แท็ก
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กองบัญชาการทหารสูงสุด
สำนักนายกรัฐมนตรี
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
ทำเนียบรัฐบาล
นารีสโมสร
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงกรณี พล.อ. ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด ปราศรัยบนเวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยสวมเครื่องแบบทหารเต็มยศ ว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อระเบียบวินัยทหาร
วันนี้ เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงกรณี พล.อ. ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด ปราศรัยแสดงความเห็นว่ารัฐบาลได้กระทำการจนประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนกรณีคณะกรรมการมรดกโลกประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และเรียกร้องให้ทหารออกมาร่วมชุมนุม บนเวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยสวมเครื่องแบบทหารเต็มยศ ว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อระเบียบวินัยทหาร คำชี้แจงกองทัพไทย และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 และขอเรียกร้องให้ พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรง ดำเนินการต่อพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อมิให้เป็นแบบอย่างในลักษณะเดียวกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเคารพสิทธิเสรีภาพเกี่ยวกับการแสดงออกของประชาชนทุกคน ทุกฝ่าย ภายใต้กรอบกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุน หรือคัดค้าน ต่อต้านรัฐบาล ซึ่ง พล.อ. ปฐมพงษ์ฯ สามารถแสดงออกกรณีไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลด้วยวิธีต่างๆ อาทิ การทำหนังสือทักท้วง การแถลงข่าวในสถานที่ที่เหมาะสม เป็นต้น แต่การขึ้นเวทีกลุ่มพันธมิตรแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น ได้รับการยืนยันจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมแผนที่ทหาร และนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการมรดกโลกของไทย ว่าไม่ได้ส่งผลให้ประเทศไทยเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ส่วนคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางที่คุ้มครองชั่วคราวไม่ให้นำมติคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าขั้นตอนการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศขัดต่อมาตรา 190 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ได้หมายความถึงการดำเนินการของรัฐบาลส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียดินแดนหรือสูญเสียอธิปไตยแต่อย่างใด
ซึ่งในการแถลงข่าวดังกล่าว รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้นำเอกสารคำชี้แจงกองทัพไทย เรื่อง การปฏิบัติตนของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ สังกัดกองทัพไทยในการร่วมแสดงความคิดเห็นลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 มาอ่านให้สื่อมวลชนได้รับทราบ สรุปได้ว่า เนื่องด้วยขณะนี้มีกลุ่มพลังต่างๆ ได้จัดเวทีปราศรัยโดยมุ่งเน้นให้บุคคลทั่วไปมีโอกาสแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอย่างกว้างขวาง อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติไว้ว่า บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมาย หรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม จากกรณีข้างต้น กระทรวงกลาโหมได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ โดยเฉพาะเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติตามคำชี้แจงกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2537 เรื่องการใช้ยศทหารประกอบชื่อบุคคล ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการเข้าสมาคม เข้าศึกษา หรือบอกความในราชการ พ.ศ. 2510 ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยข้าราชการกลาโหมกับการเมือง พ.ศ. 2499 จึงให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ สังกัดกองทัพไทย พิจารณาปฏิบัติตนตามแนวทาง ดังนี้ 1) นายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวนประจำการ ที่เข้าร่วมฟังการปราศรัยในที่สาธารณะ ไม่ควรสวมเครื่องแบบและควรเว้นการใช้ยศประกอบการแนะนำตนเองกับบุคคลทั่วไป ขณะที่อยู่ในการชุมนุม ทั้งนี้ การไปร่วมชุมนุมต้องมิใช่ในเวลาราชการ 2) ข้าราชการประจำการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ผู้มีความประสงค์ไปร่วมบรรยายหรือช่วยเกลี้ยกล่อม โฆษณาวัตถุประสงค์ของกลุ่มผู้ชุมนุม ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเข้าสมาคม เข้าศึกษา หรือบอกความในราชการ พ.ศ. 2510 3) ในการไปร่วมฟังการปราศรัยในที่สาธารณะตามข้อ 1) หรือได้ไปร่วมบรรยายตามข้อ 2) ห้ามวิพากษ์วิจารณ์การกระทำ การปฏิบัติงานของรัฐบาลให้แก่ประชาชนฟัง ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงกรณี พล.อ. ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด ปราศรัยแสดงความเห็นว่ารัฐบาลได้กระทำการจนประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนกรณีคณะกรรมการมรดกโลกประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และเรียกร้องให้ทหารออกมาร่วมชุมนุม บนเวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยสวมเครื่องแบบทหารเต็มยศ ว่าการกระทำดังกล่าวขัดต่อระเบียบวินัยทหาร คำชี้แจงกองทัพไทย และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 และขอเรียกร้องให้ พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรง ดำเนินการต่อพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อมิให้เป็นแบบอย่างในลักษณะเดียวกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเคารพสิทธิเสรีภาพเกี่ยวกับการแสดงออกของประชาชนทุกคน ทุกฝ่าย ภายใต้กรอบกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสนับสนุน หรือคัดค้าน ต่อต้านรัฐบาล ซึ่ง พล.อ. ปฐมพงษ์ฯ สามารถแสดงออกกรณีไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลด้วยวิธีต่างๆ อาทิ การทำหนังสือทักท้วง การแถลงข่าวในสถานที่ที่เหมาะสม เป็นต้น แต่การขึ้นเวทีกลุ่มพันธมิตรแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น ได้รับการยืนยันจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมแผนที่ทหาร และนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการมรดกโลกของไทย ว่าไม่ได้ส่งผลให้ประเทศไทยเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ส่วนคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางที่คุ้มครองชั่วคราวไม่ให้นำมติคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าขั้นตอนการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศขัดต่อมาตรา 190 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ได้หมายความถึงการดำเนินการของรัฐบาลส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียดินแดนหรือสูญเสียอธิปไตยแต่อย่างใด
ซึ่งในการแถลงข่าวดังกล่าว รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้นำเอกสารคำชี้แจงกองทัพไทย เรื่อง การปฏิบัติตนของข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ สังกัดกองทัพไทยในการร่วมแสดงความคิดเห็นลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 มาอ่านให้สื่อมวลชนได้รับทราบ สรุปได้ว่า เนื่องด้วยขณะนี้มีกลุ่มพลังต่างๆ ได้จัดเวทีปราศรัยโดยมุ่งเน้นให้บุคคลทั่วไปมีโอกาสแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอย่างกว้างขวาง อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติไว้ว่า บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมาย หรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม จากกรณีข้างต้น กระทรวงกลาโหมได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ โดยเฉพาะเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติตามคำชี้แจงกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2537 เรื่องการใช้ยศทหารประกอบชื่อบุคคล ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการเข้าสมาคม เข้าศึกษา หรือบอกความในราชการ พ.ศ. 2510 ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยข้าราชการกลาโหมกับการเมือง พ.ศ. 2499 จึงให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ สังกัดกองทัพไทย พิจารณาปฏิบัติตนตามแนวทาง ดังนี้ 1) นายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวนประจำการ ที่เข้าร่วมฟังการปราศรัยในที่สาธารณะ ไม่ควรสวมเครื่องแบบและควรเว้นการใช้ยศประกอบการแนะนำตนเองกับบุคคลทั่วไป ขณะที่อยู่ในการชุมนุม ทั้งนี้ การไปร่วมชุมนุมต้องมิใช่ในเวลาราชการ 2) ข้าราชการประจำการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ผู้มีความประสงค์ไปร่วมบรรยายหรือช่วยเกลี้ยกล่อม โฆษณาวัตถุประสงค์ของกลุ่มผู้ชุมนุม ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเข้าสมาคม เข้าศึกษา หรือบอกความในราชการ พ.ศ. 2510 3) ในการไปร่วมฟังการปราศรัยในที่สาธารณะตามข้อ 1) หรือได้ไปร่วมบรรยายตามข้อ 2) ห้ามวิพากษ์วิจารณ์การกระทำ การปฏิบัติงานของรัฐบาลให้แก่ประชาชนฟัง ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--