นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 1/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 1/2551 โดยมี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมประชุมด้วย
พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมว่า ขณะนี้สถานการณ์ด้านสุขภาพของคนไทย มีสุขภาวะดีขึ้น เพราะได้รับหลักประกันสุขภาพทั่วถึง การเจ็บป่วยโดยรวมลดลง แต่การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลจากการขยายหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรมากขึ้นทำให้คนไทยมีอายุยืนขึ้น อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอายุเฉลี่ยชาย 70.59 ปี หญิง 77.54 ปี ในด้านการมีหลักประกันสุขภาพในปี 2550 คนไทยร้อยละ 98.75 มีหลักประกันสุขภาพ ขณะที่การเจ็บป่วยโดยรวมของคนไทยลดลงจาก 1,809.6 ต่อประชากรพันคนในปี 2545 เป็น 2,079.6 ต่อประชากรพันคนในปี 2549 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม อัตราป่วยและตายด้วยโรคสำคัญ โรคเรื้อรัง โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และโรคที่เกิดจากปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ โรคเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงและปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งจากข้อมูลปี 2549 พบว่า คนไทยมีอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจ 618.53 ต่อประชากรแสนคน และมีอัตราตาย 28.4 ต่อประชากรแสนคน หรือเฉลี่ย 49 คน/วัน และมีอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นจากปี 2537 ถึง 3.6 เท่า และ 2.4 เท่าตามลำดับ และคาดว่าในปี 2551 จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 120,000 ราย ขณะที่การบาดเจ็บและตายจากอุบัติยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะอุบัติเหตุขนส่งมีอัตราการบาดเจ็บ 1,553.9 ต่อประชากรแสนคน และมีอัตราตาย 16.6 ต่อประชากรแสนคน และปัจจุบันประชากรไทยมีอัตราการมีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ร้อยละ 5 และประมาณร้อยละ 1 ของเด็กไทยมีปัญหาด้านสติปัญญา
จากสถิติตัวเลขดังกล่าว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักการ แผนการลงทุนพัฒนาสุขภาพของประชาชน โดยใช้งบประมาณจำนวน 39,717,86 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. แผนงานพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข จำนวนเงิน 24,444.75 ล้านบาท มี 3 โครงการคือ 1) โครงการขยายเครือข่ายและเสริมศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพใกล้บ้านให้ทันสมัยได้มาตรฐาน 2) โครงการพัฒนาบริการตติยภูมิ ศูนย์โรคหัวใจ ศูนย์โรคมะเร็งและเครือข่ายการบาดเจ็บแห่งชาติ 3) โครงการพัฒนาระบบบริการทุติยภูมิ 2. แผนงานพัฒนาแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข จำนวนเงิน 11,525.53 ล้านบาท ได้แก่ โครงการผลิตและพัฒนาศักยภาพแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข 3. แผนงานลดปัจจัยเสี่ยงและคุ้มครองผู้บริโภค จำนวนเงิน 1,915.68 ล้าน มี 3 โครงการคือ 1) โครงการเสริมสร้างมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงและปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อสร้างวิถีชีวิตไทย 2) โครงการพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิต และ Regional Referral Mental Center พ.ศ.2552 - 2554 4 . แผนงานพัฒนาข้อมูลและองค์ความรู้ จำนวนเงิน 1,831.90 ล้านบาท มี 2 โครงการคือ 1) โครงการปฏิรูประบบข้อมูลสุขภาพภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข 2) โครงการก่อสร้างหอประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์การแพทย์และสาธารณสุขไทย เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ ได้มีการปรับรายละเอียดเพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ แล้วให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โดยปัจจุบันจำนวนแพทย์ 1 คนต้องรับผิดชอบประชากร ในแต่ละแห่งดังนี้ กรุงเทพมหานคร รับผิดชอบประชาชน 1:867 คน ภาคกลาง 1:3,124 คน ภาคเหนือ 1:3,724 คน ภาคใต้ 1:4,306 คน และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1:7,005 คน ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาด้าน สาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง เพราะขณะนี้มีจำนวนแพทย์และพยาบาลที่ลาออกจากระบบราชการเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านวิสัญญีแพทย์มีการขาดแคลนมาก มีทั่วประเทศเพียง 900 คน
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือสวัสดิภาพด้านที่พักอาศัยให้กับแพทย์ตามชนบท เช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ รวมทั้งการปรับค่าตอบแทนให้กับแพทย์ เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้กับแพทย์ได้อยู่ในระบบราชการต่อไป และเพื่อให้แพทย์ทุกคนมีขวัญกำลังใจในการที่ได้เสียสละและทุ่มเทให้กับการรักษาพยาบาลประชาชน รวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยให้กับสถานพยาบาลต่าง ๆ อีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 1/2551 โดยมี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมประชุมด้วย
พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมว่า ขณะนี้สถานการณ์ด้านสุขภาพของคนไทย มีสุขภาวะดีขึ้น เพราะได้รับหลักประกันสุขภาพทั่วถึง การเจ็บป่วยโดยรวมลดลง แต่การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลจากการขยายหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรมากขึ้นทำให้คนไทยมีอายุยืนขึ้น อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอายุเฉลี่ยชาย 70.59 ปี หญิง 77.54 ปี ในด้านการมีหลักประกันสุขภาพในปี 2550 คนไทยร้อยละ 98.75 มีหลักประกันสุขภาพ ขณะที่การเจ็บป่วยโดยรวมของคนไทยลดลงจาก 1,809.6 ต่อประชากรพันคนในปี 2545 เป็น 2,079.6 ต่อประชากรพันคนในปี 2549 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม อัตราป่วยและตายด้วยโรคสำคัญ โรคเรื้อรัง โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และโรคที่เกิดจากปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ โรคเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงและปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งจากข้อมูลปี 2549 พบว่า คนไทยมีอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจ 618.53 ต่อประชากรแสนคน และมีอัตราตาย 28.4 ต่อประชากรแสนคน หรือเฉลี่ย 49 คน/วัน และมีอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นจากปี 2537 ถึง 3.6 เท่า และ 2.4 เท่าตามลำดับ และคาดว่าในปี 2551 จะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 120,000 ราย ขณะที่การบาดเจ็บและตายจากอุบัติยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะอุบัติเหตุขนส่งมีอัตราการบาดเจ็บ 1,553.9 ต่อประชากรแสนคน และมีอัตราตาย 16.6 ต่อประชากรแสนคน และปัจจุบันประชากรไทยมีอัตราการมีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ร้อยละ 5 และประมาณร้อยละ 1 ของเด็กไทยมีปัญหาด้านสติปัญญา
จากสถิติตัวเลขดังกล่าว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักการ แผนการลงทุนพัฒนาสุขภาพของประชาชน โดยใช้งบประมาณจำนวน 39,717,86 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. แผนงานพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข จำนวนเงิน 24,444.75 ล้านบาท มี 3 โครงการคือ 1) โครงการขยายเครือข่ายและเสริมศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพใกล้บ้านให้ทันสมัยได้มาตรฐาน 2) โครงการพัฒนาบริการตติยภูมิ ศูนย์โรคหัวใจ ศูนย์โรคมะเร็งและเครือข่ายการบาดเจ็บแห่งชาติ 3) โครงการพัฒนาระบบบริการทุติยภูมิ 2. แผนงานพัฒนาแพทย์ บุคลากรสาธารณสุข จำนวนเงิน 11,525.53 ล้านบาท ได้แก่ โครงการผลิตและพัฒนาศักยภาพแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข 3. แผนงานลดปัจจัยเสี่ยงและคุ้มครองผู้บริโภค จำนวนเงิน 1,915.68 ล้าน มี 3 โครงการคือ 1) โครงการเสริมสร้างมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงและปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อสร้างวิถีชีวิตไทย 2) โครงการพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิต และ Regional Referral Mental Center พ.ศ.2552 - 2554 4 . แผนงานพัฒนาข้อมูลและองค์ความรู้ จำนวนเงิน 1,831.90 ล้านบาท มี 2 โครงการคือ 1) โครงการปฏิรูประบบข้อมูลสุขภาพภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข 2) โครงการก่อสร้างหอประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์การแพทย์และสาธารณสุขไทย เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ ได้มีการปรับรายละเอียดเพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ แล้วให้นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โดยปัจจุบันจำนวนแพทย์ 1 คนต้องรับผิดชอบประชากร ในแต่ละแห่งดังนี้ กรุงเทพมหานคร รับผิดชอบประชาชน 1:867 คน ภาคกลาง 1:3,124 คน ภาคเหนือ 1:3,724 คน ภาคใต้ 1:4,306 คน และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1:7,005 คน ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาด้าน สาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง เพราะขณะนี้มีจำนวนแพทย์และพยาบาลที่ลาออกจากระบบราชการเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านวิสัญญีแพทย์มีการขาดแคลนมาก มีทั่วประเทศเพียง 900 คน
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือสวัสดิภาพด้านที่พักอาศัยให้กับแพทย์ตามชนบท เช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ รวมทั้งการปรับค่าตอบแทนให้กับแพทย์ เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้กับแพทย์ได้อยู่ในระบบราชการต่อไป และเพื่อให้แพทย์ทุกคนมีขวัญกำลังใจในการที่ได้เสียสละและทุ่มเทให้กับการรักษาพยาบาลประชาชน รวมทั้งการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยให้กับสถานพยาบาลต่าง ๆ อีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--