นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงขอลาออกจากตำแหน่ง ยืนยันไม่ได้ขายชาติกรณีปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
วันนี้ (10 ก.ค.) เวลา 14.00 น. ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวภายหลังเดินทางกลับจากการไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ระบุขอแสดงสปิริตและความรับผิดชอบ โดยการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป พร้อมยืนยันไม่ได้ขายชาติ ไม่ได้ทำให้ประเทศเสียหาย ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาของประเทศ และอยากเห็นความปรองดอง เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้
รายละเอียดคำแถลง
วันนี้ผมขออนุญาตแถลงข่าวซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ การตัดสินใจของผมในวันนี้เป็นเรื่องที่ตัดสินใจเอง ผมขออนุญาตอ่านแถลงการณ์
พี่น้องชาวไทยที่เคารพ ผมภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทยและที่ได้เกิดมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช กระผมมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับการพระราชทานทุนอานันทมหิดล ตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระผมมุ่งมั่นทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และขยันขันแข็ง โดยมุ่งผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง
การทำงานที่ผ่านมา 5 เดือนเศษของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลไทยได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการต่างประเทศ โดยดำเนินการทูตเชิงรุก การทูตที่รวดเร็ว เราได้เร่งฟื้นฟูภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของไทยในเวทีโลกกลับคืนมา หลังจากที่ได้สูญเสียไปภายหลังการยึดอำนาจในปี 2549 จนความเชื่อมั่นจากประเทศพันธมิตรที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และสหภาพยุโรปกลับคืนมา ได้สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย จนความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้ดีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
เราได้ทำให้บทบาทของไทยในเวทีโลก มีความโดดเด่นและได้รับความยอมรับ โดยเฉพาะเป็นผู้นำในการให้ความช่วยเหลือเหยื่อไซโคลนนาร์กีส ร่วมกับอาเซียนและสหประชาชาติ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมเป็นประธานอาเซียนในปลายเดือนนี้ ผมได้มุ่งเน้นการทูตเพื่อเศรษฐกิจ โดยหาโอกาสการค้าและการลงทุนให้กับคนไทย โดยใช้สถานทูตเป็นทัพหน้าของประเทศ ในการหาโอกาสการค้าและการลงทุน โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางธุรกิจ ในสถานทูตไทยในจีน และสหภาพยุโรป โดยในการปกป้องผลประโยชน์ของคนไทย ผมได้เตรียมที่จะจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์ประชาไมตรีที่กรุงเทพฯ เพื่อให้คำแนะนำแก่คนไทยในด้านกฎหมาย การเดินทางการทำงานในต่างประเทศ
แต่พี่น้องที่เคารพครับ นอกจากงานที่ริเริ่มใหม่เพื่อรับใช้ประชาชนแล้ว ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องเร่งแก้ไขคือ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่เป็นปัญหาที่รัฐบาลที่ผ่านมาแก้ยังไม่สำเร็จ และตกทอดมายังรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งผมต้องเร่งแก้ไขให้ได้ เพราะคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่ยื่นในปี 2549 นั้น รวมผนวกเอาพื้นที่ที่ไทยอ้างอธิปไตย หรือที่เรียกว่า พื้นที่ทับซ้อน
ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ผ่านมา รวมเอาพื้นที่ทับซ้อนเข้าไปด้วย ย่อมสุ่มเสี่ยงที่ไทยจะเสียอธิปไตยในพื้นที่ดังกล่าว เพราะกระทรวงการต่างประเทศได้ประเมินแล้วว่า คณะกรรมการมรดกโลกคงไม่ยอมให้เลื่อนการพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ที่แคนาดา ในช่วงวันที่ 2-10 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพราะที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเคยมีมติในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ว่า เห็นชอบในหลักการว่า ปราสาทพระวิหารควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รวมทั้งไทยและกัมพูชาได้เห็นพ้องกันว่า กัมพูชาจะเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ในสมัยประชุมที่ 32 ของคณะกรรมการมรดกโลกในปี 2551 ซึ่งท้ายที่สุดครับ การประเมินของกระทรวงการต่างประเทศถูกต้อง ในการประชุมที่ผ่านมา ครั้งที่ 32 ที่แคนาดา แม้ว่าเราจะพยายามขอเลื่อนไปอย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมรดกโลกก็ไม่เลื่อน และมีมติขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหาร
พี่น้องชาวไทยที่เคารพครับ กระผมขอย้ำอีกครั้งว่า การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศนั้น 1.ได้ดำเนินการอย่างแข็งขันในการปกป้องไม่ให้ไทยเสียดินแดนและอธิปไตย เพราะได้พยายามสกัดกั้นไม่ให้กัมพูชารุกล้ำและรวมเอาพื้นที่ทับซ้อนเข้าไปขึ้นทะเบียนด้วย 2. ได้ดำเนินการอย่างโปร่งใสตามขั้นตอน เพราะมีการหารือและร่วมเจรจากับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ กรมเอเชียตะวันออก กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และกรมแผนที่ทหาร 3. การดำเนินการมิได้เร่งรีบ แต่เป็นไปตามขั้นตอน หลังจากที่มีการหารือกันกับเพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ก็ได้นำเสนอเรื่องเข้าสู่สภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีหลายกระทรวงและมีผู้บัญชาการเหล่าทัพ รวมถึงเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมด้วย และต่อมาได้นำเสนอเรื่องเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ ผมจึงไปลงนามในนามของรัฐบาล
ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า การดำเนินการมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือมีการแลกผลประโยชน์กันนั้น เป็นความเท็จทั้งสิ้น เพราะจะเห็นได้ว่าการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ที่ประเทศแคนาดา ในวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา แม้เราจะคัดค้านและเจรจาอย่างหนักของกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการมรดกโลกของไทย คือนายปองพล อดิเรกสาร กัมพูชาก็สามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารได้ เพราะคุณสมบัติตัวปราสาทของกัมพูชาเอง ไม่ใช่เพราะการสนับสนุนของไทย หรือไม่ใช่เพราะคำแถลงการณ์ร่วม เพราะเราได้ขอไม่ให้นำคำแถลงการณ์ร่วมเข้ามาสู่การพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 32 ดังที่เพื่อนสื่อมวลชนได้ทราบอย่างดีแล้ว
นอกจากนั้น ผมยังได้แถลงปฏิเสธเอกสารและแผนผังของกัมพูชา ประท้วงไม่ให้คณะกรรมการมรดกโลกนำแถลงการณ์ร่วมมาประกอบการพิจารณา และยังได้ยืนยันการสงวนสิทธิ์ของไทยที่ระบุในหนังสือของพันเอก ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ส่งถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ในปี 2505 อีกด้วย
พี่น้องที่เคารพครับ เพื่อนสื่อมวลชนที่รักครับ สิ่งที่เพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ และกรมแผนที่ทหาร ตลอดจนสภาความมั่นคงแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ดำเนินการ ได้ดำเนินการด้วยความสุจริต โปร่งใส ไม่มีประโยชน์ทับซ้อน ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน แต่ในทางตรงกันข้าม เป็นการปกป้องดินแดนและอธิปไตยของไทย เราได้ทำดีที่สุดแล้ว แต่สิ่งที่น่าเสียดายและน่าเสียใจคือ มีการนำประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารมาปลุกเร้ากระแสชาตินิยมจนเกินสมควร และทำเป็นประเด็นเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง และความถูกต้อง
ผมอยากจะเห็นคนไทยรักกัน และผมอยากจะเห็นคนไทยรักเพื่อนบ้าน เพราะความมั่งคั่ง มั่นคงของเพื่อนบ้าน คือความมั่งคั่ง มั่นคงของไทย ประเทศไทยยิ่งใหญ่พอที่จะสามารถชื่นชมความสำเร็จของประเทศเพื่อนบ้านได้ ด้วยความเต็มใจ
พี่น้องครับ ในส่วนที่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งออกมาในวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผมขอกราบเรียนอย่างนี้ครับ ผมเคารพในคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 แต่คำวินิจฉัยนี้เป็นคำวินิจฉัยที่เป็นกรณีศึกษาที่นักนิติศาสตร์ นักกฎหมาย และผู้สนใจ จะสนใจใช้ศึกษา และพิจารณาต่อไปอย่างกว้างขวาง
กระผมขอกราบเรียนแต่เพียงว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการตามความเห็นของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศมาโดยตลอด และไม่มีใครจงใจกระทำการผิดกฎหมาย
พี่น้องที่เคารพครับ ในเมื่อประเด็นปราสาทพระวิหารนั้น ถูกนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองทั้งในสภา และนอกสภา และมีกลุ่มบุคคลไม่หวังดีนำประเด็นดังกล่าวไปรังแกระรานพี่สาวของผมที่จังหวัดนครราชสีมา ผู้หญิงตัวเล็กๆ ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ไม่มีทางสู้ จนชาวบ้านต้องออกมาช่วย มีการนำประเด็นนี้มาปลุกเร้าความเกลียดชังและแตกร้าวของคนในชาติ ระหว่างไทยกับกัมพูชา
ผมมั่นใจครับ เมื่อควันและฝุ่นจางลง ความจริงจะปรากฏขึ้นชัดเจน เมื่อเหตุผลเข้ามาแทนที่อารมณ์ เวลาจะตัดสินสิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศและผมได้กระทำไป เพราะพวกเราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อปกป้องดินแดนและประโยชน์ของไทยครับ
พี่น้องชาวไทยครับ ผมไม่ได้ขายชาติครับ ผมรักชาติเท่ากับคนไทยทุกคน กระผมขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า กระผมไม่ได้ทำให้ประเทศเสียหาย ผมอยากให้รัฐบาลเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาบ้านเมือง และความเดือดร้อนของประชาชน แทนที่จะเสียเวลาแก้ไขปัญหาการเมือง ทั้งนี้ เพื่อให้ความทุกข์ยากของประชาชนได้รับการแก้ไข
ผมอยากเห็นความปรองดองสมานฉันท์ของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยที่เป็นที่รักของเรา ได้เดินหน้าต่อไป เพราะว่าบ้านเมืองของเรามีความสำคัญกว่าตำแหน่งทางการเมืองของผม
ผมขอย้ำนะครับ และแม้ว่าผมไม่ได้ทำอะไรผิดก็ตาม แต่ผมขอแสดงสปิริต และความรับผิดชอบ โดยการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป
ผมขอกราบขอบพระคุณ ท่านนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช เพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ทหารในกรมแผนที่ทหาร ท่านผู้บัญชาการทหารบกในความเป็นมืออาชีพ และความกล้าหาญที่จะยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ในวันที่พายุทางอารมณ์พัดรุนแรง และกระแสการเมืองที่เชี่ยวกราก ขอให้พวกท่านเป็นหลักให้บ้านเมืองต่อไป
ผมขอขอบคุณพี่น้อง เพื่อน ประชาชน ที่แสดงความเห็นใจผมในยามที่มรสุมทางการเมืองพัดกระหน่ำ มีบุคคลมากมายที่รักผม และให้กำลังใจผม โดยทางโทรศัพท์ และส่ง SMS ผมขอกราบขอบพระคุณเพื่อนสื่อมวลชนและคอลัมนิสต์หลายคนที่เขียนด้วยปัญญาและปราศจากอคติ ผมซาบซึ้งในความเป็นมนุษย์ของท่านที่ได้ให้แสงสว่างในคืนที่มืดมิด
ผมขอสัญญาครับว่าจะเป็นคนดีดังที่ผมเป็นมา และจะทำงานต่อไปเพื่อประชาชน เพื่อความถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อความจริง ผมจะทำงานต่อไปเพื่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และแม้จะเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อปกป้องความถูกต้องและหลักการ ผมก็พร้อมจะต่อสู้เพื่อประชาชนและประเทศชาติตลอดไป ขอบคุณครับ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (10 ก.ค.) เวลา 14.00 น. ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวภายหลังเดินทางกลับจากการไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ระบุขอแสดงสปิริตและความรับผิดชอบ โดยการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป พร้อมยืนยันไม่ได้ขายชาติ ไม่ได้ทำให้ประเทศเสียหาย ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาของประเทศ และอยากเห็นความปรองดอง เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้
รายละเอียดคำแถลง
วันนี้ผมขออนุญาตแถลงข่าวซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ การตัดสินใจของผมในวันนี้เป็นเรื่องที่ตัดสินใจเอง ผมขออนุญาตอ่านแถลงการณ์
พี่น้องชาวไทยที่เคารพ ผมภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทยและที่ได้เกิดมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช กระผมมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับการพระราชทานทุนอานันทมหิดล ตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระผมมุ่งมั่นทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และขยันขันแข็ง โดยมุ่งผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง
การทำงานที่ผ่านมา 5 เดือนเศษของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลไทยได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการต่างประเทศ โดยดำเนินการทูตเชิงรุก การทูตที่รวดเร็ว เราได้เร่งฟื้นฟูภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของไทยในเวทีโลกกลับคืนมา หลังจากที่ได้สูญเสียไปภายหลังการยึดอำนาจในปี 2549 จนความเชื่อมั่นจากประเทศพันธมิตรที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และสหภาพยุโรปกลับคืนมา ได้สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย จนความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้ดีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
เราได้ทำให้บทบาทของไทยในเวทีโลก มีความโดดเด่นและได้รับความยอมรับ โดยเฉพาะเป็นผู้นำในการให้ความช่วยเหลือเหยื่อไซโคลนนาร์กีส ร่วมกับอาเซียนและสหประชาชาติ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมเป็นประธานอาเซียนในปลายเดือนนี้ ผมได้มุ่งเน้นการทูตเพื่อเศรษฐกิจ โดยหาโอกาสการค้าและการลงทุนให้กับคนไทย โดยใช้สถานทูตเป็นทัพหน้าของประเทศ ในการหาโอกาสการค้าและการลงทุน โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลทางธุรกิจ ในสถานทูตไทยในจีน และสหภาพยุโรป โดยในการปกป้องผลประโยชน์ของคนไทย ผมได้เตรียมที่จะจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์ประชาไมตรีที่กรุงเทพฯ เพื่อให้คำแนะนำแก่คนไทยในด้านกฎหมาย การเดินทางการทำงานในต่างประเทศ
แต่พี่น้องที่เคารพครับ นอกจากงานที่ริเริ่มใหม่เพื่อรับใช้ประชาชนแล้ว ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องเร่งแก้ไขคือ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่เป็นปัญหาที่รัฐบาลที่ผ่านมาแก้ยังไม่สำเร็จ และตกทอดมายังรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งผมต้องเร่งแก้ไขให้ได้ เพราะคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่ยื่นในปี 2549 นั้น รวมผนวกเอาพื้นที่ที่ไทยอ้างอธิปไตย หรือที่เรียกว่า พื้นที่ทับซ้อน
ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ผ่านมา รวมเอาพื้นที่ทับซ้อนเข้าไปด้วย ย่อมสุ่มเสี่ยงที่ไทยจะเสียอธิปไตยในพื้นที่ดังกล่าว เพราะกระทรวงการต่างประเทศได้ประเมินแล้วว่า คณะกรรมการมรดกโลกคงไม่ยอมให้เลื่อนการพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ที่แคนาดา ในช่วงวันที่ 2-10 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพราะที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเคยมีมติในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ว่า เห็นชอบในหลักการว่า ปราสาทพระวิหารควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รวมทั้งไทยและกัมพูชาได้เห็นพ้องกันว่า กัมพูชาจะเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ในสมัยประชุมที่ 32 ของคณะกรรมการมรดกโลกในปี 2551 ซึ่งท้ายที่สุดครับ การประเมินของกระทรวงการต่างประเทศถูกต้อง ในการประชุมที่ผ่านมา ครั้งที่ 32 ที่แคนาดา แม้ว่าเราจะพยายามขอเลื่อนไปอย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมรดกโลกก็ไม่เลื่อน และมีมติขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหาร
พี่น้องชาวไทยที่เคารพครับ กระผมขอย้ำอีกครั้งว่า การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศนั้น 1.ได้ดำเนินการอย่างแข็งขันในการปกป้องไม่ให้ไทยเสียดินแดนและอธิปไตย เพราะได้พยายามสกัดกั้นไม่ให้กัมพูชารุกล้ำและรวมเอาพื้นที่ทับซ้อนเข้าไปขึ้นทะเบียนด้วย 2. ได้ดำเนินการอย่างโปร่งใสตามขั้นตอน เพราะมีการหารือและร่วมเจรจากับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ กรมเอเชียตะวันออก กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และกรมแผนที่ทหาร 3. การดำเนินการมิได้เร่งรีบ แต่เป็นไปตามขั้นตอน หลังจากที่มีการหารือกันกับเพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ก็ได้นำเสนอเรื่องเข้าสู่สภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีหลายกระทรวงและมีผู้บัญชาการเหล่าทัพ รวมถึงเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมด้วย และต่อมาได้นำเสนอเรื่องเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรี และเมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ ผมจึงไปลงนามในนามของรัฐบาล
ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า การดำเนินการมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือมีการแลกผลประโยชน์กันนั้น เป็นความเท็จทั้งสิ้น เพราะจะเห็นได้ว่าการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ที่ประเทศแคนาดา ในวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา แม้เราจะคัดค้านและเจรจาอย่างหนักของกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการมรดกโลกของไทย คือนายปองพล อดิเรกสาร กัมพูชาก็สามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารได้ เพราะคุณสมบัติตัวปราสาทของกัมพูชาเอง ไม่ใช่เพราะการสนับสนุนของไทย หรือไม่ใช่เพราะคำแถลงการณ์ร่วม เพราะเราได้ขอไม่ให้นำคำแถลงการณ์ร่วมเข้ามาสู่การพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 32 ดังที่เพื่อนสื่อมวลชนได้ทราบอย่างดีแล้ว
นอกจากนั้น ผมยังได้แถลงปฏิเสธเอกสารและแผนผังของกัมพูชา ประท้วงไม่ให้คณะกรรมการมรดกโลกนำแถลงการณ์ร่วมมาประกอบการพิจารณา และยังได้ยืนยันการสงวนสิทธิ์ของไทยที่ระบุในหนังสือของพันเอก ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ส่งถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ในปี 2505 อีกด้วย
พี่น้องที่เคารพครับ เพื่อนสื่อมวลชนที่รักครับ สิ่งที่เพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ และกรมแผนที่ทหาร ตลอดจนสภาความมั่นคงแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ดำเนินการ ได้ดำเนินการด้วยความสุจริต โปร่งใส ไม่มีประโยชน์ทับซ้อน ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน แต่ในทางตรงกันข้าม เป็นการปกป้องดินแดนและอธิปไตยของไทย เราได้ทำดีที่สุดแล้ว แต่สิ่งที่น่าเสียดายและน่าเสียใจคือ มีการนำประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารมาปลุกเร้ากระแสชาตินิยมจนเกินสมควร และทำเป็นประเด็นเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง และความถูกต้อง
ผมอยากจะเห็นคนไทยรักกัน และผมอยากจะเห็นคนไทยรักเพื่อนบ้าน เพราะความมั่งคั่ง มั่นคงของเพื่อนบ้าน คือความมั่งคั่ง มั่นคงของไทย ประเทศไทยยิ่งใหญ่พอที่จะสามารถชื่นชมความสำเร็จของประเทศเพื่อนบ้านได้ ด้วยความเต็มใจ
พี่น้องครับ ในส่วนที่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งออกมาในวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผมขอกราบเรียนอย่างนี้ครับ ผมเคารพในคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 แต่คำวินิจฉัยนี้เป็นคำวินิจฉัยที่เป็นกรณีศึกษาที่นักนิติศาสตร์ นักกฎหมาย และผู้สนใจ จะสนใจใช้ศึกษา และพิจารณาต่อไปอย่างกว้างขวาง
กระผมขอกราบเรียนแต่เพียงว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการตามความเห็นของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศมาโดยตลอด และไม่มีใครจงใจกระทำการผิดกฎหมาย
พี่น้องที่เคารพครับ ในเมื่อประเด็นปราสาทพระวิหารนั้น ถูกนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองทั้งในสภา และนอกสภา และมีกลุ่มบุคคลไม่หวังดีนำประเด็นดังกล่าวไปรังแกระรานพี่สาวของผมที่จังหวัดนครราชสีมา ผู้หญิงตัวเล็กๆ ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ไม่มีทางสู้ จนชาวบ้านต้องออกมาช่วย มีการนำประเด็นนี้มาปลุกเร้าความเกลียดชังและแตกร้าวของคนในชาติ ระหว่างไทยกับกัมพูชา
ผมมั่นใจครับ เมื่อควันและฝุ่นจางลง ความจริงจะปรากฏขึ้นชัดเจน เมื่อเหตุผลเข้ามาแทนที่อารมณ์ เวลาจะตัดสินสิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศและผมได้กระทำไป เพราะพวกเราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อปกป้องดินแดนและประโยชน์ของไทยครับ
พี่น้องชาวไทยครับ ผมไม่ได้ขายชาติครับ ผมรักชาติเท่ากับคนไทยทุกคน กระผมขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า กระผมไม่ได้ทำให้ประเทศเสียหาย ผมอยากให้รัฐบาลเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาบ้านเมือง และความเดือดร้อนของประชาชน แทนที่จะเสียเวลาแก้ไขปัญหาการเมือง ทั้งนี้ เพื่อให้ความทุกข์ยากของประชาชนได้รับการแก้ไข
ผมอยากเห็นความปรองดองสมานฉันท์ของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยที่เป็นที่รักของเรา ได้เดินหน้าต่อไป เพราะว่าบ้านเมืองของเรามีความสำคัญกว่าตำแหน่งทางการเมืองของผม
ผมขอย้ำนะครับ และแม้ว่าผมไม่ได้ทำอะไรผิดก็ตาม แต่ผมขอแสดงสปิริต และความรับผิดชอบ โดยการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป
ผมขอกราบขอบพระคุณ ท่านนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช เพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ทหารในกรมแผนที่ทหาร ท่านผู้บัญชาการทหารบกในความเป็นมืออาชีพ และความกล้าหาญที่จะยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ในวันที่พายุทางอารมณ์พัดรุนแรง และกระแสการเมืองที่เชี่ยวกราก ขอให้พวกท่านเป็นหลักให้บ้านเมืองต่อไป
ผมขอขอบคุณพี่น้อง เพื่อน ประชาชน ที่แสดงความเห็นใจผมในยามที่มรสุมทางการเมืองพัดกระหน่ำ มีบุคคลมากมายที่รักผม และให้กำลังใจผม โดยทางโทรศัพท์ และส่ง SMS ผมขอกราบขอบพระคุณเพื่อนสื่อมวลชนและคอลัมนิสต์หลายคนที่เขียนด้วยปัญญาและปราศจากอคติ ผมซาบซึ้งในความเป็นมนุษย์ของท่านที่ได้ให้แสงสว่างในคืนที่มืดมิด
ผมขอสัญญาครับว่าจะเป็นคนดีดังที่ผมเป็นมา และจะทำงานต่อไปเพื่อประชาชน เพื่อความถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อความจริง ผมจะทำงานต่อไปเพื่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และแม้จะเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อปกป้องความถูกต้องและหลักการ ผมก็พร้อมจะต่อสู้เพื่อประชาชนและประเทศชาติตลอดไป ขอบคุณครับ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--