รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และโอนเงิน กองทุนเงินล้าน ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จัดตั้งใหม่ และกองทุนหมู่บ้านเดิมที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร จำนวน 907 กองทุน ๆ ละ 1,000,000 บาท โดยมีผู้มาเข้าร่วมประชุมฯ ประมาณ 1,600 คน
วันนี้ เวลา 09.40 น. ณ แกรนด์ ฮอลล์ ไบเทค บางนา นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และโอนเงิน “กองทุนเงินล้าน” ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จัดตั้งใหม่ และกองทุนหมู่บ้านเดิมที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร จำนวน 907 กองทุน ๆ ละ 1,000,000 บาท โดยมีผู้มาเข้าร่วมประชุมฯ ประมาณ 1,600 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับจังหวัด/อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายอำนาจ ทองเบ็ญญ์ รองผู้อำนวยการรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมฯว่า จากการที่รัฐบาลได้จัดสรรและโอนเงินครั้งแรกให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 จนปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านฯ รวมทั้งสิ้น 78,013 กองทุน โดยมีการพัฒนาในการเปลี่ยนแปลงหมู่บ้าน ฯ ในหลายด้าน ทั้งการบริหารจัดการให้กองทุนหมู่บ้านฯ เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการลงทุนในการสร้างอาชีพ สร้างงาน และรายได้ของประชาชนในชุมชน ตลอดจนมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการออมของประชาชน เพื่อความมั่นคงในรากฐานของชีวิตและครัวเรือน จัดระบบสวัสดิภาพ สวัสดิการของหมู่บ้านและชุมชน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม ประกอบกับมีพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 ที่สร้างความมั่นคงและยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้าน ฯ ด้วยการจดทะเบียนให้กองทุนหมู่บ้านฯ มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติ และที่สำคัญรัฐบาลได้กำหนดให้นโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ด้วยการเพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านฯ ให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ รวมทั้งสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านฯ ที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน (สถาบันการเงินชุมชน)
ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานและเครือข่ายได้รับทราบนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตลอดจนเพื่อสร้างยุทธศาสตร์และแผนการขับเคลื่อนการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้วยการบริหารจัดการความรู้ รวมทั้งเพื่อแสดงผลงานหรือ ผลลัพธ์ให้บุคคลทั่วไปและสื่อมวลชนได้รับทราบถึงผลสำเร็จกองทุนหมู่บ้านและผลงานของเครือข่ายและภาคี คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองขึ้น โดยมีกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 1) การปาฐกถา และบรรยายพิเศษ ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) 2)การจัดสรรและโอนเงิน “กองทุนเงินล้าน” แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จัดตั้งใหม่ จำนวน 907 กองทุน 3) การมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สำหรับกองทุนหมู่บ้านและเครือข่ายกองทุนที่มีผลงานในการบริหารจัดการ และการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 4) การจัดเสวนา เรื่อง “กองทุนหมู่บ้านกับการพัฒนาชุมชนเชิงบูรณาการ” และการจัดเสวนาย่อยในด้านต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้าน อาทิ การจัดการความรู้ การเพิ่มศักยภาพกองทุนให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน ฯลฯ และ5) การจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการเงิน (ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารกรุงไทย)
โอกาสนี้ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงปาฐกถาทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสรุปว่า ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2544 เป็นภาวะที่ประเทศประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อประชาชนโดยทั่วไป ทั้งในพื้นที่ชนบทและชุมชนในเมือง แนวความคิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิของประชาชนในระดับรากหญ้าจึงมีความจำเป็น ในการมุ่งเน้นการลดรายจ่ายของประชาชน และให้โอกาสแก่ประชาชน โดยเฉพาะคนจน ให้ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งได้เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ในการร่วมคิด ร่วมทำ บริหารจัดการองค์กรและเงินทุน เพื่อสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็ง
สำหรับการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนละ 1,000,000 บาท ทั่วประเทศ เป็นนโยบายที่มุ่งสร้างเสริมกระบวนการพึ่งตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นชุมชนท้องถิ่น จัดการเรียนรู้เพื่อสร้างการพัฒนาความคิดริเริ่ม ให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทั้งนี้นับตั้งแต่รัฐบาลได้จัดสรรและโอนเงินครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 จนถึงปัจจุบันมีจำนวนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวม 78,013 กองทุน ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 73,821 กองทุน กองทุนชุมชนเมือง จำนวน 3,454 กองทุน และกองทุนชุมชนทหาร จำนวน 738 กองทุน โดยมีคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 12.80 ล้านคน จำแนกเป็น คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน 1.11 ล้านคน และสมาชิก 11.69 ล้านคน เป็นชาย จำนวน 6.93 ล้านคน หญิง จำนวน 5.87 ล้านคน ปัจจุบันมียอดเงินในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมทั้งสิ้น 131,533.48 ล้านบาท ซึ่งการใช้เงินของกองทุนหมู่บ้านฯ มียอดการกู้ยืมหมุนเวียนสะสม จำนวน 6-7 รอบต่อกองทุน สมาชิกที่กู้ยืมรวมสะสมมีจำนวน 10.28 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 87 ของสมาชิกทั้งหมด) การใช้เงินกู้ของครัวเรือนสมาชิกส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.30 นำไปใช้เพื่อการผลิต โดยเฉพาะการเกษตร รองลงมาได้แก่ ค้าขาย เป็นร้อยละ 16.28 ด้านอุตสาหกรรมชุมชน ร้อยละ 3.64 การบริการ ร้อยละ 2.84 การบรรเทาเหตุฉุกเฉินทางการเงิน ร้อยละ 1.74 และกิจกรรมกลุ่ม ร้อยละ 1.20 ตามลำดับ ทั้งนี้การชำระคืนเงินกู้ และหนี้ค้างชำระ การศึกษาของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า มีการชำระคืนเงินกู้ที่ตรงต่อเวลาอยู่ระหว่างร้อยละ 94.0 —96.0 ในแต่ละปี โดยหนี้ค้างชำระหรือชำระไม่ตรงตามสัญญาอยู่ระหว่าง ร้อยละ 4.0 —6.0 ในแต่ละปีเท่านั้น
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการขององค์กรประชาชน จากปัจเจกกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง เชื่อมต่อความร่วมมือกันเป็นเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อการช่วยซึ่งกันและกันในลักษณะการเรียนรู้ “เพื่อนสอนเพื่อน” และ”พี่สอนน้อง” โดยการเชื่อมโยงของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในระดับต่าง ๆ ทั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับภาค รวมถึงเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตามหลักศาสนาอิสลาม (ชารีอะฮ์) และเครือข่ายสตรีเพื่อการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทั้งนี้ในส่วนของความเข้มแข็งและยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนั้น พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้สร้างความเชื่อมั่นและความยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านฯ ด้วยการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านเป็นนิติบุคคลภายใต้ตัวชี้วัดการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่มีศักยภาพ ตัวชี้วัดสมาชิกกองทุนมีวินัยทางการเงิน ตัวชี้วัดฐานะทางการเงินของกองทุนและความโปร่งใส และตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน ปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านฯ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติฯ แล้ว 68,939 กองทุน สำหรับกองทุนที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้นั้น ก็ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาสาเหตุ เพื่อพัฒนายกระดับให้สามารถจดทะเบียนได้ต่อไป
สำหรับทิศทางในการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในระยะต่อไปนั้น จะเป็นการส่งเสริมการสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นองค์กรการเงินของชุมชนท้องถิ่นที่มีพลังและบทบาทมากกว่าการจัดการ “เงิน” ของหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จัดระบบ สวัสดิภาพและสวัสดิการของหมู่บ้านและชุมชน สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน รักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างชีวิตที่มั่นคงของประชาชน ครัวเรือน สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง อบอุ่น และเข้มแข็ง ตลอดจนการอยู่อย่างเป็นสุขร่วมกันของหมู่บ้านและชุมชน สู่การเป็นภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมต่อไป ซึ่งเป้าหมายการพัฒนา จะยังคงใช้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ ด้วยกระบวนการและกลไกของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เป็นองค์กรของประชาชน ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการทุกระดับ รวมถึงหน่วยงานและองค์กรภาครัฐด้านพัฒนาชุมชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาสังคม และชุมชนระดับฐานรากให้มั่นคง โดยรัฐบาลมีเจตจำนงที่แน่วแน่และชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพและยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สนับสนุนการขับเคลื่อนเครือข่ายกองทุน คณะกรรมการและอนุกรรมการหน่วยงานองค์กรภาคี เพื่อให้การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ตามปรัชญา เจตนารมณ์ และจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนต่อไป
ต่อจากนั้นรองนายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีโอนเงิน “กองทุนเงินล้าน” ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จัดตั้งใหม่ และกองทุนหมู่บ้านเดิมที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร จำนวน 907 กองทุน ๆ ละ 1,000,000 บาท พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ประสบผลสำเร็จ และเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีผลงานการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 60 กองทุน จากนั้นรองนายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่าง ๆ ภายในงานด้วย
สำหรับช่วงบ่าย จะมีการจัดเสวนากลุ่มย่อยของตัวแทนเครือข่ายระดับจังหวัด/อำเภอ และคณะอนุกรรมการจำนวน 5 กลุ่ม ในข้อหัวเรื่องดังนี้ 1) ทิศทางการจัดการความรู้กองทุนหมู่บ้านและชุมนเมือง 2) การเพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้านให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุนแก่ประชาชนในชุมชน 3) การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกับการจัดระบบสวัสดิภาพและสวัสดิการของหมู่บ้านและชุมชน 5) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกับการเชื่อมโยงนโยบายอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในระดับฐานรากของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำผลสรุปจากการเสวนาฯ นำเสนอให้รัฐบาลได้รับทราบเป็นข้อมูลในการดำเนินการตามนโยบายต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.40 น. ณ แกรนด์ ฮอลล์ ไบเทค บางนา นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และโอนเงิน “กองทุนเงินล้าน” ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จัดตั้งใหม่ และกองทุนหมู่บ้านเดิมที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร จำนวน 907 กองทุน ๆ ละ 1,000,000 บาท โดยมีผู้มาเข้าร่วมประชุมฯ ประมาณ 1,600 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับจังหวัด/อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายอำนาจ ทองเบ็ญญ์ รองผู้อำนวยการรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมฯว่า จากการที่รัฐบาลได้จัดสรรและโอนเงินครั้งแรกให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 จนปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านฯ รวมทั้งสิ้น 78,013 กองทุน โดยมีการพัฒนาในการเปลี่ยนแปลงหมู่บ้าน ฯ ในหลายด้าน ทั้งการบริหารจัดการให้กองทุนหมู่บ้านฯ เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการลงทุนในการสร้างอาชีพ สร้างงาน และรายได้ของประชาชนในชุมชน ตลอดจนมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการออมของประชาชน เพื่อความมั่นคงในรากฐานของชีวิตและครัวเรือน จัดระบบสวัสดิภาพ สวัสดิการของหมู่บ้านและชุมชน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม ประกอบกับมีพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 ที่สร้างความมั่นคงและยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้าน ฯ ด้วยการจดทะเบียนให้กองทุนหมู่บ้านฯ มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติ และที่สำคัญรัฐบาลได้กำหนดให้นโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ เป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ด้วยการเพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านฯ ให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ รวมทั้งสร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านฯ ที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน (สถาบันการเงินชุมชน)
ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานและเครือข่ายได้รับทราบนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตลอดจนเพื่อสร้างยุทธศาสตร์และแผนการขับเคลื่อนการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้วยการบริหารจัดการความรู้ รวมทั้งเพื่อแสดงผลงานหรือ ผลลัพธ์ให้บุคคลทั่วไปและสื่อมวลชนได้รับทราบถึงผลสำเร็จกองทุนหมู่บ้านและผลงานของเครือข่ายและภาคี คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองขึ้น โดยมีกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 1) การปาฐกถา และบรรยายพิเศษ ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) 2)การจัดสรรและโอนเงิน “กองทุนเงินล้าน” แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จัดตั้งใหม่ จำนวน 907 กองทุน 3) การมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สำหรับกองทุนหมู่บ้านและเครือข่ายกองทุนที่มีผลงานในการบริหารจัดการ และการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 4) การจัดเสวนา เรื่อง “กองทุนหมู่บ้านกับการพัฒนาชุมชนเชิงบูรณาการ” และการจัดเสวนาย่อยในด้านต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้าน อาทิ การจัดการความรู้ การเพิ่มศักยภาพกองทุนให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน ฯลฯ และ5) การจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และสถาบันการเงิน (ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารกรุงไทย)
โอกาสนี้ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงปาฐกถาทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสรุปว่า ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2544 เป็นภาวะที่ประเทศประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อประชาชนโดยทั่วไป ทั้งในพื้นที่ชนบทและชุมชนในเมือง แนวความคิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิของประชาชนในระดับรากหญ้าจึงมีความจำเป็น ในการมุ่งเน้นการลดรายจ่ายของประชาชน และให้โอกาสแก่ประชาชน โดยเฉพาะคนจน ให้ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมทั้งได้เรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ในการร่วมคิด ร่วมทำ บริหารจัดการองค์กรและเงินทุน เพื่อสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็ง
สำหรับการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนละ 1,000,000 บาท ทั่วประเทศ เป็นนโยบายที่มุ่งสร้างเสริมกระบวนการพึ่งตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นชุมชนท้องถิ่น จัดการเรียนรู้เพื่อสร้างการพัฒนาความคิดริเริ่ม ให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทั้งนี้นับตั้งแต่รัฐบาลได้จัดสรรและโอนเงินครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 จนถึงปัจจุบันมีจำนวนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวม 78,013 กองทุน ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 73,821 กองทุน กองทุนชุมชนเมือง จำนวน 3,454 กองทุน และกองทุนชุมชนทหาร จำนวน 738 กองทุน โดยมีคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 12.80 ล้านคน จำแนกเป็น คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน 1.11 ล้านคน และสมาชิก 11.69 ล้านคน เป็นชาย จำนวน 6.93 ล้านคน หญิง จำนวน 5.87 ล้านคน ปัจจุบันมียอดเงินในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมทั้งสิ้น 131,533.48 ล้านบาท ซึ่งการใช้เงินของกองทุนหมู่บ้านฯ มียอดการกู้ยืมหมุนเวียนสะสม จำนวน 6-7 รอบต่อกองทุน สมาชิกที่กู้ยืมรวมสะสมมีจำนวน 10.28 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 87 ของสมาชิกทั้งหมด) การใช้เงินกู้ของครัวเรือนสมาชิกส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.30 นำไปใช้เพื่อการผลิต โดยเฉพาะการเกษตร รองลงมาได้แก่ ค้าขาย เป็นร้อยละ 16.28 ด้านอุตสาหกรรมชุมชน ร้อยละ 3.64 การบริการ ร้อยละ 2.84 การบรรเทาเหตุฉุกเฉินทางการเงิน ร้อยละ 1.74 และกิจกรรมกลุ่ม ร้อยละ 1.20 ตามลำดับ ทั้งนี้การชำระคืนเงินกู้ และหนี้ค้างชำระ การศึกษาของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า มีการชำระคืนเงินกู้ที่ตรงต่อเวลาอยู่ระหว่างร้อยละ 94.0 —96.0 ในแต่ละปี โดยหนี้ค้างชำระหรือชำระไม่ตรงตามสัญญาอยู่ระหว่าง ร้อยละ 4.0 —6.0 ในแต่ละปีเท่านั้น
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการขององค์กรประชาชน จากปัจเจกกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมือง เชื่อมต่อความร่วมมือกันเป็นเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อการช่วยซึ่งกันและกันในลักษณะการเรียนรู้ “เพื่อนสอนเพื่อน” และ”พี่สอนน้อง” โดยการเชื่อมโยงของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในระดับต่าง ๆ ทั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับภาค รวมถึงเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตามหลักศาสนาอิสลาม (ชารีอะฮ์) และเครือข่ายสตรีเพื่อการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทั้งนี้ในส่วนของความเข้มแข็งและยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนั้น พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 ได้สร้างความเชื่อมั่นและความยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านฯ ด้วยการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านเป็นนิติบุคคลภายใต้ตัวชี้วัดการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่มีศักยภาพ ตัวชี้วัดสมาชิกกองทุนมีวินัยทางการเงิน ตัวชี้วัดฐานะทางการเงินของกองทุนและความโปร่งใส และตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน ปัจจุบันมีกองทุนหมู่บ้านฯ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติฯ แล้ว 68,939 กองทุน สำหรับกองทุนที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้นั้น ก็ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาสาเหตุ เพื่อพัฒนายกระดับให้สามารถจดทะเบียนได้ต่อไป
สำหรับทิศทางในการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในระยะต่อไปนั้น จะเป็นการส่งเสริมการสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นองค์กรการเงินของชุมชนท้องถิ่นที่มีพลังและบทบาทมากกว่าการจัดการ “เงิน” ของหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จัดระบบ สวัสดิภาพและสวัสดิการของหมู่บ้านและชุมชน สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน รักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างชีวิตที่มั่นคงของประชาชน ครัวเรือน สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง อบอุ่น และเข้มแข็ง ตลอดจนการอยู่อย่างเป็นสุขร่วมกันของหมู่บ้านและชุมชน สู่การเป็นภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมต่อไป ซึ่งเป้าหมายการพัฒนา จะยังคงใช้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ ด้วยกระบวนการและกลไกของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เป็นองค์กรของประชาชน ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการทุกระดับ รวมถึงหน่วยงานและองค์กรภาครัฐด้านพัฒนาชุมชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาสังคม และชุมชนระดับฐานรากให้มั่นคง โดยรัฐบาลมีเจตจำนงที่แน่วแน่และชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพและยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สนับสนุนการขับเคลื่อนเครือข่ายกองทุน คณะกรรมการและอนุกรรมการหน่วยงานองค์กรภาคี เพื่อให้การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ตามปรัชญา เจตนารมณ์ และจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนต่อไป
ต่อจากนั้นรองนายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีโอนเงิน “กองทุนเงินล้าน” ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จัดตั้งใหม่ และกองทุนหมู่บ้านเดิมที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร จำนวน 907 กองทุน ๆ ละ 1,000,000 บาท พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณสำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ประสบผลสำเร็จ และเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีผลงานการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 60 กองทุน จากนั้นรองนายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการต่าง ๆ ภายในงานด้วย
สำหรับช่วงบ่าย จะมีการจัดเสวนากลุ่มย่อยของตัวแทนเครือข่ายระดับจังหวัด/อำเภอ และคณะอนุกรรมการจำนวน 5 กลุ่ม ในข้อหัวเรื่องดังนี้ 1) ทิศทางการจัดการความรู้กองทุนหมู่บ้านและชุมนเมือง 2) การเพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้านให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุนแก่ประชาชนในชุมชน 3) การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกับการจัดระบบสวัสดิภาพและสวัสดิการของหมู่บ้านและชุมชน 5) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกับการเชื่อมโยงนโยบายอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในระดับฐานรากของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำผลสรุปจากการเสวนาฯ นำเสนอให้รัฐบาลได้รับทราบเป็นข้อมูลในการดำเนินการตามนโยบายต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--