รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธี บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ บริเวณภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธี “บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง “ โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคีเครือข่ายงดเหล้า ดารา นักร้อง ตลอดจนสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงาน ประมาณ 500 คน
นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวรายงานสรุปว่าจากผลการดำเนินโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2546 พบว่ามีคนไทยเข้าร่วมโครงการ ตลอด 3 เดือนในแต่ละปี เฉลี่ยร้อยละ 32.3 ของผู้ดื่ม หรือประมาณ 5-6 ล้านคน และในปี 2549 ได้มีการเปิดเผยข้อมูลวิชาการถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ที่มีความสูญเสียมากถึง 197,000 ล้านบาท ต่อปี จึงได้มีการรณรงค์ในประเด็น “เลิกเหล้า เลิกจน” จนเกิดเป็นโครงการต่อเนื่อง ไม่ได้ทำเฉพาะในช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น เช่น การรณรงค์ให้มีการทำบัญชีครัวเรือนเก็บค่าเหล้าย้อนหลัง การออมเงินค่าเหล้าใส่กระปุกออมสิน รวมทั้งการทำแผนชุมชนเลิกเหล้า เลิกจน โดยให้ประชาชนเปลี่ยนเงินค่าเหล้าวันละ 3 บาท เป็นเงินออม ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้เข้าร่วมในโครงการโดยมาเปิดบัญชีและรับฝากเงินในชุมชน ทุก 3 เดือนต่อเนื่องตลอดปี ทั้งนี้พบว่า ชุมชนสามารถมีเงินออมจากค่าเหล้ารวมถึงปีละ 1,078,000 บาท โดยเงินออมในชุมชนเหล่านี้ สามารถนำไปใช้พัฒนาหมู่บ้านของตนเอง และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนในการพึ่งพาตนเองได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบัน พบว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนทั่วประเทศยังคงน่าเป็นห่วงอยู่คือ ในช่วงอายุ 11-14 ปี มีนักดื่มประจำจากร้อยละ 0 ในปี 2539 เป็นร้อยละ 0.3 ในปี 2549 ช่วงอายุ 15-19 ปี มีนักดื่มประจำจากร้อยละ 4.7 เป็น 6.8 และช่วงอายุ 20-24 ปี มีนักดื่มประจำร้อยละ 15 เป็น 19.3 ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจแอลกอฮอล์ที่รุกหนักขึ้นในกลุ่มเด็กและเยาวชน ส่งผลให้การบริโภคของเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในโอกาสที่เทศกาลเข้าพรรษากำลังจะเริ่มต้นในสัปดาห์หน้า เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จึงได้จัดกิจกรรม “ปฏิญาณตนคนบวชใจ งดเหล้าเข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง” ขึ้น โดยมีผู้บวชใจจากชุมชนในกทม. จำนวน 500 คน และมีผู้สมัครใจเข้าร่วมปฏิญาณตนบวชใจทั่วประเทศ 10,000 คน รวมถึงการจัดทำ “สมุดบัญชีเงินออมจากเหล้า” ซึ่งประสบผลสำเร็จมาแล้วใน 120 หมู่บ้าน จึงนำมาขยายผลไปยังผู้ที่สนใจทั่วประเทศเข้าร่วมงดเหล้า ออมเงิน
ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังจะมีการจัดตั้งชมรมคนบวชใจงดเหล้าเข้าพรรษาขึ้นทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าหมายในปีนี้ประมาณ 7,600 คน เพื่อเป็นกลุ่มที่ให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างเข้าพรรษา และจะมีการจัดเวทีขึ้นตามจังหวัดต่างๆเพื่อเปิดใจคนงดเหล้าร่วมกับคนในครอบครัว ในการจูงใจให้คนหันมางดเหล้าในช่วงเข้าพรรษาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 เดือน โดยความร่วมมือของคณะกรรมการการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด ที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ในส่วนการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคในกลุ่มเยาวชนนั้น เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ยังได้ร่วมรณรงค์เพื่อขับเคลื่อนในสถานศึกษาให้รู้เท่าทันถึงพิษภัยของการดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนการเฝ้าระวังการกระทำผิดพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบรั้วสถานศึกษา โดยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุข
โอกาสนี้ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความรู้สึกยินดีที่ได้ร่วมในพิธี “ปฏิญาณตน คนบวชใจ งดเหล้าเข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง” เนื่องจากวันเข้าพรรษา ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาที่วัด เพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุต้องเดินเหยียบข้าวในนา หรือสัตว์เล็กๆ ที่มีมากในฤดูฝน ทำให้พระภิกษุได้ทบทวน พระธรรมคำสอน และฝึกปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์เข้มแข็ง ในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ไม่ได้บวชกายเป็นพระภิกษุ แต่ทุกคนยังมีโอกาส “บวชใจ” ซึ่งสามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ด้วยการรักษาศีล ทำร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ และหนึ่งในการบวชใจที่สำคัญ นั่นคือ “การงดดื่มแอลกอฮอล์” ซึ่งถือเป็นประตูสู่การทำผิดศีลข้ออื่นๆ ทั้งนี้ประเพณีดั้งเดิมของการงดเหล้าช่วงเข้าพรรษาของคนไทย นับเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญของไทยมาแต่ดั้งเดิมที่ สสส. และภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีผู้ที่ดื่มร่วมงดดื่ม ถึงร้อยละ 52-63 ในจำนวนนี้มีผู้ที่งดดื่มตลอดทั้งพรรษาถึงร้อยละ 30
ทั้งนี้จากสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยโดยผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่า ขณะนี้มีจำนวนผู้ดื่มสุรา อายุ 15 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 14.9 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 29 ของจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มียอดปริมาณสุราที่เสียภาษีสรรพสามิตจำนวน 2,309 ล้านลิตร เป็นเงินภาษี 85,385 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่าใช้จ่ายของรัฐและสังคมที่ต้องดูแลชดเชยความสูญเสียด้านต่างๆจากผลของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายเท่าตัว รัฐบาลจึงไม่ได้เห็นยอดภาษีที่เก็บได้เป็นเรื่องสำคัญไปกว่าสุขภาพของประชาชนและความสงบสุขของสังคม ในการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปีนี้ จึงได้จัดทำสมุดบัญชีเงินออมจากเหล้า เพื่อขยายผลสำเร็จไปยังประชาชนทั่วประเทศที่สนใจ เพื่อเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และจากที่รัฐบาลได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา ถือเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ เพื่อหวังให้คนไทยใช้โอกาสวันเข้าพรรษา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการลด ละ เลิก การดื่มแอลกอฮอล์ วันนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเตรียมตัวเข้าสู่วันเข้าพรรษา ซึ่งในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศจะมีผู้เข้าร่วมปฏิญาณตน บวชใจงดเหล้า และจัดทำสมุดบัญชีเงินออม ไม่น้อยกว่า 10,000 คน ทั่วประเทศ ด้วย
จากนั้นรองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวนำปฏิญาณตน “บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง “ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยผู้ร่วมพิธีทุกคนได้กล่าวตามอย่างพร้อมเพรียงกัน ก่อนเดินนำผู้ร่วมปฏิญาณตนขึ้นบรรพต(ภูเขาทอง) เพื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ บริเวณภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธี “บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง “ โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคีเครือข่ายงดเหล้า ดารา นักร้อง ตลอดจนสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงาน ประมาณ 500 คน
นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวรายงานสรุปว่าจากผลการดำเนินโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2546 พบว่ามีคนไทยเข้าร่วมโครงการ ตลอด 3 เดือนในแต่ละปี เฉลี่ยร้อยละ 32.3 ของผู้ดื่ม หรือประมาณ 5-6 ล้านคน และในปี 2549 ได้มีการเปิดเผยข้อมูลวิชาการถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ที่มีความสูญเสียมากถึง 197,000 ล้านบาท ต่อปี จึงได้มีการรณรงค์ในประเด็น “เลิกเหล้า เลิกจน” จนเกิดเป็นโครงการต่อเนื่อง ไม่ได้ทำเฉพาะในช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น เช่น การรณรงค์ให้มีการทำบัญชีครัวเรือนเก็บค่าเหล้าย้อนหลัง การออมเงินค่าเหล้าใส่กระปุกออมสิน รวมทั้งการทำแผนชุมชนเลิกเหล้า เลิกจน โดยให้ประชาชนเปลี่ยนเงินค่าเหล้าวันละ 3 บาท เป็นเงินออม ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้เข้าร่วมในโครงการโดยมาเปิดบัญชีและรับฝากเงินในชุมชน ทุก 3 เดือนต่อเนื่องตลอดปี ทั้งนี้พบว่า ชุมชนสามารถมีเงินออมจากค่าเหล้ารวมถึงปีละ 1,078,000 บาท โดยเงินออมในชุมชนเหล่านี้ สามารถนำไปใช้พัฒนาหมู่บ้านของตนเอง และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนในการพึ่งพาตนเองได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบัน พบว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนทั่วประเทศยังคงน่าเป็นห่วงอยู่คือ ในช่วงอายุ 11-14 ปี มีนักดื่มประจำจากร้อยละ 0 ในปี 2539 เป็นร้อยละ 0.3 ในปี 2549 ช่วงอายุ 15-19 ปี มีนักดื่มประจำจากร้อยละ 4.7 เป็น 6.8 และช่วงอายุ 20-24 ปี มีนักดื่มประจำร้อยละ 15 เป็น 19.3 ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจแอลกอฮอล์ที่รุกหนักขึ้นในกลุ่มเด็กและเยาวชน ส่งผลให้การบริโภคของเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในโอกาสที่เทศกาลเข้าพรรษากำลังจะเริ่มต้นในสัปดาห์หน้า เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จึงได้จัดกิจกรรม “ปฏิญาณตนคนบวชใจ งดเหล้าเข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง” ขึ้น โดยมีผู้บวชใจจากชุมชนในกทม. จำนวน 500 คน และมีผู้สมัครใจเข้าร่วมปฏิญาณตนบวชใจทั่วประเทศ 10,000 คน รวมถึงการจัดทำ “สมุดบัญชีเงินออมจากเหล้า” ซึ่งประสบผลสำเร็จมาแล้วใน 120 หมู่บ้าน จึงนำมาขยายผลไปยังผู้ที่สนใจทั่วประเทศเข้าร่วมงดเหล้า ออมเงิน
ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังจะมีการจัดตั้งชมรมคนบวชใจงดเหล้าเข้าพรรษาขึ้นทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าหมายในปีนี้ประมาณ 7,600 คน เพื่อเป็นกลุ่มที่ให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างเข้าพรรษา และจะมีการจัดเวทีขึ้นตามจังหวัดต่างๆเพื่อเปิดใจคนงดเหล้าร่วมกับคนในครอบครัว ในการจูงใจให้คนหันมางดเหล้าในช่วงเข้าพรรษาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 เดือน โดยความร่วมมือของคณะกรรมการการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด ที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ในส่วนการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคในกลุ่มเยาวชนนั้น เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ยังได้ร่วมรณรงค์เพื่อขับเคลื่อนในสถานศึกษาให้รู้เท่าทันถึงพิษภัยของการดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนการเฝ้าระวังการกระทำผิดพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบรั้วสถานศึกษา โดยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุข
โอกาสนี้ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความรู้สึกยินดีที่ได้ร่วมในพิธี “ปฏิญาณตน คนบวชใจ งดเหล้าเข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง” เนื่องจากวันเข้าพรรษา ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาที่วัด เพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุต้องเดินเหยียบข้าวในนา หรือสัตว์เล็กๆ ที่มีมากในฤดูฝน ทำให้พระภิกษุได้ทบทวน พระธรรมคำสอน และฝึกปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์เข้มแข็ง ในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ไม่ได้บวชกายเป็นพระภิกษุ แต่ทุกคนยังมีโอกาส “บวชใจ” ซึ่งสามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ด้วยการรักษาศีล ทำร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ และหนึ่งในการบวชใจที่สำคัญ นั่นคือ “การงดดื่มแอลกอฮอล์” ซึ่งถือเป็นประตูสู่การทำผิดศีลข้ออื่นๆ ทั้งนี้ประเพณีดั้งเดิมของการงดเหล้าช่วงเข้าพรรษาของคนไทย นับเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญของไทยมาแต่ดั้งเดิมที่ สสส. และภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีผู้ที่ดื่มร่วมงดดื่ม ถึงร้อยละ 52-63 ในจำนวนนี้มีผู้ที่งดดื่มตลอดทั้งพรรษาถึงร้อยละ 30
ทั้งนี้จากสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยโดยผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่า ขณะนี้มีจำนวนผู้ดื่มสุรา อายุ 15 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 14.9 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 29 ของจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มียอดปริมาณสุราที่เสียภาษีสรรพสามิตจำนวน 2,309 ล้านลิตร เป็นเงินภาษี 85,385 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่าใช้จ่ายของรัฐและสังคมที่ต้องดูแลชดเชยความสูญเสียด้านต่างๆจากผลของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายเท่าตัว รัฐบาลจึงไม่ได้เห็นยอดภาษีที่เก็บได้เป็นเรื่องสำคัญไปกว่าสุขภาพของประชาชนและความสงบสุขของสังคม ในการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปีนี้ จึงได้จัดทำสมุดบัญชีเงินออมจากเหล้า เพื่อขยายผลสำเร็จไปยังประชาชนทั่วประเทศที่สนใจ เพื่อเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และจากที่รัฐบาลได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา ถือเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ เพื่อหวังให้คนไทยใช้โอกาสวันเข้าพรรษา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการลด ละ เลิก การดื่มแอลกอฮอล์ วันนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเตรียมตัวเข้าสู่วันเข้าพรรษา ซึ่งในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศจะมีผู้เข้าร่วมปฏิญาณตน บวชใจงดเหล้า และจัดทำสมุดบัญชีเงินออม ไม่น้อยกว่า 10,000 คน ทั่วประเทศ ด้วย
จากนั้นรองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวนำปฏิญาณตน “บวชใจงดเหล้าเข้าพรรษา ทำความดีถวายในหลวง “ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยผู้ร่วมพิธีทุกคนได้กล่าวตามอย่างพร้อมเพรียงกัน ก่อนเดินนำผู้ร่วมปฏิญาณตนขึ้นบรรพต(ภูเขาทอง) เพื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--