นายกรัฐมนตรี เป็นประธานงานวันภาษาไทยแห่งชาติประจำปี 2551 พร้อมมอบรางวัลแก่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยและภาษาถิ่นดีเด่น และศิลปินผู้ได้รับรางวัลการประพันธ์คำร้องและการขับร้องเพลงดีเด่น
วันนี้ เวลา 13.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานงานวันภาษาไทยแห่งชาติประจำปี 2551 พร้อมมอบรางวัลแก่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยและภาษาถิ่นดีเด่น จำนวน 21 คน และศิลปินผู้ได้รับรางวัลการประพันธ์คำร้องและการขับร้องเพลงดีเด่น จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม
นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานว่า นับจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงร่วมการประชุมทางวิชาการเรื่องปัญหาการใช้ภาษาไทย ที่ชมรมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ได้ทรงห่วงใยและสนพระราชหฤทัยในเรื่องการใช้ภาษาไทย รวมทั้งที่ปรากฏในพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท และในหลายโอกาสที่ทรงเน้นย้ำให้คนไทยตระหนักในคุณค่าความสำคัญของภาษาไทย จึงเป็นเหตุให้ทุกหน่วยงานมีการตื่นตัว และทำนุบำรุงภาษาไทยกันมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ต่อจากนั้นก็ได้มีองค์กรต่าง ๆ ร่วมกันจัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษาไทยกันเรื่อยมา โดยในปี พ.ศ.2550 เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา รัฐบาลยังได้ประกาศให้ปี พ.ศ.2550 เป็นปีภาษาไทยเฉลิมพระเกียรติด้วย เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทย และเพื่อกระตุ้นเตือนคนไทยตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของภาษาไทยที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ ที่นอกจากจะเป็นการใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างกันของคนในชาติแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของคนไทยอย่างชัดเจน ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน
ทั้งนี้เพื่อให้การรณรงค์การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดกิจกรรมในวัน ภาษาไทยแห่งชาติ ปี พ.ศ.2551 ขึ้น โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ การแสดงปาฐกถาพิเศษ ของนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ การยกย่องเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ปาฐกถาพิเศษเรื่องคุณค่าภาษาไทย โดยนายดำรง พุฒตาล การจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่สาระความรู้ทางภาษาไทย ฯลฯ รวมทั้งกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ การอบรมการอ่านทำนองเสนาะ การเปิดคลินิกหมอภาษา การประกวดคัดลายมือ เป็นต้น
จากนั้นนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มอบรางวัลแก่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยและภาษาถิ่นดีเด่น จำนวน 21 คน ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย พ.ศ.2551 ได้แก่ ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล ศ.เรืองอุไร กุศลาสัย ศ.พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ศ.พิเศษทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา ศ.พิเศษประคอง นิมมานเหมินท์ ร.ศ.นววรรณ พันธุเมธา ศ.กุสุมา รักษมณี และศ.ชวน เพชรแก้ว สำหรับผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ได้แก่ นายวิโรจน์ วีระวัฒนานนท์ นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ นายมกุฎ อรฤดี นายพิษณุ นิลกลัด นายปัญญา นิรันดร์กุล นายมนตรี เจนอักษร ผศ.ดร.ญาดา อารัมภีร นางสาวนิรมล เมธีสุวกุล นายสุธิพงศ์ ธรรมวุฒิ และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ได้แก่ นายประพันธ์ พลอยพุ่ม นายณรงค์ จันทร์พุ่ม (ตะลุงบัณฑิต) และนางสุนทรี เวชานนท์ พร้อมมอบรางวัลศิลปินผู้ได้รับรางวัลการประพันธ์คำร้องและการขับร้องเพลงดีเด่นด้วย
โอกาสนี้นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคน พร้อมกล่าวว่าวันนี้เป็นวันที่มีความหมายอย่างยิ่งเนื่องจากครบ 46 ปี วันภาษาไทยแห่งชาติ จึงขอให้คนไทยทุกคนทั้งที่เป็นผู้ใหญ่ เยาวชนและ นักเรียน ได้ไปหาหนังสือ 200 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มาอ่านด้วย เนื่องจากหนังสือดังกล่าวได้มีการเขียนบันทึกถึงสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปที่ชมรมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ไว้ด้วย เพื่อจะได้เห็นว่าเมื่อปี พ.ศ.2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระชนมายุ 35 พรรษา มีความสนพระราชหฤทัยภาษาไทยอย่างมากในเรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาไทย ที่มีการนำภาษาอังกฤษมาแปลเป็นภาษาไทย อาทิ คำว่า อุบัติเหตุในภาษาไทย มาจากภาษาอังกฤษคำว่าaccident นั่นไม่ใช่ แต่คำว่าอุบัติเหตุต้องมาจากคำว่า incident ที่แปลว่าเหตุที่เกิดขึ้น ส่วนคำว่า accident ภาษาไทยแปลว่า อุปัทวเหตุ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งในวันนั้นเป็นสิ่งที่มีความหมายยิ่ง
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงอาจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ ซึ่งเป็นทูตที่ประเทศอินเดียว่า อาจารย์สุกิจฯ ได้บอกว่าภาษาที่นำมาใช้จะนำมาใช้ทีละมาก ๆ ไม่ได้ ต้องค่อย ๆ นำมาเผยแพร่ โดยได้ยกตัวอย่างประเทศอินเดียตอนที่ได้เอกราช 60 ปีมาแล้วได้ ออกบัญญัติศัพท์มา 5,000 คำ บัณฑิตเนรูห์ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี บอกว่าฟังวิทยุพูดแล้วไม่รู้เรื่อง เนื่องจากหาศัพท์แปลก ๆ มาใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ Magnolia เป็นจำปา ภาษาอังกฤษเขียนว่า Magnolia grandiflora ดอกจำปาใหญ่ เขาใช้คำเขียนว่า Magnolia grandiflora เขียนว่า จัมปกะมหาบุษปะ Magnolia แปลว่าจำปา อินเดียใช้คำศัพท์ว่า จัมปกะ grandiflora ดอกไม้ใหญ่มหาบุษปะ จัมปกะมหาบุษปะ ทั้งนี้ก็ขอให้ทุกคนได้หาหนังสือ 200 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มาอ่านซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากเนื่องจากจะได้ทราบการใช้คำต่าง ๆ และขอให้รู้ไว้ว่าประเทศเรามีภาษาที่มีความงดงาม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานงานวันภาษาไทยแห่งชาติประจำปี 2551 พร้อมมอบรางวัลแก่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยและภาษาถิ่นดีเด่น จำนวน 21 คน และศิลปินผู้ได้รับรางวัลการประพันธ์คำร้องและการขับร้องเพลงดีเด่น จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม
นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานว่า นับจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงร่วมการประชุมทางวิชาการเรื่องปัญหาการใช้ภาษาไทย ที่ชมรมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ได้ทรงห่วงใยและสนพระราชหฤทัยในเรื่องการใช้ภาษาไทย รวมทั้งที่ปรากฏในพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท และในหลายโอกาสที่ทรงเน้นย้ำให้คนไทยตระหนักในคุณค่าความสำคัญของภาษาไทย จึงเป็นเหตุให้ทุกหน่วยงานมีการตื่นตัว และทำนุบำรุงภาษาไทยกันมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ต่อจากนั้นก็ได้มีองค์กรต่าง ๆ ร่วมกันจัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษาไทยกันเรื่อยมา โดยในปี พ.ศ.2550 เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา รัฐบาลยังได้ประกาศให้ปี พ.ศ.2550 เป็นปีภาษาไทยเฉลิมพระเกียรติด้วย เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทย และเพื่อกระตุ้นเตือนคนไทยตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของภาษาไทยที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ ที่นอกจากจะเป็นการใช้เพื่อการสื่อสารระหว่างกันของคนในชาติแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของคนไทยอย่างชัดเจน ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน
ทั้งนี้เพื่อให้การรณรงค์การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดกิจกรรมในวัน ภาษาไทยแห่งชาติ ปี พ.ศ.2551 ขึ้น โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ การแสดงปาฐกถาพิเศษ ของนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ การยกย่องเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ปาฐกถาพิเศษเรื่องคุณค่าภาษาไทย โดยนายดำรง พุฒตาล การจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่สาระความรู้ทางภาษาไทย ฯลฯ รวมทั้งกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ การอบรมการอ่านทำนองเสนาะ การเปิดคลินิกหมอภาษา การประกวดคัดลายมือ เป็นต้น
จากนั้นนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้มอบรางวัลแก่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยและภาษาถิ่นดีเด่น จำนวน 21 คน ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย พ.ศ.2551 ได้แก่ ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล ศ.เรืองอุไร กุศลาสัย ศ.พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ศ.พิเศษทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา ศ.พิเศษประคอง นิมมานเหมินท์ ร.ศ.นววรรณ พันธุเมธา ศ.กุสุมา รักษมณี และศ.ชวน เพชรแก้ว สำหรับผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ได้แก่ นายวิโรจน์ วีระวัฒนานนท์ นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ นายมกุฎ อรฤดี นายพิษณุ นิลกลัด นายปัญญา นิรันดร์กุล นายมนตรี เจนอักษร ผศ.ดร.ญาดา อารัมภีร นางสาวนิรมล เมธีสุวกุล นายสุธิพงศ์ ธรรมวุฒิ และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ได้แก่ นายประพันธ์ พลอยพุ่ม นายณรงค์ จันทร์พุ่ม (ตะลุงบัณฑิต) และนางสุนทรี เวชานนท์ พร้อมมอบรางวัลศิลปินผู้ได้รับรางวัลการประพันธ์คำร้องและการขับร้องเพลงดีเด่นด้วย
โอกาสนี้นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคน พร้อมกล่าวว่าวันนี้เป็นวันที่มีความหมายอย่างยิ่งเนื่องจากครบ 46 ปี วันภาษาไทยแห่งชาติ จึงขอให้คนไทยทุกคนทั้งที่เป็นผู้ใหญ่ เยาวชนและ นักเรียน ได้ไปหาหนังสือ 200 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มาอ่านด้วย เนื่องจากหนังสือดังกล่าวได้มีการเขียนบันทึกถึงสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปที่ชมรมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ไว้ด้วย เพื่อจะได้เห็นว่าเมื่อปี พ.ศ.2505 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระชนมายุ 35 พรรษา มีความสนพระราชหฤทัยภาษาไทยอย่างมากในเรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาไทย ที่มีการนำภาษาอังกฤษมาแปลเป็นภาษาไทย อาทิ คำว่า อุบัติเหตุในภาษาไทย มาจากภาษาอังกฤษคำว่าaccident นั่นไม่ใช่ แต่คำว่าอุบัติเหตุต้องมาจากคำว่า incident ที่แปลว่าเหตุที่เกิดขึ้น ส่วนคำว่า accident ภาษาไทยแปลว่า อุปัทวเหตุ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งในวันนั้นเป็นสิ่งที่มีความหมายยิ่ง
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงอาจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ ซึ่งเป็นทูตที่ประเทศอินเดียว่า อาจารย์สุกิจฯ ได้บอกว่าภาษาที่นำมาใช้จะนำมาใช้ทีละมาก ๆ ไม่ได้ ต้องค่อย ๆ นำมาเผยแพร่ โดยได้ยกตัวอย่างประเทศอินเดียตอนที่ได้เอกราช 60 ปีมาแล้วได้ ออกบัญญัติศัพท์มา 5,000 คำ บัณฑิตเนรูห์ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี บอกว่าฟังวิทยุพูดแล้วไม่รู้เรื่อง เนื่องจากหาศัพท์แปลก ๆ มาใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ Magnolia เป็นจำปา ภาษาอังกฤษเขียนว่า Magnolia grandiflora ดอกจำปาใหญ่ เขาใช้คำเขียนว่า Magnolia grandiflora เขียนว่า จัมปกะมหาบุษปะ Magnolia แปลว่าจำปา อินเดียใช้คำศัพท์ว่า จัมปกะ grandiflora ดอกไม้ใหญ่มหาบุษปะ จัมปกะมหาบุษปะ ทั้งนี้ก็ขอให้ทุกคนได้หาหนังสือ 200 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มาอ่านซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากเนื่องจากจะได้ทราบการใช้คำต่าง ๆ และขอให้รู้ไว้ว่าประเทศเรามีภาษาที่มีความงดงาม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--