สสส.ร่วมมือกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน รณรงค์เฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ตั้งศูนย์บริการแก้ง่วง-ตั้งด่านสกัดคนเมา
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยนายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พลตำรวจโท ชาตรี สุนทรศร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายจรินทร์ จักกะพาก รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันแถลงข่าวรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 “ท้องถิ่นร่วมใจ ประเพณีไทยปลอดอุบัติเหตุ”
รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตลอด 7 วันอันตราย ในปี 2550 คือ ระหว่างวันที่ 11 เมษายน 2550 — 17 เมษายน 2550 พบว่า มีจำนวนอุบัติเหตุทั้งสิ้น 4,274 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 361 คน ผู้บาดเจ็บ 4,805 คน และพิการ 480 คน โดยมีมูลค่าความสูญเสียถึง 2,607 ล้านบาท ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุ มักพบในถนนสายรองในหมู่บ้านถึงร้อยละ 68 และช่วงเวลาการเกิดอุบัติเหตุมักเป็นช่วงเวลากลางคืน สาเหตุอันดับ 1 เกิดจากการเมาสุรา ตามด้วยการขับรถเร็วเกินกำหนด
รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยแต่ละหน่วยงานได้เร่งดำเนินมาตรการรณรงค์และเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุอย่างจริงจัง เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้ต่ำที่สุด ในส่วนของการดำเนินงานลดอุบัติเหตุของ สสส. ได้ร่วมมือกันหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ภายใต้ชื่อ “ท้องถิ่นร่วมใจ ประเพณีไทยปลอดอุบัติเหตุ” ซึ่งจะเน้นการทำงานอย่างลงลึกที่ท้องถิ่นเป็นหลัก ใน 5 มาตรการ คือ 1. สนับสนุนศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน 69 จังหวัด ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุ 2. ดึงท้องถิ่นและชุมชนจัดกิจกรรมปลอดเหล้า ในพื้นที่ 9 จังหวัดนำร่อง เพื่อลดปริมาณการดื่มสุราและก่อให้เกิดอุบัติเหตุโดยตรง 3. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในสโลแกน “ไม่ซ้อนคนดื่ม ตั้งสติก่อนสตาร์ท” 4. ประสานอาสาสมัครภาคประชาสังคมเพื่อเฝ้าระวังเชิงรุก ทั้งในถนนสายหลักและสายรองทั่วประเทศ และ 5. สนับสนุนพื้นที่นำร่องในการรณรงค์ “สงกรานต์ สนุก ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอล์” เพื่อเป็นตัวอย่างวัฒนธรรมอันดีงาม โดยไม่ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ที่เทศบาลนครเชียงใหม่ ถนนข้าวเหนียว ขอนแก่น ชุมชนบางลำพู และชุมชนวัดอรุณ ในกรุงเทพมหานคร
นายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ กล่าวว่า เนื่องจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 พบว่า รถมอเตอร์ไซด์ทำให้เจ็บตายมากที่สุด เป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 85 ตามด้วยรถปิคอัพ ร้อยละ 8 รถนั่งส่วนบุคคล ร้อยละ 3 โดยพฤติกรรมความเสี่ยงที่สำคัญอันดับ 1 คือ ไม่สวมหมวกนิรภัย ตามด้วยการเมาสุรา และขับรถเร็วกว่ากำหนด ดังนั้น ในปีนี้การรณรงค์ลดอุบัติเหตุจึงเน้นหนักในกลุ่มรถมอเตอร์ไซด์ และรถนั่งส่วนบุคคลเป็นหลัก เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยจะใช้ 3 มาตรการที่สำคัญ คือ 1. มาตรการรณรงค์ในถนนสายหลัก โดยกลุ่มเยาวชนกว่า 1,600 คน ตั้งศูนย์บริการแก้ง่วงกระจายตามสถานีบริการน้ำมัน เพื่อให้ผู้ขับขี่ได้พักและเฝ้าระวังคนมึนเมา โดยจัดกาแฟ ผ้าเย็นแจกตามจุดรับบริการ 2. มาตรการเชิงรุกในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยสมาคมหมออนามัย ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชน ตั้งจุดตรวจความปลอดภัยท้องถิ่น ใน 75 จังหวัดทั่วประเทศ และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ได้เตรียมแผนจัดทำข้อบังคับท้องถิ่นว่าด้วยความปลอดภัยทางท้องถนน ใน 9 จังหวัดนำร่อง เพื่อขยายผลทั่วประเทศต่อไป และ 3. มาตรการรณรงค์ในส่วนกลาง โดยสมาชิกสหกรณ์สามล้อเอื้ออาทรเพื่อคนจน จำกัด และสหกรณ์สามล้อเอื้ออาทร จำนวน 200 คน จะร่วมกันให้บริการรับส่งฟรีอย่างปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ จำนวน 100 คัน จะเริ่มในวันที่ 11-12 เมษายน ที่สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร เพื่อรับส่งไปยังสถานีขนส่งหมอชิต
นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ศูนย์ความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ได้เสนอแผนบูรณาการต่อคณะรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้ทุกจังหวัดรวบรวมจุดที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุและหามาตรการป้องกัน ส่วนมาตรการบังคับใช้กฎหมายจะมีการตั้งด่าน 2 รูปแบบ คือ ในช่วงแรกและท้ายเทศกาล จะเน้นตั้งด่านที่ถนนสายหลัก ส่วนช่วงเทศกาลจะเน้นตั้งด่านในถนนสายรอง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน กลุ่มแม่บ้าน ร่วมเป็นกำลังในการตั้งด่านสกัด ซึ่งจะเน้นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี หากมึนเมาขณะขับรถ ก็จะควบคุมทันที พร้อมกับใช้มาตรการทางกฎหมายหากทำความเสียหายต่อบุคคลที่ 3 ผู้ปกครองต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
พลตำรวจโท ชาตรี สุนทรศร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า มาตรการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรจะมีการตรวจสภาพถนนให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนช่วงเทศกาล การเตรียมเส้นทางรองและเส้นทางลัดไว้รองรับการจราจรที่หนาแน่น โดยจัดทำแผ่นพับแนะนำเส้นทางและจุดเสี่ยงพร้อมทั้งแจ้งหมายเลขโทรศัพท์เพื่อให้ความช่วยเหลือ รวมถึงการเปิดช่องทางพิเศษบนถนนสายหลัก และประสานขอความร่วมมืองดนำรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป วิ่งบนถนนที่มีจราจรหนาแน่น โดยมีชุดเคลื่อนที่เร็วเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรให้คลี่คลายโดยเร็ว ส่วนมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนน จะกวดขันจับกุมผู้กระทำผิด เช่น เมาสุราขณะขับรถ ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถเร็วเกินกำหนด และผู้ที่สาดน้ำเกินขอบเขตจนเป็นเหตุให้ผู้สัญจรไปมาเดือดร้อน ทั้งนี้ในแต่ละพื้นที่คอยรายงานวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ไปยังศูนย์อำนวยการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยกำหนดมาตรการแก้ไขเร่งด่วนในแต่ละวัน
นายจรินทร์ จักกะพาก รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบด้วย การจัดตั้งจุดสกัดภายในและระหว่างหมู่บ้าน เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยง เช่น วัยรุ่น ผู้ขับขี่ขณะมึนเมา และไม่สวมหมวกนิรภัย สำรวจพื้นที่เสี่ยงอุบัติเหตุเพื่อซ่อมแซมและติดตั้งไฟฟ้า ป้ายเตือนต่าง ๆ ก่อนเทศกาล เข้มงวดร้านค้าให้งดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณสองข้างทางและสถานีบริการน้ำมัน จัดตั้งหน่วยกู้ภัย พร้อมทั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและจัดบริเวณพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยนายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พลตำรวจโท ชาตรี สุนทรศร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายจรินทร์ จักกะพาก รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันแถลงข่าวรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 “ท้องถิ่นร่วมใจ ประเพณีไทยปลอดอุบัติเหตุ”
รองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตลอด 7 วันอันตราย ในปี 2550 คือ ระหว่างวันที่ 11 เมษายน 2550 — 17 เมษายน 2550 พบว่า มีจำนวนอุบัติเหตุทั้งสิ้น 4,274 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 361 คน ผู้บาดเจ็บ 4,805 คน และพิการ 480 คน โดยมีมูลค่าความสูญเสียถึง 2,607 ล้านบาท ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุ มักพบในถนนสายรองในหมู่บ้านถึงร้อยละ 68 และช่วงเวลาการเกิดอุบัติเหตุมักเป็นช่วงเวลากลางคืน สาเหตุอันดับ 1 เกิดจากการเมาสุรา ตามด้วยการขับรถเร็วเกินกำหนด
รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยแต่ละหน่วยงานได้เร่งดำเนินมาตรการรณรงค์และเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุอย่างจริงจัง เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้ต่ำที่สุด ในส่วนของการดำเนินงานลดอุบัติเหตุของ สสส. ได้ร่วมมือกันหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ภายใต้ชื่อ “ท้องถิ่นร่วมใจ ประเพณีไทยปลอดอุบัติเหตุ” ซึ่งจะเน้นการทำงานอย่างลงลึกที่ท้องถิ่นเป็นหลัก ใน 5 มาตรการ คือ 1. สนับสนุนศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน 69 จังหวัด ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุ 2. ดึงท้องถิ่นและชุมชนจัดกิจกรรมปลอดเหล้า ในพื้นที่ 9 จังหวัดนำร่อง เพื่อลดปริมาณการดื่มสุราและก่อให้เกิดอุบัติเหตุโดยตรง 3. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในสโลแกน “ไม่ซ้อนคนดื่ม ตั้งสติก่อนสตาร์ท” 4. ประสานอาสาสมัครภาคประชาสังคมเพื่อเฝ้าระวังเชิงรุก ทั้งในถนนสายหลักและสายรองทั่วประเทศ และ 5. สนับสนุนพื้นที่นำร่องในการรณรงค์ “สงกรานต์ สนุก ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอล์” เพื่อเป็นตัวอย่างวัฒนธรรมอันดีงาม โดยไม่ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ที่เทศบาลนครเชียงใหม่ ถนนข้าวเหนียว ขอนแก่น ชุมชนบางลำพู และชุมชนวัดอรุณ ในกรุงเทพมหานคร
นายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ กล่าวว่า เนื่องจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2550 พบว่า รถมอเตอร์ไซด์ทำให้เจ็บตายมากที่สุด เป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 85 ตามด้วยรถปิคอัพ ร้อยละ 8 รถนั่งส่วนบุคคล ร้อยละ 3 โดยพฤติกรรมความเสี่ยงที่สำคัญอันดับ 1 คือ ไม่สวมหมวกนิรภัย ตามด้วยการเมาสุรา และขับรถเร็วกว่ากำหนด ดังนั้น ในปีนี้การรณรงค์ลดอุบัติเหตุจึงเน้นหนักในกลุ่มรถมอเตอร์ไซด์ และรถนั่งส่วนบุคคลเป็นหลัก เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยจะใช้ 3 มาตรการที่สำคัญ คือ 1. มาตรการรณรงค์ในถนนสายหลัก โดยกลุ่มเยาวชนกว่า 1,600 คน ตั้งศูนย์บริการแก้ง่วงกระจายตามสถานีบริการน้ำมัน เพื่อให้ผู้ขับขี่ได้พักและเฝ้าระวังคนมึนเมา โดยจัดกาแฟ ผ้าเย็นแจกตามจุดรับบริการ 2. มาตรการเชิงรุกในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยสมาคมหมออนามัย ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชน ตั้งจุดตรวจความปลอดภัยท้องถิ่น ใน 75 จังหวัดทั่วประเทศ และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ได้เตรียมแผนจัดทำข้อบังคับท้องถิ่นว่าด้วยความปลอดภัยทางท้องถนน ใน 9 จังหวัดนำร่อง เพื่อขยายผลทั่วประเทศต่อไป และ 3. มาตรการรณรงค์ในส่วนกลาง โดยสมาชิกสหกรณ์สามล้อเอื้ออาทรเพื่อคนจน จำกัด และสหกรณ์สามล้อเอื้ออาทร จำนวน 200 คน จะร่วมกันให้บริการรับส่งฟรีอย่างปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ จำนวน 100 คัน จะเริ่มในวันที่ 11-12 เมษายน ที่สถานีรถไฟฟ้าจตุจักร เพื่อรับส่งไปยังสถานีขนส่งหมอชิต
นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ศูนย์ความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ได้เสนอแผนบูรณาการต่อคณะรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้ทุกจังหวัดรวบรวมจุดที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุและหามาตรการป้องกัน ส่วนมาตรการบังคับใช้กฎหมายจะมีการตั้งด่าน 2 รูปแบบ คือ ในช่วงแรกและท้ายเทศกาล จะเน้นตั้งด่านที่ถนนสายหลัก ส่วนช่วงเทศกาลจะเน้นตั้งด่านในถนนสายรอง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน กลุ่มแม่บ้าน ร่วมเป็นกำลังในการตั้งด่านสกัด ซึ่งจะเน้นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี หากมึนเมาขณะขับรถ ก็จะควบคุมทันที พร้อมกับใช้มาตรการทางกฎหมายหากทำความเสียหายต่อบุคคลที่ 3 ผู้ปกครองต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
พลตำรวจโท ชาตรี สุนทรศร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า มาตรการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรจะมีการตรวจสภาพถนนให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนช่วงเทศกาล การเตรียมเส้นทางรองและเส้นทางลัดไว้รองรับการจราจรที่หนาแน่น โดยจัดทำแผ่นพับแนะนำเส้นทางและจุดเสี่ยงพร้อมทั้งแจ้งหมายเลขโทรศัพท์เพื่อให้ความช่วยเหลือ รวมถึงการเปิดช่องทางพิเศษบนถนนสายหลัก และประสานขอความร่วมมืองดนำรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป วิ่งบนถนนที่มีจราจรหนาแน่น โดยมีชุดเคลื่อนที่เร็วเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรให้คลี่คลายโดยเร็ว ส่วนมาตรการลดอุบัติเหตุทางถนน จะกวดขันจับกุมผู้กระทำผิด เช่น เมาสุราขณะขับรถ ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถเร็วเกินกำหนด และผู้ที่สาดน้ำเกินขอบเขตจนเป็นเหตุให้ผู้สัญจรไปมาเดือดร้อน ทั้งนี้ในแต่ละพื้นที่คอยรายงานวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ไปยังศูนย์อำนวยการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยกำหนดมาตรการแก้ไขเร่งด่วนในแต่ละวัน
นายจรินทร์ จักกะพาก รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบด้วย การจัดตั้งจุดสกัดภายในและระหว่างหมู่บ้าน เพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยง เช่น วัยรุ่น ผู้ขับขี่ขณะมึนเมา และไม่สวมหมวกนิรภัย สำรวจพื้นที่เสี่ยงอุบัติเหตุเพื่อซ่อมแซมและติดตั้งไฟฟ้า ป้ายเตือนต่าง ๆ ก่อนเทศกาล เข้มงวดร้านค้าให้งดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณสองข้างทางและสถานีบริการน้ำมัน จัดตั้งหน่วยกู้ภัย พร้อมทั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและจัดบริเวณพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--