รองนายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตรฯ ทบทวนและคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการชุมนุม เพราะหากการชุมนุมยืดเยื้ออาจกระทบต่อการลงทุนระยะกลางและระยะยาวอย่างแน่นอน
วันนี้ (20 มิ.ย.) เวลา 16.30 น. ที่กระทรวงการคลัง นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่สามารถเคลื่อนมายึดพื้นที่บริเวณถนนพิษณุโลกด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลได้ว่า การประกาศชัยชนะของกลุ่มพันธมิตรฯ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่สามารถประกาศชัยชนะได้ แต่ชัยชนะนี้เป็นชัยชนะบนความบอบช้ำของประเทศ และบนความเดือดร้อนของประชาชน จึงอยากเรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ทบทวนและคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย
ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายมองว่าหากรัฐบาลยอมให้ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยุติการชุมนุมได้นั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าไม่ไช่ เพราะเป้าหมายหลักคือต้องการให้รัฐบาลลาออกเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันว่าถ้าหากมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วกลุ่มพันธมิตรฯ จะยุติความเคลื่อนไหว และเชื่อว่าฝ่ายค้านก็คงให้หลักประกันไม่ได้เช่นกันว่ากลุ่มพันธมิตรฯ จะยุติการดำเนินการต่างๆ ซึ่งการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนการของรัฐสภา ทางรัฐบาลก็ไม่ได้มีความกังวลหรือหวั่นไหวที่จะตอบคำถามในการอภิปราย เพียงแต่ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามกติกา เนื่องจากการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญครั้งนี้เน้นที่จะให้มีการพิจารณาร่างพระราช บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นหลักสำคัญ และการยื่นญัตติขออภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านก็ไม่ได้มีหลักประกันว่าจะทำให้สถานการณ์การเมืองที่อยู่นอกสภานั้นดีขึ้น
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะนี้ ทำให้นักลงทุนเกิดความหวั่นไหวและไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ จนได้มีการถอนการลงทุนระยะสั้นในตลาดหลักทรัพย์และหากสถานการณ์ทางการเมืองยังยืดเยื้อ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะกลางและระยะยาวอย่างแน่นอน ทั้งนี้ รัฐบาลคำนึงถึงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลว่าเป็นสิ่งที่จะสร้างอนาคตให้กับประเทศ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ประเทศไทยต้านทานกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่ทั่วโลกกำลังประสบอยู่ขณะนี้ได้ รวมทั้งทำให้การสร้างความมั่นใจในเศรษฐกิจของประเทศไทยยังสามารถดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ รัฐบาลไม่ต้องการจะเห็นสถานการณ์การชุมนุมร้ายแรงไปมากกว่านี้อีก และไม่ต้องการเห็นความรุนแรง ความแตกแยก ที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ครั้งใหม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาอยู่ตลอดเวลา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (20 มิ.ย.) เวลา 16.30 น. ที่กระทรวงการคลัง นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่สามารถเคลื่อนมายึดพื้นที่บริเวณถนนพิษณุโลกด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลได้ว่า การประกาศชัยชนะของกลุ่มพันธมิตรฯ ดังกล่าวเป็นเรื่องที่สามารถประกาศชัยชนะได้ แต่ชัยชนะนี้เป็นชัยชนะบนความบอบช้ำของประเทศ และบนความเดือดร้อนของประชาชน จึงอยากเรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ทบทวนและคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย
ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายมองว่าหากรัฐบาลยอมให้ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยุติการชุมนุมได้นั้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าไม่ไช่ เพราะเป้าหมายหลักคือต้องการให้รัฐบาลลาออกเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันว่าถ้าหากมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วกลุ่มพันธมิตรฯ จะยุติความเคลื่อนไหว และเชื่อว่าฝ่ายค้านก็คงให้หลักประกันไม่ได้เช่นกันว่ากลุ่มพันธมิตรฯ จะยุติการดำเนินการต่างๆ ซึ่งการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนการของรัฐสภา ทางรัฐบาลก็ไม่ได้มีความกังวลหรือหวั่นไหวที่จะตอบคำถามในการอภิปราย เพียงแต่ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามกติกา เนื่องจากการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญครั้งนี้เน้นที่จะให้มีการพิจารณาร่างพระราช บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นหลักสำคัญ และการยื่นญัตติขออภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านก็ไม่ได้มีหลักประกันว่าจะทำให้สถานการณ์การเมืองที่อยู่นอกสภานั้นดีขึ้น
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ขณะนี้ ทำให้นักลงทุนเกิดความหวั่นไหวและไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ จนได้มีการถอนการลงทุนระยะสั้นในตลาดหลักทรัพย์และหากสถานการณ์ทางการเมืองยังยืดเยื้อ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในระยะกลางและระยะยาวอย่างแน่นอน ทั้งนี้ รัฐบาลคำนึงถึงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลว่าเป็นสิ่งที่จะสร้างอนาคตให้กับประเทศ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ประเทศไทยต้านทานกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่ทั่วโลกกำลังประสบอยู่ขณะนี้ได้ รวมทั้งทำให้การสร้างความมั่นใจในเศรษฐกิจของประเทศไทยยังสามารถดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ รัฐบาลไม่ต้องการจะเห็นสถานการณ์การชุมนุมร้ายแรงไปมากกว่านี้อีก และไม่ต้องการเห็นความรุนแรง ความแตกแยก ที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ครั้งใหม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาอยู่ตลอดเวลา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--