นายกรัฐมนตรีระบุจะนัดหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลหารือเพื่อสรุปแนวทางร่วมกันในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 ก่อนเสนอเข้าสภาฯ หลังกลับจากเยือนมาเลเซีย
เมื่อเวลา 13.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการนัดหารือกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรคเพื่อหารือถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ภายหลังเดินทางกลับจากการเยือนประเทศมาเลเซียจะนัดกินข้าวกลางวันร่วมกัน คงประมาณวันที่ 25 หรือ 26 เมษายนนี้ เพื่อหารือและสรุปแนวทางร่วมกัน ปัญหาการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในแนวทางแก้ไขนั้นก็เป็นเรื่องของรัฐสภา ซึ่งไม่ได้ไปร่วมประชุมด้วย เมื่อแต่ละพรรคสรุปมาก็จะได้มาพูดคุยกัน จากนั้นจะเข้าคณะกรรมการของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้รัฐบาลไม่ได้เป็นคนเสนอแก้ แต่บังเอิญว่าในรัฐบาลมีพรรคการเมืองเป็นรัฐมนตรีอยู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐสภาที่เป็นคนแก้
“ความเห็นของผม ที่พรรคเสนอมาล่าสุดและสิ่งสำคัญคือเราจะไม่ฉีกรัฐธรรมนูญปี 2550 ทิ้ง แบบที่บางคนเคยทำกับรัฐธรรมนูญปี 2540 เราไม่มีอำนาจเช่นนั้น เพียงแต่เรามีอำนาจที่จะแก้ไข วิธีง่ายที่สุดคือเอารัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นหลัก แล้วเก็บหมวด 1 หมวด 2 ไว้ จากนั้นก็นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาประกบ ซึ่งในหมวด 1 หมวด 2 ก็เหมือนกัน ที่เหลือก็มาดูว่าอะไรที่ไม่ดีในรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ทิ้งไป อะไรที่ดีก็เอามาใส่ใหม่ ก็จะง่ายขึ้น ซึ่งเห็นด้วยกับแนวความคิดดังกล่าว ก็บอกล่วงหน้าว่าเป็นแนวคิดที่ผมจะเอาไปคุยกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า สภาฯ จะปิดสมัยประชุมในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำได้ทันหรือต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สภาฯ จะเปิดสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ วาระแรก ไม่ใช่เปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อเปิดประชุมสมัยวิสามัญแล้วมีเวลาก็มีช่องว่างก็อาจพิจารณาต่อได้ เรื่องนี้เป็นอนาคตยังไม่ทราบชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การใช้แนวทางตั้งกรรมาธิการร่วมจะสามารถทำให้การแก้รัฐธรรมนูญราบรื่นกว่าเดิมที่มีการคัดค้านหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ใครจะต่อต้าน เวลาเขาฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทั้งฉบับมีใครต่อต้านบ้างไม่มีใครต่อต้านเลย แล้วเวลานี้จะแก้ให้ถูกต้องตามกฎหมายกลับต่อต้าน อยากให้ดูกันก่อนว่าเราแก้กันอย่างไร ถ้าแก้แล้วดีก็ควรสนับสนุน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่สภาฯ ยังมีเสียงคัดค้าน การเปิดโอกาสให้แปรญัตติรายมาตราจะทำให้เกิดความวุ่นวายหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้มีหลายมาตรา การคัดค้านถือเป็นเรื่องธรรมดา หลังจากนั้นต้องลงคะแนนก็เป็นไปตามขั้นตอนของการพิจารณาร่างกฎหมาย การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีประโยชน์กับคนที่จะถูกยุบพรรคทั้ง 3 พรรค เพราะเมื่อแก้เสร็จก็ต้องถูกตีความว่าไม่ย้อนหลัง อีกทั้งไม่มีประโยชน์กับพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะจะต้องตีความว่าไม่ย้อนหลัง เพราะฉะนั้น ไม่ได้หวังเรื่องนี้เลย แต่เมื่อเรามีเสียง 316 เสียง บวกกับสมาชิกวุฒิสภาที่เห็นด้วยก็ต้องแก้ วันข้างหน้าเมื่อมีรัฐสภาใหม่ก็จะได้ใช้รัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้นเอง ทำเพื่อประโยชน์กับวงการเมืองเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีพูดในรายการ “สนทนาประสาสมัคร” ว่าถ้าหากโดนยุบพรรคก็ต้องยุบสภา แสดงว่าไม่มั่นใจในเรื่องนี้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้พูดถึงขนาดนั้น แต่ถ้าหากยุบ 3 พรรคการเมือง ก็ไม่มีสภาฯ อยู่ เมื่อเขาจะล่อเราอย่างนั้นเรามีโอกาสก็ต้องแก้ไขเสีย ไม่ใช่เมื่อถูกยุบพรรคแล้วเราต้องล้างแค้น เพราะเมื่อยุบพรรค 3 พรรค สภาฯ ก็ต้องยุบไปด้วย ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าการดำเนินการต่างๆจะผ่านไปได้ตลอดรอดฝั่ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังตอบข้อซักถามกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาตอบโต้นายกรัฐมนตรีกรณีหยิบยกคดีของนายระลึก หลีกภัย น้องชาย ขึ้นมาพูด ว่าเป็นการใช้สื่อของรัฐไปโจมตีคนอื่น ว่า คนอื่นใช้สื่อเอกชนวิจารณ์หัวหน้ารัฐได้ หัวหน้ารัฐตอบผ่านสื่อรัฐไม่ได้อย่างนั้นหรือ แล้วใครเป็นคนเขียนกฎเกณฑ์ ถ้าไม่มีเหตุแล้วอยู่ดี ๆ ตนจะพูดออกมาหรือ เป็นเพราะไม่ใช่มาว่าตนเองก่อนหรอกหรือ เท่านี้จบเรื่องแล้ว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 13.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการนัดหารือกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรคเพื่อหารือถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ภายหลังเดินทางกลับจากการเยือนประเทศมาเลเซียจะนัดกินข้าวกลางวันร่วมกัน คงประมาณวันที่ 25 หรือ 26 เมษายนนี้ เพื่อหารือและสรุปแนวทางร่วมกัน ปัญหาการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในแนวทางแก้ไขนั้นก็เป็นเรื่องของรัฐสภา ซึ่งไม่ได้ไปร่วมประชุมด้วย เมื่อแต่ละพรรคสรุปมาก็จะได้มาพูดคุยกัน จากนั้นจะเข้าคณะกรรมการของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้รัฐบาลไม่ได้เป็นคนเสนอแก้ แต่บังเอิญว่าในรัฐบาลมีพรรคการเมืองเป็นรัฐมนตรีอยู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐสภาที่เป็นคนแก้
“ความเห็นของผม ที่พรรคเสนอมาล่าสุดและสิ่งสำคัญคือเราจะไม่ฉีกรัฐธรรมนูญปี 2550 ทิ้ง แบบที่บางคนเคยทำกับรัฐธรรมนูญปี 2540 เราไม่มีอำนาจเช่นนั้น เพียงแต่เรามีอำนาจที่จะแก้ไข วิธีง่ายที่สุดคือเอารัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นหลัก แล้วเก็บหมวด 1 หมวด 2 ไว้ จากนั้นก็นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาประกบ ซึ่งในหมวด 1 หมวด 2 ก็เหมือนกัน ที่เหลือก็มาดูว่าอะไรที่ไม่ดีในรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ทิ้งไป อะไรที่ดีก็เอามาใส่ใหม่ ก็จะง่ายขึ้น ซึ่งเห็นด้วยกับแนวความคิดดังกล่าว ก็บอกล่วงหน้าว่าเป็นแนวคิดที่ผมจะเอาไปคุยกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า สภาฯ จะปิดสมัยประชุมในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำได้ทันหรือต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สภาฯ จะเปิดสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ วาระแรก ไม่ใช่เปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อเปิดประชุมสมัยวิสามัญแล้วมีเวลาก็มีช่องว่างก็อาจพิจารณาต่อได้ เรื่องนี้เป็นอนาคตยังไม่ทราบชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การใช้แนวทางตั้งกรรมาธิการร่วมจะสามารถทำให้การแก้รัฐธรรมนูญราบรื่นกว่าเดิมที่มีการคัดค้านหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ใครจะต่อต้าน เวลาเขาฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทั้งฉบับมีใครต่อต้านบ้างไม่มีใครต่อต้านเลย แล้วเวลานี้จะแก้ให้ถูกต้องตามกฎหมายกลับต่อต้าน อยากให้ดูกันก่อนว่าเราแก้กันอย่างไร ถ้าแก้แล้วดีก็ควรสนับสนุน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่สภาฯ ยังมีเสียงคัดค้าน การเปิดโอกาสให้แปรญัตติรายมาตราจะทำให้เกิดความวุ่นวายหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้มีหลายมาตรา การคัดค้านถือเป็นเรื่องธรรมดา หลังจากนั้นต้องลงคะแนนก็เป็นไปตามขั้นตอนของการพิจารณาร่างกฎหมาย การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีประโยชน์กับคนที่จะถูกยุบพรรคทั้ง 3 พรรค เพราะเมื่อแก้เสร็จก็ต้องถูกตีความว่าไม่ย้อนหลัง อีกทั้งไม่มีประโยชน์กับพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะจะต้องตีความว่าไม่ย้อนหลัง เพราะฉะนั้น ไม่ได้หวังเรื่องนี้เลย แต่เมื่อเรามีเสียง 316 เสียง บวกกับสมาชิกวุฒิสภาที่เห็นด้วยก็ต้องแก้ วันข้างหน้าเมื่อมีรัฐสภาใหม่ก็จะได้ใช้รัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้นเอง ทำเพื่อประโยชน์กับวงการเมืองเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีพูดในรายการ “สนทนาประสาสมัคร” ว่าถ้าหากโดนยุบพรรคก็ต้องยุบสภา แสดงว่าไม่มั่นใจในเรื่องนี้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้พูดถึงขนาดนั้น แต่ถ้าหากยุบ 3 พรรคการเมือง ก็ไม่มีสภาฯ อยู่ เมื่อเขาจะล่อเราอย่างนั้นเรามีโอกาสก็ต้องแก้ไขเสีย ไม่ใช่เมื่อถูกยุบพรรคแล้วเราต้องล้างแค้น เพราะเมื่อยุบพรรค 3 พรรค สภาฯ ก็ต้องยุบไปด้วย ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าการดำเนินการต่างๆจะผ่านไปได้ตลอดรอดฝั่ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังตอบข้อซักถามกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาตอบโต้นายกรัฐมนตรีกรณีหยิบยกคดีของนายระลึก หลีกภัย น้องชาย ขึ้นมาพูด ว่าเป็นการใช้สื่อของรัฐไปโจมตีคนอื่น ว่า คนอื่นใช้สื่อเอกชนวิจารณ์หัวหน้ารัฐได้ หัวหน้ารัฐตอบผ่านสื่อรัฐไม่ได้อย่างนั้นหรือ แล้วใครเป็นคนเขียนกฎเกณฑ์ ถ้าไม่มีเหตุแล้วอยู่ดี ๆ ตนจะพูดออกมาหรือ เป็นเพราะไม่ใช่มาว่าตนเองก่อนหรอกหรือ เท่านี้จบเรื่องแล้ว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--