาเชื่อมโยงโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Enhancing Competitiveness for Greater Connectivity ซึ่งมีกำหนดการ ดังนี้
วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและคณะ จะออกเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังจังหวัดอุดรธานี โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 1002 จากนั้นเดินทางต่อโดยรถยนต์ไปยังจังหวัดหนองคาย และเวียงจันทน์ ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปยังด่านศุลกากรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งมีพิธีต้อนรับโดยฝ่ายลาว ก่อนการเดินทางไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้ง เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟหนองคายท่านาแล้ง และเยี่ยมชมบริเวณสถานีรถไฟ
จากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเดินทางต่อไปยังโรงแรมลาวพลาซ่า ซึ่งรัฐบาลลาวจัดให้เป็นโรงแรมที่พัก เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ก่อนเดินทางไปโรงแรมดอนจัน พาเลซ เพื่อเยี่ยมชม นิทรรศการ เกี่ยวกับ GMS พร้อมผู้นำทั้ง 6 ประเทศ จากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมประชุมผู้นำพบปะเยาวชน GMS และการประชุมระหว่างผู้นำประเทศสมาชิก GMS กับภาคเอกชน ตามลำดับ
ในช่วงเย็น นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการหารือทวิภาคีกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน ก่อนการร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลง 2 ฉบับ คือ (1) บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนสิทธิการจราจรระหว่างประเทศ ซึ่งจะลงนามโดย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ในฐานะรัฐมนตรีGMSของไทย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งลาว (2) ความตกลงว่าด้วยการเดินรถไฟร่วมกันระหว่างไทย-ลาว ซึ่งลงนามโดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งลาว
จากนั้น นายกรัฐมนตรีลาวเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี ผู้นำ GMS และประธาน ADB ณ โรงแรมดอนจันพาเลซ
วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2551 นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเข้าร่วมการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมดอนจันพาเลซ จากนั้น เข้าร่วมประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 แบบ Closed-Door Meeting ในหัวข้อหลัก (theme) “Enhancing Competitiveness for Greater Connectivity” โดยผู้นำประเทศสมาชิก GMS หารือกับประธาน ADB โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้นำแต่ละประเทศ กล่าวน ในแต่ละหัวข้อ ซึ่’ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญให้กล่าวนำในเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขัน (Building Human Resource Capacity for Enhanced Competitiveness)
จากนั้น นายกรัฐมนตรีจะร่วมพิธีฉลองความสำเร็จโครงการภายใต้กรอบ GMS ได้แก่ (1) พิธีฉลองการเปิดเส้นทาง R3 (ไทย-ลาว-จีน) ตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (2) พิธีฉลองความสำเร็จของการเชื่อมโยงโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Superhighway Project ระยะที่ 1) (3) พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่อง Road Map for Implementing the GMS Cross Border Power Trading (4) พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่อง Sustainable and Balanced Development of the Greater Mekong Subregion Economic Corridor and Enhanced Organizational Effectiveness for Development Economic Corridors (5) พิธีลงนามในร่างแถลงการณ์ผู้นำ
ภายหลังการร่วมพิธีฉลองความสำเร็จฯ นายกรัฐมนตรีลาวจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ผู้นำสมาชิก GMS และประธาน ADB
ในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาว ครั้งที่ 16 (General Border Committee — GBC) ณ โรงแรมลาวพลาซ่า ก่อนเดินทางกลับทางรถยนต์ข้ามด่านศุลกากรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปยังท่าอากาศยานจังหวัดอุดรธานี และเดินทางโดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 1015 ถึง กรุงเทพฯ ท่าอากาศยานดอนเมือง ในเวลา 20.50 น.
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--