นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรอบ GMS ว่าจะเน้นการพัฒนาด้านแรงงาน สาธารณสุข และการศึกษา GMS จำเป็นต้องเพิ่มความพยายามให้มากขึ้นในการยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนในอนุภูมิภาคให้สอดคล้องกับ Millennium Development Goals
วันนี้ 31 มีนาคม 2551 เวลา 06.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางเยี่ยมชมตลาดเช้า ณ สปป. ลาว ก่อนเดินทางไปร่วมพิธีเปิดการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 ณ Convention Hall A โรงแรมดอนจันพาเลซ จากนั้น เวลา 09.30 น. นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 แบบ Closed-Door Meeting ในหัวข้อ "Enhancing Competitiveness through Greater Connectivity" ณ Convention Hall B โรงแรมดอนจันพาเลซ ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้นำ GMS ทั้ง 6 ประเทศ ประกอบด้วย จีน เวียดนาม กัมพูชา ไทยพม่า และลาว กล่าวนำในแต่ละประเด็น
นายกรัฐมนตรีไทย ได้กล่าวในหัวข้อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน (Building Human Resource Capacity for Enhanced Competitiveness) สรุปว่า การสร้างขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถทำได้โดย ประการที่หนึ่ง การเตรียมความพร้อมของเยาวชนให้สามารถปรับตัวกับยุคโลกาภิวัตน์ได้ โดยระบบการศึกษาใหม่ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยรักษาค่านิยมอันดีของชาติไว้ ประการที่สอง การสร้างความมั่นคงปลอดภัยแก่ประชาชนโดยการมีสุขภาพที่ดี มีงานที่มั่นคง รายได้ดี และให้มีความเจ็บป่วยทางสังคม เช่น ปัญหาอาชญากรรม และ ยาเสพติด น้อยที่สุด ประการที่สาม มีการไหลของแรงงานในอนุภูมิภาคอย่างเสรีมากยิ่งขึ้น และเตรียมความพร้อมให้มีระบบการเคลื่อนย้ายแรงงานที่ดีโดยปราศจากปัญหาการข้ามพรมแดน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรอบ GMS ว่า จะเน้นการพัฒนาด้านแรงงาน สาธารณสุข และการศึกษา ไทยเชื่อมั่นว่า GMS จำเป็นต้องเพิ่มความพยายามให้มากขึ้นในการยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนในอนุภูมิภาคให้สอดคล้องกับ Millennium Development Goals เพื่อให้ประชาชน ได้รับบริการสาธารณสุขและการศึกษาอย่างทั่วถึง ประเทศสมาชิก GMS ควรมีบทบาทในการดูแลการข้ามพรมแดนของแรงงาน โดยการพัฒนาแรงงานให้มีทักษะที่จำเป็นในการทำงาน โดยสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเร่งพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและอยู่ได้ด้วยตนเอง ในอนาคตอันใกล้เราต้องมีเวทีหารือกับท้องถิ่นในลักษณะ governor forum
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้สนับสนุน ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรมดูงาน แก่ประเทศสมาชิกเป็นจำนวน 5,500 ทุนในช่วงปี 2546-2550 นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับทุกประเทศในอนุภูมิภาคสนับสนุนการจัดตั้งสถาบัน ความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) ให้เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่พัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาค รัฐบาลไทยมีความพร้อมและยืนยันในการสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการแก่ ประเทศสมาชิกทั้งในลักษณะทวิภาคีและภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเชิญชวนให้หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ สนับสนุน แนวความคิด "หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา" เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพของประเทศ GMS ให้บรรลุ จุดมุ่งหมายของ Millennium Development Goals''
จากนั้นในช่วงบ่ายนายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเข้าเยี่ยมคารวะ พลโท จูมมะลี ไชยะสอน ประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก่อนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนทั่วไป ไทย-ลาว ครั้งที่ 16 (General Border Committee - GBC) และเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในเวลา 20.50 น.
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ 31 มีนาคม 2551 เวลา 06.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางเยี่ยมชมตลาดเช้า ณ สปป. ลาว ก่อนเดินทางไปร่วมพิธีเปิดการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 ณ Convention Hall A โรงแรมดอนจันพาเลซ จากนั้น เวลา 09.30 น. นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 แบบ Closed-Door Meeting ในหัวข้อ "Enhancing Competitiveness through Greater Connectivity" ณ Convention Hall B โรงแรมดอนจันพาเลซ ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้นำ GMS ทั้ง 6 ประเทศ ประกอบด้วย จีน เวียดนาม กัมพูชา ไทยพม่า และลาว กล่าวนำในแต่ละประเด็น
นายกรัฐมนตรีไทย ได้กล่าวในหัวข้อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน (Building Human Resource Capacity for Enhanced Competitiveness) สรุปว่า การสร้างขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถทำได้โดย ประการที่หนึ่ง การเตรียมความพร้อมของเยาวชนให้สามารถปรับตัวกับยุคโลกาภิวัตน์ได้ โดยระบบการศึกษาใหม่ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยรักษาค่านิยมอันดีของชาติไว้ ประการที่สอง การสร้างความมั่นคงปลอดภัยแก่ประชาชนโดยการมีสุขภาพที่ดี มีงานที่มั่นคง รายได้ดี และให้มีความเจ็บป่วยทางสังคม เช่น ปัญหาอาชญากรรม และ ยาเสพติด น้อยที่สุด ประการที่สาม มีการไหลของแรงงานในอนุภูมิภาคอย่างเสรีมากยิ่งขึ้น และเตรียมความพร้อมให้มีระบบการเคลื่อนย้ายแรงงานที่ดีโดยปราศจากปัญหาการข้ามพรมแดน
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรอบ GMS ว่า จะเน้นการพัฒนาด้านแรงงาน สาธารณสุข และการศึกษา ไทยเชื่อมั่นว่า GMS จำเป็นต้องเพิ่มความพยายามให้มากขึ้นในการยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนในอนุภูมิภาคให้สอดคล้องกับ Millennium Development Goals เพื่อให้ประชาชน ได้รับบริการสาธารณสุขและการศึกษาอย่างทั่วถึง ประเทศสมาชิก GMS ควรมีบทบาทในการดูแลการข้ามพรมแดนของแรงงาน โดยการพัฒนาแรงงานให้มีทักษะที่จำเป็นในการทำงาน โดยสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเร่งพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและอยู่ได้ด้วยตนเอง ในอนาคตอันใกล้เราต้องมีเวทีหารือกับท้องถิ่นในลักษณะ governor forum
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้สนับสนุน ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรมดูงาน แก่ประเทศสมาชิกเป็นจำนวน 5,500 ทุนในช่วงปี 2546-2550 นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับทุกประเทศในอนุภูมิภาคสนับสนุนการจัดตั้งสถาบัน ความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) ให้เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่พัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาค รัฐบาลไทยมีความพร้อมและยืนยันในการสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการแก่ ประเทศสมาชิกทั้งในลักษณะทวิภาคีและภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเชิญชวนให้หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ สนับสนุน แนวความคิด "หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา" เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพของประเทศ GMS ให้บรรลุ จุดมุ่งหมายของ Millennium Development Goals''
จากนั้นในช่วงบ่ายนายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเข้าเยี่ยมคารวะ พลโท จูมมะลี ไชยะสอน ประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก่อนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนทั่วไป ไทย-ลาว ครั้งที่ 16 (General Border Committee - GBC) และเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในเวลา 20.50 น.
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--