คณะโฆษกรัฐบาลยืนยันครม.พร้อมรับผิดชอบตามกรอบของกฎหมาย หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดการลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190
วันนี้ (8 ก.ค.) เวลา14.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงท่าทีของรัฐบาลภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเป็นหนังสือสัญญาที่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 โดยยืนยันว่ารัฐบาลดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความบริสุทธิ์ไม่ได้ส่อไปในทางทุจริต ซึ่งที่ผ่านมากรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ปรึกษาหารือกับนิติกร รวมทั้งเจ้ากรมแผนที่ทหาร แล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ ไม่เข้ามาตรา 190 และเป็นการกระทำโดยเปิดเผย ไม่มีการปิดบังซ่อนเร้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้บอกกับคณะรัฐมนตรีว่า ไม่ต้องวิตกกังวลต่อเรื่องที่เกิดขึ้น โดยปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
ผู้สื่อข่าวถามถึงความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อกรณีที่เกิดขึ้น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อศาลวินิจฉัยว่า รัฐบาลทำผิดมาตรา 190 จำเป็นต้องกลับไปดูมาตราอื่นประกอบ โดยเฉพาะมาตรา 154 ที่ระบุว่า หากร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ให้ถือว่าร่าง พ.ร.บ.นั้นตกไป ดังนั้น การลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้ถือเป็นโมฆะ ซึ่งเท่ากับว่า ปัญหานี้จบไปแล้ว แต่หากใครเห็นว่ารัฐบาลทำไม่ถูกต้อง ก็มีช่องทางดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และหากมีการยื่นถอดถอนก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่การถอดถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 คือ ต้องเป็นความผิดที่ส่อไปในทางทุจริต หรือมีความผิดร้ายแรงต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่ารัฐบาลบริหารงานผิดพลาดหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ถือว่าผิดพลาด เพราะเรื่องของความคิดเห็นสามารถแตกต่างกันได้รัฐบาลถือว่าทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ หากมีเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายคงไม่มีใครกล้าไปลงนามในเอกสาร และขณะนี้ปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว โดยประเทศไทยไม่ได้เสียพื้นที่แม้แต่ตารางนิ้วเดียว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เข้าชื่อยื่นเรื่องถอดถอนต่อคณะกรรมการป้องกันและปรามปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และหาก ป.ป.ช.รับเรื่องไว้แล้ว ครม.ทั้งหมดต้องยุติการทำหน้าที่หรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะได้เป็นการพิสูจน์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่สร้างปัญหา ไม่สมบูรณ์ และทางตัน ให้กับการบริหารงาน หาก ครม.ต้องหยุดทำงานแล้วจะเป็นอย่างไร กฎหมายไม่ได้ระบุต่อไปว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะคนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ต้องมาจาก ส.ส.
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลบริหารงานผิดพลาด หรือเป็นการเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ อย่างที่สื่อมวลชนสอบถาม แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่งจะมีผลบังคับใช้ และกรณีนี้เพิ่งเกิดเป็นประเด็นที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยอย่างนี้ก็จะเป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าให้เป็นไปตามขั้นตอน ไม่ได้ชี้ว่า ครม. รัฐมนตรี และกระทรวงการต่างประเทศ มีความผิด
“รัฐบาลรับผิดชอบทุกการดำเนินการที่เป็นนโยบายในเชิงการตัดสินใจการบริหารอยู่แล้ว แต่ความรับผิดชอบนั้นต้องเป็นไปตามขั้นตอน เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ความรับผิดชอบที่สื่อพยายามถามนั้นคือรัฐบาลจะลาออกหรือไม่ หรืออย่างไรนั้น หากถามอย่างนั้นพวกผมคงตอบไม่ได้ ความรับผิดชอบที่สื่อกำลังถามว่ารัฐบาลจะอยู่ต่อไปได้เพียงชั่ววันหรือสัปดาห์จากเหตุการณ์นี้ ผมตอบไม่ได้ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบในทุกกรณีที่ได้ดำเนินการไปและทุกกรณีที่ว่านี้มีกฎหมายกำกับอยู่” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
ขณะที่นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่ารัฐบาลยึดหลักกฎหมายเป็นหลัก ส่วนเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของสังคมนั้น รัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีทุกคนรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน เพื่อนำมาสู่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อหาทางออกให้สังคมยอมรับได้ แต่ถ้ารัฐบาลจะตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นหลักคงไม่ได้ ส่วนจะเป็นทางออกใดนั้นคงต้องติดตามกันต่อไป บอกได้เพียงว่ารัฐบาลนี้พร้อมรับผิดชอบไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีไม่วิตกกังวลในเรื่องนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (8 ก.ค.) เวลา14.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงท่าทีของรัฐบาลภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเป็นหนังสือสัญญาที่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 โดยยืนยันว่ารัฐบาลดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความบริสุทธิ์ไม่ได้ส่อไปในทางทุจริต ซึ่งที่ผ่านมากรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ปรึกษาหารือกับนิติกร รวมทั้งเจ้ากรมแผนที่ทหาร แล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ ไม่เข้ามาตรา 190 และเป็นการกระทำโดยเปิดเผย ไม่มีการปิดบังซ่อนเร้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้บอกกับคณะรัฐมนตรีว่า ไม่ต้องวิตกกังวลต่อเรื่องที่เกิดขึ้น โดยปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
ผู้สื่อข่าวถามถึงความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อกรณีที่เกิดขึ้น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อศาลวินิจฉัยว่า รัฐบาลทำผิดมาตรา 190 จำเป็นต้องกลับไปดูมาตราอื่นประกอบ โดยเฉพาะมาตรา 154 ที่ระบุว่า หากร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ให้ถือว่าร่าง พ.ร.บ.นั้นตกไป ดังนั้น การลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้ถือเป็นโมฆะ ซึ่งเท่ากับว่า ปัญหานี้จบไปแล้ว แต่หากใครเห็นว่ารัฐบาลทำไม่ถูกต้อง ก็มีช่องทางดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และหากมีการยื่นถอดถอนก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่การถอดถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 คือ ต้องเป็นความผิดที่ส่อไปในทางทุจริต หรือมีความผิดร้ายแรงต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่ารัฐบาลบริหารงานผิดพลาดหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ถือว่าผิดพลาด เพราะเรื่องของความคิดเห็นสามารถแตกต่างกันได้รัฐบาลถือว่าทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ หากมีเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายคงไม่มีใครกล้าไปลงนามในเอกสาร และขณะนี้ปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว โดยประเทศไทยไม่ได้เสียพื้นที่แม้แต่ตารางนิ้วเดียว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เข้าชื่อยื่นเรื่องถอดถอนต่อคณะกรรมการป้องกันและปรามปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และหาก ป.ป.ช.รับเรื่องไว้แล้ว ครม.ทั้งหมดต้องยุติการทำหน้าที่หรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะได้เป็นการพิสูจน์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่สร้างปัญหา ไม่สมบูรณ์ และทางตัน ให้กับการบริหารงาน หาก ครม.ต้องหยุดทำงานแล้วจะเป็นอย่างไร กฎหมายไม่ได้ระบุต่อไปว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะคนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ต้องมาจาก ส.ส.
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลบริหารงานผิดพลาด หรือเป็นการเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ อย่างที่สื่อมวลชนสอบถาม แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่งจะมีผลบังคับใช้ และกรณีนี้เพิ่งเกิดเป็นประเด็นที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยอย่างนี้ก็จะเป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าให้เป็นไปตามขั้นตอน ไม่ได้ชี้ว่า ครม. รัฐมนตรี และกระทรวงการต่างประเทศ มีความผิด
“รัฐบาลรับผิดชอบทุกการดำเนินการที่เป็นนโยบายในเชิงการตัดสินใจการบริหารอยู่แล้ว แต่ความรับผิดชอบนั้นต้องเป็นไปตามขั้นตอน เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ความรับผิดชอบที่สื่อพยายามถามนั้นคือรัฐบาลจะลาออกหรือไม่ หรืออย่างไรนั้น หากถามอย่างนั้นพวกผมคงตอบไม่ได้ ความรับผิดชอบที่สื่อกำลังถามว่ารัฐบาลจะอยู่ต่อไปได้เพียงชั่ววันหรือสัปดาห์จากเหตุการณ์นี้ ผมตอบไม่ได้ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบในทุกกรณีที่ได้ดำเนินการไปและทุกกรณีที่ว่านี้มีกฎหมายกำกับอยู่” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
ขณะที่นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่ารัฐบาลยึดหลักกฎหมายเป็นหลัก ส่วนเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของสังคมนั้น รัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีทุกคนรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน เพื่อนำมาสู่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อหาทางออกให้สังคมยอมรับได้ แต่ถ้ารัฐบาลจะตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นหลักคงไม่ได้ ส่วนจะเป็นทางออกใดนั้นคงต้องติดตามกันต่อไป บอกได้เพียงว่ารัฐบาลนี้พร้อมรับผิดชอบไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีไม่วิตกกังวลในเรื่องนี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--