นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานเปิดตัวโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วันนี้ เวลา 11.00 น.ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานเปิดตัวโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี 6 ภาคี ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อผลักดัน โครงการ SML ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างแท้จริง
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการโครงการ SML ได้กล่าวถึง โครงการ SML ว่า เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 โดยมาจากแนวความคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการ แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที รัฐบาลขณะนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณขึ้นใหม่ เพื่อมุ่งเน้นสนับสนุนให้หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถนำเงิน งบประมาณที่รัฐบาลจะอุดหนุนให้ไปบริหารจัดการ ดัวยเหตุนี้จึงทำให้โครงการ SML เข้าไปมีบทบาทสำคัญในหลาย ๆ มิติของหมู่บ้าน/ชุมชนได้อย่างตรงจุด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน/ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน/ชุมชน และจากการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการที่ได้รับงบประมาณโดยตรง
เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศจึงกำหนดให้เป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนเรื่องหนึ่ง ทำให้โครงการ SML กลับมาอีกครั้งหนึ่ง โดยได้นำปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ได้จากการประเมินผลโครงการ มาเป็นข้อมูลในการปรับปรุง แก้ไขในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด โปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ และคณะกรรมการฯ ได้จัดทำประกาศของโครงการเพื่อใช้เป็น แนวทางในการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายละเอียด ขั้นตอน หลักเกณฑ์ สำหรับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากที่ว่าการอำเภอ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ทุกสาขา ที่จะให้ รายละเอียดต่างๆ แก่พี่น้องประชาชนด้วย
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนประชาชนทุกคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัดและชุมชนต่าง ๆ ได้เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตัวเองในช่วงเทศกลางวันสงกรานต์ซึ่งมีวันหยุดหลายวัน เพื่อจะได้ร่วมกันทำประชาคมคัดเลือกตัวแทนในการผลักดันโครงการ SML เพื่อให้โครงการและงบประมาณที่ได้รับ เป็นกลไกที่สำคัญและนำไปสู่การพัฒนา/สร้างเศรษฐกิจรายได้อย่างยั่งยืนสู่ชุมชนต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดตัวโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SML) ว่า โครงการ SML เป็นโครงการที่รัฐบาลได้นำกลับมาต่อยอดใหม่อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นและพัฒนาฐากรากเศรษฐกิจไทย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดสรรงบประมาณ ให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน ตามขนาด/จำนวนคนในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศอย่างทั่วถึง
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งจากฐานเศรษฐกิจในประเทศ กระตุ้นการบริโภค สร้างโอกาสทางอาชีพให้แก่ประชาชน โดยเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับ 1) มาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก ชุมชน (SML) 2) มาตรการเพิ่มเงินทุนและการจัดการเรียนรู้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3) โครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน 4) โครงการธนาคารประชาชนโดยธนาคารออมสิน 5) โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ 6) โครงการสินเชื่อเพื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปบูรณาการเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ร่วมกัน
จากนั้น นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงของหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง 6 หน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานใน โครงการ SML ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม นำโดย นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายวิชัย ศรีขวัญ อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย นายปรีชา บุตรศรี อธิบดีกรมการพัฒนา ชุมชน กระทรวงมหาดไทย นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายวิศิษฐ์ วงศ์รวมลาภ รักษาการผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และ นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบหนังสือบันทึกข้อตกลง แก่ตัวแทนประชาชน ทั้ง 4 ภาค และชมการสาธิตวิธีการทำประชาคมของชาวบ้านคุ้งกระถิน หมู่ 1 ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พร้อมกับทุกคนที่มาร่วมงาน
อนึ่ง จากการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (SML) ที่ผ่านมาในปี งบประมาณ 2547-2549 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณลงสู่หมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศแล้ว จำนวน 77,792 แห่ง รวมงบประมาณทั้งสิ้น 18,532.65 ล้านบาท มีโครงการที่ได้รับฉันทามติจากที่ประชุมประชาคมจำนวนทั้งสิ้น 153,458 โครงการ และจากการประเมินผลวิจัย โดยสถาบันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า โครงการดังกล่าวช่วยให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.5 สามารถลด รายจ่ายได้ร้อยละ 58.5 และนำไปสู่ความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ร้อยละ 64.9 สำหรับผลการสำรวจความ คิดเห็นของคนในพื้นที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2548 ระบุว่า ร้อยละ 87.6 สามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการ ส่วนการดำเนินงานของคณะกรรมการ ร้อยละ 89.1 ระบุว่า มีความโปร่งใสเป็นธรรม
สนใจสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร 0-2288-4965-6 หรือ www.sml.go.th
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 11.00 น.ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานเปิดตัวโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี 6 ภาคี ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อผลักดัน โครงการ SML ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนอย่างแท้จริง
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการโครงการ SML ได้กล่าวถึง โครงการ SML ว่า เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 โดยมาจากแนวความคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร) ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งส่วนราชการไม่สามารถดำเนินการ แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที รัฐบาลขณะนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณขึ้นใหม่ เพื่อมุ่งเน้นสนับสนุนให้หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถนำเงิน งบประมาณที่รัฐบาลจะอุดหนุนให้ไปบริหารจัดการ ดัวยเหตุนี้จึงทำให้โครงการ SML เข้าไปมีบทบาทสำคัญในหลาย ๆ มิติของหมู่บ้าน/ชุมชนได้อย่างตรงจุด โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน/ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน/ชุมชน และจากการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการที่ได้รับงบประมาณโดยตรง
เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศจึงกำหนดให้เป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนเรื่องหนึ่ง ทำให้โครงการ SML กลับมาอีกครั้งหนึ่ง โดยได้นำปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ได้จากการประเมินผลโครงการ มาเป็นข้อมูลในการปรับปรุง แก้ไขในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด โปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ และคณะกรรมการฯ ได้จัดทำประกาศของโครงการเพื่อใช้เป็น แนวทางในการดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายละเอียด ขั้นตอน หลักเกณฑ์ สำหรับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากที่ว่าการอำเภอ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ทุกสาขา ที่จะให้ รายละเอียดต่างๆ แก่พี่น้องประชาชนด้วย
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนประชาชนทุกคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัดและชุมชนต่าง ๆ ได้เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตัวเองในช่วงเทศกลางวันสงกรานต์ซึ่งมีวันหยุดหลายวัน เพื่อจะได้ร่วมกันทำประชาคมคัดเลือกตัวแทนในการผลักดันโครงการ SML เพื่อให้โครงการและงบประมาณที่ได้รับ เป็นกลไกที่สำคัญและนำไปสู่การพัฒนา/สร้างเศรษฐกิจรายได้อย่างยั่งยืนสู่ชุมชนต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดตัวโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SML) ว่า โครงการ SML เป็นโครงการที่รัฐบาลได้นำกลับมาต่อยอดใหม่อีกครั้ง เพื่อกระตุ้นและพัฒนาฐากรากเศรษฐกิจไทย ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดสรรงบประมาณ ให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน ตามขนาด/จำนวนคนในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศอย่างทั่วถึง
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็งจากฐานเศรษฐกิจในประเทศ กระตุ้นการบริโภค สร้างโอกาสทางอาชีพให้แก่ประชาชน โดยเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับ 1) มาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก ชุมชน (SML) 2) มาตรการเพิ่มเงินทุนและการจัดการเรียนรู้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3) โครงการฟื้นฟูและพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน 4) โครงการธนาคารประชาชนโดยธนาคารออมสิน 5) โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ 6) โครงการสินเชื่อเพื่อเกษตรกรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องไปบูรณาการเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ร่วมกัน
จากนั้น นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงของหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง 6 หน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานใน โครงการ SML ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม นำโดย นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายวิชัย ศรีขวัญ อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย นายปรีชา บุตรศรี อธิบดีกรมการพัฒนา ชุมชน กระทรวงมหาดไทย นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายวิศิษฐ์ วงศ์รวมลาภ รักษาการผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และ นายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบหนังสือบันทึกข้อตกลง แก่ตัวแทนประชาชน ทั้ง 4 ภาค และชมการสาธิตวิธีการทำประชาคมของชาวบ้านคุ้งกระถิน หมู่ 1 ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พร้อมกับทุกคนที่มาร่วมงาน
อนึ่ง จากการดำเนินงานของโครงการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (SML) ที่ผ่านมาในปี งบประมาณ 2547-2549 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณลงสู่หมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศแล้ว จำนวน 77,792 แห่ง รวมงบประมาณทั้งสิ้น 18,532.65 ล้านบาท มีโครงการที่ได้รับฉันทามติจากที่ประชุมประชาคมจำนวนทั้งสิ้น 153,458 โครงการ และจากการประเมินผลวิจัย โดยสถาบันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า โครงการดังกล่าวช่วยให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.5 สามารถลด รายจ่ายได้ร้อยละ 58.5 และนำไปสู่ความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ร้อยละ 64.9 สำหรับผลการสำรวจความ คิดเห็นของคนในพื้นที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2548 ระบุว่า ร้อยละ 87.6 สามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการ ส่วนการดำเนินงานของคณะกรรมการ ร้อยละ 89.1 ระบุว่า มีความโปร่งใสเป็นธรรม
สนใจสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร 0-2288-4965-6 หรือ www.sml.go.th
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--