โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยรายงานผลการปฏิบัติการ"รวมพลังประชาไทย พ้นภัย ยาเสพติด" ตั้งแต่วันที่ 1 - 15 กรกฎาคม 2551
พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ศอ.ปส.) รายงานผลการปฏิบัติการ“รวมพลังประชาไทย พ้นภัย ยาเสพติด” ตั้งแต่วันที่ 1 — 15 กรกฎาคม 2551 โดยสรุปดังนี้
สถานการณ์ยาเสพติด
ในห้วงระยะเวลา 1 — 15 กรกฎาคม 2551 การลักลอบนำเข้ายาบ้าทางชายแดนภาคเหนือมากที่สุดกว่า ร้อยละ 90 กัญชามีการนำเข้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลัก ส่วนยาเสพติดในกลุ่ม Club Drugs พบชาวต่างชาตินำเข้าทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สำหรับสถานการณ์ด้านการค้าและการแพร่ระบาดยาเสพติดยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ภาคใต้ และ กทม. การจับกุมยาบ้าหลักแสนเม็ดในช่วงนี้จับกุมได้ 2 คดี และจับกุมเจ้าหน้าที่รัฐได้ 3 คน ยาเสพติดที่แพร่ระบาดมากยังคงเป็น ยาบ้า กัญชา และสารระเหย นอกจากนี้ยังพบการแพร่ระบาดของพืชกระท่อม (4x100) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นเยาวชนอายุระหว่าง 19-24 ปี
สำหรับผลการดำเนินงาน ปฏิบัติการ “รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด” ภายใต้กลยุทธ์ “3 ลด 3 เพิ่ม 3 เน้น” ตั้งแต่วันที่ 1 — 15 กรกฎาคม 2551 สรุปได้ดังนี้
1. กลยุทธ์ 3 ลด
1.1 ลดผู้ค้า
1) จากผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านการปราบปรามยาเสพติด สามารถจับกุมยาเสพติด เมื่อรวมตั้งแต่เปิดปฏิบัติการฯ เป็นต้นมา สามารถยึดยาเสพติดจากการจับกุมรายสำคัญ โดยยึดยาบ้า 3,455,406 เม็ด เฮโรอีน 11.2 กิโลกรัม กัญชา 8,059 กิโลกรัม ไอซ์ 6.4 กิโลกรัม เอ็กซ์ตาซี 17,667 เม็ด ยาแก้ไอ 12,598 ขวด พืชกระท่อม 57,326 กิโลกรัม เคตามีน 443 ขวด และโคเคน 854 กรัม
2) สามารถจับกุมผู้มีพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และอายัดทรัพย์สินของนักค้ายาเสพติด จำนวน 89 ราย จาก 31 จังหวัด มูลค่าทรัพย์สินรวม 28.8 ล้านบาท เมื่อรวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการเป็นต้นมา สามารถยึดทรัพย์สินของนักค้ายาเสพติด จำนวน 593 ราย จาก 72 จังหวัด มูลค่าทรัพย์สินรวม 195.5 ล้านบาท
3) การดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดสามารถดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ 15 รายใน 8 จังหวัด เมื่อรวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการฯ เป็นต้นมา สามารถจับกุมเจ้าหน้าที่รัฐได้ 74 ราย ในพื้นที่ 29 จังหวัด
1.2 ลดผู้เสพ
1) มุ่งเน้นต่อการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ และการบำบัดในระบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเป้าหมายสำคัญ ในห้วงระยะเวลาดังกล่าว มีการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้ารับการบำบัดรักษา รวมทั้งสิ้น 575 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.4 เป็นการบำบัดรักษาในระบบบังคับบำบัด และเมื่อรวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการฯ เป็นต้นมา มีการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้ารับการบำบัดรักษา รวมทั้งสิ้น 13,614 ราย
2) ลดเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง ได้ออกตรวจสถานบริการโดยมุ่งเน้นต่อกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มีพฤติกรรมมั่วสุม สามารถตรวจปัสสาวะพนักงานของร้าน พบปัสสาวะมีสีม่วง จำนวน 5 ราย
2. กลยุทธ์ 3 เพิ่ม
2.1 การเพิ่มมาตรการทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ให้เข้มแข็งและจริงจังมากขึ้น โดยสร้างความพร้อมของมาตรการและระบบต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อการลดระดับปัญหายาเสพติดอาทิเช่น จัดอบรมหลักสูตรพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การประชุมทวิภาคีว่าด้วยความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติดระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การประชุมวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ และการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติเพื่อความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนวิชาการด้านการบำบัดรักษายาเสพติด และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ
2.2 เพิ่มบทบาทของภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลไกปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้เกิดความตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยการส่งเสริมบูรณาการภาคสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ต้องขังและครอบครัว ทั้งก่อนปล่อยและภายหลังปล่อยตัว โดยการดูแล ช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพ เมื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับสวัสดิการสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึง
2.3 เพิ่มบทบาทของช่องทางสาธารณะในการร่วมเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด โดยการเพิ่มบทบาทให้กับประชาชนร่วมเฝ้าระวังการปฏิบัติ และสะท้อนปัญหาในพื้นที่ตามช่องทางต่าง ๆ ปรากฏ ว่ามีการแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 225 ราย เมื่อรวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการฯ มีการแจ้งเรื่องร้องเรียนรวม 1,636 ราย
3. กลยุทธ์ 3 เน้น
3.1 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลบางพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่อง ได้มุ่งเน้นมาตรการกดดัน ตรวจค้น ปิดล้อม พื้นที่ชุมชนปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การจับกุมดำเนินคดี สำหรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด มีการนำไปบำบัดรักษาในค่ายบำบัดรักษา และยังเน้นต่อการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่ โดยการตรวจค้น และดำเนินคดีกับสถานบริการ และสถานบันเทิง รวมทั้งร้านเกมส์ อินเตอร์เน็ตที่ผิดกฎหมาย
3.2 พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้บูรณาการทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ ปกครอง ใช้งานมวลชนเป็นยุทธศาสตร์ และมีการนำเยาวชนผู้เสพ/ผู้ติดยาเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในโครงการ “ญาลันนันบารู” จาก 2 จังหวัด จำนวน 158 คน ได้แก่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา เมื่อรวมผลงานตั้งแต่ปฏิบัติการฯ เป็นต้นมา สามารถนำเยาวชนเข้าร่วมโครงการ จาก 4 จังหวัด จำนวน 2,632 คน
3.3 พื้นที่นำเข้ายาเสพติดและพื้นที่ที่มีปัญหาต่อเนื่องซ้ำซาก มีการเพิ่มความเข้มแข็งและเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ณ ด่านถาวร จุดตรวจเส้นทางตามแนวชายแดน และจุดตรวจตอนใน รวมทั้งการจัดกำลังลาดตระเวนเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถจับกุมยาบ้ารายสำคัญ ได้จำนวน 692,351 เม็ด โดยเป็นการลักลอบนำเข้าทางภาคเหนือมากที่สุดร้อยละ 96.6 รองลงมาเป็นภาคกลาง ร้อยละ 2.6 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 0.8 รวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการสามารถจับกุมยาบ้าได้ 3,455,406 เม็ด เมื่อวิเคราะห์ถึงสัดส่วนการจับกุมยาบ้า พบว่าจังหวัดที่มีสัดส่วนการจับกุมยาบ้าที่นำผ่านพื้นที่เกินกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ จังหวัดเชียงราย อุบลราชธานี และกาญจนบุรี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ศอ.ปส.) รายงานผลการปฏิบัติการ“รวมพลังประชาไทย พ้นภัย ยาเสพติด” ตั้งแต่วันที่ 1 — 15 กรกฎาคม 2551 โดยสรุปดังนี้
สถานการณ์ยาเสพติด
ในห้วงระยะเวลา 1 — 15 กรกฎาคม 2551 การลักลอบนำเข้ายาบ้าทางชายแดนภาคเหนือมากที่สุดกว่า ร้อยละ 90 กัญชามีการนำเข้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลัก ส่วนยาเสพติดในกลุ่ม Club Drugs พบชาวต่างชาตินำเข้าทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สำหรับสถานการณ์ด้านการค้าและการแพร่ระบาดยาเสพติดยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ภาคใต้ และ กทม. การจับกุมยาบ้าหลักแสนเม็ดในช่วงนี้จับกุมได้ 2 คดี และจับกุมเจ้าหน้าที่รัฐได้ 3 คน ยาเสพติดที่แพร่ระบาดมากยังคงเป็น ยาบ้า กัญชา และสารระเหย นอกจากนี้ยังพบการแพร่ระบาดของพืชกระท่อม (4x100) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นเยาวชนอายุระหว่าง 19-24 ปี
สำหรับผลการดำเนินงาน ปฏิบัติการ “รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด” ภายใต้กลยุทธ์ “3 ลด 3 เพิ่ม 3 เน้น” ตั้งแต่วันที่ 1 — 15 กรกฎาคม 2551 สรุปได้ดังนี้
1. กลยุทธ์ 3 ลด
1.1 ลดผู้ค้า
1) จากผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านการปราบปรามยาเสพติด สามารถจับกุมยาเสพติด เมื่อรวมตั้งแต่เปิดปฏิบัติการฯ เป็นต้นมา สามารถยึดยาเสพติดจากการจับกุมรายสำคัญ โดยยึดยาบ้า 3,455,406 เม็ด เฮโรอีน 11.2 กิโลกรัม กัญชา 8,059 กิโลกรัม ไอซ์ 6.4 กิโลกรัม เอ็กซ์ตาซี 17,667 เม็ด ยาแก้ไอ 12,598 ขวด พืชกระท่อม 57,326 กิโลกรัม เคตามีน 443 ขวด และโคเคน 854 กรัม
2) สามารถจับกุมผู้มีพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และอายัดทรัพย์สินของนักค้ายาเสพติด จำนวน 89 ราย จาก 31 จังหวัด มูลค่าทรัพย์สินรวม 28.8 ล้านบาท เมื่อรวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการเป็นต้นมา สามารถยึดทรัพย์สินของนักค้ายาเสพติด จำนวน 593 ราย จาก 72 จังหวัด มูลค่าทรัพย์สินรวม 195.5 ล้านบาท
3) การดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดสามารถดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ 15 รายใน 8 จังหวัด เมื่อรวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการฯ เป็นต้นมา สามารถจับกุมเจ้าหน้าที่รัฐได้ 74 ราย ในพื้นที่ 29 จังหวัด
1.2 ลดผู้เสพ
1) มุ่งเน้นต่อการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ และการบำบัดในระบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเป้าหมายสำคัญ ในห้วงระยะเวลาดังกล่าว มีการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้ารับการบำบัดรักษา รวมทั้งสิ้น 575 ราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.4 เป็นการบำบัดรักษาในระบบบังคับบำบัด และเมื่อรวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการฯ เป็นต้นมา มีการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้ารับการบำบัดรักษา รวมทั้งสิ้น 13,614 ราย
2) ลดเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง ได้ออกตรวจสถานบริการโดยมุ่งเน้นต่อกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มีพฤติกรรมมั่วสุม สามารถตรวจปัสสาวะพนักงานของร้าน พบปัสสาวะมีสีม่วง จำนวน 5 ราย
2. กลยุทธ์ 3 เพิ่ม
2.1 การเพิ่มมาตรการทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ให้เข้มแข็งและจริงจังมากขึ้น โดยสร้างความพร้อมของมาตรการและระบบต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อการลดระดับปัญหายาเสพติดอาทิเช่น จัดอบรมหลักสูตรพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การประชุมทวิภาคีว่าด้วยความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติดระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การประชุมวิชาการสารเสพติดภาคเหนือ และการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติเพื่อความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนวิชาการด้านการบำบัดรักษายาเสพติด และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ
2.2 เพิ่มบทบาทของภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลไกปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้เกิดความตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยการส่งเสริมบูรณาการภาคสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ต้องขังและครอบครัว ทั้งก่อนปล่อยและภายหลังปล่อยตัว โดยการดูแล ช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพ เมื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับสวัสดิการสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึง
2.3 เพิ่มบทบาทของช่องทางสาธารณะในการร่วมเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด โดยการเพิ่มบทบาทให้กับประชาชนร่วมเฝ้าระวังการปฏิบัติ และสะท้อนปัญหาในพื้นที่ตามช่องทางต่าง ๆ ปรากฏ ว่ามีการแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 225 ราย เมื่อรวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการฯ มีการแจ้งเรื่องร้องเรียนรวม 1,636 ราย
3. กลยุทธ์ 3 เน้น
3.1 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลบางพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่อง ได้มุ่งเน้นมาตรการกดดัน ตรวจค้น ปิดล้อม พื้นที่ชุมชนปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การจับกุมดำเนินคดี สำหรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด มีการนำไปบำบัดรักษาในค่ายบำบัดรักษา และยังเน้นต่อการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่ โดยการตรวจค้น และดำเนินคดีกับสถานบริการ และสถานบันเทิง รวมทั้งร้านเกมส์ อินเตอร์เน็ตที่ผิดกฎหมาย
3.2 พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้บูรณาการทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ ปกครอง ใช้งานมวลชนเป็นยุทธศาสตร์ และมีการนำเยาวชนผู้เสพ/ผู้ติดยาเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในโครงการ “ญาลันนันบารู” จาก 2 จังหวัด จำนวน 158 คน ได้แก่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา เมื่อรวมผลงานตั้งแต่ปฏิบัติการฯ เป็นต้นมา สามารถนำเยาวชนเข้าร่วมโครงการ จาก 4 จังหวัด จำนวน 2,632 คน
3.3 พื้นที่นำเข้ายาเสพติดและพื้นที่ที่มีปัญหาต่อเนื่องซ้ำซาก มีการเพิ่มความเข้มแข็งและเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ณ ด่านถาวร จุดตรวจเส้นทางตามแนวชายแดน และจุดตรวจตอนใน รวมทั้งการจัดกำลังลาดตระเวนเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถจับกุมยาบ้ารายสำคัญ ได้จำนวน 692,351 เม็ด โดยเป็นการลักลอบนำเข้าทางภาคเหนือมากที่สุดร้อยละ 96.6 รองลงมาเป็นภาคกลาง ร้อยละ 2.6 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 0.8 รวมผลงานตั้งแต่เปิดปฏิบัติการสามารถจับกุมยาบ้าได้ 3,455,406 เม็ด เมื่อวิเคราะห์ถึงสัดส่วนการจับกุมยาบ้า พบว่าจังหวัดที่มีสัดส่วนการจับกุมยาบ้าที่นำผ่านพื้นที่เกินกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ จังหวัดเชียงราย อุบลราชธานี และกาญจนบุรี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--