นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เห็นชอบร่างแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2552-2555 โดยให้ความสำคัญในเรื่องยุติธรรมทางเลือกเพื่อให้คดีต่างๆ ยุติก่อนถึงชั้นศาล
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ชั้น 28 อาคารกระทรวงยุติธรรม จังหวัดนนทบุรี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการประชุม นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรมในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ แถลงสรุปผลการประชุมดังนี้
ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์กระบวนการยุติธรรม ว่าจำนวนคดีที่เข้าสู่ศาลมีเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งจากการสำรวจร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2548-2549 พบว่าจำนวนคดีที่มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนมีเพียง 1 ใน 3 ของจำนวนคดีทั้งหมด กล่าวคือมีแนวโน้มจำนวนคดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมรับทราบการพัฒนาอาชีพของพนักงานรักษาความปลอดภัยให้มีมาตรฐาน โดยจะกำหนดให้มีพระราชบัญญัติการรักษาความปลอดภัยเอกชน พ.ศ. .... เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นอาชีพที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนงานด้านกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2552-2555 ตามที่คณะอนุกรรมการด้านจัดทำ ประสาน ติดตาม และปรับปรุงแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเสนอ เพื่อเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมของประเทศที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อเป็นกรอบแนวทางความร่วมมือในการการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปโดยสอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ตลอดจนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องยุติธรรมทางเลือก หรือการกำหนดแนวทางการผันคดีออก และการสร้างความสมานฉันท์ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ รวมร่างกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ร่างกฎหมายไกล่เกลี่ยของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่างกฎหมายชะลอการฟ้องของสำนักงานอัยการสูงสุด ร่างกฎหมายไกล่เกลี่ยของการปกครองท้องที่ เป็นต้น ให้เป็นร่างกฎหมายฉบับเดียว เพื่อเป็นแนวทางที่จะทำให้คดีต่างๆ สามารถที่จะยุติได้อย่างมีความสมานฉันท์มากขึ้น
ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการยกร่างกฎหมายโดยให้มีอำนาจหน้าที่ในส่วนของการจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตามบทบัญญัติมาตรา 81 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการยกร่างให้สมบูรณ์และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
สำหรับร่างกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2550 เพื่อกำหนดสถานที่อื่นที่ใช้ในการควบคุมผู้ต้องขังหรือจำเลย วิธีการควบคุมและมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาตรา 89 ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการเรื่องการดำเนินการจัดสร้างสถานที่แห่งละ 10 ล้านบาท โดยกรมราชทัณฑ์อยู่ระหว่างพิจารณากำหนดจำนวนสถานที่เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม ชั้น 28 อาคารกระทรวงยุติธรรม จังหวัดนนทบุรี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการประชุม นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรมในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ แถลงสรุปผลการประชุมดังนี้
ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์กระบวนการยุติธรรม ว่าจำนวนคดีที่เข้าสู่ศาลมีเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งจากการสำรวจร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2548-2549 พบว่าจำนวนคดีที่มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนมีเพียง 1 ใน 3 ของจำนวนคดีทั้งหมด กล่าวคือมีแนวโน้มจำนวนคดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมรับทราบการพัฒนาอาชีพของพนักงานรักษาความปลอดภัยให้มีมาตรฐาน โดยจะกำหนดให้มีพระราชบัญญัติการรักษาความปลอดภัยเอกชน พ.ศ. .... เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นอาชีพที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนงานด้านกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2552-2555 ตามที่คณะอนุกรรมการด้านจัดทำ ประสาน ติดตาม และปรับปรุงแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเสนอ เพื่อเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมของประเทศที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อเป็นกรอบแนวทางความร่วมมือในการการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปโดยสอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ตลอดจนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องยุติธรรมทางเลือก หรือการกำหนดแนวทางการผันคดีออก และการสร้างความสมานฉันท์ โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ รวมร่างกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ร่างกฎหมายไกล่เกลี่ยของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่างกฎหมายชะลอการฟ้องของสำนักงานอัยการสูงสุด ร่างกฎหมายไกล่เกลี่ยของการปกครองท้องที่ เป็นต้น ให้เป็นร่างกฎหมายฉบับเดียว เพื่อเป็นแนวทางที่จะทำให้คดีต่างๆ สามารถที่จะยุติได้อย่างมีความสมานฉันท์มากขึ้น
ที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการยกร่างกฎหมายโดยให้มีอำนาจหน้าที่ในส่วนของการจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตามบทบัญญัติมาตรา 81 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการยกร่างให้สมบูรณ์และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
สำหรับร่างกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2550 เพื่อกำหนดสถานที่อื่นที่ใช้ในการควบคุมผู้ต้องขังหรือจำเลย วิธีการควบคุมและมาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาตรา 89 ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการเรื่องการดำเนินการจัดสร้างสถานที่แห่งละ 10 ล้านบาท โดยกรมราชทัณฑ์อยู่ระหว่างพิจารณากำหนดจำนวนสถานที่เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--