นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพถวายเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแด่เชค นัสเซอร์ อัลโมฮัมมัด อัลอะห์มัด อัลจาบีร์ อัลซอบะห์ (H.H. Sheikh Nasser Al-Mohammad Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah) นายกรัฐมนตรีแห่งรัฐคูเวตในโอกาสเสด็จเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (Official Visit) ระหว่างวันที่ 13-14 สิงหาคม 2551
นายกรัฐมนตรีกล่าวในฐานะตัวแทนรัฐบาลและประชาชนชาวไทยว่า มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับนายกรัฐมนตรีคูเวตและคณะในวันนี้ ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับประชาชนชาวไทยที่นายกรัฐมนตรีคูเวตได้เสด็จมาเยือนประเทศไทย เพื่อร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2549
การเสด็จเยือนของนายกรัฐมนตรีคูเวตครั้งนี้ ถือเป็นการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะช่วยแพ้วทางไปสู่ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งกว่าเดิมในอนาคต พร้อมขอถือโอกาสนี้ แสดงความยินดีที่นายกรัฐมนตรีคูเวต ที่ได้รับการแต่งตั้งในดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในอีกวาระหนึ่ง ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนคูเวตร่วมเป็นพันธมิตรกับภูมิภาคเอเชียที่กำลังเติบโต ด้วย นโยบายมองตะวันตก (the Look West approach) ของเอเชีย กับ นโยบายมองตะวันออก (the Look East approach) ของตะวันออกกลาง จะเป็นโอกาสอันดีเยี่ยมให้แก่ไทยและคูเวต ในการเชื่อมโยงความร่วมมือทุกสาขา สะท้อนสิ่งที่ไทยและคูเวตได้หารือกันไว้ในช่วงเช้า เพราะเรากำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกันเพื่อขยายความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ ปัจจุบันโลกเราประสบกับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ขณะที่คูเวตเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและนำเข้าอาหาร ส่วนไทยนำเข้าน้ำมันและเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ ดังนั้น ทั้งสองประเทศสามารถแลกเปลี่ยนสิ่งที่ต่างมีกับสิ่งที่ต้องการได้ ทั้งนี้ ไทยพร้อมให้ความมั่นใจต่อคูเวต ในการสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร และความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ไทยและคูเวตมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมายาวนาน ตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี พ.ศ. 2507 โดยมีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง และไทยชื่นชมบทบาทของคูเวตที่สนับสนุนไทยใน องค์การประชุมอิสลาม หรือ OIC (Organization of the Islamic Conference) รวมถึงความช่วยเหลือต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็ให้ความสำคัญต่อนโยบายแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความเป็นอยู่ของประชาชนในบริเวณดังกล่าว
นอกจากนี้ ประเทศไทยมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ในภารกิจ Iraq-Kuwait Observer Mission (UNIKOM) ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) โดยทีมแพทย์ไทยได้เข้าไปช่วยคูเวตขณะนั้น นอกจากนี้ การเชื่อมโยงระหว่างประชาชนก็มีความแน่นแฟ้น โดยนักเรียนชาวไทยมุสลิมได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลคูเวตเป็นประจำทุกปี ซึ่งนักเรียนเหล่านี้เป็นเสมือนสะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างสองประเทศ
ในวาระโอกาสที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสภาความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย หรือ GCC (the Gulf Cooperation Council) ในสาขาความร่วมมือที่มีศักยภาพ อาทิ ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงด้านอาหาร และ การท่องเที่ยว
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีขอให้ทุกคนร่วมดื่มอวยพรให้กับความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่มีมายาวนานและให้แก่นายกรัฐมนตรีคูเวต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวในฐานะตัวแทนรัฐบาลและประชาชนชาวไทยว่า มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับนายกรัฐมนตรีคูเวตและคณะในวันนี้ ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับประชาชนชาวไทยที่นายกรัฐมนตรีคูเวตได้เสด็จมาเยือนประเทศไทย เพื่อร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2549
การเสด็จเยือนของนายกรัฐมนตรีคูเวตครั้งนี้ ถือเป็นการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะช่วยแพ้วทางไปสู่ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งกว่าเดิมในอนาคต พร้อมขอถือโอกาสนี้ แสดงความยินดีที่นายกรัฐมนตรีคูเวต ที่ได้รับการแต่งตั้งในดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในอีกวาระหนึ่ง ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนคูเวตร่วมเป็นพันธมิตรกับภูมิภาคเอเชียที่กำลังเติบโต ด้วย นโยบายมองตะวันตก (the Look West approach) ของเอเชีย กับ นโยบายมองตะวันออก (the Look East approach) ของตะวันออกกลาง จะเป็นโอกาสอันดีเยี่ยมให้แก่ไทยและคูเวต ในการเชื่อมโยงความร่วมมือทุกสาขา สะท้อนสิ่งที่ไทยและคูเวตได้หารือกันไว้ในช่วงเช้า เพราะเรากำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกันเพื่อขยายความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ ปัจจุบันโลกเราประสบกับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน ขณะที่คูเวตเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและนำเข้าอาหาร ส่วนไทยนำเข้าน้ำมันและเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ ดังนั้น ทั้งสองประเทศสามารถแลกเปลี่ยนสิ่งที่ต่างมีกับสิ่งที่ต้องการได้ ทั้งนี้ ไทยพร้อมให้ความมั่นใจต่อคูเวต ในการสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร และความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ไทยและคูเวตมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมายาวนาน ตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี พ.ศ. 2507 โดยมีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง และไทยชื่นชมบทบาทของคูเวตที่สนับสนุนไทยใน องค์การประชุมอิสลาม หรือ OIC (Organization of the Islamic Conference) รวมถึงความช่วยเหลือต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็ให้ความสำคัญต่อนโยบายแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้และความเป็นอยู่ของประชาชนในบริเวณดังกล่าว
นอกจากนี้ ประเทศไทยมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ในภารกิจ Iraq-Kuwait Observer Mission (UNIKOM) ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) โดยทีมแพทย์ไทยได้เข้าไปช่วยคูเวตขณะนั้น นอกจากนี้ การเชื่อมโยงระหว่างประชาชนก็มีความแน่นแฟ้น โดยนักเรียนชาวไทยมุสลิมได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลคูเวตเป็นประจำทุกปี ซึ่งนักเรียนเหล่านี้เป็นเสมือนสะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างสองประเทศ
ในวาระโอกาสที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสภาความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย หรือ GCC (the Gulf Cooperation Council) ในสาขาความร่วมมือที่มีศักยภาพ อาทิ ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงด้านอาหาร และ การท่องเที่ยว
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีขอให้ทุกคนร่วมดื่มอวยพรให้กับความสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่มีมายาวนานและให้แก่นายกรัฐมนตรีคูเวต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--