นายกรัฐมนตรีเผยภายหลังหารือกับผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องพม่า แนะแยกปัญหาการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ออกจากเรื่องประชาธิปไตย เพื่อให้มีการเลือกตั้ง
วันนี้ (25 ส.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงการหารือกับนายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องพม่า ว่า ได้มีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศพม่า ซึ่งที่ผ่านมามีการตั้งประเด็นว่านางอองซาน ซูจี คือประชาธิปไตย รัฐบาลพม่าคือเผด็จการ หากตั้งประเด็นกันอย่างนี้ไม่มีวันได้พบกัน ซึ่งในมุมมองของตนคือตั้งนางอองซาน ซูจี ไว้ต่างหาก แล้วค่อยคุยกับพม่าเรื่องว่าจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร เรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้ง เชิญนานาชาติมาร่วมตรวจสอบ ไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบไม่เป็นไร ขอให้มีเลือกตั้งและรัฐสภา ส่วนเรื่องของนางอองซาน ซูจี เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพูดกันต่างหาก
“ทางพม่าไม่ได้โกรธนางอองซาน ซูจี แต่เขาใช้เป็นเครื่องมือ ทางยุโรปก็ใช้อองซานเป็นเครื่องมือ พม่าก็จะใช้ ถ้าเราไม่พูดกันตรงนี้เราก็จะคุยกันได้ลึก ได้เยอะ และในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ผมจะไปร่วมประชุมสหประชาชาติ ซึ่งผมจะขายไอเดียตรงนี้ว่าทำไมไม่คุยกันเรื่องเลือกตั้ง เรื่องประชาธิปไตย ทำไมจะต้องเอาชนะกันตรงนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็โกรธกันไปตลอด ไม่มีประโยชน์ เอาเธอวางไว้เฉย ๆ เธอก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร แล้วลองพูดจากัน ซึ่งผมก็จะช่วยในฐานะเป็นประธานอาเซียน ก็จะไปช่วยพูดจาให้คืบหน้าไป แต่ถ้าตั้งป้อมแล้วแบ่งฝ่ายอย่างนั้นก็ไม่คืบหน้า และผมก็ไม่เห็นด้วย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (25 ส.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงการหารือกับนายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องพม่า ว่า ได้มีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศพม่า ซึ่งที่ผ่านมามีการตั้งประเด็นว่านางอองซาน ซูจี คือประชาธิปไตย รัฐบาลพม่าคือเผด็จการ หากตั้งประเด็นกันอย่างนี้ไม่มีวันได้พบกัน ซึ่งในมุมมองของตนคือตั้งนางอองซาน ซูจี ไว้ต่างหาก แล้วค่อยคุยกับพม่าเรื่องว่าจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร เรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้ง เชิญนานาชาติมาร่วมตรวจสอบ ไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบไม่เป็นไร ขอให้มีเลือกตั้งและรัฐสภา ส่วนเรื่องของนางอองซาน ซูจี เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพูดกันต่างหาก
“ทางพม่าไม่ได้โกรธนางอองซาน ซูจี แต่เขาใช้เป็นเครื่องมือ ทางยุโรปก็ใช้อองซานเป็นเครื่องมือ พม่าก็จะใช้ ถ้าเราไม่พูดกันตรงนี้เราก็จะคุยกันได้ลึก ได้เยอะ และในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ผมจะไปร่วมประชุมสหประชาชาติ ซึ่งผมจะขายไอเดียตรงนี้ว่าทำไมไม่คุยกันเรื่องเลือกตั้ง เรื่องประชาธิปไตย ทำไมจะต้องเอาชนะกันตรงนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็โกรธกันไปตลอด ไม่มีประโยชน์ เอาเธอวางไว้เฉย ๆ เธอก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร แล้วลองพูดจากัน ซึ่งผมก็จะช่วยในฐานะเป็นประธานอาเซียน ก็จะไปช่วยพูดจาให้คืบหน้าไป แต่ถ้าตั้งป้อมแล้วแบ่งฝ่ายอย่างนั้นก็ไม่คืบหน้า และผมก็ไม่เห็นด้วย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--