นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) ครั้งที่ 2/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) ครั้งที่ 2/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ที่ประชุมรับทราบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2551 ที่เห็นชอบเกี่ยวกับการบริหารระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติแบบบูรณาการ และให้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบ ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 โดยแต่งตั้งให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการจัดการฝึกซ้อมการเตือนภัยดังกล่าว
พร้อมรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบ ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 ซึ่งมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน และรับทราบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเล อันดามัน ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมการอำนวยการ ฯ 2) คณะอนุกรรมการระบบเตือนภัย 3) คณะอนุกรรมการฝึกซ้อมแผนอพยพหลบภัยสึนามิ และ 4) คณะอนุกรรมการการประชาสัมพันธ์การฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิ โดยมอบหมายให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการประสานงานระหว่างคณะอนุกรรมการ
รวมถึงยังรับทราบการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบ ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 (ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ/กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ซึ่งสรุปได้ ดังนี้ 1) แผนขั้นตอนปฏิบัติการในการซ้อมระบบการเตือนภัย คณะกรรมการด้านระบบเตือนภัย ได้จัดทำแผนขั้นตอนปฏิบัติการเตือนภัย โดยมีการสมมติสถานการณ์แผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน ซึ่งคาดว่าจะเกิดสึนามิ และเมื่อถึงเวลา 09.48 น. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะประกาศแจ้งเตือนภัยมายังพื้นที่และเปิดสัญญาณเตือนภัยให้ประชาชนอพยพ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม 2) ความพร้อมของระบบเตือนภัย คณะกรรมการตรวจสอบความพร้อมของหอเตือนภัย ฯ ได้มีการตรวจสอบความพร้อมของระบบและหอเตือนภัยในพื้นที่ทำการฝึกซ้อมทั้ 6 จังหวัด ชายฝั่งทะเลอันดามัน และได้มีหนังสือนำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด ทราบ และขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบแล้ว และ 3) ทางด้านพิธีการ ได้มีหนังสือถึงองค์กรระหว่างประเทศที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานงานร่วมกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และสถานทูตของประเทศต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักในแถบจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย เช่น สวีเดน นอร์เวย์ เป็นต้น เข้าร่วมงานการฝึกซ้อมดังกล่าวด้วย พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ลงไปสังเกตการณ์และประเมินผลก่อนและหลังการฝึกซ้อม ร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ทั้ง 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อนำมาสรุปรายงานผลการฝึกซ้อมต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคเหนือ ตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีบัญชาให้มีการเตรียมการฝึกซ้อม ฯ อย่างเร่งด่วน โดยมอบให้นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารระบบเตือนภัยแห่งชาติ และปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยแห่งชาติ เป็นผู้เตรียมการฝึกซ้อมดังกล่าว โดยเห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมในแบบการสร้างองค์ความรู้ทางด้านภัยพิบัติให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน นักเรียน และนักศึกษา แบบมีส่วนร่วม โดยมีรูปแบบในการนำเสนอแบบจำลองสถานการณ์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้ทราบขั้นตอนภัยพิบัติ การปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยพิบัติ อาทิ ภัยจากแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินถล่มและ ไฟป่า เป็นต้น รวมทั้งจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ พร้อมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือ เพื่อบูรณาการงานที่มีความเกี่ยวเนื่องกันให้สอดคล้องในการฝึกซ้อม ฯ ในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อนำไปเป็นกรณีศึกษา เพื่อจัดทำเป็นคู่มือในการปฏิบัติ แจกจ่ายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไว้ใช้ในการปฏิบัติภารกิจเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง
รวมทั้งยังเห็นชอบการเตรียมงานในการจัดทำ Workshop เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมแบบบูรณาการ และจัดทำคู่มือแจกจ่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนเป็นการเร่งด่วนตามที่ กภช.เสนอ โดยมอบให้ฝ่ายเลขานุการไปพิจารณาในรายละเอียดในการกำหนดวันเวลาและสถานที่ในการที่จะดำเนินการต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กภช.) ครั้งที่ 2/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ที่ประชุมรับทราบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2551 ที่เห็นชอบเกี่ยวกับการบริหารระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติแบบบูรณาการ และให้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบ ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 โดยแต่งตั้งให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการจัดการฝึกซ้อมการเตือนภัยดังกล่าว
พร้อมรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบ ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 ซึ่งมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน และรับทราบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเล อันดามัน ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมการอำนวยการ ฯ 2) คณะอนุกรรมการระบบเตือนภัย 3) คณะอนุกรรมการฝึกซ้อมแผนอพยพหลบภัยสึนามิ และ 4) คณะอนุกรรมการการประชาสัมพันธ์การฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิ โดยมอบหมายให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการประสานงานระหว่างคณะอนุกรรมการ
รวมถึงยังรับทราบการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบ ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 (ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ/กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ซึ่งสรุปได้ ดังนี้ 1) แผนขั้นตอนปฏิบัติการในการซ้อมระบบการเตือนภัย คณะกรรมการด้านระบบเตือนภัย ได้จัดทำแผนขั้นตอนปฏิบัติการเตือนภัย โดยมีการสมมติสถานการณ์แผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน ซึ่งคาดว่าจะเกิดสึนามิ และเมื่อถึงเวลา 09.48 น. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะประกาศแจ้งเตือนภัยมายังพื้นที่และเปิดสัญญาณเตือนภัยให้ประชาชนอพยพ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม 2) ความพร้อมของระบบเตือนภัย คณะกรรมการตรวจสอบความพร้อมของหอเตือนภัย ฯ ได้มีการตรวจสอบความพร้อมของระบบและหอเตือนภัยในพื้นที่ทำการฝึกซ้อมทั้ 6 จังหวัด ชายฝั่งทะเลอันดามัน และได้มีหนังสือนำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด ทราบ และขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบแล้ว และ 3) ทางด้านพิธีการ ได้มีหนังสือถึงองค์กรระหว่างประเทศที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานงานร่วมกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และสถานทูตของประเทศต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักในแถบจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย เช่น สวีเดน นอร์เวย์ เป็นต้น เข้าร่วมงานการฝึกซ้อมดังกล่าวด้วย พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ลงไปสังเกตการณ์และประเมินผลก่อนและหลังการฝึกซ้อม ร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ทั้ง 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อนำมาสรุปรายงานผลการฝึกซ้อมต่อไป
นอกจากนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคเหนือ ตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีบัญชาให้มีการเตรียมการฝึกซ้อม ฯ อย่างเร่งด่วน โดยมอบให้นายศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารระบบเตือนภัยแห่งชาติ และปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยแห่งชาติ เป็นผู้เตรียมการฝึกซ้อมดังกล่าว โดยเห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมในแบบการสร้างองค์ความรู้ทางด้านภัยพิบัติให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน นักเรียน และนักศึกษา แบบมีส่วนร่วม โดยมีรูปแบบในการนำเสนอแบบจำลองสถานการณ์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้ทราบขั้นตอนภัยพิบัติ การปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยพิบัติ อาทิ ภัยจากแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินถล่มและ ไฟป่า เป็นต้น รวมทั้งจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ พร้อมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือ เพื่อบูรณาการงานที่มีความเกี่ยวเนื่องกันให้สอดคล้องในการฝึกซ้อม ฯ ในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อนำไปเป็นกรณีศึกษา เพื่อจัดทำเป็นคู่มือในการปฏิบัติ แจกจ่ายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไว้ใช้ในการปฏิบัติภารกิจเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง
รวมทั้งยังเห็นชอบการเตรียมงานในการจัดทำ Workshop เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมแบบบูรณาการ และจัดทำคู่มือแจกจ่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนเป็นการเร่งด่วนตามที่ กภช.เสนอ โดยมอบให้ฝ่ายเลขานุการไปพิจารณาในรายละเอียดในการกำหนดวันเวลาและสถานที่ในการที่จะดำเนินการต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--