วันนี้ เวลา 14.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ที่ประชุมรายงานว่า ตามที่ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือ อนุสัญญาออตตาวา นั้น ทำให้ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ที่สำคัญคือ การทำลายทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดตกค้างในพื้นที่ ให้หมดภายใน 10 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 30 เมษายน 2552 นั้น ศูนย์ปฏิบัติการทุนระเบิดแห่งชาติขอขยายระยะเวลา เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค ทำให้การเก็บกู้ทุนระเบิดตามพื้นที่ ทำได้ยาก
โดยที่ประชุมได้รายงานผลการดำเนินการที่ผ่านมาของศูนย์ปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดแห่งชาติ ได้แก่ การแจ้งเตือนและให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด ด้านการแพทย์ การศึกษาและการสังคมอาชีพ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจหลักในการทำลายทุ่นระเบิด และตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิดตกค้าง อย่างไรก็ดี มีปัญหาและอุปสรรคหลายอย่าง ปีที่ผ่านมา จึงมีการจัดทำโครงการกำหนดที่ตั้งพื้นที่สนามทุ่นระเบิด เพื่อจัดทำแผนในชั้นต้น
สำหรับพื้นที่ปลอดภัยภายหลังการเก็บกู้ จะถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งการจัดเป็นพื้นที่ทำกิน แหล่งท่องเที่ยวและปลูกป่าเพิ่มเติ่ม เป็นต้น
นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานการประชุมรับทราบการดำเนินการ และเห็นควรให้มีการขยายเวลาการเก็บกู้ทุ่นระเบิดต่อไป เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ และพร้อมให้การสนันสนุนการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการทุนระเบิดแห่งชาติ ตามที่ไทยมีพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ ต่อไป
ภายหลังการประชุม นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่เคยทราบว่าก่อนว่าการดำเนินการเรื่องนี้ยุ่งยาก ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับ 150 ประเทศ และคณะกรรมการนี้ดำเนินการมาตลอด 10 ปีแล้ว แต่เหลือพื้นที่ตกค้างอีก 500 ตารางกิโลเมตร ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาทและใช้เวลา 10 ปี แต่รัฐบาลไม่สามารถให้งบประมาณผูกพันได้จึงได้อนุมัติให้ก่อน 1.4 พันล้านบาทในปีงบประมาณ 2553 หากสามารถดำเนินงานได้สัก 10 — 20 % ก็จะพิจารณาอนุมัติงบประมาณเพิ่มให้ในปีต่อไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ล่าช้าเพราะวัตถุระเบิดเป็นพลาสติกทำให้ตรวจค้นลำบาก โดยได้ถามที่ประชุมว่าทำไมน้ำมันและแหล่งทองคำถึงตรวจค้นได้แต่หาลูกระเบิดไม่ได้
ด้านพลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้สัมภาษณ์ว่า นายกรัฐมนตรีให้การสนับสนุนในการดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งในตอนแรกเราคิดว่าจะทำได้ภายใน 10 ปี แต่ทำไปได้เพียง 2% เท่านั้น เพราะได้รับงบประมาณน้อยมาก ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ต้องเก็บกู้คือตามแนวชายแดน ซึ่งบริเวณแนวเขาพระวิหารและชายแดนด้านกัมพูชาจะมีมากที่สุด หากดำเนินการเรียบร้อยแล้วเราก็จะปลูกป่าเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปอยู่ได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ที่ประชุมรายงานว่า ตามที่ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือ อนุสัญญาออตตาวา นั้น ทำให้ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ที่สำคัญคือ การทำลายทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่ยังไม่ระเบิดตกค้างในพื้นที่ ให้หมดภายใน 10 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 30 เมษายน 2552 นั้น ศูนย์ปฏิบัติการทุนระเบิดแห่งชาติขอขยายระยะเวลา เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค ทำให้การเก็บกู้ทุนระเบิดตามพื้นที่ ทำได้ยาก
โดยที่ประชุมได้รายงานผลการดำเนินการที่ผ่านมาของศูนย์ปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดแห่งชาติ ได้แก่ การแจ้งเตือนและให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด ด้านการแพทย์ การศึกษาและการสังคมอาชีพ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจหลักในการทำลายทุ่นระเบิด และตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิดตกค้าง อย่างไรก็ดี มีปัญหาและอุปสรรคหลายอย่าง ปีที่ผ่านมา จึงมีการจัดทำโครงการกำหนดที่ตั้งพื้นที่สนามทุ่นระเบิด เพื่อจัดทำแผนในชั้นต้น
สำหรับพื้นที่ปลอดภัยภายหลังการเก็บกู้ จะถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งการจัดเป็นพื้นที่ทำกิน แหล่งท่องเที่ยวและปลูกป่าเพิ่มเติ่ม เป็นต้น
นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานการประชุมรับทราบการดำเนินการ และเห็นควรให้มีการขยายเวลาการเก็บกู้ทุ่นระเบิดต่อไป เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ และพร้อมให้การสนันสนุนการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการทุนระเบิดแห่งชาติ ตามที่ไทยมีพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ ต่อไป
ภายหลังการประชุม นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่เคยทราบว่าก่อนว่าการดำเนินการเรื่องนี้ยุ่งยาก ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับ 150 ประเทศ และคณะกรรมการนี้ดำเนินการมาตลอด 10 ปีแล้ว แต่เหลือพื้นที่ตกค้างอีก 500 ตารางกิโลเมตร ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาทและใช้เวลา 10 ปี แต่รัฐบาลไม่สามารถให้งบประมาณผูกพันได้จึงได้อนุมัติให้ก่อน 1.4 พันล้านบาทในปีงบประมาณ 2553 หากสามารถดำเนินงานได้สัก 10 — 20 % ก็จะพิจารณาอนุมัติงบประมาณเพิ่มให้ในปีต่อไป อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ล่าช้าเพราะวัตถุระเบิดเป็นพลาสติกทำให้ตรวจค้นลำบาก โดยได้ถามที่ประชุมว่าทำไมน้ำมันและแหล่งทองคำถึงตรวจค้นได้แต่หาลูกระเบิดไม่ได้
ด้านพลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ให้สัมภาษณ์ว่า นายกรัฐมนตรีให้การสนับสนุนในการดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งในตอนแรกเราคิดว่าจะทำได้ภายใน 10 ปี แต่ทำไปได้เพียง 2% เท่านั้น เพราะได้รับงบประมาณน้อยมาก ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ต้องเก็บกู้คือตามแนวชายแดน ซึ่งบริเวณแนวเขาพระวิหารและชายแดนด้านกัมพูชาจะมีมากที่สุด หากดำเนินการเรียบร้อยแล้วเราก็จะปลูกป่าเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปอยู่ได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--