แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วันภาษาไทยแห่งชาติ
นายสมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี
จตุจักร
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมผู้บริหารและครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ
วันนี้ เวลา 15.00 น. ณ หอประชุมโรงเรียนหอวัง เขตจตุจักร นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมผู้บริหารและครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม ประจำปี 2551
เมื่อเดินทางถึง ตัวแทนนักเรียน 2 คน ขับเสภาต้อนรับนายกรัฐมนตรี จากนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานโดยสรุปว่า ในวันภาษาไทยแห่งชาติของทุกปี สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างพร้อมใจกันจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาไทยด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทุกระดับ โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดกิจกรรมการประกวดความสามารถของนักเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งปีนี้เน้นการพัฒนาความสามารถการเขียนการอ่านร้อยกรอง ระดับสถานศึกษาจัดประกวดในเดือนมิถุนายน ทุกเขตพื้นที่การศึกษาจัดประกวดในเดือนกรกฎาคม เพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศในเดือนสิงหาคม และขณะนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร รวม 3 เขต ได้จัดการประกวดดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว มีนักเรียนที่ชนะการประกวดทุกช่วงชั้น ทุกประเภท รวม 12 รางวัล
จากนั้น คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อ่านรายชื่อนักเรียนผู้ชนะการประกวดเข้ารับโล่รางวัลตามลำดับ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพ มหานคร เขต 1 เขต 2 และเขต 3 ใน 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 คำคล้องจอง ช่วงชั้นที่ 2 กาพย์ยานี 11 ช่วงชั้นที่ 3 กาพย์ฉบัง 16 และช่วงชั้นที่ 4 กลอนสุภาพ รวม 12 รางวัล
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบโล่รางวัลแก่นักเรียนที่ชนะการประกวด พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องภาษาไทยของเรา สรุปสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า การมาปาฐกถาพิเศษวันนี้เนื่องจากที่ได้รับเชิญให้มาพูดเมื่อครั้งที่ไปเป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับปลัดกระทรวงที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยปกติแล้วตนมักพูดเรื่องการใช้ภาษาไทยอยู่เสมอในโอกาสต่าง ๆ ที่มักจะเป็นการพูดแสดงความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อภาษาไทย ทั้งนี้ เห็นว่าเมื่อเราได้เรียนรู้ภาษาไทยแล้ว หากทิ้งภาษาไทยไปแล้วจะไม่มีวันนึกออกได้ว่าภาษาไทยเป็นอย่างไรเมื่ออยู่ท่ามกลางนานาชาติ ซึ่งก็ต้องบอกว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ยากมีประวัติศาสตร์ของภาษามายาวนานกว่า 700 ปี ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้วมีวัฒนาการของภาษาไทยใน 4 ยุคคือยุคกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เป็นมรดกตกทอดจนถึงปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าวันนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เป็นวันที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเป็นวันครบรอบ 46 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ในการประชุมทางวิชาการ ของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 โดยนายกรัฐมนตรีได้แนะนำหนังสือบันทึกการเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานกระแสพระราชดำริ "ปัญหาการใช้ภาษาไทย" ที่ราชบัณฑิตยสถานได้จัดพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสนพระราชหฤทัยในภาษาไทยของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการประชุมดังกล่าว ให้ผู้เข้าร่วมรับฟังปาฐกถาได้รับทราบ พร้อมกับกล่าวแนะนำหนังสือแบบเรียนเร็วใหม่ และหนังสือบทอาขยานภาษาไทย ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ภาษาไทยมีความไพเราะของภาษาที่เกิดจากตัวอักษร 44 ตัว สระ 28 ตัว และมีเสียงวรรณยุกต์เป็นตัวควบคุมเสียง ทำให้ภาษาไทยมีการผันเสียงได้มากและไพเราะกว่าเมื่อเทียบกับภาษาอื่น รวมทั้งภาษาไทยมีความสวยงามด้วยหลัก 4 หลักของภาษาคือ อักขระวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และ ฉันทลักษณ์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างความยาก ความไพเราะงดงามของภาษาไทยประกอบด้วยโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เช่น โคลงสี่สุภาพ โคลงสอง โคลงสาม กาพย์ยานี หลาย ๆ ประเภทใน 4 หลักของภาษา ให้ฟังโดยขอให้ทุกคนไปหาอ่านและชื่นชมในภาษาไทย หากแปลไม่ได้ก็ขอให้เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเพื่อให้เข้าใจความหมาย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจเรียนรู้ โดยมีทูตจากหลายประเทศที่เรียนภาษาไทยจนสามารถพูดได้คล่องรวมทั้งได้รับรางวัลการใช้ภาษา ไทยดีเด่นด้วย คนไทยจึงควรภาคภูมิใจในภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติที่อยู่คู่กับประเทศไทยโดยมีความเจริญก้าวหน้าไม่หยุด และขอให้ทุกคนตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ช่วยกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยโดย พูด อ่าน เขียน ให้ถูกต้อง เพราะภาษาไทยเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคนที่ต้องช่วยกันรักษาไว้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.00 น. ณ หอประชุมโรงเรียนหอวัง เขตจตุจักร นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมผู้บริหารและครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม ประจำปี 2551
เมื่อเดินทางถึง ตัวแทนนักเรียน 2 คน ขับเสภาต้อนรับนายกรัฐมนตรี จากนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานโดยสรุปว่า ในวันภาษาไทยแห่งชาติของทุกปี สถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างพร้อมใจกันจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาไทยด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทุกระดับ โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดกิจกรรมการประกวดความสามารถของนักเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งปีนี้เน้นการพัฒนาความสามารถการเขียนการอ่านร้อยกรอง ระดับสถานศึกษาจัดประกวดในเดือนมิถุนายน ทุกเขตพื้นที่การศึกษาจัดประกวดในเดือนกรกฎาคม เพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศในเดือนสิงหาคม และขณะนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร รวม 3 เขต ได้จัดการประกวดดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว มีนักเรียนที่ชนะการประกวดทุกช่วงชั้น ทุกประเภท รวม 12 รางวัล
จากนั้น คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อ่านรายชื่อนักเรียนผู้ชนะการประกวดเข้ารับโล่รางวัลตามลำดับ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพ มหานคร เขต 1 เขต 2 และเขต 3 ใน 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 คำคล้องจอง ช่วงชั้นที่ 2 กาพย์ยานี 11 ช่วงชั้นที่ 3 กาพย์ฉบัง 16 และช่วงชั้นที่ 4 กลอนสุภาพ รวม 12 รางวัล
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบโล่รางวัลแก่นักเรียนที่ชนะการประกวด พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องภาษาไทยของเรา สรุปสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า การมาปาฐกถาพิเศษวันนี้เนื่องจากที่ได้รับเชิญให้มาพูดเมื่อครั้งที่ไปเป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับปลัดกระทรวงที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยปกติแล้วตนมักพูดเรื่องการใช้ภาษาไทยอยู่เสมอในโอกาสต่าง ๆ ที่มักจะเป็นการพูดแสดงความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อภาษาไทย ทั้งนี้ เห็นว่าเมื่อเราได้เรียนรู้ภาษาไทยแล้ว หากทิ้งภาษาไทยไปแล้วจะไม่มีวันนึกออกได้ว่าภาษาไทยเป็นอย่างไรเมื่ออยู่ท่ามกลางนานาชาติ ซึ่งก็ต้องบอกว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ยากมีประวัติศาสตร์ของภาษามายาวนานกว่า 700 ปี ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้วมีวัฒนาการของภาษาไทยใน 4 ยุคคือยุคกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เป็นมรดกตกทอดจนถึงปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าวันนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เป็นวันที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเป็นวันครบรอบ 46 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ในการประชุมทางวิชาการ ของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 โดยนายกรัฐมนตรีได้แนะนำหนังสือบันทึกการเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานกระแสพระราชดำริ "ปัญหาการใช้ภาษาไทย" ที่ราชบัณฑิตยสถานได้จัดพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสนพระราชหฤทัยในภาษาไทยของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการประชุมดังกล่าว ให้ผู้เข้าร่วมรับฟังปาฐกถาได้รับทราบ พร้อมกับกล่าวแนะนำหนังสือแบบเรียนเร็วใหม่ และหนังสือบทอาขยานภาษาไทย ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ภาษาไทยมีความไพเราะของภาษาที่เกิดจากตัวอักษร 44 ตัว สระ 28 ตัว และมีเสียงวรรณยุกต์เป็นตัวควบคุมเสียง ทำให้ภาษาไทยมีการผันเสียงได้มากและไพเราะกว่าเมื่อเทียบกับภาษาอื่น รวมทั้งภาษาไทยมีความสวยงามด้วยหลัก 4 หลักของภาษาคือ อักขระวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และ ฉันทลักษณ์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างความยาก ความไพเราะงดงามของภาษาไทยประกอบด้วยโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เช่น โคลงสี่สุภาพ โคลงสอง โคลงสาม กาพย์ยานี หลาย ๆ ประเภทใน 4 หลักของภาษา ให้ฟังโดยขอให้ทุกคนไปหาอ่านและชื่นชมในภาษาไทย หากแปลไม่ได้ก็ขอให้เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเพื่อให้เข้าใจความหมาย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่ชาวต่างชาติให้ความสนใจเรียนรู้ โดยมีทูตจากหลายประเทศที่เรียนภาษาไทยจนสามารถพูดได้คล่องรวมทั้งได้รับรางวัลการใช้ภาษา ไทยดีเด่นด้วย คนไทยจึงควรภาคภูมิใจในภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติที่อยู่คู่กับประเทศไทยโดยมีความเจริญก้าวหน้าไม่หยุด และขอให้ทุกคนตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ช่วยกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยโดย พูด อ่าน เขียน ให้ถูกต้อง เพราะภาษาไทยเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคนที่ต้องช่วยกันรักษาไว้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--