รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุรัฐบาลเปิดให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจผ่านกระบวนการรัฐสภา เพื่อเป็นตัวชี้วัดปัญหาและความคลางแคลงสงสัยของทุกฝ่าย
วันนี้ (23 มิ.ย.) เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงการที่รัฐบาลเปิดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า รัฐบาลได้เปิดให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ มีกลุ่มคนใช้วิธีการการเมืองนอกระบบ และการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกถนน โดยมีเป้าหมายโค่นล้มขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดแรงตึงเครียดแรงเสียดทานและปลดชนวนอันจะนำไปสู่เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ นายกรัฐมนตรีจึงให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจผ่านกระบวนการรัฐสภาที่จะเป็นตัวชี้วัดปัญหาและความคลางแคลงสงสัยของทุกฝ่าย รวมทั้งความสงสัยของประชาชนในสังคม
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตว่าการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ ไม่ได้มีความต้องการหรือคาดหวังว่าจะได้อภิปราย เพราะรัฐบาลชุดนี้เพิ่งทำงานได้เพียง 4 เดือน และยังไม่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าเจตนาแท้จริงของพรรคประชาธิปัตย์ในการยื่นอภิปรายครั้งนี้เพียงเพื่อต้องการเติมเกมให้กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการเพิ่มแรงกดดันให้กับรัฐบาลในช่วงของการเคลื่อนไหวเท่านั้น นอกจากนี้ ยังต้องการให้ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจค้างอยู่ในสภา หากนายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจทางการเมืองโดยใช้ช่องทางยุบสภาไม่ได้ แต่ต้องใช้การลาออก ซึ่งตรงกับข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออก หากเป็นเช่นนี้พรรคประชาธิปัตย์จะหยิบประโยชน์จากตรงนี้ โดยการชวนพรรคร่วมรัฐบาลย้ายขั้ว เปลี่ยนข้าง แล้วดันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวยืนยันว่า การเปิดให้มีการอภิปรายไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจนตรอก แต่ฝ่ายค้านจนด้วยเกล้าคือไม่มีประเด็นที่จะนำมาอภิปรายได้อย่างมีน้ำหนักลึกซึ้งชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนเชื่อได้ว่ารัฐบาลนี้ขาดความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมือง ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จำเป็นต้องแสดงศักดิ์ศรีของพรรคการเมืองฝ่ายค้านในการทำหน้าที่อภิปราย ข้อมูลของพรรคประชาธิปัตย์จะต้องตรง จริง ลึกและชัดเจนกว่าของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะไม่เช่นนั้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อมูลของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นข้อมูลเดียวกันกับที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา เมื่อเป็นข้อมูลชุดเดียวกันจะปฏิเสธความเกี่ยวพันกันได้อย่างไร ความจริงแล้วกลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ต่างหากที่เป็นนอมินีของกันและกัน ถึงขนาดมีอีกชื่อว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปัตย์ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็มีอีกสถานะหนึ่งคือกลุ่มพันธมิตรฯ เงา ซึ่งไม่แน่ใจว่าระหว่างหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯใครจะมีสถานะนำใครจะมีสถานะเหนือกว่ากัน
พร้อมกันนี้ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์นำนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.ของพรรค ลงจากเวทีกลุ่มพันธมิตรฯ และร่วมกระบวนการรัฐสภา ที่เป็นกระบวนการที่ศักดิ์สิทธิ์และประชาชนยอมรับ หากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มีความเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาจริง จะต้องสั่งให้นายสมเกียรติยุติบทบาทบนเวทีกลุ่มพันธมิตรฯ และเข้าร่วมการอภิปรายโดยไม่มีข้อแม้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (23 มิ.ย.) เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงการที่รัฐบาลเปิดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า รัฐบาลได้เปิดให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ มีกลุ่มคนใช้วิธีการการเมืองนอกระบบ และการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกถนน โดยมีเป้าหมายโค่นล้มขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการลดแรงตึงเครียดแรงเสียดทานและปลดชนวนอันจะนำไปสู่เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ นายกรัฐมนตรีจึงให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจผ่านกระบวนการรัฐสภาที่จะเป็นตัวชี้วัดปัญหาและความคลางแคลงสงสัยของทุกฝ่าย รวมทั้งความสงสัยของประชาชนในสังคม
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตว่าการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนี้ ไม่ได้มีความต้องการหรือคาดหวังว่าจะได้อภิปราย เพราะรัฐบาลชุดนี้เพิ่งทำงานได้เพียง 4 เดือน และยังไม่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าเจตนาแท้จริงของพรรคประชาธิปัตย์ในการยื่นอภิปรายครั้งนี้เพียงเพื่อต้องการเติมเกมให้กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการเพิ่มแรงกดดันให้กับรัฐบาลในช่วงของการเคลื่อนไหวเท่านั้น นอกจากนี้ ยังต้องการให้ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจค้างอยู่ในสภา หากนายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจทางการเมืองโดยใช้ช่องทางยุบสภาไม่ได้ แต่ต้องใช้การลาออก ซึ่งตรงกับข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออก หากเป็นเช่นนี้พรรคประชาธิปัตย์จะหยิบประโยชน์จากตรงนี้ โดยการชวนพรรคร่วมรัฐบาลย้ายขั้ว เปลี่ยนข้าง แล้วดันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวยืนยันว่า การเปิดให้มีการอภิปรายไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจนตรอก แต่ฝ่ายค้านจนด้วยเกล้าคือไม่มีประเด็นที่จะนำมาอภิปรายได้อย่างมีน้ำหนักลึกซึ้งชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนเชื่อได้ว่ารัฐบาลนี้ขาดความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมือง ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จำเป็นต้องแสดงศักดิ์ศรีของพรรคการเมืองฝ่ายค้านในการทำหน้าที่อภิปราย ข้อมูลของพรรคประชาธิปัตย์จะต้องตรง จริง ลึกและชัดเจนกว่าของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะไม่เช่นนั้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อมูลของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นข้อมูลเดียวกันกับที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา เมื่อเป็นข้อมูลชุดเดียวกันจะปฏิเสธความเกี่ยวพันกันได้อย่างไร ความจริงแล้วกลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ต่างหากที่เป็นนอมินีของกันและกัน ถึงขนาดมีอีกชื่อว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปัตย์ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็มีอีกสถานะหนึ่งคือกลุ่มพันธมิตรฯ เงา ซึ่งไม่แน่ใจว่าระหว่างหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯใครจะมีสถานะนำใครจะมีสถานะเหนือกว่ากัน
พร้อมกันนี้ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์นำนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.ของพรรค ลงจากเวทีกลุ่มพันธมิตรฯ และร่วมกระบวนการรัฐสภา ที่เป็นกระบวนการที่ศักดิ์สิทธิ์และประชาชนยอมรับ หากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มีความเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาจริง จะต้องสั่งให้นายสมเกียรติยุติบทบาทบนเวทีกลุ่มพันธมิตรฯ และเข้าร่วมการอภิปรายโดยไม่มีข้อแม้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--