นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน ครั้งที่ 3/2551
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน ครั้งที่ 3/2551 โดยมี นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบแผนการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ (ปรับใหม่) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 6,552 แห่ง กรอบวงเงินลงทุนรวม 14,942 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ปี 2552-2554) โดยในปี 2552 จะดำเนินการฟื้นฟูแหล่งน้ำที่มีความเสื่อมโทรมมากและมีความพร้อมจำนวน 1,013 แห่ง วงเงินลงทุน 4,477 ล้านบาท
สาระสำคัญของแผนการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำนอกเขตชลประทานทั่วประเทศ (ปรับใหม่) ประกอบด้วย การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ หนองบึงต่าง ๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ การบูรณะฟื้นฟูฝายเสริมระบบนิเวศในพื้นที่ต้นน้ำ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้างแหล่งน้ำ การปรับปรุงฝายน้ำล้น ระบบส่งน้ำ และอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันในการดำรงชีวิตและมีสภาพเสื่อมโทรมมากจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูโดยเร็ว
การปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำตามแผนที่ปรับใหม่ ส่วนใหญ่ดำเนินการเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งในพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลนน้ำมากและปานกลาง ซึ่งจะเป็นการลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาก ที่สุด จำนวน 1,189 แห่ง วงเงินลงทุน 4,887 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.7 ของวงเงินลงทุนรวม รองลงมาได้แก่ภาคเหนือจำนวน 4,527 ล้านบาท (ร้อยละ 30.3) ภาคกลางจำนวน 3,815 ล้านบาท (ร้อยละ 25.5) และภาคใต้จำนวน 1,713 ล้านบาท (ร้อยละ 11.5) ตามลำดับ
แผนการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำที่ได้ปรับใหม่ได้นี้ ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนองบึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม การประมง และการท่องเที่ยว แต่สภาพของแหล่งน้ำมีความเสื่อมโทรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตื้นเขินทำให้ประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำลดลง มีการรุกล้ำพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ และคุณภาพน้ำ มีความเสี่ยงจากการใช้พื้นที่บริเวณโดยรอบ รวมทั้งในการดำเนินการฟื้นฟูและดูแลรักษาจำเป็นต้องอาศัยการ มีส่วนร่วมของประชาชน
สำหรับแหล่งน้ำสำคัญที่จะได้รับการฟื้นฟู ได้แก่ 1) การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่หนองเล็งทราย-ลำน้ำอิง- กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา 2) บึงเสนาท จังหวัดนครสวรรค์ 3) บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 4) บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร 5) หนองหาน จังหวัดสกลนคร โดยการดำเนินการจะมีกิจกรรมการตรวจสอบแนวเขตและปักหลักเขตเพื่อกันพื้นที่สาธารณะออกจากพื้นที่ทำกินของประชาชน การแก้ไขการบุกรุกล่วงล้ำ การขุดลอกแหล่งน้ำ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเครือข่ายในการดูแลรักษาแหล่งน้ำ การสนับสนุนประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำ และการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยโรงเรียนและประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากแหล่งน้ำ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน ครั้งที่ 3/2551 โดยมี นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบแผนการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ (ปรับใหม่) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 6,552 แห่ง กรอบวงเงินลงทุนรวม 14,942 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ปี 2552-2554) โดยในปี 2552 จะดำเนินการฟื้นฟูแหล่งน้ำที่มีความเสื่อมโทรมมากและมีความพร้อมจำนวน 1,013 แห่ง วงเงินลงทุน 4,477 ล้านบาท
สาระสำคัญของแผนการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำนอกเขตชลประทานทั่วประเทศ (ปรับใหม่) ประกอบด้วย การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ หนองบึงต่าง ๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ การบูรณะฟื้นฟูฝายเสริมระบบนิเวศในพื้นที่ต้นน้ำ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้างแหล่งน้ำ การปรับปรุงฝายน้ำล้น ระบบส่งน้ำ และอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันในการดำรงชีวิตและมีสภาพเสื่อมโทรมมากจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูโดยเร็ว
การปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำตามแผนที่ปรับใหม่ ส่วนใหญ่ดำเนินการเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งในพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลนน้ำมากและปานกลาง ซึ่งจะเป็นการลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาก ที่สุด จำนวน 1,189 แห่ง วงเงินลงทุน 4,887 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.7 ของวงเงินลงทุนรวม รองลงมาได้แก่ภาคเหนือจำนวน 4,527 ล้านบาท (ร้อยละ 30.3) ภาคกลางจำนวน 3,815 ล้านบาท (ร้อยละ 25.5) และภาคใต้จำนวน 1,713 ล้านบาท (ร้อยละ 11.5) ตามลำดับ
แผนการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำที่ได้ปรับใหม่ได้นี้ ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหนองบึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม การประมง และการท่องเที่ยว แต่สภาพของแหล่งน้ำมีความเสื่อมโทรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตื้นเขินทำให้ประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำลดลง มีการรุกล้ำพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ และคุณภาพน้ำ มีความเสี่ยงจากการใช้พื้นที่บริเวณโดยรอบ รวมทั้งในการดำเนินการฟื้นฟูและดูแลรักษาจำเป็นต้องอาศัยการ มีส่วนร่วมของประชาชน
สำหรับแหล่งน้ำสำคัญที่จะได้รับการฟื้นฟู ได้แก่ 1) การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่หนองเล็งทราย-ลำน้ำอิง- กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา 2) บึงเสนาท จังหวัดนครสวรรค์ 3) บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 4) บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร 5) หนองหาน จังหวัดสกลนคร โดยการดำเนินการจะมีกิจกรรมการตรวจสอบแนวเขตและปักหลักเขตเพื่อกันพื้นที่สาธารณะออกจากพื้นที่ทำกินของประชาชน การแก้ไขการบุกรุกล่วงล้ำ การขุดลอกแหล่งน้ำ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเครือข่ายในการดูแลรักษาแหล่งน้ำ การสนับสนุนประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำ และการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยโรงเรียนและประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากแหล่งน้ำ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--