แท็ก
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
นายสมัคร สุนทรเวช
กระทรวงการคลัง
ทำเนียบรัฐบาล
ตึกไทยคู่ฟ้า
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 6 / 2551
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 6 / 2551 โดยมี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมประชุม ภายหลังการประชุม นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 โดยในส่วนของสถานการณ์ข้าวโลก ปี 2551 / 2552 กระทรวงเกษตรฯ สหรัฐอเมริกา ได้คาดการณ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2551 ว่าผลผลิตข้าวโลกในปี 2551/2552 เบื้องต้นจะมีปริมาณ 431.406 ล้านตันข้าวสาร มากกว่าปี 2550/2551 (427.65 ล้านตันข้าวสาร) ร้อยละ 0.88 โดยหลายประเทศจะเพิ่มผลผลิตเนื่องจากความต้องการบริโภคภายในประเทศมีสูงขึ้นและประเทศที่คาดว่าผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ประเทศจีน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และไทย ส่วนความต้องการบริโภคข้าวของโลกจะมีประมาณ 427.463 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 0.40 ซึ่งน้อยกว่าปริมาณผลผลิตจำนวน 3.943 ล้านตัน หรือร้อยละ 1.09 จะส่งผลให้สต๊อกเพิ่มขึ้นจาก 77.563 ล้านตันในช่วงต้นปี เป็น 81.506 ล้านตันในช่วงปลายปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.08
ด้านสถานการณ์ข้าวไทย ปี 2551 ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 และนาปี ปีการเพาะปลูก 2551/52 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดการณ์ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2551 มีประมาณ 8.791 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนมีนาคม 2551 ที่คาดว่าจะมี 6.7 ล้านตันข้าวเปลือก ร้อยละ 31.21 และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 6.802 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.24 เนื่องจากราคาข้าวเปลือกในช่วงเดือนมกราคม — เมษายน มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรเพิ่มการเพาะปลูกข้าวนาปรังรุ่น 2 เพิ่มขึ้น ซึ่งจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป และคาดว่าจะมีปริมาณ 3.9 ล้านตันข้าวเปลือก สำหรับผลผลิตข้าวนาปี 2551 / 2552 กระทรวงเกษตรฯ พยากรณ์ผลผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2551/52 มีประมาณ 23.807 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.499 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.14 ส่วนผลผลิตต่อไร่ทั้งประเทศ 412 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีผลผลิตเฉลี่ย 406 กก./ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.48 และผลผลิตจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม และออกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน — ธันวาคม 2551 คิดเป็นร้อยละ 77 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ภาวะราคาข้าว ในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากผลผลิตข้าวโลกออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อต่างรอดูสถานการณ์ราคาข้าวตลาดโลกซึ่งมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลง ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในประเทศมีแนวโน้มอ่อนตัวลง สำหรับราคาข้าวเปลือกและข้าวสารของไทยในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 คาดว่าจะทรงตัวในเกณฑ์สูง แม้ปริมาณผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน — 30 กันยายน 2551 ขณะที่ราคาตลาดโลกยังมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเนื่องจากประเทศผู้ส่งออกอย่างเวียดนามและอินเดียมีผลผลิตเพิ่มขึ้นและสามารถส่งออกได้
สำหรับการส่งออก การส่งออกข้าวปี 2551 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ประมาณ 9.00 ล้านตันข้าวสาร และกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 10.00 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ปริมาณ 0.45 ล้านตันข้าวสาร โดยกรมการค้าต่างประเทศรายงานเบื้องต้นการส่งออกข้าวตั้งแต่ 1 มกราคม — 30 มิถุนายน 2551 มีปริมาณรวม 5.977 ล้านตัน มูลค่าจำนวน 108,852 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว ปริมาณ 1.902 ล้านตัน มูลค่า 55,868 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.67 และ 105.44 ตามลำดับ
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมฯ ยืนยันว่าจะไม่มีการประมูลหรือขายข้าวสารจำนวน 1.1 ล้านตันในสต๊อกออกไปตามที่มีกระแสข่าวเกิดขึ้น เพราะว่าทำให้ราคาข้าวสารตกลง โดยยืนยันว่าการขายข้าวในสต๊อกจะทำแบบ จีทูจี หรือ รัฐต่อรัฐ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ราคาข้าวตกลง ทั้งนี้ ในส่วนของข้าวในประเทศยืนยันว่าไม่มีปัญหา จะมีการทำแบบครบวงจร ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงในเรื่องของสถานการณ์ข้าวโดยเฉพาะข้าวที่จะรับจำนำจากเกษตรกรที่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดไว้เดิม โดยโครงการรับจำนำข้าวที่ดำเนินการโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำให้ราคาข้าวในตลาดมีราคาสูงขึ้นจนใกล้ราคาที่รับจำนำ ซึ่งเป็นตัวช่วยดึงราคาข้าวในตลาดขึ้นมาได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 6 / 2551 โดยมี นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมประชุม ภายหลังการประชุม นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์ข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 โดยในส่วนของสถานการณ์ข้าวโลก ปี 2551 / 2552 กระทรวงเกษตรฯ สหรัฐอเมริกา ได้คาดการณ์เมื่อเดือนมิถุนายน 2551 ว่าผลผลิตข้าวโลกในปี 2551/2552 เบื้องต้นจะมีปริมาณ 431.406 ล้านตันข้าวสาร มากกว่าปี 2550/2551 (427.65 ล้านตันข้าวสาร) ร้อยละ 0.88 โดยหลายประเทศจะเพิ่มผลผลิตเนื่องจากความต้องการบริโภคภายในประเทศมีสูงขึ้นและประเทศที่คาดว่าผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ประเทศจีน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และไทย ส่วนความต้องการบริโภคข้าวของโลกจะมีประมาณ 427.463 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 0.40 ซึ่งน้อยกว่าปริมาณผลผลิตจำนวน 3.943 ล้านตัน หรือร้อยละ 1.09 จะส่งผลให้สต๊อกเพิ่มขึ้นจาก 77.563 ล้านตันในช่วงต้นปี เป็น 81.506 ล้านตันในช่วงปลายปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.08
ด้านสถานการณ์ข้าวไทย ปี 2551 ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 และนาปี ปีการเพาะปลูก 2551/52 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดการณ์ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ปีการผลิต 2551 มีประมาณ 8.791 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนมีนาคม 2551 ที่คาดว่าจะมี 6.7 ล้านตันข้าวเปลือก ร้อยละ 31.21 และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 6.802 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.24 เนื่องจากราคาข้าวเปลือกในช่วงเดือนมกราคม — เมษายน มีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรเพิ่มการเพาะปลูกข้าวนาปรังรุ่น 2 เพิ่มขึ้น ซึ่งจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป และคาดว่าจะมีปริมาณ 3.9 ล้านตันข้าวเปลือก สำหรับผลผลิตข้าวนาปี 2551 / 2552 กระทรวงเกษตรฯ พยากรณ์ผลผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2551/52 มีประมาณ 23.807 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.499 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.14 ส่วนผลผลิตต่อไร่ทั้งประเทศ 412 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีผลผลิตเฉลี่ย 406 กก./ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.48 และผลผลิตจะออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม และออกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน — ธันวาคม 2551 คิดเป็นร้อยละ 77 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ภาวะราคาข้าว ในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 ผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากผลผลิตข้าวโลกออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อต่างรอดูสถานการณ์ราคาข้าวตลาดโลกซึ่งมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลง ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารในประเทศมีแนวโน้มอ่อนตัวลง สำหรับราคาข้าวเปลือกและข้าวสารของไทยในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 คาดว่าจะทรงตัวในเกณฑ์สูง แม้ปริมาณผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน — 30 กันยายน 2551 ขณะที่ราคาตลาดโลกยังมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเนื่องจากประเทศผู้ส่งออกอย่างเวียดนามและอินเดียมีผลผลิตเพิ่มขึ้นและสามารถส่งออกได้
สำหรับการส่งออก การส่งออกข้าวปี 2551 กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ประมาณ 9.00 ล้านตันข้าวสาร และกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 10.00 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ปริมาณ 0.45 ล้านตันข้าวสาร โดยกรมการค้าต่างประเทศรายงานเบื้องต้นการส่งออกข้าวตั้งแต่ 1 มกราคม — 30 มิถุนายน 2551 มีปริมาณรวม 5.977 ล้านตัน มูลค่าจำนวน 108,852 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว ปริมาณ 1.902 ล้านตัน มูลค่า 55,868 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.67 และ 105.44 ตามลำดับ
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมฯ ยืนยันว่าจะไม่มีการประมูลหรือขายข้าวสารจำนวน 1.1 ล้านตันในสต๊อกออกไปตามที่มีกระแสข่าวเกิดขึ้น เพราะว่าทำให้ราคาข้าวสารตกลง โดยยืนยันว่าการขายข้าวในสต๊อกจะทำแบบ จีทูจี หรือ รัฐต่อรัฐ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ราคาข้าวตกลง ทั้งนี้ ในส่วนของข้าวในประเทศยืนยันว่าไม่มีปัญหา จะมีการทำแบบครบวงจร ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงในเรื่องของสถานการณ์ข้าวโดยเฉพาะข้าวที่จะรับจำนำจากเกษตรกรที่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดไว้เดิม โดยโครงการรับจำนำข้าวที่ดำเนินการโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำให้ราคาข้าวในตลาดมีราคาสูงขึ้นจนใกล้ราคาที่รับจำนำ ซึ่งเป็นตัวช่วยดึงราคาข้าวในตลาดขึ้นมาได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--