ตุลาการศาลรธน.วินิจฉัยชี้ขาดความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สธ.สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 269 ตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
วันนี้ (9 ก.ค.) เวลา 09.30 น. ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีนายชัช ชลวร ประธานคณะตุลาการฯ เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาคำร้องของประธานวุฒิสภา ที่ส่งคำร้องของ นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา และพวกรวม 36 คน เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นรัฐมนตรีเฉพาะตัวของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 269 หรือไม่ เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้วินิจฉัยชี้มูลว่า นางจุไร สะสมทรัพย์ ภรรยา นายไชยา สะสมทรัพย์ ถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกิน 5% เป็นการขัดกับพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 โดยเป็นการอภิปรายด้วยวาจาก่อนลงมติ
จากนั้น เวลา 15.00 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ขึ้นบังลังก์เพื่ออ่านคำวินิจฉัย สรุปสาระสำคัญได้ว่า นายไชยา สะสมทรัพย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ยื่นบัญชีแสดงรายการหนี้สินและทรัพย์สินของตนเองและคู่สมรสต่อ ป.ป.ช. เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2551 กรณีเข้ารับตำแหน่งโดยไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งต่อประธาน ป.ป.ช. ว่าจะรับประโยชน์จากการที่คู่สมรสถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกินกว่า 5% ของจำนวนหุ้น ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี การกระทำของนายไชยาจึงถือว่าเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 269
ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยาสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่ได้รับแต่งตั้ง เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) บัญญัติให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อกระทำการอันต้องห้าม ตามมาตรา 269 ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่กำหนดไว้เกิดขึ้น ความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงทันที ไม่ใช่สิ้นสุดในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ส่วนมาตรา 92 นั้น เป็นการบัญญัติถึงการลาออกจากตำแหน่งไว้เพื่อแก้ปัญหาอันเกี่ยวกับกิจการที่รัฐมนตรีได้ทำไปหลังจากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดแล้วจนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ไม่ให้กระทบกระเทือนกิจการที่กระทำไปในระหว่างนั้น หากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติรับรองกิจการที่ทำไปก่อการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 269 ตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (9 ก.ค.) เวลา 09.30 น. ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีนายชัช ชลวร ประธานคณะตุลาการฯ เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาคำร้องของประธานวุฒิสภา ที่ส่งคำร้องของ นายประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา และพวกรวม 36 คน เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นรัฐมนตรีเฉพาะตัวของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 269 หรือไม่ เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้วินิจฉัยชี้มูลว่า นางจุไร สะสมทรัพย์ ภรรยา นายไชยา สะสมทรัพย์ ถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกิน 5% เป็นการขัดกับพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 โดยเป็นการอภิปรายด้วยวาจาก่อนลงมติ
จากนั้น เวลา 15.00 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ขึ้นบังลังก์เพื่ออ่านคำวินิจฉัย สรุปสาระสำคัญได้ว่า นายไชยา สะสมทรัพย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ยื่นบัญชีแสดงรายการหนี้สินและทรัพย์สินของตนเองและคู่สมรสต่อ ป.ป.ช. เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2551 กรณีเข้ารับตำแหน่งโดยไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งต่อประธาน ป.ป.ช. ว่าจะรับประโยชน์จากการที่คู่สมรสถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกินกว่า 5% ของจำนวนหุ้น ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี การกระทำของนายไชยาจึงถือว่าเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 269 เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 269
ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยาสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่ได้รับแต่งตั้ง เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) บัญญัติให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อกระทำการอันต้องห้าม ตามมาตรา 269 ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่กำหนดไว้เกิดขึ้น ความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงทันที ไม่ใช่สิ้นสุดในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ส่วนมาตรา 92 นั้น เป็นการบัญญัติถึงการลาออกจากตำแหน่งไว้เพื่อแก้ปัญหาอันเกี่ยวกับกิจการที่รัฐมนตรีได้ทำไปหลังจากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดแล้วจนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ไม่ให้กระทบกระเทือนกิจการที่กระทำไปในระหว่างนั้น หากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติรับรองกิจการที่ทำไปก่อการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 269 ตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--