นายกรัฐมนตรีระบุขณะนี้กำลังหารือกันในเรื่องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่หากจะแก้คงแก้ทั้งฉบับ โดยความเห็นของ 6 พรรคร่วมรัฐบาล ส่วนจะแก้กี่มาตรการก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้น
เมื่อเวลา 14.25 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการถกเถียงกันอยู่ แต่คงจะแก้ทั้งฉบับ โดยความเห็นของพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 6พรรค และหวังใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่มีใครนำมาเป็นเหตุก่อให้เกิดความยุ่งยาก ส่วนที่ว่าพรรคชาติไทยต้องการให้มีการแก้ไขในบางมาตราเท่านั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะแก้มาตราไหนก็ให้เลือกมา ไม่ว่าจะแก้มากแก้น้อยก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อเสนอของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เสนอให้แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก่อน เพื่อให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ใช่เรื่องรัฐบาล และไม่มีความเห็นเรื่องนี้ ส่วนที่วิปรัฐบาลออกมาระบุว่าไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญมากหรือน้อยอาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงได้นั้น ก็อยากถามกลับว่าทำไมแก้รัฐธรรมนูญถึงจะมีความรุนแรง ไม่มีเหตุอะไรที่จะทำให้เกิดความรุนแรงเลย คนที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้เป็นคนชอบกลแท้ๆ เมื่อเขาเขียนได้ก็แก้ได้ การแก้กฎหมายก็แก้กันอยู่ทุกวัน กฎหมายเขียนด้วยคน คนก็แก้ ตอนที่ร่างก็บอกว่าถ้าไม่ชอบใจก็แก้ไขได้และง่าย แต่พอถึงเวลาจะแก้ไขก็ไม่ให้แก้อีก
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วจะให้มีการทำประชามติอีกรอบเหมือนรัฐธรรมนูญ ปี 2550 หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แต่ก่อนการแก้รัฐธรรมนูญเคยทำประชามติหรือไม่ ซึ่งยุติธรรมหรือไม่ ใครไม่รู้มาร่างแล้วก็ให้ประชาชนมาลงประชามติ ถือเป็นการมัดมือชก
ผู้สื่อข่าวถามว่า การให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ถือว่ายุติธรรมหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยุติธรรม เพราะเป็นระบบรัฐสภา แต่หากจะยืนยันให้ทำประชามติก็ไม่มีปัญหา ถ้าอยากจะทำให้ยืดเยื้อเช่นนั้น และต้องใช้เงินครั้งละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งหากเป็นอย่างนี้กฎหมายทุกฉบับที่จะออกก็คงต้องทำประชามติทั้งหมด เพราะรัฐธรรมนูญใหญ่กว่ากฎหมายทั่วไปเพียงหน่อยเดียวเท่านั้น เป็นใครมาจากไหนไม่รู้ยังร่างได้ แล้วทำไมคนที่มาจากการเลือกตั้งจะแก้ไขไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีคนมองว่าไม่เหมาะสม เพราะพรรคพลังประชาชนเป็นจำเลยในคดียุบพรรคอยู่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่ามาว่าเป็นจำเลย คดีของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภาก็เป็นเรื่องของเขา ส่วนเรื่องความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้น ต้องดูว่าเมื่อแก้ออกมาแล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ในวันข้างหน้า ไม่ต้องไปคิดถึงคดีนายยงยุทธฯ การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ทำเพื่อวันข้างหน้าไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการตั้ง สสร. มาร่วมร่างหรือจะให้ ส.ส.ทำเองทั้งหมด นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่รู้จักระบบรัฐสภาหรืออย่างไร ระบบรัฐสภาเริ่มต้นด้วยการไปเลือกตั้ง เมื่อได้มาเป็น ส.ส. ก็มีฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติที่ดูแลในเรื่องกฎหมาย แล้วจะให้ใครต่อใครมาช่วยจัดการเรื่องกฎหมายอีกหรือ ตกลงจะมีสภาไว้ทำไม ถ้าคนสภาทำกฎหมายไม่ได้แล้วจะทำอย่างไร แต่ก่อนคณะปฏิวัติยึดอำนาจแล้วตั้งสภามาเอง ไม่เห็นสื่อจะแสดงความเป็นห่วงกันเลย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าปล่อยให้ ส.ส.เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญเองแล้วประชาชนไม่เห็นด้วย ประชาชนจะต้องทนใช้รัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แล้ว ส.ส.เป็นใครมาจากไหน อยู่ดีๆ ผุดจากดินขึ้นมาทำหรือ เขาเลือกตั้งกันมาไม่เห็นหรือ ตกลงระบบบ้านเมืองเราเป็นอย่างไร มีระบบรัฐสภามาทำงานแล้วบอกไม่พอใจจะเอาคนอื่นมาทำ ถือว่าชอบกล คนที่ประชาชนเลือกมาเลวอย่างไร เมื่อมีระบบแล้ว มีสภาแล้วพอจะทำอะไรกลับบอกให้คนนอกมาช่วยคิดช่วยทำ มันไม่เข้าท่า สภาประกอบด้วย ส.ส. 480 คน แล้วยังมีวุฒิสมาชิกอีก 200 คน ทุกอย่างครบถ้วนแต่ทำไมยังไปถวิลหาคนอื่น
“อย่างผู้สื่อข่าวถ้าผมบอกว่าตั้งคำถามไม่เข้าท่า ให้ไปเอานักศึกษาที่เรียนวารสารศาสตร์มาถามแทนคุณจะรู้สึกอย่างไร ลองคิดดูผมก็มาตามเส้นทางและกำลังจะทำงาน กลับบอกว่าไม่ไว้วางใจให้คนอื่นมาทำแทนทำได้อย่างไร” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 14.25 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการถกเถียงกันอยู่ แต่คงจะแก้ทั้งฉบับ โดยความเห็นของพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 6พรรค และหวังใจว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่มีใครนำมาเป็นเหตุก่อให้เกิดความยุ่งยาก ส่วนที่ว่าพรรคชาติไทยต้องการให้มีการแก้ไขในบางมาตราเท่านั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะแก้มาตราไหนก็ให้เลือกมา ไม่ว่าจะแก้มากแก้น้อยก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้น
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อเสนอของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เสนอให้แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก่อน เพื่อให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ใช่เรื่องรัฐบาล และไม่มีความเห็นเรื่องนี้ ส่วนที่วิปรัฐบาลออกมาระบุว่าไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญมากหรือน้อยอาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงได้นั้น ก็อยากถามกลับว่าทำไมแก้รัฐธรรมนูญถึงจะมีความรุนแรง ไม่มีเหตุอะไรที่จะทำให้เกิดความรุนแรงเลย คนที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้เป็นคนชอบกลแท้ๆ เมื่อเขาเขียนได้ก็แก้ได้ การแก้กฎหมายก็แก้กันอยู่ทุกวัน กฎหมายเขียนด้วยคน คนก็แก้ ตอนที่ร่างก็บอกว่าถ้าไม่ชอบใจก็แก้ไขได้และง่าย แต่พอถึงเวลาจะแก้ไขก็ไม่ให้แก้อีก
ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วจะให้มีการทำประชามติอีกรอบเหมือนรัฐธรรมนูญ ปี 2550 หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แต่ก่อนการแก้รัฐธรรมนูญเคยทำประชามติหรือไม่ ซึ่งยุติธรรมหรือไม่ ใครไม่รู้มาร่างแล้วก็ให้ประชาชนมาลงประชามติ ถือเป็นการมัดมือชก
ผู้สื่อข่าวถามว่า การให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ถือว่ายุติธรรมหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยุติธรรม เพราะเป็นระบบรัฐสภา แต่หากจะยืนยันให้ทำประชามติก็ไม่มีปัญหา ถ้าอยากจะทำให้ยืดเยื้อเช่นนั้น และต้องใช้เงินครั้งละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งหากเป็นอย่างนี้กฎหมายทุกฉบับที่จะออกก็คงต้องทำประชามติทั้งหมด เพราะรัฐธรรมนูญใหญ่กว่ากฎหมายทั่วไปเพียงหน่อยเดียวเท่านั้น เป็นใครมาจากไหนไม่รู้ยังร่างได้ แล้วทำไมคนที่มาจากการเลือกตั้งจะแก้ไขไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีคนมองว่าไม่เหมาะสม เพราะพรรคพลังประชาชนเป็นจำเลยในคดียุบพรรคอยู่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่ามาว่าเป็นจำเลย คดีของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภาก็เป็นเรื่องของเขา ส่วนเรื่องความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้น ต้องดูว่าเมื่อแก้ออกมาแล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ในวันข้างหน้า ไม่ต้องไปคิดถึงคดีนายยงยุทธฯ การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ทำเพื่อวันข้างหน้าไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการตั้ง สสร. มาร่วมร่างหรือจะให้ ส.ส.ทำเองทั้งหมด นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่รู้จักระบบรัฐสภาหรืออย่างไร ระบบรัฐสภาเริ่มต้นด้วยการไปเลือกตั้ง เมื่อได้มาเป็น ส.ส. ก็มีฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติที่ดูแลในเรื่องกฎหมาย แล้วจะให้ใครต่อใครมาช่วยจัดการเรื่องกฎหมายอีกหรือ ตกลงจะมีสภาไว้ทำไม ถ้าคนสภาทำกฎหมายไม่ได้แล้วจะทำอย่างไร แต่ก่อนคณะปฏิวัติยึดอำนาจแล้วตั้งสภามาเอง ไม่เห็นสื่อจะแสดงความเป็นห่วงกันเลย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าปล่อยให้ ส.ส.เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญเองแล้วประชาชนไม่เห็นด้วย ประชาชนจะต้องทนใช้รัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แล้ว ส.ส.เป็นใครมาจากไหน อยู่ดีๆ ผุดจากดินขึ้นมาทำหรือ เขาเลือกตั้งกันมาไม่เห็นหรือ ตกลงระบบบ้านเมืองเราเป็นอย่างไร มีระบบรัฐสภามาทำงานแล้วบอกไม่พอใจจะเอาคนอื่นมาทำ ถือว่าชอบกล คนที่ประชาชนเลือกมาเลวอย่างไร เมื่อมีระบบแล้ว มีสภาแล้วพอจะทำอะไรกลับบอกให้คนนอกมาช่วยคิดช่วยทำ มันไม่เข้าท่า สภาประกอบด้วย ส.ส. 480 คน แล้วยังมีวุฒิสมาชิกอีก 200 คน ทุกอย่างครบถ้วนแต่ทำไมยังไปถวิลหาคนอื่น
“อย่างผู้สื่อข่าวถ้าผมบอกว่าตั้งคำถามไม่เข้าท่า ให้ไปเอานักศึกษาที่เรียนวารสารศาสตร์มาถามแทนคุณจะรู้สึกอย่างไร ลองคิดดูผมก็มาตามเส้นทางและกำลังจะทำงาน กลับบอกว่าไม่ไว้วางใจให้คนอื่นมาทำแทนทำได้อย่างไร” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--