นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการแถลง 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการแถลง 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยมี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมการแถลงข่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้เข้ามาบริหารประเทศเป็นเวลา 5 เดือนครึ่ง โดยรัฐบาลได้คิดแก้ไขปัญหาของประเทศอยู่เสมอ คณะรัฐมนตรีได้ทำหน้าที่ร่วมกันทำงานทุกคน และในที่สุดเมื่อถึงเวลาที่รัฐบาลทำงานมาจะครบ 6 เดือน จึงได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชน เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากเป็นตัวกำหนดสถานการณ์เศรษฐกิจของบ้านเมือง โดยในวันนี้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชน “ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” โดยเห็นชอบการดำเนินการ 6 มาตรการดังนี้
1. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันจะถูกลงด้วยการยอมลดภาษีใช้เวลา 6 เดือนในระหว่างตั้งตัวก่อนที่งานใหญ่เมกกะโปรเจคท์จะเกิด เพื่อลดราคาน้ำมัน โดยจะมีการกำหนดวันเวลาให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีการตรวจสอบโดยข้าราชการประจำต้องเห็นด้วยทั้งหมด ดังนี้
1.1 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 E10 E20 และ E85 ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 ลง 3.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0165 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีช่วงห่างของราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 มากขึ้น
1.2 น้ำมันดีเซล ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บน้ำมันดีเซลลง 2.30 บาทต่อลิตรเหลือ 0.005 บาทต่อลิตร และลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel :B5 ) ลง 2.19 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0048 บาทต่อลิตร เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น และช่วยให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานทางเลือดก (NGV)
2. ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เพื่อลดแรงกดดันค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงาน และเพื่อรักษาสภาพของครัวเรือนซึ่งใช้เป็นมาตรฐาน เป็นระยะเวลา 6 เดือน
3. ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน โดยภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีปริมาณการใช้น้ำในช่วง 0 — 50 ลบ.ม./เดือน ซึ่งเป็นปริมาณการใช้เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน โดยจะครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย แบ่งเป็นผู้ใช้น้ำที่อยู่ในเขตนครหลวง ประมาณ 1.2 ล้านราย และเขตภูมิภาคประมาณ 2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 และ 176 บาทตามลำดับ
4. ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะลดภาระค่าใช้จ่ายใน 2 กรณีคือ 1) หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และ 2) กรณีใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วย/เดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งนี้ จะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ประมาณ 9.85 ล้านราย แยกเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในเขตนครหลวงประมาณ 0.41 ล้านราย และเขตภูมิภาค ประมาณ 9.44 ล้านราย ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120 — 200 บาท/ครัวเรือน
5. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง โดยจัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คัน ใน 73 เส้นทาง โดยเป็นรถโดยสารธรรมดา เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะมีการปล่อยรถเมล์ที่วิ่งบริการฟรีสลับกับรถเมล์ที่เก็บเงิน โดยจะมีการติดป้ายบอกไว้ให้ประชาชนทราบ
6. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ทั่วประเทศ ให้ประชาชนใช้บริการรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน (6 เดือน)
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า มาตรการทั้งหมดจะใช้เวลา 6 เดือนเพื่อเป็นการผ่อนคลายให้กับประชาชน เริ่มต้นไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2552
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ครม.ยังได้อนุมัติหลักการนำเข้าน้ำมันดีเซลราคาต่ำกว่าปกติจากประเทศรัสเซีย เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยขายผ่านสหกรณ์ 200 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งขอยืนยันว่า จะไม่มีจำหน่ายในกรุงเทพฯ โดยจะนำเงินจากสหกรณ์ไปซื้อ และน้ำมัน 1 ใน 5 จะได้ราคาที่ถูกกว่าธรรมดา 8 บาท ให้สหกรณ์การประมง และสหกรณ์การขนส่งในต่างจังหวัดเท่านั้น ทั้งนี้ หลังจาก ครม.อนุมัติในหลักการแล้วภายใน 15 วัน จะมีการจัดทำเอกสารเพื่อจัดซื้อ หลังจากนั้น 45 วัน ทางรัสเซียจะส่งน้ำมันมาทางเรือ และส่งน้ำมันที่ได้ไปผ่านการตรวจสอบกับทางห้องตรวจสอบคุณภาพน้ำมัน เมื่อผ่านการตรวจสอบก็สามารถนำมาออกจำหน่ายตามหลักเกณฑ์ได้
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้ง 6 มาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรายได้ภาครัฐ 49,000 ล้านบาท และในส่วนของกระทรวงการคลังจะกระทบในส่วนภาษีสรรพสามิต 32,000 ล้านบาท แต่เบื้องต้นคลังได้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกินเป้า จึงคาดว่าจะสามารถชดเชยผลกระทบในส่วนของกระทรวงการคลังได้ โดยในช่วงที่ผ่านมาของปีนี้สามารถเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ประมาณ 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการที่ออกมาจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ 1,000 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน ในส่วนนี้แบ่งเป็น 300-400 บาท จากการประหยัดค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ที่รัฐบาลจ่ายให้ฟรี ที่เหลือจะเป็นส่วนของค่าโดยสารรถร้อน รวมไปถึงรถไฟชั้น 3 นอกจากนี้ เชื่อว่ามาตรการนี้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปีนี้ไม่น่าจะเกินร้อยละ 6-7 จากที่มีการคาดการณ์กันว่าเงินเฟ้อปีนี้อาจแตะระดับ 2 หลัก หลังจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะผลักดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มขึ้นจากปกติอีก ร้อยละ 0.3-0.5 จากเดิมที่คาดว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5-6 และสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไปได้
ด้านพลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า หลังจากที่ ครม.อนุมัติลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน กระทรวงพลังงานต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 7-9 วัน ในการระบายสต๊อกน้ำมันที่มีการจัดเก็บอัตราภาษีเดิมออก จากนั้นจะใช้กลไกจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาบริหาร โดยคาดว่าจะพร้อมลดราคาขายหน้าสถานีบริการได้ในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ นอกจากนี้ ครม. ยังได้มีมติให้ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือนออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมที่รัฐบาลกำหนดให้ตรึงราคาไว้ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม จะสิ้นสุดลงในต้นเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถยืดอายุการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนได้ไปถึงวันที่ 31 มกราคม 2552 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน ส่วนการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมนั้น กำลังพิจารณาร่วมกันเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณา และเสนอให้ ครม. เห็นชอบภายใน 2 สัปดาห์ เชื่อว่ามาตราการดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนมีเงินในกระเป๋าสำหรับนำไปจับจ่ายใช้สอยด้านอุปโภคบริโภคที่จำเป็นได้มากขึ้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังกล่าวถึงกรณีที่ ครม. อนุมัติลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่ 2.30 บาทต่อลิตร ว่าจะส่งผลให้น้ำมันม่วงที่รัฐบาลให้การอุดหนุนอยู่ที่ 2 บาทต่อลิตร ลดลงได้อีก 2.75 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันม่วงลดลงได้ทั้งหมด 4.75 บาทต่อลิตร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการแถลง 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน โดยมี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมการแถลงข่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้เข้ามาบริหารประเทศเป็นเวลา 5 เดือนครึ่ง โดยรัฐบาลได้คิดแก้ไขปัญหาของประเทศอยู่เสมอ คณะรัฐมนตรีได้ทำหน้าที่ร่วมกันทำงานทุกคน และในที่สุดเมื่อถึงเวลาที่รัฐบาลทำงานมาจะครบ 6 เดือน จึงได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชน เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากเป็นตัวกำหนดสถานการณ์เศรษฐกิจของบ้านเมือง โดยในวันนี้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชน “ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” โดยเห็นชอบการดำเนินการ 6 มาตรการดังนี้
1. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันจะถูกลงด้วยการยอมลดภาษีใช้เวลา 6 เดือนในระหว่างตั้งตัวก่อนที่งานใหญ่เมกกะโปรเจคท์จะเกิด เพื่อลดราคาน้ำมัน โดยจะมีการกำหนดวันเวลาให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีการตรวจสอบโดยข้าราชการประจำต้องเห็นด้วยทั้งหมด ดังนี้
1.1 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 E10 E20 และ E85 ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 ลง 3.30 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0165 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีช่วงห่างของราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 91 และน้ำมันเบนซิน 95 มากขึ้น
1.2 น้ำมันดีเซล ลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บน้ำมันดีเซลลง 2.30 บาทต่อลิตรเหลือ 0.005 บาทต่อลิตร และลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันไบโอดีเซล (Biodiesel :B5 ) ลง 2.19 บาทต่อลิตร เหลือ 0.0048 บาทต่อลิตร เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนของภาคการขนส่งในระยะสั้น และช่วยให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานทางเลือดก (NGV)
2. ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน เพื่อลดแรงกดดันค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงาน และเพื่อรักษาสภาพของครัวเรือนซึ่งใช้เป็นมาตรฐาน เป็นระยะเวลา 6 เดือน
3. ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน โดยภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายการใช้น้ำ สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีปริมาณการใช้น้ำในช่วง 0 — 50 ลบ.ม./เดือน ซึ่งเป็นปริมาณการใช้เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน โดยจะครอบคลุมผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ ประมาณ 3.2 ล้านราย แบ่งเป็นผู้ใช้น้ำที่อยู่ในเขตนครหลวง ประมาณ 1.2 ล้านราย และเขตภูมิภาคประมาณ 2 ล้านราย ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำประปาเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนประมาณ 213 และ 176 บาทตามลำดับ
4. ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะลดภาระค่าใช้จ่ายใน 2 กรณีคือ 1) หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด และ 2) กรณีใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 80 หน่วย/เดือน แต่ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน ภาครัฐจะรับภาระค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งนี้ จะครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ประมาณ 9.85 ล้านราย แยกเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ในเขตนครหลวงประมาณ 0.41 ล้านราย และเขตภูมิภาค ประมาณ 9.44 ล้านราย ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนเฉลี่ย 120 — 200 บาท/ครัวเรือน
5. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง โดยจัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 800 คัน จาก 1,600 คัน ใน 73 เส้นทาง โดยเป็นรถโดยสารธรรมดา เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะมีการปล่อยรถเมล์ที่วิ่งบริการฟรีสลับกับรถเมล์ที่เก็บเงิน โดยจะมีการติดป้ายบอกไว้ให้ประชาชนทราบ
6. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ ทั่วประเทศ ให้ประชาชนใช้บริการรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งครอบคลุมผู้ใช้บริการเฉลี่ยประมาณ 16 ล้านคน (6 เดือน)
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า มาตรการทั้งหมดจะใช้เวลา 6 เดือนเพื่อเป็นการผ่อนคลายให้กับประชาชน เริ่มต้นไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2552
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ครม.ยังได้อนุมัติหลักการนำเข้าน้ำมันดีเซลราคาต่ำกว่าปกติจากประเทศรัสเซีย เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยขายผ่านสหกรณ์ 200 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งขอยืนยันว่า จะไม่มีจำหน่ายในกรุงเทพฯ โดยจะนำเงินจากสหกรณ์ไปซื้อ และน้ำมัน 1 ใน 5 จะได้ราคาที่ถูกกว่าธรรมดา 8 บาท ให้สหกรณ์การประมง และสหกรณ์การขนส่งในต่างจังหวัดเท่านั้น ทั้งนี้ หลังจาก ครม.อนุมัติในหลักการแล้วภายใน 15 วัน จะมีการจัดทำเอกสารเพื่อจัดซื้อ หลังจากนั้น 45 วัน ทางรัสเซียจะส่งน้ำมันมาทางเรือ และส่งน้ำมันที่ได้ไปผ่านการตรวจสอบกับทางห้องตรวจสอบคุณภาพน้ำมัน เมื่อผ่านการตรวจสอบก็สามารถนำมาออกจำหน่ายตามหลักเกณฑ์ได้
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้ง 6 มาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อรายได้ภาครัฐ 49,000 ล้านบาท และในส่วนของกระทรวงการคลังจะกระทบในส่วนภาษีสรรพสามิต 32,000 ล้านบาท แต่เบื้องต้นคลังได้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เกินเป้า จึงคาดว่าจะสามารถชดเชยผลกระทบในส่วนของกระทรวงการคลังได้ โดยในช่วงที่ผ่านมาของปีนี้สามารถเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ประมาณ 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการที่ออกมาจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ 1,000 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน ในส่วนนี้แบ่งเป็น 300-400 บาท จากการประหยัดค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ที่รัฐบาลจ่ายให้ฟรี ที่เหลือจะเป็นส่วนของค่าโดยสารรถร้อน รวมไปถึงรถไฟชั้น 3 นอกจากนี้ เชื่อว่ามาตรการนี้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปีนี้ไม่น่าจะเกินร้อยละ 6-7 จากที่มีการคาดการณ์กันว่าเงินเฟ้อปีนี้อาจแตะระดับ 2 หลัก หลังจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะผลักดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มขึ้นจากปกติอีก ร้อยละ 0.3-0.5 จากเดิมที่คาดว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5-6 และสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไปได้
ด้านพลโทหญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า หลังจากที่ ครม.อนุมัติลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน กระทรวงพลังงานต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 7-9 วัน ในการระบายสต๊อกน้ำมันที่มีการจัดเก็บอัตราภาษีเดิมออก จากนั้นจะใช้กลไกจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาบริหาร โดยคาดว่าจะพร้อมลดราคาขายหน้าสถานีบริการได้ในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ นอกจากนี้ ครม. ยังได้มีมติให้ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือนออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมที่รัฐบาลกำหนดให้ตรึงราคาไว้ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม จะสิ้นสุดลงในต้นเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถยืดอายุการตรึงราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนได้ไปถึงวันที่ 31 มกราคม 2552 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน ส่วนการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมนั้น กำลังพิจารณาร่วมกันเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณา และเสนอให้ ครม. เห็นชอบภายใน 2 สัปดาห์ เชื่อว่ามาตราการดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนมีเงินในกระเป๋าสำหรับนำไปจับจ่ายใช้สอยด้านอุปโภคบริโภคที่จำเป็นได้มากขึ้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังกล่าวถึงกรณีที่ ครม. อนุมัติลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่ 2.30 บาทต่อลิตร ว่าจะส่งผลให้น้ำมันม่วงที่รัฐบาลให้การอุดหนุนอยู่ที่ 2 บาทต่อลิตร ลดลงได้อีก 2.75 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันม่วงลดลงได้ทั้งหมด 4.75 บาทต่อลิตร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--