นายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟหนองคาย-ท่านาแล้ง พร้อมทั้งหารือทวิภาคีกับนายฮารุฮิโกะ คูโรตะ ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย
วันนี้ เวลา 10.30 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางถึงท่าอากาศยานจังหวัดอุดรธานี และเดินทางต่อไปโดยรถยนต์ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปยังด่านศุลกากรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เพื่อข้ามไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งทางฝ่ายลาวจัดให้มีพิธีต้อนรับ
จากนั้น นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้ง เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ หนองคาย-ท่านาแล้ง และเยี่ยมชมบริเวณรถไฟ ที่รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ลาว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่กึ่งกลางสะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์)
ทั้งนี้ สถานีท่านาแล้ง เมืองหาดทรายฟอง นครเวียงจันทน์นี้ มีระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงไทย-ลาว ที่รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่ลาว ในวงเงิน 197 ล้านบาท ในรูปเงินกู้ผ่อนปรน ร้อยละ 70 และเงินให้เปล่า ร้อยละ 30 ของวงเงิน เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อต้นปี 2550 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 18 เดือน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยกับผู้ที่มาต้อนรับตอนหนึ่งว่า โครงการนี้จะช่วยเชื่อมความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน และเมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ การขนส่งสินค้าระหว่างกันจะสะดวกสบายมากขึ้น และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของทั้งสองประเทศ อีกทั้งยังเป็นสถานีที่ทันสมัยด้วย และในอนาคตคงมีการขยายเส้นทางไปถึงนครเวียงจันทน์ประมาณ 9 กิโลเมตร ซึ่งต้องใช้งบประมาณ 900 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยยินดีให้การสนับสนุน เพราะความมั่นคงของ สปป.ลาว ถือเป็นความมั่นคงของไทยด้วย หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังโรงแรม ลาว พลาซ่า ซึ่งรัฐบาลจัดให้เป็นที่พัก เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน
จากนั้นในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายฮารุฮิโกะ คูโรตะ ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ณ โรงแรมลาวพลาซ่า นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความขอบคุณธนาคารพัฒนาเอเชียแห่งเอเชียสำหรับบทบาทในการริเริ่มและให้ความสนับสนุนในกรอบ GMS โดยเฉพาะความช่วยเหลือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในอนุภูมิภาค ซึ่งจะสมบูรณ์ในปี 2015 ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ ADB สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ทั้งในด้าน hardward (กายภาพ) และ softward (กฎระเบียบ) รวมทั้ง standard หรือ มาตรฐานที่เป็นสากล ทั้งนี้ ประเทศไทยยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมในอนุภูมิภาคร่วมกับ ADB เพื่อให้การเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมสมบูรณ์ได้ภายในปี 2015
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.30 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางถึงท่าอากาศยานจังหวัดอุดรธานี และเดินทางต่อไปโดยรถยนต์ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปยังด่านศุลกากรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เพื่อข้ามไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งทางฝ่ายลาวจัดให้มีพิธีต้อนรับ
จากนั้น นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังสถานีรถไฟท่านาแล้ง เมืองหาดทรายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ หนองคาย-ท่านาแล้ง และเยี่ยมชมบริเวณรถไฟ ที่รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ลาว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่กึ่งกลางสะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์)
ทั้งนี้ สถานีท่านาแล้ง เมืองหาดทรายฟอง นครเวียงจันทน์นี้ มีระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เป็นหนึ่งในโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงไทย-ลาว ที่รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่ลาว ในวงเงิน 197 ล้านบาท ในรูปเงินกู้ผ่อนปรน ร้อยละ 70 และเงินให้เปล่า ร้อยละ 30 ของวงเงิน เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อต้นปี 2550 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 18 เดือน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยกับผู้ที่มาต้อนรับตอนหนึ่งว่า โครงการนี้จะช่วยเชื่อมความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน และเมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ การขนส่งสินค้าระหว่างกันจะสะดวกสบายมากขึ้น และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของทั้งสองประเทศ อีกทั้งยังเป็นสถานีที่ทันสมัยด้วย และในอนาคตคงมีการขยายเส้นทางไปถึงนครเวียงจันทน์ประมาณ 9 กิโลเมตร ซึ่งต้องใช้งบประมาณ 900 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยยินดีให้การสนับสนุน เพราะความมั่นคงของ สปป.ลาว ถือเป็นความมั่นคงของไทยด้วย หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังโรงแรม ลาว พลาซ่า ซึ่งรัฐบาลจัดให้เป็นที่พัก เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน
จากนั้นในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายฮารุฮิโกะ คูโรตะ ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ณ โรงแรมลาวพลาซ่า นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความขอบคุณธนาคารพัฒนาเอเชียแห่งเอเชียสำหรับบทบาทในการริเริ่มและให้ความสนับสนุนในกรอบ GMS โดยเฉพาะความช่วยเหลือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในอนุภูมิภาค ซึ่งจะสมบูรณ์ในปี 2015 ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ ADB สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ทั้งในด้าน hardward (กายภาพ) และ softward (กฎระเบียบ) รวมทั้ง standard หรือ มาตรฐานที่เป็นสากล ทั้งนี้ ประเทศไทยยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมในอนุภูมิภาคร่วมกับ ADB เพื่อให้การเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมสมบูรณ์ได้ภายในปี 2015
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--