นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ร่วมกันแถลงข่าว ภายหลังการหารือข้อราชการระหว่างไทย-มาเลเซีย ณ เมืองปุตราจายา มาเลเซีย ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือหลายด้าน โดยเฉพาะความมั่นคงด้านอาหาร โดยบรรยากาศการหารือเป็นไปอย่างมิตรไมตรีและมีการแสวงหาความร่วมมือด้านต่างๆอย่างลึกซึ้ง
วันนี้ เวลา 11.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวผลการหารือข้อราชการ ร่วมกับ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรี ณ สำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมืองปุตราจายา สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์สำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและการเตรียมการอย่างดียิ่งสำหรับผมและคณะในการเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการครั้งนี้ และมีความยินดีที่การหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในวันนี้เป็นไปในบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเข้าใจและมิตรภาพ โดยนายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีต่อนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียอีกวาระหนึ่ง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่าย ต่างพอใจต่อสถานะความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซียซึ่งดีเยี่ยม ใกล้ชิด และฉันท์มิตร
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ย้ำกับนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ว่า ไทยถือว่ามาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดและสำคัญที่สุด รัฐบาลไทยจะยังคงสานต่อการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน และทั้งสองฝ่ายต่างมีความพอใจต่อความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคและความมีเสถียรภาพทางการเงิน
สำหรับประเด็นเรื่องจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น นายกรัฐมนตรีขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์สำหรับความเข้าใจ ตลอดจนความร่วมมือและการสนับสนุนอย่างดียิ่งและใกล้ชิดของมาเลเซีย ทั้งในกรอบทวิภาคี และกรอบองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference — OIC) ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า รัฐบาลไทยยังคงยึดมั่นในแนวทางสันติและสมานฉันท์ในการแก้ไขสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ได้หารือถึงความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในพื้นที่ชายแดน และทั้งสองฝ่ายได้ย้ำความมุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมืออันใกล้ชิดในด้านความมั่นคงและการข่าว ตลอดจนการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกรอบ 3 E ได้แก่ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการส่งเสริมผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เราส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษา ไทยและมาเลเซียได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานร่วมในเรื่องนี้ โดยจะมีการประชุมครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณมาเลเซียที่ให้ทุนการศึกษาและการฝึกอบรมครูจาก จังหวัดชายแดนใต้ ตลอดจนจัดการดูงานเกี่ยวกับการสอนศาสนาอิสลาม ซึ่งความร่วมมือเช่นนี้ควรมีการสานต่อและเพิ่มพูนให้มากขึ้น ด้านการจ้างงาน นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซีย ได้เห็นพ้องที่จะเร่งการดำเนินการของคณะทำงานร่วมว่าด้วยการพัฒนาแรงงาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณมาเลเซียสำหรับการฝึกอบรมและการอำนวยความสะดวกสำหรับแรงงานไทยในการเข้าไปทำงานในมาเลเซีย สำหรับ ด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการ แม้ว่าจะเพิ่งมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วม แต่นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายต่างมีความพอใจที่ทั้งสองฝ่ายได้ประสานงานกันใกล้ชิด โดยเฉพาะการหารือเกี่ยวกับกิจกรรมร่วมกัน
นอกเหนือจากนี้ ไทยและมาเลเซีย ยังได้หารือถึงหนทางที่จะส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดชายแดนใต้กับรัฐตอนเหนือและฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเหนือ (Northern Corridor Economic Region — NCER) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (East Coast Economic Region — ECER) ในขณะที่ไทยมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจเฉพาะกิจในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการเชื่อมโยงระหว่าง NCER ECER กับเขตพัฒนาฯ และ Southern Seaboard ของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายต่างพอใจกับความคืบหน้าในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วม (Joint Development Strategy — JDS) โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงด้านคมนาคม ซึ่งทั้งสองฝ่ายเพิ่งเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่สอง เชื่อมบูเก๊ะตา และบูกิต บุหงา ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องให้จัดประชุม JDS โดยเร็ว และเห็นว่าความคืบหน้าในกรอบ JDS ช่วยส่งเสริมความร่วมมือในกรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thai Growth Triangle — IMT-GT) ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ให้ทราบถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และเชิญให้มาเลเซียเข้ามาร่วมมือ
สำหรับการเชื่อมโยงด้านคมนาคม นายกรัฐมนตรีได้เล่าให้นายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์เกี่ยวกับผลการประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 (Greater Mekong Subregion - GMS Summit) ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม ที่ผ่านมา ว่าในการประชุมดังกล่าว ไทยได้เสนอ “GMS Tourism Loop” เชื่อมโยงเมืองสำคัญๆ 22 เมืองของประเทศสมาชิก GMS หากมาเลเซียเข้าร่วมก็จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างมาเลเซียกับประเทศสมาชิกGMS ซึ่งทำให้ไทย-มาเลเซียต่างเห็นพ้องที่จะเร่งการพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจและความตกลงที่เกี่ยวข้องซึ่งยังคั่งค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยเฉพาะ การสัญจรข้ามแดน การรักษาและใช้สะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งที่ 2 และการส่งสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการไปมาหาสู่และการส่งสินค้าระหว่างกัน ตลอดจนสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มิได้เป็นประโยชน์แก่ไทยกับมาเลเซียเท่านั้น แต่กับการรวมตัวของอาเซียนโดยรวมด้วย
ระหว่างการหารือ นายกรัฐมนตรีได้เชิญนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมการหารือประจำปี ครั้งที่ 4 ในปีนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ตอบรับคำเชิญ โดยทั้งสองฝ่ายหวังว่า จะสามารถลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจและความตกลงที่ยังคั่งค้าง ตลอดจนร่างบันทึกความเข้าใจอื่น ๆ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านเยาวชนและกีฬา และการต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้ ในระหว่างการหารือประจำปีครั้งนี้ด้วย
นอกจากการหารือประเด็นในภูมิภาคที่ไทยและมาเลเซียสนใจร่วมกันแล้ว นายกรัฐมนตรีได้ถือโอกาสแจ้งให้นายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ทราบว่า ในช่วงที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ไทยจะเน้นให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจาให้ความสนใจกับเสถียรภาพทางการเงินและความมั่นคงด้านอาหาร
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้แสดงความพอใจในผลการหารือในวันนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์และเต็มไปด้วยสาระ และกล่าวขอบคุณประชาชนและรัฐบาลมาเลเซียในการเยือนครั้งนี้อีกครั้งหนึ่ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 11.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวผลการหารือข้อราชการ ร่วมกับ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรี ณ สำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมืองปุตราจายา สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์สำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและการเตรียมการอย่างดียิ่งสำหรับผมและคณะในการเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการครั้งนี้ และมีความยินดีที่การหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในวันนี้เป็นไปในบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเข้าใจและมิตรภาพ โดยนายกรัฐมนตรีได้แสดงความยินดีต่อนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียอีกวาระหนึ่ง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่าย ต่างพอใจต่อสถานะความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซียซึ่งดีเยี่ยม ใกล้ชิด และฉันท์มิตร
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ย้ำกับนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ว่า ไทยถือว่ามาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดและสำคัญที่สุด รัฐบาลไทยจะยังคงสานต่อการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน และทั้งสองฝ่ายต่างมีความพอใจต่อความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคและความมีเสถียรภาพทางการเงิน
สำหรับประเด็นเรื่องจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น นายกรัฐมนตรีขอขอบคุณนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์สำหรับความเข้าใจ ตลอดจนความร่วมมือและการสนับสนุนอย่างดียิ่งและใกล้ชิดของมาเลเซีย ทั้งในกรอบทวิภาคี และกรอบองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference — OIC) ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า รัฐบาลไทยยังคงยึดมั่นในแนวทางสันติและสมานฉันท์ในการแก้ไขสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ได้หารือถึงความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในพื้นที่ชายแดน และทั้งสองฝ่ายได้ย้ำความมุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมืออันใกล้ชิดในด้านความมั่นคงและการข่าว ตลอดจนการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกรอบ 3 E ได้แก่ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการส่งเสริมผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เราส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษา ไทยและมาเลเซียได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานร่วมในเรื่องนี้ โดยจะมีการประชุมครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณมาเลเซียที่ให้ทุนการศึกษาและการฝึกอบรมครูจาก จังหวัดชายแดนใต้ ตลอดจนจัดการดูงานเกี่ยวกับการสอนศาสนาอิสลาม ซึ่งความร่วมมือเช่นนี้ควรมีการสานต่อและเพิ่มพูนให้มากขึ้น ด้านการจ้างงาน นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซีย ได้เห็นพ้องที่จะเร่งการดำเนินการของคณะทำงานร่วมว่าด้วยการพัฒนาแรงงาน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณมาเลเซียสำหรับการฝึกอบรมและการอำนวยความสะดวกสำหรับแรงงานไทยในการเข้าไปทำงานในมาเลเซีย สำหรับ ด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการ แม้ว่าจะเพิ่งมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วม แต่นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายต่างมีความพอใจที่ทั้งสองฝ่ายได้ประสานงานกันใกล้ชิด โดยเฉพาะการหารือเกี่ยวกับกิจกรรมร่วมกัน
นอกเหนือจากนี้ ไทยและมาเลเซีย ยังได้หารือถึงหนทางที่จะส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดชายแดนใต้กับรัฐตอนเหนือและฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเหนือ (Northern Corridor Economic Region — NCER) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (East Coast Economic Region — ECER) ในขณะที่ไทยมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจเฉพาะกิจในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการเชื่อมโยงระหว่าง NCER ECER กับเขตพัฒนาฯ และ Southern Seaboard ของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายต่างพอใจกับความคืบหน้าในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วม (Joint Development Strategy — JDS) โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงด้านคมนาคม ซึ่งทั้งสองฝ่ายเพิ่งเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่สอง เชื่อมบูเก๊ะตา และบูกิต บุหงา ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องให้จัดประชุม JDS โดยเร็ว และเห็นว่าความคืบหน้าในกรอบ JDS ช่วยส่งเสริมความร่วมมือในกรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thai Growth Triangle — IMT-GT) ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ให้ทราบถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และเชิญให้มาเลเซียเข้ามาร่วมมือ
สำหรับการเชื่อมโยงด้านคมนาคม นายกรัฐมนตรีได้เล่าให้นายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์เกี่ยวกับผลการประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 (Greater Mekong Subregion - GMS Summit) ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม ที่ผ่านมา ว่าในการประชุมดังกล่าว ไทยได้เสนอ “GMS Tourism Loop” เชื่อมโยงเมืองสำคัญๆ 22 เมืองของประเทศสมาชิก GMS หากมาเลเซียเข้าร่วมก็จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างมาเลเซียกับประเทศสมาชิกGMS ซึ่งทำให้ไทย-มาเลเซียต่างเห็นพ้องที่จะเร่งการพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจและความตกลงที่เกี่ยวข้องซึ่งยังคั่งค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยเฉพาะ การสัญจรข้ามแดน การรักษาและใช้สะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งที่ 2 และการส่งสินค้าผ่านแดนไปประเทศที่ 3 ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการไปมาหาสู่และการส่งสินค้าระหว่างกัน ตลอดจนสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มิได้เป็นประโยชน์แก่ไทยกับมาเลเซียเท่านั้น แต่กับการรวมตัวของอาเซียนโดยรวมด้วย
ระหว่างการหารือ นายกรัฐมนตรีได้เชิญนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์เยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมการหารือประจำปี ครั้งที่ 4 ในปีนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ตอบรับคำเชิญ โดยทั้งสองฝ่ายหวังว่า จะสามารถลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจและความตกลงที่ยังคั่งค้าง ตลอดจนร่างบันทึกความเข้าใจอื่น ๆ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านเยาวชนและกีฬา และการต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้ ในระหว่างการหารือประจำปีครั้งนี้ด้วย
นอกจากการหารือประเด็นในภูมิภาคที่ไทยและมาเลเซียสนใจร่วมกันแล้ว นายกรัฐมนตรีได้ถือโอกาสแจ้งให้นายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ทราบว่า ในช่วงที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ไทยจะเน้นให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจาให้ความสนใจกับเสถียรภาพทางการเงินและความมั่นคงด้านอาหาร
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้แสดงความพอใจในผลการหารือในวันนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์และเต็มไปด้วยสาระ และกล่าวขอบคุณประชาชนและรัฐบาลมาเลเซียในการเยือนครั้งนี้อีกครั้งหนึ่ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--