นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ขณะนี้มีหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์
วันนี้ เวลา 11.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ขณะนี้มีหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 มีการลงประชามติวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ได้คะแนนออกมาประมาณ 58 ต่อ 41 แปลว่ามีคนเห็นด้วย 6 คน ไม่เห็นด้วย 4 คน และเป็นที่เข้าใจกันว่าที่เห็นด้วย 6 คนนั้นแปลว่าให้ไปเลือกตั้งก่อนแล้วค่อยมาแก้ไขกัน พวกที่หาเสียงบอกว่าจะต้องแก้รัฐธรรมนูญได้รับเลือกตั้ง 233 พวกที่บอกไม่ต้องการจะแก้ได้รับเลือกตั้ง 164 ตอนที่คณะปฏิวัติได้ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ไม่มีใครว่า แย่อย่างไรก็ทนรับกันมาได้ แต่พอคนที่มาจากการเลือกตั้งจะปรับแก้ไข ทำไมกลายเป็นคนเลว คนใช้ไม่ได้ เป็นคนจะเอาประโยชน์แต่ตัว เห็นแก่ตัว
“ สำนวนที่ผมเจ็บช้ำน้ำใจที่สุดคือคนทำผิดแล้วให้ไปแก้กฎหมาย ทำไมไม่ย้อนถามว่าถ้ากฎหมายผิดแล้วคนอยู่ได้อย่างไร เขียนไว้ไม่ถูกต้องแล้วจะอยู่กันต่อไปได้อย่างไร การเลือกตั้งวันข้างหน้าควรจะเลือกเขตละคน ถ้าแก้แล้ววันข้างหน้าจะได้เลือกตามนี้ วุฒิสมาชิกถ้าแก้ว่าเป็น 200 คน สังกัดหรือไม่สังกัดพรรคก็จะได้ใช้ไปตามนั้น ทำไว้เพื่ออนาคต ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่มีใครมาบังคับขู่เข็ญเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ แต่มาตามธรรมชาติ ถ้ามีการแก้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จอาจจะไม่ได้มีผลย้อนหลัง และอาจจะไม่ได้ประโยชน์อะไรกับเหตุที่เกิดไปแล้ว พรรค 3 พรรคที่อาจจะถูกยุบก็ต้องถูกยุบได้ แม้รัฐธรรมนูญจะแก้ไขแล้ว เมื่อมีความพร้อมและมีโอกาสหาเหตุแก้ก็ควรจะแก้ไข ถ้าเราไม่แก้แล้วใครจะแก้ ถ้ามีการเลือกตั้งเข้ามาก็ต้องทนใช้ฉบับนี้อีก โดยในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่า ให้คงหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ไว้ และนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาปรับแก้ อะไรที่ไม่ดีก็ตัดออก อะไรดีก็เก็บไว้ อันไหนที่ต้องเติมก็เติม จะใช้เวลาแก้ไขไม่กี่เดือน ซึ่งถ้าเห็นพ้องกันก็จะได้ของดีมาใช้เพื่ออนาคต คนในอนาคตจะได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งนี้ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเพราะในสมัยหน้านายกรัฐมนตรีจะไม่ลงรับสมัครเลือกตั้งแล้ว
“ ทำอย่างนี้เพื่ออะไร เพื่อตัวเองหรือ ถ้าเพื่อตัวเองก็ไม่คุ้มครองผม มาตรา 309 ที่ผมไม่เอาเพราะคิดหมากชั้นเดียว ไม่ได้คิดว่าต้องไปต่อสู้อะไรเพราะผมไม่ได้ทำความผิด จะโดนหรือไม่โดนก็สุดแท้แต่ ผมก็บอกไม่ต้องแก้ แต่พวกที่โดนคดีความเขาบอกว่าต้องแก้ เหตุผลเขาฟังได้ก็แก้ เป็นเรื่องอย่างนี้เท่านั้นเอง กลายเป็นตั้งคำถามว่าแก้เพื่อใคร ผมจะตอบคำถามคุณอานันท์ ปันยารชุน ผมแก้เพื่อคนไทยในอนาคตที่ยังต้องใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป และจะไม่มีตัวผมไปลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นไม่ได้เพื่อตัวผมเองเลย เพื่อคนไทยในวันข้างหน้าที่จะต้องมาใช้รัฐธรรมนูญที่ดีที่ควรจะเป็น คนไทยจะได้ไปเลือกตั้ง ส.ส. เขตละคน คนละเขต จะได้เลือกตั้ง ส.ว. 200 คนทั้งหมด จะสังกัดพรรคหรือไม่สังกัดพรรคก็จะได้แก้ไว้ตามที่ลงมติ ผมไม่ได้เป็นหัวโจกจะแก้ แต่เมื่อเขาจะแก้ก็เป็นประชาธิปไตยในพรรค” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่าทุกอย่างมีความทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าถ้ามีทุกข์ให้ดูเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ แล้วให้ดับที่เหตุ ฉะนั้นเรื่องนี้ทุกข์ของนักการเมืองคือมีรัฐธรรมนูญที่แย่ คาอยู่กลางบ้านกลางเมือง ก็เป็นทุกข์ นักการเมืองเป็นทุกข์ทั้งนั้น เคยเลือกตั้งกันเขตละคน คนละเขต อยู่มาจับมาเขตละ 3 คนก็มี 2 คนก็มี 1 คนก็มี เลือกตั้ง ส.ว. กทม. เคยเลือกได้ 18 คนกลายเป็นเลือกได้คนเดียว ซึ่งทุกอย่างมีคนมาทำให้เกิดเหตุ และเมื่อต้องการจะให้กลับไปเหมือนเดิมก็กลับ
“ มีคนกล่าวหารัฐบาลมีอำนาจมากเกินไปเพราะรัฐธรรมนูญให้อำนาจมากเกินไป บอกว่านายกฯ แย่ก็ต้องปฏิวัตินายกฯ ออก แล้วฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทั้งฉบับไม่เป็นไร แต่พอเราจะไปแก้ 2 — 3 มาตราก็ถูกว่าแล้วว่าอีก แก้รัฐธรรมนูญ 4 — 5 มาตราโดนวิพากษ์วิจารณ์เสียไม่มี แต่คนที่ฉีกทีเดียวทั้งเล่มไม่เป็นปัญหา” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ต่อข้อถามว่า ขณะนี้ยังมีหลายฝ่ายที่มีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะมีแนวทางใดที่จะให้ได้ข้อสรุปที่ราบรื่น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ โดยภายใน 1 — 2 สัปดาห์นี้จะบอกให้คณะกรรมการประสานพรรคร่วมรัฐบาลเรียกประชุม ซึ่งแต่ละพรรคควรประชุมร่วมกันภายในพรรคก่อนแล้วจึงมาประชุมร่วมกัน 6 พรรค หากไม่อยากประชุมร่วมกันก็ให้ส่งมติของแต่ละพรรคมาให้ประชุมในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ทั้งนี้ควรจะเป็นการประชุม ส.ส. ทั้งหมดโดยให้ออกความเห็นกันให้ตกผลึกให้เรียบร้อยแต่ไม่ต้องรีบร้อน
ต่อข้อถามว่า ตั้งแต่มีเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กระแสต้านรัฐบาลก็เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ากระแสต้านรัฐบาลไม่เป็นปัญหา จะมีก็มีเพราะเป็นสิทธิอันพึงมีพึงได้ของระบอบประชาธิปไตย คนไม่ชอบต้องมี แต่คนชอบก็ต้องมาก สถานการณ์วันนี้ไม่เหมือนสมัยไทยรักไทย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 11.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ขณะนี้มีหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 มีการลงประชามติวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ได้คะแนนออกมาประมาณ 58 ต่อ 41 แปลว่ามีคนเห็นด้วย 6 คน ไม่เห็นด้วย 4 คน และเป็นที่เข้าใจกันว่าที่เห็นด้วย 6 คนนั้นแปลว่าให้ไปเลือกตั้งก่อนแล้วค่อยมาแก้ไขกัน พวกที่หาเสียงบอกว่าจะต้องแก้รัฐธรรมนูญได้รับเลือกตั้ง 233 พวกที่บอกไม่ต้องการจะแก้ได้รับเลือกตั้ง 164 ตอนที่คณะปฏิวัติได้ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ไม่มีใครว่า แย่อย่างไรก็ทนรับกันมาได้ แต่พอคนที่มาจากการเลือกตั้งจะปรับแก้ไข ทำไมกลายเป็นคนเลว คนใช้ไม่ได้ เป็นคนจะเอาประโยชน์แต่ตัว เห็นแก่ตัว
“ สำนวนที่ผมเจ็บช้ำน้ำใจที่สุดคือคนทำผิดแล้วให้ไปแก้กฎหมาย ทำไมไม่ย้อนถามว่าถ้ากฎหมายผิดแล้วคนอยู่ได้อย่างไร เขียนไว้ไม่ถูกต้องแล้วจะอยู่กันต่อไปได้อย่างไร การเลือกตั้งวันข้างหน้าควรจะเลือกเขตละคน ถ้าแก้แล้ววันข้างหน้าจะได้เลือกตามนี้ วุฒิสมาชิกถ้าแก้ว่าเป็น 200 คน สังกัดหรือไม่สังกัดพรรคก็จะได้ใช้ไปตามนั้น ทำไว้เพื่ออนาคต ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่มีใครมาบังคับขู่เข็ญเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ แต่มาตามธรรมชาติ ถ้ามีการแก้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จอาจจะไม่ได้มีผลย้อนหลัง และอาจจะไม่ได้ประโยชน์อะไรกับเหตุที่เกิดไปแล้ว พรรค 3 พรรคที่อาจจะถูกยุบก็ต้องถูกยุบได้ แม้รัฐธรรมนูญจะแก้ไขแล้ว เมื่อมีความพร้อมและมีโอกาสหาเหตุแก้ก็ควรจะแก้ไข ถ้าเราไม่แก้แล้วใครจะแก้ ถ้ามีการเลือกตั้งเข้ามาก็ต้องทนใช้ฉบับนี้อีก โดยในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่า ให้คงหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ไว้ และนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาปรับแก้ อะไรที่ไม่ดีก็ตัดออก อะไรดีก็เก็บไว้ อันไหนที่ต้องเติมก็เติม จะใช้เวลาแก้ไขไม่กี่เดือน ซึ่งถ้าเห็นพ้องกันก็จะได้ของดีมาใช้เพื่ออนาคต คนในอนาคตจะได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งนี้ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเพราะในสมัยหน้านายกรัฐมนตรีจะไม่ลงรับสมัครเลือกตั้งแล้ว
“ ทำอย่างนี้เพื่ออะไร เพื่อตัวเองหรือ ถ้าเพื่อตัวเองก็ไม่คุ้มครองผม มาตรา 309 ที่ผมไม่เอาเพราะคิดหมากชั้นเดียว ไม่ได้คิดว่าต้องไปต่อสู้อะไรเพราะผมไม่ได้ทำความผิด จะโดนหรือไม่โดนก็สุดแท้แต่ ผมก็บอกไม่ต้องแก้ แต่พวกที่โดนคดีความเขาบอกว่าต้องแก้ เหตุผลเขาฟังได้ก็แก้ เป็นเรื่องอย่างนี้เท่านั้นเอง กลายเป็นตั้งคำถามว่าแก้เพื่อใคร ผมจะตอบคำถามคุณอานันท์ ปันยารชุน ผมแก้เพื่อคนไทยในอนาคตที่ยังต้องใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป และจะไม่มีตัวผมไปลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นไม่ได้เพื่อตัวผมเองเลย เพื่อคนไทยในวันข้างหน้าที่จะต้องมาใช้รัฐธรรมนูญที่ดีที่ควรจะเป็น คนไทยจะได้ไปเลือกตั้ง ส.ส. เขตละคน คนละเขต จะได้เลือกตั้ง ส.ว. 200 คนทั้งหมด จะสังกัดพรรคหรือไม่สังกัดพรรคก็จะได้แก้ไว้ตามที่ลงมติ ผมไม่ได้เป็นหัวโจกจะแก้ แต่เมื่อเขาจะแก้ก็เป็นประชาธิปไตยในพรรค” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่าทุกอย่างมีความทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าถ้ามีทุกข์ให้ดูเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ แล้วให้ดับที่เหตุ ฉะนั้นเรื่องนี้ทุกข์ของนักการเมืองคือมีรัฐธรรมนูญที่แย่ คาอยู่กลางบ้านกลางเมือง ก็เป็นทุกข์ นักการเมืองเป็นทุกข์ทั้งนั้น เคยเลือกตั้งกันเขตละคน คนละเขต อยู่มาจับมาเขตละ 3 คนก็มี 2 คนก็มี 1 คนก็มี เลือกตั้ง ส.ว. กทม. เคยเลือกได้ 18 คนกลายเป็นเลือกได้คนเดียว ซึ่งทุกอย่างมีคนมาทำให้เกิดเหตุ และเมื่อต้องการจะให้กลับไปเหมือนเดิมก็กลับ
“ มีคนกล่าวหารัฐบาลมีอำนาจมากเกินไปเพราะรัฐธรรมนูญให้อำนาจมากเกินไป บอกว่านายกฯ แย่ก็ต้องปฏิวัตินายกฯ ออก แล้วฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทั้งฉบับไม่เป็นไร แต่พอเราจะไปแก้ 2 — 3 มาตราก็ถูกว่าแล้วว่าอีก แก้รัฐธรรมนูญ 4 — 5 มาตราโดนวิพากษ์วิจารณ์เสียไม่มี แต่คนที่ฉีกทีเดียวทั้งเล่มไม่เป็นปัญหา” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ต่อข้อถามว่า ขณะนี้ยังมีหลายฝ่ายที่มีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะมีแนวทางใดที่จะให้ได้ข้อสรุปที่ราบรื่น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ โดยภายใน 1 — 2 สัปดาห์นี้จะบอกให้คณะกรรมการประสานพรรคร่วมรัฐบาลเรียกประชุม ซึ่งแต่ละพรรคควรประชุมร่วมกันภายในพรรคก่อนแล้วจึงมาประชุมร่วมกัน 6 พรรค หากไม่อยากประชุมร่วมกันก็ให้ส่งมติของแต่ละพรรคมาให้ประชุมในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ทั้งนี้ควรจะเป็นการประชุม ส.ส. ทั้งหมดโดยให้ออกความเห็นกันให้ตกผลึกให้เรียบร้อยแต่ไม่ต้องรีบร้อน
ต่อข้อถามว่า ตั้งแต่มีเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กระแสต้านรัฐบาลก็เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ากระแสต้านรัฐบาลไม่เป็นปัญหา จะมีก็มีเพราะเป็นสิทธิอันพึงมีพึงได้ของระบอบประชาธิปไตย คนไม่ชอบต้องมี แต่คนชอบก็ต้องมาก สถานการณ์วันนี้ไม่เหมือนสมัยไทยรักไทย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--