นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “อาเซียน ยุคใหม่และวาระประชาชน” “ASEAN: A New Era with People Agenda” ในงาน the ASEAN Lecture Series ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรีและนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมด้วย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มากล่าวสุนทรพจน์ในงาน ASEAN Lecture Series ซึ่งเป็นเวทีประจำปีระดับภูมิภาค โดยการเป็นการรวมตัวจากหลายภาคส่วนของชุมชนอาเซียน โดยมีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นปีหลังจากการที่ได้มีการเริ่มลงนามในกฎบัตรอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อแปดที่แล้ว ได้ต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ที่เดินทางมาร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน ครั้งที่ 33 (the 33rd ASEAN Ministerial Meeting and Post Ministerial Conferences) และในปีนี้ จะได้ต้อนรับผู้นำอาเซียนและผู้นำเอเชียตะวันออกที่จะเดินทางมาเยือนกรุงเทพอีกครั้ง ในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 14 ในเดือนธันวาคม ศกนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เมื่อคุณถนัด คอมันได้เสนอแนวคิดการรวมตัวของภูมิภาคเมื่อปี 1967 ยังสงสัยว่าจะเป็นไปอย่างไร ท่ามกลางภาวะสงครามเย็นและความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม คุณถนัดและมิตรจากฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ต่างมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้เป็นจริง โดยได้มีการหยิบยกความพยายามที่ล้มเหลวที่จะสร้างองค์การระหว่างประเทศในอดีต ที่ขาดเจตนารมณ์ทางการเมือง ความไว้วางใจและความจริงใจระหว่างกัน
อาเซียน ได้ทำให้ความฝันและวิสัยทัศน์ของประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนเกิดขึ้นได้จริง จากสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศเมื่อปี 1967 ครบ 10 ประเทศสมาชิกในปัจจุบัน จากเวทีเล็กๆ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงเบื้องต้น จนรวมตัวกันเป็นชุมชนอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก กลายเป็นกลุ่มภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับนับถือระหว่างประเทศ
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความสำเร็จของอาเซียนว่า อาเซียนประสบความสำเร็จด้านการเมืองและความมั่นคงอย่างชัดเจน โดยไม่มีความขัดแยงทางการทหารอย่างรุนแรงนับตั้งแต่มีการรวมตัวกัน โดยเครื่องมือทางการเมืองที่สำคัญของอาเซียน อาทิ the Declaration on Zone of Peace, Freedom and Neutrality (ZOPFAN), the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) and the Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone (SEANWFZ) ได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่น รวมไปถึงการดำเนินทางการทูตอย่างป้องกันภายในภูมิภาค
สำหรับด้านเศรษฐกิจนั้น ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (the ASEAN Free Trade Agreement) ที่ได้มีการลงนามเมื่อปี 1992 นั้น กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค การค้าภายในภูมิภาคอาเซียนเมื่อปีที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงถึง 404 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของการค้าอาเซียทั้งหมด มูลค่าการลงทุนโดยตรงของอาเซียนอยู่ที่ 52.4 พันล้านในปี 2006 หรือสูงถึงร้อยละ 28 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงภายในอาเซียนเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 10 ของการลงทุนโดยตรงในอาเซียน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 66 จากเดิมมูลค่า 3.8 พันล้านเมื่อปี 2005 เป็น 6.2 พันล้านในปี 2006
พิมพ์เขียวชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน (the ASEAN Economic Community Blueprint) ที่ผู้นำอาเซียนให้ความเห็นชอบเมื่อปีที่ผ่านมา กลายเป็น โรดแมท เพื่อชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวกันหรือ ฐานการผลิตเพื่อให้สินค้า การบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและทุน มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี
อาเซียนยังได้ขยายขอบเขตความร่วมมือกับภายนอกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เชื่อมโยงระหว่างตะวันออกและตะวันตก การพัฒนาต่างๆ ดังกล่าวและด้วยประชากรถึง 567 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10ของประชากรโลก ทำให้พลังของอาเซียนเป็นที่รับรู้
จากเหตุพายุไซโคลนนากีส พัดถล่มพม่าเมื่อต้นเดือนพฤกษาคม 2008 ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตกว่า 80,000 คน และสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกครั้งที่อาเซียนได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กลไกที่นำโดยอาเซียน ภายใต้กรอบความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนและสหประชาชาตินั้น ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการประสานความพยายามจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุไซโคลนในพม่า โดยเฉพาะประเทศไทยได้มีบทบาทสำคัญ โดยอนุญาตให้ใช้สนามบินนานาชาติดอนเมือง เป็นฐานเพื่อให้ความช่วยเหลือขนส่งเครื่องยังชีพทางอากาศ
นากรัฐมนตรีกล่าวว่า แม้สามารถอ้างถึงความสำเร็จต่างๆในอดีตของอาเซียนได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าอาเซียนเป็นองค์กรที่สมบูรณ์แบบ อาเซียนยังคงมีเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ต่างๆ “แนวทางอาเซียน” ในการปรึกษาหารือ ฉันทามติ และการไม่แทรกแซงซึ่งกันและกัน ถูกมองว่ามีความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ การเติบโตของจีนและอินเดียในฐานะประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งความท้าทายจากกิจการต่างๆภายในภูมิภาคอาเซียนเอง ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องปรับตำแหน่งของตน เพื่อเพิ่มแรงดึงดูดและความสามารถทางการแข่งขันให้มากยิ่งขึ้น โดยกระชับความร่วมมือภายในอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น มีการยอมรับ“วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” เมื่อปี 1997 เพื่อเป็นโรดแมท ในการปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มุ่งไปข้างหน้า เป็นชุมชนที่สังคมมีการแบ่งปันและเอาใจใส่กัน การรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อปี 2007 เป็นนัยสำคัญสำหรับกระบวนการสร้างชุมชนอาเซียน มีการกำหนดกรอบทั้งทางกฎหมายและสถาบัน เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีกฎระเบียบ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประเทศไทยในฐานะสถานที่กำเนิดของอาเซียน ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเป็นประเทศแรก ภายหลังที่มีการลงนามกฎบัตรอาเซียน จึงขอยืนยันว่าจะทำให้อาเซียนก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ที่ถือประชาชนคือหัวใจสำคัญและเป็นวาระหลัก ตลอดระยะหนึ่งปีครึ่งนี้ ไทยได้ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกแก่พันธะและข้อผูกมัดต่างๆ ภายใต้กฎบัตรอาเซียน และจะทำให้เป็นชุมชนที่มีประชากรเป็นศูนย์กลางเกิดขึ้นจริง โดยจะมีการดำเนินการจัดตั้งองคพยพใหม่ๆ ภายใต้กฎบัตรอาเซียน อาทิ หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนอาเซียน ที่คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จเมื่อไทยครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
อาเซียนจะสามารถรับรู้และบรรเทาประเด็นต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาและความมั่นคงมนุษย์ของประชาชนในภูมิภาค ครอบคลุมถึงความร่วมมือในสาขาความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และการบริหารจัดการภัยพิบัติ ต่างๆ อย่างแข็งแกร่ง
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีชุมชนเป็นจริงได้ หากประชาชนในชุมชนดังกล่าวปราศจากความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน การเข้าถึงประชาชนและให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างชุมชนอาเซียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น ภารกิจแรกหลังจากที่เข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียน คือ การริเริ่มกิจกรรมส่งเสริมและสร้างการรับรู้ของประชาชนอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับเยาวชนเป็นลำดับแรก ในฐานะผู้จะนำพาอนาคตของอาเซียน
นายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า หนึ่งปีครึ่งของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน อาจเป็นวาระที่ยาวนานในประวัติศาสตร์อาเซียน แต่ก็ไม่นานเพียงพอที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามความต้องการเพื่ออนาคตของชุมชนอาเซียนได้ จึงมีความพยายามกำหนดกรอบ เพื่อให้มีการดำเนินการต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และด้วยความร่วมมือจากผู้แทนทุกภาคส่วนที่มาร่วมกันในวันนี้ จะสามารถวางรากฐานที่เข้มแข็ง เพื่ออาเซียนเป็นชุมชนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นไปตามวิสัยทัศน์และจิตวิญญาณตามกฎบัตรอาเซียนอย่างแท้จริง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มากล่าวสุนทรพจน์ในงาน ASEAN Lecture Series ซึ่งเป็นเวทีประจำปีระดับภูมิภาค โดยการเป็นการรวมตัวจากหลายภาคส่วนของชุมชนอาเซียน โดยมีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นปีหลังจากการที่ได้มีการเริ่มลงนามในกฎบัตรอาเซียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อแปดที่แล้ว ได้ต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ที่เดินทางมาร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน ครั้งที่ 33 (the 33rd ASEAN Ministerial Meeting and Post Ministerial Conferences) และในปีนี้ จะได้ต้อนรับผู้นำอาเซียนและผู้นำเอเชียตะวันออกที่จะเดินทางมาเยือนกรุงเทพอีกครั้ง ในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 14 ในเดือนธันวาคม ศกนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เมื่อคุณถนัด คอมันได้เสนอแนวคิดการรวมตัวของภูมิภาคเมื่อปี 1967 ยังสงสัยว่าจะเป็นไปอย่างไร ท่ามกลางภาวะสงครามเย็นและความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม คุณถนัดและมิตรจากฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ต่างมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้เป็นจริง โดยได้มีการหยิบยกความพยายามที่ล้มเหลวที่จะสร้างองค์การระหว่างประเทศในอดีต ที่ขาดเจตนารมณ์ทางการเมือง ความไว้วางใจและความจริงใจระหว่างกัน
อาเซียน ได้ทำให้ความฝันและวิสัยทัศน์ของประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนเกิดขึ้นได้จริง จากสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศเมื่อปี 1967 ครบ 10 ประเทศสมาชิกในปัจจุบัน จากเวทีเล็กๆ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงเบื้องต้น จนรวมตัวกันเป็นชุมชนอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก กลายเป็นกลุ่มภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับนับถือระหว่างประเทศ
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงความสำเร็จของอาเซียนว่า อาเซียนประสบความสำเร็จด้านการเมืองและความมั่นคงอย่างชัดเจน โดยไม่มีความขัดแยงทางการทหารอย่างรุนแรงนับตั้งแต่มีการรวมตัวกัน โดยเครื่องมือทางการเมืองที่สำคัญของอาเซียน อาทิ the Declaration on Zone of Peace, Freedom and Neutrality (ZOPFAN), the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) and the Treaty on the Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone (SEANWFZ) ได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่น รวมไปถึงการดำเนินทางการทูตอย่างป้องกันภายในภูมิภาค
สำหรับด้านเศรษฐกิจนั้น ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (the ASEAN Free Trade Agreement) ที่ได้มีการลงนามเมื่อปี 1992 นั้น กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค การค้าภายในภูมิภาคอาเซียนเมื่อปีที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงถึง 404 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของการค้าอาเซียทั้งหมด มูลค่าการลงทุนโดยตรงของอาเซียนอยู่ที่ 52.4 พันล้านในปี 2006 หรือสูงถึงร้อยละ 28 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา การลงทุนโดยตรงภายในอาเซียนเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 10 ของการลงทุนโดยตรงในอาเซียน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 66 จากเดิมมูลค่า 3.8 พันล้านเมื่อปี 2005 เป็น 6.2 พันล้านในปี 2006
พิมพ์เขียวชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน (the ASEAN Economic Community Blueprint) ที่ผู้นำอาเซียนให้ความเห็นชอบเมื่อปีที่ผ่านมา กลายเป็น โรดแมท เพื่อชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวกันหรือ ฐานการผลิตเพื่อให้สินค้า การบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและทุน มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี
อาเซียนยังได้ขยายขอบเขตความร่วมมือกับภายนอกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เชื่อมโยงระหว่างตะวันออกและตะวันตก การพัฒนาต่างๆ ดังกล่าวและด้วยประชากรถึง 567 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10ของประชากรโลก ทำให้พลังของอาเซียนเป็นที่รับรู้
จากเหตุพายุไซโคลนนากีส พัดถล่มพม่าเมื่อต้นเดือนพฤกษาคม 2008 ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตกว่า 80,000 คน และสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกครั้งที่อาเซียนได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กลไกที่นำโดยอาเซียน ภายใต้กรอบความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนและสหประชาชาตินั้น ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการประสานความพยายามจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุไซโคลนในพม่า โดยเฉพาะประเทศไทยได้มีบทบาทสำคัญ โดยอนุญาตให้ใช้สนามบินนานาชาติดอนเมือง เป็นฐานเพื่อให้ความช่วยเหลือขนส่งเครื่องยังชีพทางอากาศ
นากรัฐมนตรีกล่าวว่า แม้สามารถอ้างถึงความสำเร็จต่างๆในอดีตของอาเซียนได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าอาเซียนเป็นองค์กรที่สมบูรณ์แบบ อาเซียนยังคงมีเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ต่างๆ “แนวทางอาเซียน” ในการปรึกษาหารือ ฉันทามติ และการไม่แทรกแซงซึ่งกันและกัน ถูกมองว่ามีความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ การเติบโตของจีนและอินเดียในฐานะประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งความท้าทายจากกิจการต่างๆภายในภูมิภาคอาเซียนเอง ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องปรับตำแหน่งของตน เพื่อเพิ่มแรงดึงดูดและความสามารถทางการแข่งขันให้มากยิ่งขึ้น โดยกระชับความร่วมมือภายในอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น มีการยอมรับ“วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” เมื่อปี 1997 เพื่อเป็นโรดแมท ในการปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มุ่งไปข้างหน้า เป็นชุมชนที่สังคมมีการแบ่งปันและเอาใจใส่กัน การรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อปี 2007 เป็นนัยสำคัญสำหรับกระบวนการสร้างชุมชนอาเซียน มีการกำหนดกรอบทั้งทางกฎหมายและสถาบัน เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีกฎระเบียบ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประเทศไทยในฐานะสถานที่กำเนิดของอาเซียน ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเป็นประเทศแรก ภายหลังที่มีการลงนามกฎบัตรอาเซียน จึงขอยืนยันว่าจะทำให้อาเซียนก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ที่ถือประชาชนคือหัวใจสำคัญและเป็นวาระหลัก ตลอดระยะหนึ่งปีครึ่งนี้ ไทยได้ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกแก่พันธะและข้อผูกมัดต่างๆ ภายใต้กฎบัตรอาเซียน และจะทำให้เป็นชุมชนที่มีประชากรเป็นศูนย์กลางเกิดขึ้นจริง โดยจะมีการดำเนินการจัดตั้งองคพยพใหม่ๆ ภายใต้กฎบัตรอาเซียน อาทิ หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนอาเซียน ที่คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จเมื่อไทยครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
อาเซียนจะสามารถรับรู้และบรรเทาประเด็นต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาและความมั่นคงมนุษย์ของประชาชนในภูมิภาค ครอบคลุมถึงความร่วมมือในสาขาความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และการบริหารจัดการภัยพิบัติ ต่างๆ อย่างแข็งแกร่ง
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีชุมชนเป็นจริงได้ หากประชาชนในชุมชนดังกล่าวปราศจากความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน การเข้าถึงประชาชนและให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างชุมชนอาเซียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น ภารกิจแรกหลังจากที่เข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียน คือ การริเริ่มกิจกรรมส่งเสริมและสร้างการรับรู้ของประชาชนอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับเยาวชนเป็นลำดับแรก ในฐานะผู้จะนำพาอนาคตของอาเซียน
นายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า หนึ่งปีครึ่งของการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน อาจเป็นวาระที่ยาวนานในประวัติศาสตร์อาเซียน แต่ก็ไม่นานเพียงพอที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามความต้องการเพื่ออนาคตของชุมชนอาเซียนได้ จึงมีความพยายามกำหนดกรอบ เพื่อให้มีการดำเนินการต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และด้วยความร่วมมือจากผู้แทนทุกภาคส่วนที่มาร่วมกันในวันนี้ จะสามารถวางรากฐานที่เข้มแข็ง เพื่ออาเซียนเป็นชุมชนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นไปตามวิสัยทัศน์และจิตวิญญาณตามกฎบัตรอาเซียนอย่างแท้จริง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--