คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ อาคารรัฐสภา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้แถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ
คณะรัฐมนตรีขอเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้
หลักการ
ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นจำนวนไม่เกิน 1,835,000,000,000 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เป็นจำนวน 1,807,459,822,500 บาท และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน 27,540,177,500 บาท
เหตุผล
1. เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ได้มีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 สำหรับใช้เป็นหลัก ในการจ่ายเงินแผ่นดิน
2. เพื่อปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังที่กำหนดให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังที่ได้จ่ายไปแล้ว
ท่านประธานที่เคารพ
รัฐบาลขออนุญาตเสนอคำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ฉบับสมบูรณ์เป็นเอกสาร และขอเสนอสรุปสาระสำคัญบางประการ ดังนี้
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่คณะรัฐมนตรีนำเสนอต่อท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติให้พิจารณาในวันนี้ มีสาระสำคัญในการมุ่งเน้นการนำงบประมาณรายจ่ายมาเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่มีความรุนแรงและยืดเยื้อ และการแก้ไขปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ ได้แก่ การดูแลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การลดรายจ่ายของประชาชน การเพิ่มรายได้ของประชาชน การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างสังคมที่สงบสุขบนพื้นฐานของความสมานฉันท์
2. ระยะการบริหาร 4 ปีของรัฐบาล เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนไทย และต่างประเทศ และประชาคมโลก ตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา
การดำเนินงานของรัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญกับบทบาท การมีส่วนร่วมของประชาชน และกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อให้อยู่ในกรอบการบริหารประเทศตามหลักธรรมาภิบาล ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ก่อนที่จะแถลงสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ขอรายงานให้ทราบถึงภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ฐานะและนโยบายการเงินการคลังของประเทศ ดังต่อไปนี้
ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2551 คาดว่าจะมีการขยายตัวร้อยละ 6.0 จากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน ปริมาณผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวดี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.1 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0
การขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะ 9 เดือนหลังของปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีผลกระทบจากราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ยังคงเป็นการขยายตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ และการส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลได้เร่งดำเนินการตามมาตรการประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน มาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจรากฐาน รวมทั้งการใช้มาตรการทางด้านภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบสำคัญ ได้แก่ ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและราคาอาหาร การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าและบริการ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มลดลง จากปัจจัยดังกล่าวนี้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโดยรวม ในปี 2551 ขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5 - 5.5 และมีอัตราเงินเฟ้อประมาณ ร้อยละ 5.5 - 6.0
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2552 รัฐบาลคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.5 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ต่อเนื่องจากปี 2551 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในภาคเอกชนที่เร่งตัวขึ้น ประกอบกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจรากฐาน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มส่งผลที่ชัดเจนขึ้น ในปี 2552 นอกจากนี้ รัฐบาลได้ระดมทุนจากแหล่งต่างๆ ทั้งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลให้มีความคืบหน้าตามเป้าหมาย ส่วนการดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกทางหนึ่ง
ฐานะและนโยบายการคลัง
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รัฐบาลประมาณการว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิได้ทั้งหมด จำนวน 1,657,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 จากปีก่อน และเมื่อหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 จำนวน 71,900 ล้านบาท จะคงเหลือเป็นรายได้สุทธิของ รัฐบาล จำนวน 1,585,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เบื้องต้น
ในด้านการบริหารจัดการรายจ่าย รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะนำแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาและบริหารจัดการ เพื่อให้เศรษฐกิจมีภูมิคุ้มกันและดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จึงได้กำหนดนโยบายงบประมาณ 6 ประการ ประกอบด้วย
ประการแรก ดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล โดยคำนึงถึงกรอบความยั่งยืนทางการคลัง
ประการที่สอง สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทบทวนการดำเนินงานที่มีลำดับความสำคัญลดลงหรือหมดความจำเป็นไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล
ประการที่สาม เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
ประการที่สี่ สนับสนุนการวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยกำหนดรายจ่ายลงทุนในจำนวนที่ไม่ต่ำกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
ประการที่ห้า สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ประการสุดท้าย ส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นอย่างเต็มขีดความสามารถ และเร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่น
ภายใต้กรอบนโยบายงบประมาณดังกล่าว รัฐบาลจึงได้กำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,835,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 175,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.5 ซึ่งเป็นวงเงินรายจ่ายที่กำหนดนโยบายขาดดุลงบประมาณ จำนวน 249,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้น การจัดทำวงเงินงบประมาณแบบขาดดุลดังกล่าว เป็นการสะท้อนความตั้งใจของ รัฐบาลในการดูแลปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และภาระค่าใช้จ่ายในปัจจุบันของรัฐบาลที่มีอยู่จริง จากการกำหนดนโยบายและมาตรการในการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งนี้ ยังคงคำนึงถึงการรักษาวินัยทางการคลัง และสร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นสำคัญ
ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 210,150.7 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งการบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้จัดสรรงบประมาณ เป็นรายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง จำนวนทั้งสิ้น 27,540.2 ล้านบาท เพื่อชดเชยรายจ่ายที่ได้ใช้ เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วในปีงบประมาณก่อน
ฐานะและนโยบายการเงิน
ในส่วนของนโยบายการเงิน มีการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในปี 2550 โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง 5 ครั้ง จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี เพื่อเป็นการเอื้อต่อการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศที่มีสัญญาณชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรก
สำหรับปี 2551 ในช่วงแรกของปี แม้แรงกดดันด้านราคาจะสูงขึ้นจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาโภคภัณฑ์ในตลาดโลกและมีผลต่อเนื่องไปยังต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นจึงยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างเสถียรภาพราคาควบคู่กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ฐานะทางการเงินของประเทศในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดี ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 มีจำนวน 108,943.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่สูง เพราะคิดเป็นกว่า 4 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
สาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ท่านประธานที่เคารพ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่คณะรัฐมนตรีนำเสนอต่อท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ มีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1,835,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุล โดยใช้จ่ายจากรายได้สุทธิที่จะจัดเก็บจำนวน 1,585,500 ล้านบาท เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 249,500 ล้านบาท ซึ่งวงเงินงบประมาณดังกล่าวจำแนกเป็น
- รายจ่ายประจำ จำนวน 1,336,465.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 72.8 ของวงเงินงบประมาณ
- รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 27,540.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ของวงเงินงบประมาณ
- รายจ่ายลงทุน จำนวน 407,317.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22.2 ของวงเงินงบประมาณ
- รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 63,676.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 ของวงเงินงบประมาณ
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณไว้ 8 ยุทธศาสตร์และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ โดยมีเป้าหมาย วงเงินงบประมาณ และรายละเอียดการดำเนินงานที่สำคัญ โดยสรุป ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ
จำนวน 124,470.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของวงเงินงบประมาณ โดยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในปีแรก ดังนี้
- การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติด การปราบปรามผู้มีอิทธิพล รวมทั้งกำกับ ดูแล ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และการบริการ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ
- พัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนให้มีโอกาสในการลงทุนควบคู่กับการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เพื่อการสร้างงานและรายได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการตลาด
นอกจากนี้ ยังมีการฟื้นฟูอาชีพและพักชำระหนี้ให้เกษตรกร 340,000 ราย ตลอดจนการสร้างระบบประกันความเสี่ยงของราคาสินค้าเกษตรและความเสียหายจากภัยพิบัติจากธรรมชาติ
- ให้ความรู้ในด้านการซ่อมสร้างอุปกรณ์ประกอบอาชีพชุมชน โดยศูนย์ซ่อมสร้างชุมชน 1,750 ศูนย์
- การจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการและพนักงานของรัฐวิสาหกิจ 24,600 หน่วย รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนแออัด 18,300 ครัวเรือน
- สนับสนุนและจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม โดยจัดงบประมาณเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าออกแบบ ให้กับโครงการที่มีความพร้อม เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นต้น สำหรับค่าก่อสร้างจะใช้จากแหล่งเงินกู้ทุนอื่น รวมทั้งให้มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง และส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทน และประหยัดพลังงาน
- ส่งเสริมให้ ปี 2552 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทย โดยมีเป้าหมายให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้เกิดการลงทุนภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ
- วางระบบการถือครองที่ดินและถือแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม รวมทั้ง เร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร โดยพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ชลประทานประมาณ 24 ล้านไร่ ก่อสร้างระบบชลประทานเพิ่ม 172,000 ไร่ แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 20,000 บ่อ ทั้งนี้ จะใช้แหล่งเงินทุนจากเงินนอกงบประมาณเพื่อการเพิ่มน้ำต้นทุนและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
จำนวน 534,423.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.1 ของวงเงินงบประมาณ ในการพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ มีความมั่นคงและมีสภาพแวดล้อม ที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดย
- ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา ด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายประมาณ 12 ล้านคน เร่งผลิตและพัฒนากำลังคน ในระดับอาชีวศึกษา 883,000 คน ระดับอุดมศึกษา 2.1 ล้านคน โดยสถาบันอุดมศึกษาได้นำเงินรายได้มาสมทบเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
- จัดสรรเงินทุนเพื่อการศึกษา ทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และเพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างแท้จริง จึงได้สนับสนุนเงินวิทยฐานะ ค่าตอบแทนรายเดือนตามสิทธิ และเงินประจำตำแหน่งให้แก่บุคลากรทางการศึกษา
- ส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีการประเมินคุณภาพสถานศึกษาจากภายนอก 8,000 แห่ง และจัดทดสอบวัดผลการเรียนรู้รวบยอดของผู้เรียน จำนวน 1.9 ล้านคน
- การพัฒนาสุขภาพของประชาชน เน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ควบคู่กับการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ ปรับอัตราค่าใช้จ่ายรายหัวและสิทธิประโยชน์ ในการให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มขึ้น ขยายงานอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน การพัฒนา วิจัยและถ่ายทอดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และสมุนไพร รณรงค์เรื่องกีฬา นันทนาการและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
- ในด้านการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงานให้การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับภาคการผลิตและการบริการ จัดให้มีการคุ้มครองแรงงานตามกฎหมาย 3 ล้านคน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ 2.2 ล้านคน
- เพื่อให้สังคมไทยมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม ได้เน้นให้สถาบันศาสนามีบทบาทในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยให้การศึกษาพระปริยัติธรรม จัดศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด รวมทั้งการขยายบทบาทของสภาวัฒนธรรมจังหวัดในการเฝ้าระวังและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
- ในด้านความมั่นคงของชีวิตและสังคม ได้ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ทั้งในด้านทักษะชีวิต สภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ และการคุ้มครองไม่ให้ถูกเลือกปฏิบัติ และการละเมิดสิทธิ์ รวมทั้งการหยุดยั้งขบวนการค้ามนุษย์ และความรุนแรงในครอบครัว
นอกจากนี้ ได้จัดให้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของประชาชน โดยมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบและจัดทำข้อมูลทางกายภาพเพื่อการผังเมือง การกำกับดูแลความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินที่เกี่ยวกับอาคารและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
3. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างสมดุล
จำนวน 175,990.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.6 ของวงเงินงบประมาณ โดยมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน สมดุล และมีเสถียรภาพ ประกอบด้วย
- ด้านการเงินการคลัง ให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการคลัง การบริหารรายรับรายจ่ายภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ การบริหารที่ราชพัสดุให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการศึกษาผ่านกองทุนให้กู้ยืม 1.98 ล้านคน การบริหารจัดการหนี้สาธารณะ ตลอดจนสนับสนุนความมั่นคงทางการเงินให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล
- เร่งรัดการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรให้สอดคล้องกับโอกาสทางการตลาด ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี 100,000 ตัน รวมทั้งตรวจสอบสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัย สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตของภาคอุตสาหกรรม พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่มอัตราการขยายตัวด้านการส่งออกโดยการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ พัฒนาและยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว และคุณภาพธุรกิจบริการ การรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว
- การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคม ขนส่งสินค้าและบริการ ให้กระจายและเชื่อมโยงไปสู่ชุมชน โดยก่อสร้าง ปรับปรุง บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวงและทางหลวงชนบท ยกระดับมาตรฐานทางจากถนนลูกรังเป็นถนนปลอดฝุ่น ขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร ส่งเสริมการใช้ท่าเรือเพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและลดการใช้พลังงาน
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศ กำกับดูแลธุรกิจพลังงานให้ได้มาตรฐาน สนับสนุนการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและระดับหมู่บ้าน รวมทั้งพลังงานเซลแสงอาทิตย์ และการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆ ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน
4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จำนวน 32,650.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของวงเงินงบประมาณ โดยมุ่งบริหารฐานทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตและสร้างรายได้ให้กับประชาชน ด้วยการ
- สร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพให้เหมาะสมกับพื้นที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และพื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ 174.7 ล้านไร่ ตรวจสอบรับรองสิทธิทำกินในพื้นที่ป่าสงวนให้กับประชาชน ไม่น้อยกว่า 75,000 ราย ปลูกป่าไม้ 300,000 ไร่ ป่าชายเลน 6,200 ไร่ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโลกร้อนในระยะยาว รวมทั้งปฏิบัติการด้านฝนหลวง 150 ล้านไร่
- บริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ต่อเนื่องจากนโยบายเร่งด่วน ภายใต้กลไกการบริหารจัดการน้ำทุกระดับ เสริมสร้างประสิทธิภาพโดยพัฒนา ฟื้นฟูแหล่งน้ำ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ระบบการส่งน้ำ การกระจายน้ำ และระบบการรองรับน้ำ เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง รวมทั้งจัดให้มีระบบเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยกว่า 230 หมู่บ้าน
- ป้องกัน และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน มีการจัดการขยะได้อย่างถูกวิธี บริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย 25 แห่ง ตลอดจนสนับสนุนการวิจัย พัฒนา การผลิตเทคโนโลยีสะอาด เพื่อลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
จำนวน 16,193.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อส่งเสริมการนำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง พัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลดาวเทียมและการใช้งานภูมิสารสนเทศของประเทศ พร้อมทั้งเสริมขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านคน จัดสรรทุนและการวิจัยด้านต่างๆ ไม่น้อยกว่า 40,000 ทุน เพื่อพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการกำหนดมาตรการจูงใจให้ภาคเอกชนมีการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนามากขึ้น
6. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
จำนวน 8,970.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและสร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศ เสริมสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ดำเนินภารกิจต่างประเทศแบบบูรณาการ เจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ พร้อมทั้งคุ้มครอง คนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ
7. ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ
จำนวน 187,571.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.2 ของวงเงินงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อ
- การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ภายใต้กรอบของกฎหมาย เทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมี
คุณธรรม จริยธรรมและมีวินัย
- การเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศให้มีความมั่นคง ให้กองทัพมีสมรรถนะ มีความพร้อม ทันสมัย มีศักยภาพในการพิทักษ์รักษาความมั่นคง อธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้ง การปฏิรูประบบ ข่าวกรองเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคง ปลอดภัย และรักษาผลประโยชน์ของชาติ
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทั้งทางบกและทางทะเล รวมทั้งการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูความเสียหายจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
8. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี
จำนวน 301,585.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 16.4 ของวงเงินงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อ
- การบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัย เพื่อบริการประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีธรรมาภิบาล
- การส่งเสริมการกระจายอำนาจ และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นและสามารถพึ่งพารายได้ของตนเอง รวมทั้งให้ความสำคัญในการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าอย่างแท้จริงและเร่งรัดดำเนินการถ่ายโอนให้เกิดผล ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ประมาณการรายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเองและรายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บและแบ่งให้มีจำนวน 249,830.8 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้อีก จำนวน 150,500 ล้านบาท ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีรายได้รวมทั้งสิ้น 400,338.8 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 25.25 ของรายได้สุทธิของรัฐบาล
- การบริหารจังหวัด เพื่อประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ให้เอื้อต่อการลงทุนในจังหวัด รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ทางกฎหมาย สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามปัญหาการทุจริตในภาครัฐ
- การสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นอิสระ อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างเสมอภาค ป้องกันและปราบปรามปัญหาการทุจริตในภาคการเมือง และป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน
9. รายการค่าดำเนินการภาครัฐ
จำนวน 453,123.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.7 ของวงเงินงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อ
- การบริหารเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อให้รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ และบริหารเศรษฐกิจ สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์
- การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ และเป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ท่านประธานที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
สาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่รัฐบาลแถลงมาทั้งหมดนั้น เป็นกรอบและแนวทางหลักในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล สำหรับรายละเอียดปรากฏอยู่ในเอกสารงบประมาณที่ได้นำเสนอต่อท่านสมาชิกแล้ว
รัฐบาลเชื่อมั่นว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่นำเสนอนี้ได้แสดงให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายด้านงบประมาณ เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญของชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างสมดุล
กระผมหวังว่าท่านประธานและท่านสมาชิก จะได้พิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อรัฐบาลจะได้ยึดถือเป็นหลักในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน และขอยืนยันกับท่านทั้งหลายว่ารัฐบาลนี้จะมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยยึดถือประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุด
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ อาคารรัฐสภา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้แถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ
คณะรัฐมนตรีขอเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้
หลักการ
ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นจำนวนไม่เกิน 1,835,000,000,000 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เป็นจำนวน 1,807,459,822,500 บาท และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน 27,540,177,500 บาท
เหตุผล
1. เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ได้มีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 สำหรับใช้เป็นหลัก ในการจ่ายเงินแผ่นดิน
2. เพื่อปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังที่กำหนดให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังที่ได้จ่ายไปแล้ว
ท่านประธานที่เคารพ
รัฐบาลขออนุญาตเสนอคำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ฉบับสมบูรณ์เป็นเอกสาร และขอเสนอสรุปสาระสำคัญบางประการ ดังนี้
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่คณะรัฐมนตรีนำเสนอต่อท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติให้พิจารณาในวันนี้ มีสาระสำคัญในการมุ่งเน้นการนำงบประมาณรายจ่ายมาเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่มีความรุนแรงและยืดเยื้อ และการแก้ไขปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ ได้แก่ การดูแลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การลดรายจ่ายของประชาชน การเพิ่มรายได้ของประชาชน การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างสังคมที่สงบสุขบนพื้นฐานของความสมานฉันท์
2. ระยะการบริหาร 4 ปีของรัฐบาล เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนไทย และต่างประเทศ และประชาคมโลก ตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา
การดำเนินงานของรัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญกับบทบาท การมีส่วนร่วมของประชาชน และกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อให้อยู่ในกรอบการบริหารประเทศตามหลักธรรมาภิบาล ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ก่อนที่จะแถลงสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ขอรายงานให้ทราบถึงภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ฐานะและนโยบายการเงินการคลังของประเทศ ดังต่อไปนี้
ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2551 คาดว่าจะมีการขยายตัวร้อยละ 6.0 จากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน ปริมาณผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวดี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.1 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0
การขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะ 9 เดือนหลังของปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีผลกระทบจากราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ยังคงเป็นการขยายตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ และการส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลได้เร่งดำเนินการตามมาตรการประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน มาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจรากฐาน รวมทั้งการใช้มาตรการทางด้านภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบสำคัญ ได้แก่ ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและราคาอาหาร การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าและบริการ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มลดลง จากปัจจัยดังกล่าวนี้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโดยรวม ในปี 2551 ขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5 - 5.5 และมีอัตราเงินเฟ้อประมาณ ร้อยละ 5.5 - 6.0
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2552 รัฐบาลคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.5 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ต่อเนื่องจากปี 2551 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในภาคเอกชนที่เร่งตัวขึ้น ประกอบกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจรากฐาน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มส่งผลที่ชัดเจนขึ้น ในปี 2552 นอกจากนี้ รัฐบาลได้ระดมทุนจากแหล่งต่างๆ ทั้งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลให้มีความคืบหน้าตามเป้าหมาย ส่วนการดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกทางหนึ่ง
ฐานะและนโยบายการคลัง
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รัฐบาลประมาณการว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิได้ทั้งหมด จำนวน 1,657,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 จากปีก่อน และเมื่อหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 จำนวน 71,900 ล้านบาท จะคงเหลือเป็นรายได้สุทธิของ รัฐบาล จำนวน 1,585,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เบื้องต้น
ในด้านการบริหารจัดการรายจ่าย รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะนำแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาและบริหารจัดการ เพื่อให้เศรษฐกิจมีภูมิคุ้มกันและดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จึงได้กำหนดนโยบายงบประมาณ 6 ประการ ประกอบด้วย
ประการแรก ดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล โดยคำนึงถึงกรอบความยั่งยืนทางการคลัง
ประการที่สอง สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐทบทวนการดำเนินงานที่มีลำดับความสำคัญลดลงหรือหมดความจำเป็นไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล
ประการที่สาม เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
ประการที่สี่ สนับสนุนการวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยกำหนดรายจ่ายลงทุนในจำนวนที่ไม่ต่ำกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
ประการที่ห้า สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ประการสุดท้าย ส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นอย่างเต็มขีดความสามารถ และเร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่น
ภายใต้กรอบนโยบายงบประมาณดังกล่าว รัฐบาลจึงได้กำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,835,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 175,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.5 ซึ่งเป็นวงเงินรายจ่ายที่กำหนดนโยบายขาดดุลงบประมาณ จำนวน 249,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้น การจัดทำวงเงินงบประมาณแบบขาดดุลดังกล่าว เป็นการสะท้อนความตั้งใจของ รัฐบาลในการดูแลปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และภาระค่าใช้จ่ายในปัจจุบันของรัฐบาลที่มีอยู่จริง จากการกำหนดนโยบายและมาตรการในการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งนี้ ยังคงคำนึงถึงการรักษาวินัยทางการคลัง และสร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นสำคัญ
ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 210,150.7 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งการบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้จัดสรรงบประมาณ เป็นรายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลัง จำนวนทั้งสิ้น 27,540.2 ล้านบาท เพื่อชดเชยรายจ่ายที่ได้ใช้ เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วในปีงบประมาณก่อน
ฐานะและนโยบายการเงิน
ในส่วนของนโยบายการเงิน มีการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในปี 2550 โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง 5 ครั้ง จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี เพื่อเป็นการเอื้อต่อการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศที่มีสัญญาณชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีแรก
สำหรับปี 2551 ในช่วงแรกของปี แม้แรงกดดันด้านราคาจะสูงขึ้นจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาโภคภัณฑ์ในตลาดโลกและมีผลต่อเนื่องไปยังต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นจึงยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างเสถียรภาพราคาควบคู่กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ฐานะทางการเงินของประเทศในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดี ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 มีจำนวน 108,943.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่สูง เพราะคิดเป็นกว่า 4 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
สาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
ท่านประธานที่เคารพ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่คณะรัฐมนตรีนำเสนอต่อท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ มีวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 1,835,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุล โดยใช้จ่ายจากรายได้สุทธิที่จะจัดเก็บจำนวน 1,585,500 ล้านบาท เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 249,500 ล้านบาท ซึ่งวงเงินงบประมาณดังกล่าวจำแนกเป็น
- รายจ่ายประจำ จำนวน 1,336,465.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 72.8 ของวงเงินงบประมาณ
- รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 27,540.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.5 ของวงเงินงบประมาณ
- รายจ่ายลงทุน จำนวน 407,317.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22.2 ของวงเงินงบประมาณ
- รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 63,676.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5 ของวงเงินงบประมาณ
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณไว้ 8 ยุทธศาสตร์และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ โดยมีเป้าหมาย วงเงินงบประมาณ และรายละเอียดการดำเนินงานที่สำคัญ โดยสรุป ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ
จำนวน 124,470.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของวงเงินงบประมาณ โดยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในปีแรก ดังนี้
- การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติด การปราบปรามผู้มีอิทธิพล รวมทั้งกำกับ ดูแล ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค และการบริการ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ
- พัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนให้มีโอกาสในการลงทุนควบคู่กับการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เพื่อการสร้างงานและรายได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการตลาด
นอกจากนี้ ยังมีการฟื้นฟูอาชีพและพักชำระหนี้ให้เกษตรกร 340,000 ราย ตลอดจนการสร้างระบบประกันความเสี่ยงของราคาสินค้าเกษตรและความเสียหายจากภัยพิบัติจากธรรมชาติ
- ให้ความรู้ในด้านการซ่อมสร้างอุปกรณ์ประกอบอาชีพชุมชน โดยศูนย์ซ่อมสร้างชุมชน 1,750 ศูนย์
- การจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการและพนักงานของรัฐวิสาหกิจ 24,600 หน่วย รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนแออัด 18,300 ครัวเรือน
- สนับสนุนและจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม โดยจัดงบประมาณเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าออกแบบ ให้กับโครงการที่มีความพร้อม เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นต้น สำหรับค่าก่อสร้างจะใช้จากแหล่งเงินกู้ทุนอื่น รวมทั้งให้มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง และส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทน และประหยัดพลังงาน
- ส่งเสริมให้ ปี 2552 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทย โดยมีเป้าหมายให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่น เพื่อให้เกิดการลงทุนภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ
- วางระบบการถือครองที่ดินและถือแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม รวมทั้ง เร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร โดยพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ชลประทานประมาณ 24 ล้านไร่ ก่อสร้างระบบชลประทานเพิ่ม 172,000 ไร่ แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 20,000 บ่อ ทั้งนี้ จะใช้แหล่งเงินทุนจากเงินนอกงบประมาณเพื่อการเพิ่มน้ำต้นทุนและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
จำนวน 534,423.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.1 ของวงเงินงบประมาณ ในการพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ มีความมั่นคงและมีสภาพแวดล้อม ที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดย
- ขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา ด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายประมาณ 12 ล้านคน เร่งผลิตและพัฒนากำลังคน ในระดับอาชีวศึกษา 883,000 คน ระดับอุดมศึกษา 2.1 ล้านคน โดยสถาบันอุดมศึกษาได้นำเงินรายได้มาสมทบเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
- จัดสรรเงินทุนเพื่อการศึกษา ทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และเพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างแท้จริง จึงได้สนับสนุนเงินวิทยฐานะ ค่าตอบแทนรายเดือนตามสิทธิ และเงินประจำตำแหน่งให้แก่บุคลากรทางการศึกษา
- ส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีการประเมินคุณภาพสถานศึกษาจากภายนอก 8,000 แห่ง และจัดทดสอบวัดผลการเรียนรู้รวบยอดของผู้เรียน จำนวน 1.9 ล้านคน
- การพัฒนาสุขภาพของประชาชน เน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ควบคู่กับการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ ปรับอัตราค่าใช้จ่ายรายหัวและสิทธิประโยชน์ ในการให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มขึ้น ขยายงานอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน การพัฒนา วิจัยและถ่ายทอดความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และสมุนไพร รณรงค์เรื่องกีฬา นันทนาการและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
- ในด้านการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงานให้การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับภาคการผลิตและการบริการ จัดให้มีการคุ้มครองแรงงานตามกฎหมาย 3 ล้านคน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ 2.2 ล้านคน
- เพื่อให้สังคมไทยมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม ได้เน้นให้สถาบันศาสนามีบทบาทในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยให้การศึกษาพระปริยัติธรรม จัดศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด รวมทั้งการขยายบทบาทของสภาวัฒนธรรมจังหวัดในการเฝ้าระวังและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
- ในด้านความมั่นคงของชีวิตและสังคม ได้ส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ทั้งในด้านทักษะชีวิต สภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ และการคุ้มครองไม่ให้ถูกเลือกปฏิบัติ และการละเมิดสิทธิ์ รวมทั้งการหยุดยั้งขบวนการค้ามนุษย์ และความรุนแรงในครอบครัว
นอกจากนี้ ได้จัดให้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของประชาชน โดยมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบและจัดทำข้อมูลทางกายภาพเพื่อการผังเมือง การกำกับดูแลความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินที่เกี่ยวกับอาคารและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
3. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างสมดุล
จำนวน 175,990.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.6 ของวงเงินงบประมาณ โดยมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน สมดุล และมีเสถียรภาพ ประกอบด้วย
- ด้านการเงินการคลัง ให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการคลัง การบริหารรายรับรายจ่ายภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ การบริหารที่ราชพัสดุให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการศึกษาผ่านกองทุนให้กู้ยืม 1.98 ล้านคน การบริหารจัดการหนี้สาธารณะ ตลอดจนสนับสนุนความมั่นคงทางการเงินให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล
- เร่งรัดการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรให้สอดคล้องกับโอกาสทางการตลาด ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี 100,000 ตัน รวมทั้งตรวจสอบสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัย สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตของภาคอุตสาหกรรม พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่มอัตราการขยายตัวด้านการส่งออกโดยการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ พัฒนาและยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว และคุณภาพธุรกิจบริการ การรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว
- การพัฒนาโครงข่ายการคมนาคม ขนส่งสินค้าและบริการ ให้กระจายและเชื่อมโยงไปสู่ชุมชน โดยก่อสร้าง ปรับปรุง บูรณะ และบำรุงรักษาทางหลวงและทางหลวงชนบท ยกระดับมาตรฐานทางจากถนนลูกรังเป็นถนนปลอดฝุ่น ขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร ส่งเสริมการใช้ท่าเรือเพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและลดการใช้พลังงาน
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศ กำกับดูแลธุรกิจพลังงานให้ได้มาตรฐาน สนับสนุนการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและระดับหมู่บ้าน รวมทั้งพลังงานเซลแสงอาทิตย์ และการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆ ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน
4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จำนวน 32,650.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของวงเงินงบประมาณ โดยมุ่งบริหารฐานทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตและสร้างรายได้ให้กับประชาชน ด้วยการ
- สร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพให้เหมาะสมกับพื้นที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และพื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ 174.7 ล้านไร่ ตรวจสอบรับรองสิทธิทำกินในพื้นที่ป่าสงวนให้กับประชาชน ไม่น้อยกว่า 75,000 ราย ปลูกป่าไม้ 300,000 ไร่ ป่าชายเลน 6,200 ไร่ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโลกร้อนในระยะยาว รวมทั้งปฏิบัติการด้านฝนหลวง 150 ล้านไร่
- บริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ต่อเนื่องจากนโยบายเร่งด่วน ภายใต้กลไกการบริหารจัดการน้ำทุกระดับ เสริมสร้างประสิทธิภาพโดยพัฒนา ฟื้นฟูแหล่งน้ำ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ระบบการส่งน้ำ การกระจายน้ำ และระบบการรองรับน้ำ เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง รวมทั้งจัดให้มีระบบเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยกว่า 230 หมู่บ้าน
- ป้องกัน และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน มีการจัดการขยะได้อย่างถูกวิธี บริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย 25 แห่ง ตลอดจนสนับสนุนการวิจัย พัฒนา การผลิตเทคโนโลยีสะอาด เพื่อลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
จำนวน 16,193.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อส่งเสริมการนำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง พัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลดาวเทียมและการใช้งานภูมิสารสนเทศของประเทศ พร้อมทั้งเสริมขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กับประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านคน จัดสรรทุนและการวิจัยด้านต่างๆ ไม่น้อยกว่า 40,000 ทุน เพื่อพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการกำหนดมาตรการจูงใจให้ภาคเอกชนมีการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนามากขึ้น
6. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
จำนวน 8,970.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและสร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศ เสริมสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ดำเนินภารกิจต่างประเทศแบบบูรณาการ เจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ พร้อมทั้งคุ้มครอง คนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ
7. ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ
จำนวน 187,571.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.2 ของวงเงินงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อ
- การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ภายใต้กรอบของกฎหมาย เทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมี
คุณธรรม จริยธรรมและมีวินัย
- การเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศให้มีความมั่นคง ให้กองทัพมีสมรรถนะ มีความพร้อม ทันสมัย มีศักยภาพในการพิทักษ์รักษาความมั่นคง อธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ รวมทั้ง การปฏิรูประบบ ข่าวกรองเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคง ปลอดภัย และรักษาผลประโยชน์ของชาติ
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทั้งทางบกและทางทะเล รวมทั้งการป้องกันแก้ไขและฟื้นฟูความเสียหายจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
8. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี
จำนวน 301,585.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 16.4 ของวงเงินงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อ
- การบริหารจัดการภาครัฐให้ทันสมัย เพื่อบริการประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีธรรมาภิบาล
- การส่งเสริมการกระจายอำนาจ และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นและสามารถพึ่งพารายได้ของตนเอง รวมทั้งให้ความสำคัญในการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าอย่างแท้จริงและเร่งรัดดำเนินการถ่ายโอนให้เกิดผล ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ประมาณการรายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเองและรายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บและแบ่งให้มีจำนวน 249,830.8 ล้านบาท เมื่อรวมกับเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้อีก จำนวน 150,500 ล้านบาท ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีรายได้รวมทั้งสิ้น 400,338.8 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 25.25 ของรายได้สุทธิของรัฐบาล
- การบริหารจังหวัด เพื่อประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ให้เอื้อต่อการลงทุนในจังหวัด รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ทางกฎหมาย สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามปัญหาการทุจริตในภาครัฐ
- การสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นอิสระ อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างเสมอภาค ป้องกันและปราบปรามปัญหาการทุจริตในภาคการเมือง และป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน
9. รายการค่าดำเนินการภาครัฐ
จำนวน 453,123.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.7 ของวงเงินงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อ
- การบริหารเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อให้รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ และบริหารเศรษฐกิจ สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์
- การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ และเป็นรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ท่านประธานที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
สาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่รัฐบาลแถลงมาทั้งหมดนั้น เป็นกรอบและแนวทางหลักในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล สำหรับรายละเอียดปรากฏอยู่ในเอกสารงบประมาณที่ได้นำเสนอต่อท่านสมาชิกแล้ว
รัฐบาลเชื่อมั่นว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่นำเสนอนี้ได้แสดงให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายด้านงบประมาณ เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญของชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างสมดุล
กระผมหวังว่าท่านประธานและท่านสมาชิก จะได้พิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อรัฐบาลจะได้ยึดถือเป็นหลักในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน และขอยืนยันกับท่านทั้งหลายว่ารัฐบาลนี้จะมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยยึดถือประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุด
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--