นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาอาหารไทย วิถีไทย ณ ห้องบอลรูม โซน เอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องบอลรูม โซน เอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาอาหารไทย วิถีไทย ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ประกอบธุรกิจอาหารไทย ผู้ผลิต ผู้ส่งออกอาหารไทย นักโภชนาการ ครู อาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงาน เครือข่ายวัฒนธรรม สื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไป รวม 350 คน จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
โดยบรรยากาศก่อนพิธีเปิดการสัมมนา นายกรัฐมนตรีได้ชมวีดิทัศน์อาหารไทย วิถีไทย ฟังการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเพลงส้มตำ และเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ประกอบจินตลีลา โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ต่อด้วยการแสดงโขน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ชุดยกรบ ฉบับเฉพาะกิจ ซึ่งภายหลังจากจบการแสดงแล้ว นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์และการแสดงโขนในวันนี้ที่เป็นการแสดงที่เหมือนกับไปแสดงโชว์ที่ต่างประเทศ พร้อมกล่าวให้ความรู้เรื่องการแสดงโขนแก่ผู้เข้าร่วมการสัมมนา นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการตำส้มตำให้อร่อยทั้งจานว่ามีเคล็ดลับอยู่ในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ส้มตำคือการใส่กุ้งป่น ซึ่งแม่ค้าส้มตำส่วนใหญ่จะไม่ใส่ลงไปในส้มตำ โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้ขับร้องโขนสดในทำนองเพลงเทพทอง และได้นำบทกลอนซึ่งประพันธ์โดยพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ และเนื้อหาบางตอนในวรรณคดีพระอภัยมณีของสุนทรภู่มาใส่ในทำนองเพลงเทพทอง แล้วขับร้องให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้รับฟังด้วย
จากนั้น นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวรายงานสรุปว่า อาหาร ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นที่สุดต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงป้องกันรักษาโรค ประการสำคัญอาหารไทยเป็นมรดกไทยที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะตัว ที่ได้รับการสร้างสรรค์พัฒนา สืบทอดจากภูมิปัญญาของคนไทย สะท้อนภาพลักษณ์ความเป็นไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในสังคมโลก ทั้งนี้ วิถีชีวิตที่ปรับเปลี่ยนในสังคมโลกยุคใหม่ได้ส่งผลกระทบถึงวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของคนไทย นอกจากนี้มิติวัฒนธรรมในเรื่องอาหารของไทย มีส่วนสำคัญช่วยเพิ่มพูนรายได้ทางเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดสัมมนาเรื่องอาหารไทย วิถีไทย ขึ้น เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการฟื้นฟูและสืบสานคุณค่าความหลากหลายของวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยมที่ดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการรณรงค์เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของอาหารไทย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงการสร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในเรื่องวัฒนธรรมอาหารไทย ด้วย โดยการสัมมนาครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประกอบการด้านอาหารไทย มาเป็นวิทยากรอภิปรายเกี่ยวกับอาหารไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งการพัฒนาการ คุณค่า และเสน่ห์ของอาหารไทย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมประกอบการสัมมนา อาทิ นิทรรศการ การจัดซุ้มอาหาร การสาธิตอาหารไทย 4 ภาค และการขับร้องเพลงประกอบจินตลีลาเกี่ยวกับอาหารไทย เมื่อเสร็จสิ้นการสัมมนาแล้วกระทรวงวัฒนธรรมจะได้ประเมินผล รวบรวมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ จากการสัมมนาทั้งหมดเผยแพร่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารสนเทศต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาเปิดการสัมมนา อาหารไทย วิถีไทย สรุปสาระสำคัญว่า การสัมนาในวันนี้ไม่ใช่เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นคนชอบทำกับข้าว แต่หัวข้อ อาหารไทย วิถีไทย นี้สืบเนื่องจากในปีที่ผ่านมา ที่เป็นการสัมมนาหัวข้อ วิถีไทยด้วยผ้าไทย ปีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร โดยในปีต่อไปจะมีการสัมมนาเกี่ยวกับวีถีไทยในหัวข้ออื่นต่อไป
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าอาหารไทยดังไปทั่วโลก แต่มีปัญหาในเรื่องฝีมือการปรุงอาหารไทยจากการปรุงโดยพ่อครัวแม่ครัวที่ไม่ใช่คนไทย ไม่มีการฝึกฝนในระดับที่เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้ไม่เก่งเท่าพ่อครัวแม่ครัวไทยจริง ๆ และมีปัญหาเรื่องรสชาติอาหารไทยที่ถูกต้องในแต่ละชนิดอาหาร ส่วนมากจึงเป็นรสชาติตามความชอบของแต่ละคน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรสชาติของอาหารไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงสาเหตุที่รสชาติของอาหารไทยที่เปลี่ยนไปจากค่านิยมการใส่น้ำตาลในอาหาร เช่น แกงเขียวหวาน ข้าวผัด เพราะการรณรงค์ไม่ใส่ผงชูรสในการประกอบอาหารจึงทำให้ใส่น้ำตาลในอาหารแทนผงชูรส ทั้งนี้ ควรพิจารณาการใส่น้ำตาลในอาหารแต่ละชนิดให้เหมาะสม ซึ่งการสัมมนาในวันนี้ขอให้หารือกันว่ารสชาติอาหารไทยควรจะเป็นอย่างไร
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแนะนำวิธีการทำให้อาหารไทยอร่อยขึ้นได้ด้วยการใช้น้ำซุปกระดูกไก่ปรุงในแกงต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากวิธีการปรุงอาหารในอดีต และได้บอกวิธีการทำให้แกงป่ามีน้ำข้นขลุกขลิกด้วยวิธีแบบโบราณคือการใส่ข้าวเบือ (ข้าวสารป่นที่โขลกด้วยสากหิน) โขลกรวมไปกับน้ำพริก หรือจะเปลี่ยนมาใช้วิธีในปัจจุบันคือการใช้แป้งข้าวโพดใส่ผสมลงไปน้ำแกงระหว่างที่ปรุงอาหารก็ได้เช่นกัน ซึ่งนายก รัฐมนตรีได้เคล็ดลับมาจากแม่ครัวร้านอาหารที่จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงวิธีการประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ หลายชนิดให้อร่อย อาทิ แกงป่า แกงต้มส้ม เป็นต้น
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงรสชาติของอาหารไทยที่มี 5 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด มัน ที่มีที่มาในระดับของรสจากส่วนประกอบนานาชนิด ที่ทำให้อาหารไทยมีรสชาติโดดเด่น ขณะเดียวกันรสชาติอาหารไทยที่ดีต้องมีส่วนประกอบจากเครื่องปรุงที่มีมาตรฐาน ฉะนั้นการการพิถีพิถันคัดเลือกเครื่องปรุงก็เป็นส่วนสำคัญในการทำให้อาหารไทยรสชาติดีมีมาตรฐานด้วย
“ อาหารไทยรสชาติดีเด่น เพราะเรามี 5 รส เพราะคนโบราณสั่งสอนเอาไว้ว่าเปรี้ยวตรงนี้ใส่อะไร ๆ ทำไมไม่ใช้น้ำส้มทำไมใช้มะนาวแทน ทำไมตรงนี้ใช้ส้มมะขามเปียก คนโบราณรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรถูกอะไรควร ทำนองเดียวกับภาษาไทยที่มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ที่ผสมผสานกันทำให้ภาษาไทยมีเอกลักษณ์ทำให้เขียนภาษาต่างชาติเป็นภาษาไทยแล้วอ่านเสียงได้ถูกต้อง ขอให้คิดว่าอาหารไทยมีเอกลักษณ์ที่มี 5 รส เหมือนกับภาษาไทยที่มีวรรณยุกต์ 5 เสียงสามารถจะเขียนอะไรก็ได้ แปลว่าเราจะทำให้อร่อยอย่างไรก็ได้ มีวิธีการ มีวิธีทำ โดยใช้เครื่องปรุงซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ เราบันดาลให้อาหารอร่อยได้ ที่สำคัญที่สุดคือต้องสะอาด ต้องปลอดภัย และต้องวางแล้วน่ากิน ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
จากนั้น นายกรัฐมนตรีรับของที่ระลึกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม แล้วตัดริบบิ้นเปิดงานสัมมนาอย่างเป็นทางการ ที่บริเวณหน้าซุ้มอาหารไทย 4 ภาคก่อนเดินทางกลับทำเนียบรัฐบาล
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องบอลรูม โซน เอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาอาหารไทย วิถีไทย ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ประกอบธุรกิจอาหารไทย ผู้ผลิต ผู้ส่งออกอาหารไทย นักโภชนาการ ครู อาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงาน เครือข่ายวัฒนธรรม สื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไป รวม 350 คน จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
โดยบรรยากาศก่อนพิธีเปิดการสัมมนา นายกรัฐมนตรีได้ชมวีดิทัศน์อาหารไทย วิถีไทย ฟังการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเพลงส้มตำ และเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ประกอบจินตลีลา โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ต่อด้วยการแสดงโขน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ชุดยกรบ ฉบับเฉพาะกิจ ซึ่งภายหลังจากจบการแสดงแล้ว นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมการขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์และการแสดงโขนในวันนี้ที่เป็นการแสดงที่เหมือนกับไปแสดงโชว์ที่ต่างประเทศ พร้อมกล่าวให้ความรู้เรื่องการแสดงโขนแก่ผู้เข้าร่วมการสัมมนา นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการตำส้มตำให้อร่อยทั้งจานว่ามีเคล็ดลับอยู่ในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ส้มตำคือการใส่กุ้งป่น ซึ่งแม่ค้าส้มตำส่วนใหญ่จะไม่ใส่ลงไปในส้มตำ โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้ขับร้องโขนสดในทำนองเพลงเทพทอง และได้นำบทกลอนซึ่งประพันธ์โดยพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ และเนื้อหาบางตอนในวรรณคดีพระอภัยมณีของสุนทรภู่มาใส่ในทำนองเพลงเทพทอง แล้วขับร้องให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้รับฟังด้วย
จากนั้น นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวรายงานสรุปว่า อาหาร ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นที่สุดต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงป้องกันรักษาโรค ประการสำคัญอาหารไทยเป็นมรดกไทยที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะตัว ที่ได้รับการสร้างสรรค์พัฒนา สืบทอดจากภูมิปัญญาของคนไทย สะท้อนภาพลักษณ์ความเป็นไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในสังคมโลก ทั้งนี้ วิถีชีวิตที่ปรับเปลี่ยนในสังคมโลกยุคใหม่ได้ส่งผลกระทบถึงวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของคนไทย นอกจากนี้มิติวัฒนธรรมในเรื่องอาหารของไทย มีส่วนสำคัญช่วยเพิ่มพูนรายได้ทางเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดสัมมนาเรื่องอาหารไทย วิถีไทย ขึ้น เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการฟื้นฟูและสืบสานคุณค่าความหลากหลายของวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยมที่ดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการรณรงค์เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของอาหารไทย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงการสร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในเรื่องวัฒนธรรมอาหารไทย ด้วย โดยการสัมมนาครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประกอบการด้านอาหารไทย มาเป็นวิทยากรอภิปรายเกี่ยวกับอาหารไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งการพัฒนาการ คุณค่า และเสน่ห์ของอาหารไทย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมประกอบการสัมมนา อาทิ นิทรรศการ การจัดซุ้มอาหาร การสาธิตอาหารไทย 4 ภาค และการขับร้องเพลงประกอบจินตลีลาเกี่ยวกับอาหารไทย เมื่อเสร็จสิ้นการสัมมนาแล้วกระทรวงวัฒนธรรมจะได้ประเมินผล รวบรวมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ จากการสัมมนาทั้งหมดเผยแพร่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารสนเทศต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาเปิดการสัมมนา อาหารไทย วิถีไทย สรุปสาระสำคัญว่า การสัมนาในวันนี้ไม่ใช่เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นคนชอบทำกับข้าว แต่หัวข้อ อาหารไทย วิถีไทย นี้สืบเนื่องจากในปีที่ผ่านมา ที่เป็นการสัมมนาหัวข้อ วิถีไทยด้วยผ้าไทย ปีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร โดยในปีต่อไปจะมีการสัมมนาเกี่ยวกับวีถีไทยในหัวข้ออื่นต่อไป
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าอาหารไทยดังไปทั่วโลก แต่มีปัญหาในเรื่องฝีมือการปรุงอาหารไทยจากการปรุงโดยพ่อครัวแม่ครัวที่ไม่ใช่คนไทย ไม่มีการฝึกฝนในระดับที่เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้ไม่เก่งเท่าพ่อครัวแม่ครัวไทยจริง ๆ และมีปัญหาเรื่องรสชาติอาหารไทยที่ถูกต้องในแต่ละชนิดอาหาร ส่วนมากจึงเป็นรสชาติตามความชอบของแต่ละคน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรสชาติของอาหารไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงสาเหตุที่รสชาติของอาหารไทยที่เปลี่ยนไปจากค่านิยมการใส่น้ำตาลในอาหาร เช่น แกงเขียวหวาน ข้าวผัด เพราะการรณรงค์ไม่ใส่ผงชูรสในการประกอบอาหารจึงทำให้ใส่น้ำตาลในอาหารแทนผงชูรส ทั้งนี้ ควรพิจารณาการใส่น้ำตาลในอาหารแต่ละชนิดให้เหมาะสม ซึ่งการสัมมนาในวันนี้ขอให้หารือกันว่ารสชาติอาหารไทยควรจะเป็นอย่างไร
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแนะนำวิธีการทำให้อาหารไทยอร่อยขึ้นได้ด้วยการใช้น้ำซุปกระดูกไก่ปรุงในแกงต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากวิธีการปรุงอาหารในอดีต และได้บอกวิธีการทำให้แกงป่ามีน้ำข้นขลุกขลิกด้วยวิธีแบบโบราณคือการใส่ข้าวเบือ (ข้าวสารป่นที่โขลกด้วยสากหิน) โขลกรวมไปกับน้ำพริก หรือจะเปลี่ยนมาใช้วิธีในปัจจุบันคือการใช้แป้งข้าวโพดใส่ผสมลงไปน้ำแกงระหว่างที่ปรุงอาหารก็ได้เช่นกัน ซึ่งนายก รัฐมนตรีได้เคล็ดลับมาจากแม่ครัวร้านอาหารที่จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงวิธีการประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ หลายชนิดให้อร่อย อาทิ แกงป่า แกงต้มส้ม เป็นต้น
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงรสชาติของอาหารไทยที่มี 5 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด มัน ที่มีที่มาในระดับของรสจากส่วนประกอบนานาชนิด ที่ทำให้อาหารไทยมีรสชาติโดดเด่น ขณะเดียวกันรสชาติอาหารไทยที่ดีต้องมีส่วนประกอบจากเครื่องปรุงที่มีมาตรฐาน ฉะนั้นการการพิถีพิถันคัดเลือกเครื่องปรุงก็เป็นส่วนสำคัญในการทำให้อาหารไทยรสชาติดีมีมาตรฐานด้วย
“ อาหารไทยรสชาติดีเด่น เพราะเรามี 5 รส เพราะคนโบราณสั่งสอนเอาไว้ว่าเปรี้ยวตรงนี้ใส่อะไร ๆ ทำไมไม่ใช้น้ำส้มทำไมใช้มะนาวแทน ทำไมตรงนี้ใช้ส้มมะขามเปียก คนโบราณรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรถูกอะไรควร ทำนองเดียวกับภาษาไทยที่มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ที่ผสมผสานกันทำให้ภาษาไทยมีเอกลักษณ์ทำให้เขียนภาษาต่างชาติเป็นภาษาไทยแล้วอ่านเสียงได้ถูกต้อง ขอให้คิดว่าอาหารไทยมีเอกลักษณ์ที่มี 5 รส เหมือนกับภาษาไทยที่มีวรรณยุกต์ 5 เสียงสามารถจะเขียนอะไรก็ได้ แปลว่าเราจะทำให้อร่อยอย่างไรก็ได้ มีวิธีการ มีวิธีทำ โดยใช้เครื่องปรุงซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ เราบันดาลให้อาหารอร่อยได้ ที่สำคัญที่สุดคือต้องสะอาด ต้องปลอดภัย และต้องวางแล้วน่ากิน ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
จากนั้น นายกรัฐมนตรีรับของที่ระลึกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม แล้วตัดริบบิ้นเปิดงานสัมมนาอย่างเป็นทางการ ที่บริเวณหน้าซุ้มอาหารไทย 4 ภาคก่อนเดินทางกลับทำเนียบรัฐบาล
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--