รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวกรณีเกี่ยวเนื่องจากที่นายกรัฐมนตรีกล่าวผ่านรายการสนทนาประสาสมัครเมื่อวานนี้ ในประเด็นการเข้าดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดปัจจุบัน
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวกรณีเกี่ยวเนื่องจากที่นายกรัฐมนตรีกล่าวผ่านรายการสนทนาประสาสมัครเมื่อวานนี้ ในประเด็นการเข้าดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดปัจจุบัน ว่า
ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้พูดผ่านรายการสนทนาประสาสมัครแล้ว มีคณะกรรมการ ป.ป.ช. 2 คน คือ นายวิชา มหาคุณ และนายกล้านรงค์ จันทิก ที่ได้แสดงความเห็นในมุมที่แตกต่าง ซึ่งประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ขั้นตอนลำดับในการเข้าดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ แต่สาระสำคัญอยู่ที่ความสง่างาม ความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่ง และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ในบ้านเมืองที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงขอทำความเข้าใจให้ตรงกันผ่านสื่อมวลชนถึงที่มาและการดำรงตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบันเข้าสู่การดำรงตำแหน่งโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 ซึ่งประกาศฉบับนี้มีบทบัญญัติ 2 ข้อแรก คือ ข้อ 1 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ต่อไป โดยให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหา ข้อ 2 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับต่อไป จากนั้น ข้อ 3 เป็นการประกาศรายชื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. 9 คน ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คนได้เข้าดำรงตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ จากนั้นในวันที่ 30 กันยายน 2549 มีประกาศ คปค. ฉบับที่ 31 มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า ให้ยกเลิกข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 จึงหมายความว่าหลังจาก มีประกาศฉบับที่ 31 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ทั้งฉบับ ไม่งดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหา เพราะกลับมาใช้ทั้งฉบับ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ทั้งฉบับ เช่นเดียวกัน มีผลบังคับใช้ต่อไป นอกจากนั้น เนื้อความในฉบับที่ 31 ยังได้ระบุว่าให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศฉบับดังกล่าว และมีวาระการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวในมาตรา 12 บัญญัติว่า กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
"คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ยังไม่ปรากฏต่อสาธารณะว่าพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามพระราช บัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 12 หากแต่ ป.ป.ช. ชุดนี้ เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่ง พลเอก สนธิฯ ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งใดก็ตาม ก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ โดยที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงแต่งตั้ง เพราะเป็นพระราชอำนาจ ทั้งนี้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญบัญญัติให้บรรดาประกาศและคำสั่งของ คปค. ซึ่งต่อมาเป็น คมช. ได้ประกาศหรือสั่งให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ในเรื่องของพระราชอำนาจและประเพณีการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องถือว่าข้าราชการระดับสูงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าประเทศจะอยู่ในห้วงการปกครองในรูปแบบใดก็ตาม ต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทั้งสิ้น แม้แต่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังต้องนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองดังกล่าว" รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ข้าราชการระดับสูงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งใดแล้ว ต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งก่อน รวมถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ด้วย ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติติดต่อกันมาหลายชั่วคน และเป็นการทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ไม่เคยปรากฏว่ามีข้าราชการระดับสูงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ใดจะปฏิบัติหน้าที่ก่อนมีพระบรมราชโองการโรดเกล้าฯ ได้ ฉะนั้น จึงมีประเด็นคำถามเกิดขึ้นว่า กรณีการแต่งตั้ง ป.ป.ช. ชุดนี้ให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ เป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจหรือไม่ หรือถือว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่ แม้การรัฐประหารซึ่งหมายความว่าผู้ที่กระทำสำเร็จจะเป็นรัฐฐาธิปัตย์ มีอำนาจในการออกกฎบัตรกฎหมายควบคุมดูแลบ้านเมืองนั้น แต่การรัฐประหารก็หมายถึงการล้มล้างอำนาจของฝ่ายบริหารที่บริหารบ้านเมืองอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น แต่มิได้มีผลต่อพระราชอำนาจ ดังนั้นพระมหากษัตริย์ยังต้องดำรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจอยู่ มิเช่นนั้นแล้วต่อไปภายหน้าประเพณีการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอาจจะถูกล่วงละเมิดในพระราชอำนาจได้
นอกจากนี้ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนอกจากจะมีความสำคัญในเรื่องพระราชอำนาจที่ใครก็ตามมิอาจก้าวล่วงได้แล้ว ยังมีความสำคัญต่อการรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2541 มาตรา 4 ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ยังไม่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง จะมีสิทธิที่ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายหรือไม่
" ดังนั้น แม้ว่าการดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานของ ป.ป.ช. ชุดนี้ จะมีข้อกล่าวอ้างตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เมื่อมีประเด็นปัญหาเรื่องการอาจจะก้าวล่วงพระราชอำนาจ ความชอบธรรมและความสง่างามในการดำรงตำแหน่งของ ป.ป.ช. ชุดนี้ ยังคงมีอยู่หรือไม่ และหากจะยกมาตรา 299 ในรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งมีคณะกรรมการ ป.ป.ช. บางท่านได้หยิบยกมากล่าวอ้างความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่ง มาตรา 299 วรรคสองก็ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศรัฐธรรมนูญนี้ คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง แม้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะหยิบยกมาตรา 299 ในรัฐธรรมนูญมากล่าวอ้างก็ตาม แต่หากว่ามาตรา 247 วรรคหนึ่ง ในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน บอกว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ฉะนั้นเมื่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญปรากฏเช่นนี้ คำถามคือเพื่อความชอบธรรมและความสง่างาม และธำรงค์ไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ป.ป.ช. ควรแสดงสปิริตและเข้าสู่กระบวนการสรรหาตามรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อป้องกันการวิพากษ์วิจารณ์อันอาจส่งผลกระทบต่อพระราชอำนาจหรือไม่" รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า กรณีการเข้าดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช. ชุดนี้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เต็มในการพิจารณาชี้ผิดชี้ถูกในกรณีสำคัญ ๆ อันจะมีผลกระทบต่อการดำเนินการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศ ณ เวลานี้ หากมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ หากมีข้อสังเกตเรื่องความชอบธรรมและความสง่างามดังกล่าว ป.ป.ช. ควรจะพิจารณาหรือแสดงสปิริตหรือไม่ อย่างไร ขณะเดียวกัน หากจะมีการตั้งข้อสังเกตในมาตรา 299 ของรัฐธรรมนูญนี้ นอกจากระบุถึงกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว ยังระบุถึง กรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ไว้ชัดเจน ซึ่งได้สะท้อนแสดงเจตนาของคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ว่า กกต. ชุดนี้ก็มีสถานะการดำรงอยู่และการปฏิบัติหน้าที่ไม่ต่างกับ ป.ป.ช. เช่นเดียวกัน จึงได้มีการระบุ กกต. ไว้ด้วย เพื่อพยายามเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อหลบเลี่ยงความผิดฐานก้าวล่วงพระราชอำนาจหรือไม่ ในขณะเดียวกันมีการกล่าวอ้างว่า มีมาตรา 309 แห่งรัฐธรรมนูญนี้กำกับไว้อีกที ที่จะรองรับการกระทำของ คปค. ซึ่งต่อมาคือ คมช. ว่าชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 309 ก็มีการตั้งข้อสังเกตและกล่าวหาว่าคงเป็นการแก้เพื่อช่วยใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งให้รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ หากไม่ดำเนินการแก้ไขก็ดูว่าจะเป็นการปกป้องใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ให้ถูกกล่าวหาว่ากระทำการก้าวล่วงพระราชอำนาจด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ องค์กรอิสระซึ่งเป็นองค์กรสำคัญของบ้านเมืองน่าจะเกิดขึ้นและเข้าสู่ตำแหน่งพร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ทุกประการ ทุกขั้นตอน เพื่อความชัดเจนโปร่งใสในสังคมหรือไม่
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวกรณีเกี่ยวเนื่องจากที่นายกรัฐมนตรีกล่าวผ่านรายการสนทนาประสาสมัครเมื่อวานนี้ ในประเด็นการเข้าดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดปัจจุบัน ว่า
ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้พูดผ่านรายการสนทนาประสาสมัครแล้ว มีคณะกรรมการ ป.ป.ช. 2 คน คือ นายวิชา มหาคุณ และนายกล้านรงค์ จันทิก ที่ได้แสดงความเห็นในมุมที่แตกต่าง ซึ่งประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ขั้นตอนลำดับในการเข้าดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ แต่สาระสำคัญอยู่ที่ความสง่างาม ความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่ง และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ในบ้านเมืองที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงขอทำความเข้าใจให้ตรงกันผ่านสื่อมวลชนถึงที่มาและการดำรงตำแหน่งในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบันเข้าสู่การดำรงตำแหน่งโดยประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 ซึ่งประกาศฉบับนี้มีบทบัญญัติ 2 ข้อแรก คือ ข้อ 1 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ต่อไป โดยให้งดการบังคับใช้บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหา ข้อ 2 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับต่อไป จากนั้น ข้อ 3 เป็นการประกาศรายชื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. 9 คน ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คนได้เข้าดำรงตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ จากนั้นในวันที่ 30 กันยายน 2549 มีประกาศ คปค. ฉบับที่ 31 มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า ให้ยกเลิกข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 จึงหมายความว่าหลังจาก มีประกาศฉบับที่ 31 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ทั้งฉบับ ไม่งดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหา เพราะกลับมาใช้ทั้งฉบับ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ทั้งฉบับ เช่นเดียวกัน มีผลบังคับใช้ต่อไป นอกจากนั้น เนื้อความในฉบับที่ 31 ยังได้ระบุว่าให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศฉบับดังกล่าว และมีวาระการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวในมาตรา 12 บัญญัติว่า กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
"คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ยังไม่ปรากฏต่อสาธารณะว่าพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามพระราช บัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 12 หากแต่ ป.ป.ช. ชุดนี้ เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่ง พลเอก สนธิฯ ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งใดก็ตาม ก็ไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ โดยที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงแต่งตั้ง เพราะเป็นพระราชอำนาจ ทั้งนี้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญบัญญัติให้บรรดาประกาศและคำสั่งของ คปค. ซึ่งต่อมาเป็น คมช. ได้ประกาศหรือสั่งให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ในเรื่องของพระราชอำนาจและประเพณีการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องถือว่าข้าราชการระดับสูงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าประเทศจะอยู่ในห้วงการปกครองในรูปแบบใดก็ตาม ต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทั้งสิ้น แม้แต่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังต้องนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองดังกล่าว" รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ข้าราชการระดับสูงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งใดแล้ว ต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งก่อน รวมถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ด้วย ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติติดต่อกันมาหลายชั่วคน และเป็นการทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ไม่เคยปรากฏว่ามีข้าราชการระดับสูงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ใดจะปฏิบัติหน้าที่ก่อนมีพระบรมราชโองการโรดเกล้าฯ ได้ ฉะนั้น จึงมีประเด็นคำถามเกิดขึ้นว่า กรณีการแต่งตั้ง ป.ป.ช. ชุดนี้ให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ เป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจหรือไม่ หรือถือว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่ แม้การรัฐประหารซึ่งหมายความว่าผู้ที่กระทำสำเร็จจะเป็นรัฐฐาธิปัตย์ มีอำนาจในการออกกฎบัตรกฎหมายควบคุมดูแลบ้านเมืองนั้น แต่การรัฐประหารก็หมายถึงการล้มล้างอำนาจของฝ่ายบริหารที่บริหารบ้านเมืองอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น แต่มิได้มีผลต่อพระราชอำนาจ ดังนั้นพระมหากษัตริย์ยังต้องดำรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจอยู่ มิเช่นนั้นแล้วต่อไปภายหน้าประเพณีการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอาจจะถูกล่วงละเมิดในพระราชอำนาจได้
นอกจากนี้ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนอกจากจะมีความสำคัญในเรื่องพระราชอำนาจที่ใครก็ตามมิอาจก้าวล่วงได้แล้ว ยังมีความสำคัญต่อการรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2541 มาตรา 4 ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ยังไม่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง จะมีสิทธิที่ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายหรือไม่
" ดังนั้น แม้ว่าการดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานของ ป.ป.ช. ชุดนี้ จะมีข้อกล่าวอ้างตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เมื่อมีประเด็นปัญหาเรื่องการอาจจะก้าวล่วงพระราชอำนาจ ความชอบธรรมและความสง่างามในการดำรงตำแหน่งของ ป.ป.ช. ชุดนี้ ยังคงมีอยู่หรือไม่ และหากจะยกมาตรา 299 ในรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งมีคณะกรรมการ ป.ป.ช. บางท่านได้หยิบยกมากล่าวอ้างความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่ง มาตรา 299 วรรคสองก็ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศรัฐธรรมนูญนี้ คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง แม้ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะหยิบยกมาตรา 299 ในรัฐธรรมนูญมากล่าวอ้างก็ตาม แต่หากว่ามาตรา 247 วรรคหนึ่ง ในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน บอกว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ฉะนั้นเมื่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญปรากฏเช่นนี้ คำถามคือเพื่อความชอบธรรมและความสง่างาม และธำรงค์ไว้ซึ่งพระราชอำนาจ ป.ป.ช. ควรแสดงสปิริตและเข้าสู่กระบวนการสรรหาตามรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อป้องกันการวิพากษ์วิจารณ์อันอาจส่งผลกระทบต่อพระราชอำนาจหรือไม่" รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า กรณีการเข้าดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช. ชุดนี้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เต็มในการพิจารณาชี้ผิดชี้ถูกในกรณีสำคัญ ๆ อันจะมีผลกระทบต่อการดำเนินการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศ ณ เวลานี้ หากมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ หากมีข้อสังเกตเรื่องความชอบธรรมและความสง่างามดังกล่าว ป.ป.ช. ควรจะพิจารณาหรือแสดงสปิริตหรือไม่ อย่างไร ขณะเดียวกัน หากจะมีการตั้งข้อสังเกตในมาตรา 299 ของรัฐธรรมนูญนี้ นอกจากระบุถึงกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว ยังระบุถึง กรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ไว้ชัดเจน ซึ่งได้สะท้อนแสดงเจตนาของคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ว่า กกต. ชุดนี้ก็มีสถานะการดำรงอยู่และการปฏิบัติหน้าที่ไม่ต่างกับ ป.ป.ช. เช่นเดียวกัน จึงได้มีการระบุ กกต. ไว้ด้วย เพื่อพยายามเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อหลบเลี่ยงความผิดฐานก้าวล่วงพระราชอำนาจหรือไม่ ในขณะเดียวกันมีการกล่าวอ้างว่า มีมาตรา 309 แห่งรัฐธรรมนูญนี้กำกับไว้อีกที ที่จะรองรับการกระทำของ คปค. ซึ่งต่อมาคือ คมช. ว่าชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 309 ก็มีการตั้งข้อสังเกตและกล่าวหาว่าคงเป็นการแก้เพื่อช่วยใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งให้รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ หากไม่ดำเนินการแก้ไขก็ดูว่าจะเป็นการปกป้องใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ให้ถูกกล่าวหาว่ากระทำการก้าวล่วงพระราชอำนาจด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ องค์กรอิสระซึ่งเป็นองค์กรสำคัญของบ้านเมืองน่าจะเกิดขึ้นและเข้าสู่ตำแหน่งพร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ทุกประการ ทุกขั้นตอน เพื่อความชัดเจนโปร่งใสในสังคมหรือไม่
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--