นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP : Public Private Partnership Committee) ครั้งที่ 1 / 2551
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP : Public Private Partnership Committee) ครั้งที่ 1 / 2551 โดยมี นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการจัดทำความร่วมมือในการร่วมลงทุนระหว่างภาค รัฐและภาคเอกชน (PPP Unit) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายในสำนักงบประมาณ ดูแลเร่งรัดเรื่องดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการลงทุนภาครัฐอย่างเป็นระบบ และให้เร่งขับเคลื่อนโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนให้เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งเร่งรัดดำเนินการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่การริเริ่มจนการดำเนินโครงการสัมฤทธิผล
ด้วยกระบวนการที่เอกชนจะร่วมกับรัฐดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ ในปัจจุบันได้รับการกำหนดไว้ในกฎหมายหลายฉบับ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแลตามกฎหมาย เพื่อให้นโยบายของภาครัฐในการร่วมมือกับภาคเอกชนเป็นไปอย่างมีเอกภาพ จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนขึ้นมาทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในภารกิจดังกล่าว โดยคณะกรรมการฯ (PPP Committee) จะคัดกรองโครงการลงทุนในภาครัฐที่มีศักยภาพและมีความเหมาะสม โดยมอบให้สำนักงาน PPP ช่วยเป็นพี่เลี้ยงขับเคลื่อนและติดตามความคืบหน้าของโครงการ และหน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการจะเป็นผู้ดำเนินการตามกรอบกฎหมายให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานที่จะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วม ตั้งแต่การพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการ รูปแบบ การวิเคราะห์โครงการ (Project design, feasibility study, cost/income estimates, options of participation) เข้าใจความเสี่ยงของโครงการ และสามารถร่วมเสนอโครงการ หรือ นำโครงการมา package เป็นโครงการในรูปแบบ PPP โดยมีโครงการในด้านต่าง ๆ ที่สามารถดำเนินการในลักษณะนี้ได้ เช่น ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงาน โดยมอบหมายให้สำนักงาน PPP ดำเนินการโครงการนำร่องให้เป็นผลโดยเร็ว ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้เพื่อให้กระบวนการนำโครงการลงทุนภาครัฐเข้าสู่การระดมทุนได้อย่างครบวงจร และมีองค์การเป็นเจ้าภาพรองรับต่อไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP Committee) จะดำเนินการในเรื่องที่สำคัญคือ
1. พิจารณาคัดกรองโครงการสำคัญภาครัฐที่มีศักยภาพและมีความเหมาะสมที่จะดำเนินโครงการในลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
2. พิจารณาความพร้อมในการระดมทุนของโครงการลงทุนสำคัญในภาครัฐโดยให้มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
3. ขับเคลื่อนการจัดทำความร่วมมือในการลงทุนในโครงการสำคัญระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP)
4. กำกับและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนที่สำคัญในภาครัฐ
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการโครงการนำร่อง 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (บางปะอิน-โคราช) ระยะทาง 199 กิโลเมตร ที่อยู่ในแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เร่งด่วนระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2550 - 2560) ซึ่งกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาใน 2 รูปแบบ คือ (1) จัดตั้งกองทุน Toll Road Investment Trust เพื่อระดมทุนจากภาคเอกชน และ (2) จัดทำสัญญา Built - Operate - Transfer โดยภาครัฐอุดหนุนรายได้ให้ผลตอบแทนโครงการเป็นที่สนใจจากภาคเอกชน
2) โครงการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ โดยวิธี PPP ที่มีประเด็นสำคัญในเรื่องพื้นที่ดำเนินการและกลุ่มเป้าหมาย เป็นโครงการภาครัฐตามนโยบายรัฐบาล มีขีดความสามารถและศักยภาพในการระดมทุน โดยสามารถมีสัญญาระยะยาวเป็นข้อตกลงการให้บริการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้
3) โครงการบริหารจัดการอุทยาน ที่มีหลักการและเหตุผลคือการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอุทยานจำเป็นต้องเข้าใจประเด็นปัญหา กำหนดหลักการให้ชัดเจนและจัดทำแผนแม่บท โดยเน้นการอนุรักษ์และพิจารณาความเหมาะสมในการใช้พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การให้บริการประชาชนและการสร้างรายได้ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล สามารถมีสัญญาระยะยาวเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP : Public Private Partnership Committee) ครั้งที่ 1 / 2551 โดยมี นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการจัดทำความร่วมมือในการร่วมลงทุนระหว่างภาค รัฐและภาคเอกชน (PPP Unit) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายในสำนักงบประมาณ ดูแลเร่งรัดเรื่องดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการลงทุนภาครัฐอย่างเป็นระบบ และให้เร่งขับเคลื่อนโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนให้เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งเร่งรัดดำเนินการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่การริเริ่มจนการดำเนินโครงการสัมฤทธิผล
ด้วยกระบวนการที่เอกชนจะร่วมกับรัฐดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ ในปัจจุบันได้รับการกำหนดไว้ในกฎหมายหลายฉบับ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแลตามกฎหมาย เพื่อให้นโยบายของภาครัฐในการร่วมมือกับภาคเอกชนเป็นไปอย่างมีเอกภาพ จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนขึ้นมาทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในภารกิจดังกล่าว โดยคณะกรรมการฯ (PPP Committee) จะคัดกรองโครงการลงทุนในภาครัฐที่มีศักยภาพและมีความเหมาะสม โดยมอบให้สำนักงาน PPP ช่วยเป็นพี่เลี้ยงขับเคลื่อนและติดตามความคืบหน้าของโครงการ และหน่วยงานที่เป็นเจ้าของโครงการจะเป็นผู้ดำเนินการตามกรอบกฎหมายให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานที่จะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วม ตั้งแต่การพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการ รูปแบบ การวิเคราะห์โครงการ (Project design, feasibility study, cost/income estimates, options of participation) เข้าใจความเสี่ยงของโครงการ และสามารถร่วมเสนอโครงการ หรือ นำโครงการมา package เป็นโครงการในรูปแบบ PPP โดยมีโครงการในด้านต่าง ๆ ที่สามารถดำเนินการในลักษณะนี้ได้ เช่น ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงาน โดยมอบหมายให้สำนักงาน PPP ดำเนินการโครงการนำร่องให้เป็นผลโดยเร็ว ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้เพื่อให้กระบวนการนำโครงการลงทุนภาครัฐเข้าสู่การระดมทุนได้อย่างครบวงจร และมีองค์การเป็นเจ้าภาพรองรับต่อไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP Committee) จะดำเนินการในเรื่องที่สำคัญคือ
1. พิจารณาคัดกรองโครงการสำคัญภาครัฐที่มีศักยภาพและมีความเหมาะสมที่จะดำเนินโครงการในลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
2. พิจารณาความพร้อมในการระดมทุนของโครงการลงทุนสำคัญในภาครัฐโดยให้มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง
3. ขับเคลื่อนการจัดทำความร่วมมือในการลงทุนในโครงการสำคัญระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP)
4. กำกับและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนที่สำคัญในภาครัฐ
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการโครงการนำร่อง 3 โครงการ ดังนี้
1) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (บางปะอิน-โคราช) ระยะทาง 199 กิโลเมตร ที่อยู่ในแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เร่งด่วนระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2550 - 2560) ซึ่งกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาใน 2 รูปแบบ คือ (1) จัดตั้งกองทุน Toll Road Investment Trust เพื่อระดมทุนจากภาคเอกชน และ (2) จัดทำสัญญา Built - Operate - Transfer โดยภาครัฐอุดหนุนรายได้ให้ผลตอบแทนโครงการเป็นที่สนใจจากภาคเอกชน
2) โครงการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ โดยวิธี PPP ที่มีประเด็นสำคัญในเรื่องพื้นที่ดำเนินการและกลุ่มเป้าหมาย เป็นโครงการภาครัฐตามนโยบายรัฐบาล มีขีดความสามารถและศักยภาพในการระดมทุน โดยสามารถมีสัญญาระยะยาวเป็นข้อตกลงการให้บริการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้
3) โครงการบริหารจัดการอุทยาน ที่มีหลักการและเหตุผลคือการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอุทยานจำเป็นต้องเข้าใจประเด็นปัญหา กำหนดหลักการให้ชัดเจนและจัดทำแผนแม่บท โดยเน้นการอนุรักษ์และพิจารณาความเหมาะสมในการใช้พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การให้บริการประชาชนและการสร้างรายได้ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล สามารถมีสัญญาระยะยาวเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--