นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 พร้อมย้ำผู้เข้าร่วมประชุมคำนึงถึงความพอดีระหว่างผู้ที่ต้องการใช้พื้นที่ป่าเพื่อทำมาหากิน กับผู้ที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ป่าธรรมชาติ
วันนี้ (3 ก.ย.) เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 (1st National Conference On Natural Resources And Environment) พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมวิชาการฯ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2551 โดยมีนักวิชาการและผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังกว่า 2,000 คน
นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุมวิชาการฯ ว่า เพื่อแสดงถึงผลงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สนใจ ได้แสดงออกถึงภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแง่ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อภูมิปัญญาระหว่างนักวิชาการกับชาวบ้าน ที่ทำให้เกิดข้อมูลในมิติต่าง ๆ อันจะนำไปสู่องค์ความรู้ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม ศึกษาวิจัย และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า ทราบว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดงานนี้ขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน แม้กระทั่งว่าจะทำอะไรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็ต้องดูผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อะไรที่ใครอยากให้คนบริหารบ้านเมืองจะทำก็เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนคณะรัฐมนตรีก็ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมาดูว่าต้องทำอะไรตามรัฐธรรมนูญบ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้วได้ไปร่วมปลูกป่าที่เขตอุทยานห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าในหลายเรื่อง ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าวิชาการนั้นเข้าไปในใจกลางป่า
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และน้ำ รวมทั้งโครงการพระราชดำริต่าง ๆ อย่างเช่น ได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้กับกลุ่มชาวเขาที่เคยรุกไร่พื้นที่ป่าเพื่อปลูกฝิ่นให้หันมาปลูกพืชเมืองหนาวจนกลายเป็นโครงการหลวง หรือการดำเนินโครงการห้วยฮ่องไคร้ ในผืนป่าจังหวัดเชียงใหม่ ที่ถูกทำลายจนหมดสภาพให้กลับมาเหมือนเดิม ด้วยการทำฝาย จนกลายเป็นห้องเรียนทางธรรมชาติ ที่นักอนุรักษ์รุ่นใหม่มาดูวิธีการทำให้ป่าชุ่มชื้น หรือในจังหวัดนราธิวาส ที่ทรงดำเนินโครงการปลูกป่าพรุ ทำให้พื้นที่กว่า 30,000 ไร่ ซึ่งเดิมถูกน้ำท่วมตลอดทั้งปี ให้กลายเป็นที่ดิน 27,000 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนกว่า 200 ครัวเรือน ที่เป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติของพระองค์ ดังนั้น การประชุมวิชาการในวันนี้จะได้มีการระดมความคิดเห็นกันในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องวิบัติภัยที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา และหวังว่าการประชุมวิชาการครั้งนี้จะไม่ใช่ข้อขัดแย้งระหว่างผู้ที่ต้องใช้พื้นที่ป่าเพื่อทำมาหากิน กับผู้ที่ทำหน้าที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติ ซึ่งจะต้องมีความพอดีกันทั้งสองฝ่าย จึงขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้คำนึงถึงเรื่องดังกล่าวด้วย
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวชื่นชม นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้ดำเนินการปลูกป่าภายใต้กิจกรรมโครงการ “ทส.สัญจร ปลูกป่า พลิกฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี” อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศแล้ว เป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ดินและป่าไม้ให้บังเกิดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรเทาวิกฤตโลกร้อน ตลอดจนเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้ อันจะนำไปสู่ความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสืบไป ทั้งนี้เพื่อถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่พระองค์ท่านทรงห่วงใยในทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ
ส่วนในช่วงบ่าย นอกจากจัดให้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชนและนักวิชาการทั่วไปทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่า ด้านทรัพยากรน้ำ ด้านมลพิษ และสิ่งแวดล้อม และด้านทรัพยากรธรณี ภัยพิบัติ และการจัดการพื้นที่ชายฝั่งแล้ว ยังมีห้องเสวนาบรรยายพิเศษเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปัญหาในการดำเนินการด้านกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อีกด้วย
นอกจากนี้ภายในงานยังจัดให้มีการแสดงการจัดแสดงนิทรรศการผลงานภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่าง 5 ปีที่ผ่านของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันศึกษา นอกจากนี้ ยังมีสาธิตและแสดงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมกว่า 40 บูธ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (3 ก.ย.) เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 (1st National Conference On Natural Resources And Environment) พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมวิชาการฯ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2551 โดยมีนักวิชาการและผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังกว่า 2,000 คน
นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุมวิชาการฯ ว่า เพื่อแสดงถึงผลงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สนใจ ได้แสดงออกถึงภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแง่ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อภูมิปัญญาระหว่างนักวิชาการกับชาวบ้าน ที่ทำให้เกิดข้อมูลในมิติต่าง ๆ อันจะนำไปสู่องค์ความรู้ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม ศึกษาวิจัย และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า ทราบว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดงานนี้ขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน แม้กระทั่งว่าจะทำอะไรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็ต้องดูผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อะไรที่ใครอยากให้คนบริหารบ้านเมืองจะทำก็เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่วนคณะรัฐมนตรีก็ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมาดูว่าต้องทำอะไรตามรัฐธรรมนูญบ้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้วได้ไปร่วมปลูกป่าที่เขตอุทยานห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าในหลายเรื่อง ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าวิชาการนั้นเข้าไปในใจกลางป่า
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ยังทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และน้ำ รวมทั้งโครงการพระราชดำริต่าง ๆ อย่างเช่น ได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้กับกลุ่มชาวเขาที่เคยรุกไร่พื้นที่ป่าเพื่อปลูกฝิ่นให้หันมาปลูกพืชเมืองหนาวจนกลายเป็นโครงการหลวง หรือการดำเนินโครงการห้วยฮ่องไคร้ ในผืนป่าจังหวัดเชียงใหม่ ที่ถูกทำลายจนหมดสภาพให้กลับมาเหมือนเดิม ด้วยการทำฝาย จนกลายเป็นห้องเรียนทางธรรมชาติ ที่นักอนุรักษ์รุ่นใหม่มาดูวิธีการทำให้ป่าชุ่มชื้น หรือในจังหวัดนราธิวาส ที่ทรงดำเนินโครงการปลูกป่าพรุ ทำให้พื้นที่กว่า 30,000 ไร่ ซึ่งเดิมถูกน้ำท่วมตลอดทั้งปี ให้กลายเป็นที่ดิน 27,000 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนกว่า 200 ครัวเรือน ที่เป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพในการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติของพระองค์ ดังนั้น การประชุมวิชาการในวันนี้จะได้มีการระดมความคิดเห็นกันในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องวิบัติภัยที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา และหวังว่าการประชุมวิชาการครั้งนี้จะไม่ใช่ข้อขัดแย้งระหว่างผู้ที่ต้องใช้พื้นที่ป่าเพื่อทำมาหากิน กับผู้ที่ทำหน้าที่อนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติ ซึ่งจะต้องมีความพอดีกันทั้งสองฝ่าย จึงขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้คำนึงถึงเรื่องดังกล่าวด้วย
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวชื่นชม นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ได้ดำเนินการปลูกป่าภายใต้กิจกรรมโครงการ “ทส.สัญจร ปลูกป่า พลิกฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี” อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศแล้ว เป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ดินและป่าไม้ให้บังเกิดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรเทาวิกฤตโลกร้อน ตลอดจนเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้ อันจะนำไปสู่ความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสืบไป ทั้งนี้เพื่อถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่พระองค์ท่านทรงห่วงใยในทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ
ส่วนในช่วงบ่าย นอกจากจัดให้มีการบรรยายพิเศษให้ความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชนและนักวิชาการทั่วไปทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่า ด้านทรัพยากรน้ำ ด้านมลพิษ และสิ่งแวดล้อม และด้านทรัพยากรธรณี ภัยพิบัติ และการจัดการพื้นที่ชายฝั่งแล้ว ยังมีห้องเสวนาบรรยายพิเศษเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปัญหาในการดำเนินการด้านกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อีกด้วย
นอกจากนี้ภายในงานยังจัดให้มีการแสดงการจัดแสดงนิทรรศการผลงานภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่าง 5 ปีที่ผ่านของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันศึกษา นอกจากนี้ ยังมีสาธิตและแสดงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมกว่า 40 บูธ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--