นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีวาระพิเศษ ออกร่างประกาศ เรื่อง จัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
วันนี้ เมื่อเวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารกองบัญชาการกองทัพไทย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีวาระพิเศษ
จากนั้น พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า หลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ไปแล้ว สำนักนายกรัฐมนตรีจึงจำเป็นต้องออกประกาศอีก 2 ฉบับ ซึ่งทั้ง 2 ฉบับนี้ก็มีความจำเป็นต้องเรียกประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้รับทราบและเห็นชอบตามประกาศนี้ภายใน 3 วัน ดังนี้
1. การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ฉบับแรก ร่างประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจึงลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นรองผู้อำนวยการ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นรองผู้อำนวยการ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น และสถานการณ์ที่ผู้อำนวยการเห็นสมควรแต่งตั้ง โดยมีผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 1 เสนาธิการกองทัพภาคที่ 1 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 2 และข้าราชการตำรวจ ข้าราชการพลเรือน ตามผนวกเป็นเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสิ้น 19 ตำแหน่ง
อำนาจหน้าที่
1. เป็นหน่วยงานพิเศษปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
2. จัดให้มีหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการเพื่อเป็นองค์ประกอบปฏิบัติการภายใต้กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้มีอำนาจในการป้องกันแก้ไขปราบปราม รวมทั้งยับยั้งเหตุฉุกเฉินตามที่ได้รับมอบหมาย
3. ดำเนินการด้านการข่าวต่าง ๆ
4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริงเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง สำหรับการดำเนินการด้านข่าวกรองนั้น ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. จัดกำลังพลเรือน ตำรวจ และทหาร ดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่นั้น ๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก
6. มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
7. เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมชี้แจงให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใด ตามที่เห็นสมควร
8. แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามความจำเป็น
9. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
สั่ง ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551
2. การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
ฉบับที่ 2 ร่างประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้ให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้บรรดาอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกันแก้ไขปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนี้ จะมีกฎหมาย 20 ฉบับ ซึ่งเดิมเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แต่เมื่อมีการประกาศแล้ว ก็ให้เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
1. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551
2. พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493
3. พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547
4. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
5. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495
6. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530
7. พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2522
8. พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522
9. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493
10. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
11. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
12. พระราชบัญญัติการสุรา พ.ศ. 2493
13. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
14. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
15. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485
16. พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490
17. พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499
18. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม
19. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ
20. ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการใช้กำลังทหาร การเคลื่อนกำลังทหาร และการเตรียมพร้อม พ.ศ. 2545
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551
3. ทำประชามติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165
เนื่องจากขณะนี้ได้มีภาวะฉุกเฉินอย่างที่ทราบแล้ว รัฐบาลพยายามที่จะหาทางออกให้เรื่องนี้ยุติลงด้วยดี โดยให้ทุกคนสามารถใช้กฎหมายในการดูแลรักษาความสงบของประเทศ และให้ประชาชนทุกคนเคารพกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรีได้มีการปรึกษาหารือกัน และเห็นว่าขณะนี้เราได้ใช้รัฐสภาเป็นทางออกทางหนึ่ง แต่ยังไม่เรียบร้อย ซึ่งในที่ประชุมของรัฐสภานั้น ได้มีสมาชิกรัฐสภาหลายคนมีความเห็นตรงกันว่าน่าจะใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 165 จึงได้นำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้
และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งมาตรา 165 กำหนดให้สามารถทำการประชามติในกรณีที่ต้องการทราบความเห็นของประชาชนของทั้งประเทศได้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติว่าจะให้ทำประชามติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 แต่มีเงื่อนไขว่าขณะนี้หากจะใช้มาตรา 165 จำเป็นต้องมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงลงประชามติ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว และจะเข้าสู่การพิจารณาเพื่อขอความเห็นชอบจากวุฒิสภาในวันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2551 และหากวุฒิสภาเห็นชอบจะได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสามารถใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ต่อไป
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีความคาดหวังว่าวุฒิสภาจะผ่านร่างกฎหมายทำประชามติโดยเร็วที่สุด ถึงแม้ว่าตามกฎหมายนั้น สมาชิกวุฒิสภาสามารถที่จะนำกลับไปพิจารณา และใช้เวลาในการลงมติหลายวัน ถ้าเป็นไปได้อยากจะขอความกรุณาจากสมาชิกวุฒิสภาทุกคนว่าขอให้พิจารณาด้วยความรวดเร็วหลังจากผ่านมติแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินการทำประชามติภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตาม การทำประชามติในครั้งนี้ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปยกร่างแบบสอบถามที่จะให้ประชาชนนั้นได้ลงประชามติ หลังจากนั้นจะมีการรณรงค์ คือทุกฝ่ายที่มีความเห็นไม่ตรงกันด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ต่างฝ่ายต่างก็มีหน้าที่ที่จะไปรณรงค์ให้กับประชาชนทั้งประเทศได้ทราบว่า แต่ละฝ่ายนั้นต้องการอย่างไร เพื่อจะได้ข้อยุติที่ดีที่สุด สำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หลังจากที่รณรงค์ประมาณ 1 เดือนแล้ว จะใช้เวลาต่อจากนั้นในทันที ดำเนินการลงประชามติ ซึ่งในการลงประชามตินี้ในส่วนของคำถามขณะนี้ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปยกร่างแล้ว ทั้งนี้ จะทำการร่างประชามติไปพร้อมกับการรอกฎหมายที่จะผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เมื่อเวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารกองบัญชาการกองทัพไทย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีวาระพิเศษ
จากนั้น พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า หลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ไปแล้ว สำนักนายกรัฐมนตรีจึงจำเป็นต้องออกประกาศอีก 2 ฉบับ ซึ่งทั้ง 2 ฉบับนี้ก็มีความจำเป็นต้องเรียกประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้รับทราบและเห็นชอบตามประกาศนี้ภายใน 3 วัน ดังนี้
1. การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ฉบับแรก ร่างประกาศ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจึงลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นรองผู้อำนวยการ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นรองผู้อำนวยการ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น และสถานการณ์ที่ผู้อำนวยการเห็นสมควรแต่งตั้ง โดยมีผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 1 เสนาธิการกองทัพภาคที่ 1 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 2 และข้าราชการตำรวจ ข้าราชการพลเรือน ตามผนวกเป็นเจ้าหน้าที่ รวมทั้งสิ้น 19 ตำแหน่ง
อำนาจหน้าที่
1. เป็นหน่วยงานพิเศษปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
2. จัดให้มีหน่วยงานหรือศูนย์ปฏิบัติการเพื่อเป็นองค์ประกอบปฏิบัติการภายใต้กองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้มีอำนาจในการป้องกันแก้ไขปราบปราม รวมทั้งยับยั้งเหตุฉุกเฉินตามที่ได้รับมอบหมาย
3. ดำเนินการด้านการข่าวต่าง ๆ
4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริงเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งปฏิบัติการจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง สำหรับการดำเนินการด้านข่าวกรองนั้น ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. จัดกำลังพลเรือน ตำรวจ และทหาร ดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งประสานให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่นั้น ๆ ดำเนินการป้องกันตนเองตามความสามารถเป็นอันดับแรก
6. มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
7. เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมชี้แจงให้ข้อมูลข่าวสาร จัดส่งเอกสาร หรือดำเนินการอื่นใด ตามที่เห็นสมควร
8. แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามความจำเป็น
9. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
สั่ง ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551
2. การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
ฉบับที่ 2 ร่างประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้ให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้บรรดาอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกันแก้ไขปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือช่วยเหลือประชาชนในเขตท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนี้ จะมีกฎหมาย 20 ฉบับ ซึ่งเดิมเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แต่เมื่อมีการประกาศแล้ว ก็ให้เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ได้แก่
1. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551
2. พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493
3. พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547
4. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
5. พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495
6. พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530
7. พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2522
8. พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522
9. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493
10. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
11. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
12. พระราชบัญญัติการสุรา พ.ศ. 2493
13. พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
14. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
15. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485
16. พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490
17. พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499
18. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม
19. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ
20. ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการใช้กำลังทหาร การเคลื่อนกำลังทหาร และการเตรียมพร้อม พ.ศ. 2545
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551
3. ทำประชามติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165
เนื่องจากขณะนี้ได้มีภาวะฉุกเฉินอย่างที่ทราบแล้ว รัฐบาลพยายามที่จะหาทางออกให้เรื่องนี้ยุติลงด้วยดี โดยให้ทุกคนสามารถใช้กฎหมายในการดูแลรักษาความสงบของประเทศ และให้ประชาชนทุกคนเคารพกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ คณะรัฐมนตรีได้มีการปรึกษาหารือกัน และเห็นว่าขณะนี้เราได้ใช้รัฐสภาเป็นทางออกทางหนึ่ง แต่ยังไม่เรียบร้อย ซึ่งในที่ประชุมของรัฐสภานั้น ได้มีสมาชิกรัฐสภาหลายคนมีความเห็นตรงกันว่าน่าจะใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 165 จึงได้นำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้
และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งมาตรา 165 กำหนดให้สามารถทำการประชามติในกรณีที่ต้องการทราบความเห็นของประชาชนของทั้งประเทศได้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติว่าจะให้ทำประชามติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 แต่มีเงื่อนไขว่าขณะนี้หากจะใช้มาตรา 165 จำเป็นต้องมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงลงประชามติ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว และจะเข้าสู่การพิจารณาเพื่อขอความเห็นชอบจากวุฒิสภาในวันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2551 และหากวุฒิสภาเห็นชอบจะได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสามารถใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ต่อไป
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีความคาดหวังว่าวุฒิสภาจะผ่านร่างกฎหมายทำประชามติโดยเร็วที่สุด ถึงแม้ว่าตามกฎหมายนั้น สมาชิกวุฒิสภาสามารถที่จะนำกลับไปพิจารณา และใช้เวลาในการลงมติหลายวัน ถ้าเป็นไปได้อยากจะขอความกรุณาจากสมาชิกวุฒิสภาทุกคนว่าขอให้พิจารณาด้วยความรวดเร็วหลังจากผ่านมติแล้ว และรัฐบาลจะดำเนินการทำประชามติภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตาม การทำประชามติในครั้งนี้ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปยกร่างแบบสอบถามที่จะให้ประชาชนนั้นได้ลงประชามติ หลังจากนั้นจะมีการรณรงค์ คือทุกฝ่ายที่มีความเห็นไม่ตรงกันด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ต่างฝ่ายต่างก็มีหน้าที่ที่จะไปรณรงค์ให้กับประชาชนทั้งประเทศได้ทราบว่า แต่ละฝ่ายนั้นต้องการอย่างไร เพื่อจะได้ข้อยุติที่ดีที่สุด สำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หลังจากที่รณรงค์ประมาณ 1 เดือนแล้ว จะใช้เวลาต่อจากนั้นในทันที ดำเนินการลงประชามติ ซึ่งในการลงประชามตินี้ในส่วนของคำถามขณะนี้ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปยกร่างแล้ว ทั้งนี้ จะทำการร่างประชามติไปพร้อมกับการรอกฎหมายที่จะผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--