รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงแผนที่หลังกัมพูชาลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ยืนยันไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดล้ำเข้ามาในพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อน ไทยสามารถรักษาสิทธิทางเขตแดนไว้ได้อย่างสมบูรณ์
ตามที่กัมพูชาได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการมรดกโลกขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคม 2551 นั้น
วันนี้ (18 มิ.ย.) เวลา 14.00 น. ณ ห้องรับรองชั้นล่าง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมความเห็นชอบจากรัฐบาลทั้งสองฝ่ายระหว่างไทยกับกัมพูชา ในการขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ผ่านเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย
จากนั้น เวลา 14.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวเกี่ยวกับการดำเนินการของฝ่ายไทย กรณีกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยมีนายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พลโทแดน มีชูอรรถ เจ้ากรมแผนที่ทหาร กองทัพไทย พลโทสุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และนายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมด้วย สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการทางการทูตอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง โดยประสานงานร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคง โดยเฉพาะในเรื่องแผนที่ที่แนบในการยื่นขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชาในเดือนมกราคม 2549 เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวมีบางส่วนที่ล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ที่ไทยอ้างสิทธิทับซ้อนทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ (พื้นที่ทับซ้อนทั้งหมดประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้คัดค้านการขึ้นทะเบียนในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อมิให้การดำเนินการดังกล่าวของกัมพูชากระทบต่ออธิปไตยของไทย
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือเรื่องนี้กับ นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยมีผู้แทนระดับสูงของยูเนสโกเข้าร่วมด้วย ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ดังนี้
1. ไทยจะสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกซึ่งเสนอโดยกัมพูชา
2. กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร โดยฝ่ายกัมพูชาจะจัดทำแผนที่ฉบับใหม่แสดงขอบเขตปราสาทพระวิหารเพื่อใช้แทนแผนที่ฉบับเดิมที่กัมพูชาใช้ประกอบคำขอขึ้นทะเบียน
3. การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของแต่ละฝ่ายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม
4.ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันจัดทำแผนบริหารจัดการในพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนโดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อเสนอคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ด้วย
ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชาได้บันทึกข้อตกลงไว้เป็นร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ซึ่งจะลงนามเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลของทั้งสองฝ่ายแล้ว
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 กระทรวงการต่างประเทศได้รับแผนที่ฉบับใหม่จากฝ่ายกัมพูชาที่จะใช้แทนแผนที่เดิมที่ยื่นไว้เมื่อปี 2549 และได้ขอความร่วมมือกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ตรวจสอบข้อมูลใน ภูมิประเทศจริงเพื่อความถูกต้องชัดเจน และได้เจรจาให้ฝ่ายกัมพูชาปรับแก้แผนที่ดังกล่าวจนไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของขอบเขตของปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกล้ำพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน ซึ่งร่างแถลงการณ์ร่วมและแผนที่ฉบับใหม่นี้ได้รับความเห็นชอบจาก สภาความมั่นคงแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 และจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 โดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้มอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมกับนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเพื่อยืนยันข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายตามที่ตกลงกันไว้ในการหารือที่กรุงปารีสด้วย
การดำเนินการทั้งหมดของฝ่ายไทยสามารถบรรลุผลให้การขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชา จำกัดเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา ตามคำวินิจฉัยของศาลโลก เมื่อปี 2505 (คณะรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505) โดยไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดล้ำเข้ามาในพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อน ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยสามารถสนับสนุนการขึ้นทะเบียนในลักษณะนี้ได้ และสามารถรักษาสิทธิทางเขตแดนไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อนอีกต่อไป และไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของ แต่ละฝ่ายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันในบริเวณดังกล่าวในอนาคต
สำเนาคำแปลอย่างไม่เป็นทางการของคำแถลงการณ์ร่วม ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 เวลา 23.35 น.
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ได้มีการประชุมระหว่าง นาย สก อาน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรีของราชอาณาจักรกัมพูชา กับ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรไทย เพื่อสานต่อการหารือเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยมี นางฟรองซัวส์ ริวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก เอกอัครราชทูตฟรานเชสโก คารูโซ นายอเซดีน เบส์ชาวุช นางปาโอลา ลีออนซินี บาร์โตลี และ นายจีโอวานนี บอคคาร์ดี เข้าร่วมการประชุมด้วย
การประชุมเป็นไปอย่างฉันมิตรและด้วยความร่วมมืออันดี
ในระหว่างการประชุมทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน ดังนี้
1.ราชอาณาจักรไทยสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งเสนอโดยกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม 2551) ขอบเขตของปราสาทปรากฏตาม N.1 ในแผนที่ที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาตามที่แนบมาพร้อมนี้ ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวได้กำหนดเขตอนุรักษ์ (buffer zone) ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของตัวปราสาทไว้ด้วยดังปรากฏตาม N.2
2.ด้วยเจตนารมณ์แห่งไมตรีจิตและการประนีประนอม ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่าปราสาทพระวิหารจะได้รับการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยในชั้นนี้ไม่มีเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท
3.ให้ใช้แผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 แทน แผนที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรวมทั้ง “Schema Directeur pour la Zonage de Preah Vihear” ตลอดจนการอ้างอิงโดยรูปภาพต่างๆ ทั้งหมดที่แสดงให้เห็นถึงเขตคุ้มครอง (core zone) หรือการกำหนดเขตอื่นๆ (zonage) ในบริเวณปราสาทพระวิหารตามที่ระบุในเอกสารประกอบคำขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชา
4.ในระหว่างที่ยังไม่มีผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ในพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือดังปรากฏตาม N.3 ในแผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 ข้างต้น แผนบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการจัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาและของไทย โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อรักษาคุณค่าอันเป็นสากลที่โดดเด่นของปราสาท ทั้งนี้ ให้บรรจุแผนการบริหารจัดการดังกล่าวไว้ในแผนบริหารจัดการฉบับสุดท้ายสำหรับตัวปราสาทและพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาท ซึ่งจะต้องเสนอต่อศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในสมัยที่ 34 ในปี2553
5.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ของทั้งสองประเทศ
6.ราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก นายโคอิชิโร มัตซุอุระ สำหรับความช่วยเหลือในการอำนวยความสะดวกในกระบวนการอันนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ตามที่กัมพูชาได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการมรดกโลกขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคม 2551 นั้น
วันนี้ (18 มิ.ย.) เวลา 14.00 น. ณ ห้องรับรองชั้นล่าง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมความเห็นชอบจากรัฐบาลทั้งสองฝ่ายระหว่างไทยกับกัมพูชา ในการขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ผ่านเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย
จากนั้น เวลา 14.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวเกี่ยวกับการดำเนินการของฝ่ายไทย กรณีกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยมีนายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พลโทแดน มีชูอรรถ เจ้ากรมแผนที่ทหาร กองทัพไทย พลโทสุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และนายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมด้วย สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการทางการทูตอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง โดยประสานงานร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคง โดยเฉพาะในเรื่องแผนที่ที่แนบในการยื่นขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชาในเดือนมกราคม 2549 เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวมีบางส่วนที่ล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ที่ไทยอ้างสิทธิทับซ้อนทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ (พื้นที่ทับซ้อนทั้งหมดประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้คัดค้านการขึ้นทะเบียนในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อมิให้การดำเนินการดังกล่าวของกัมพูชากระทบต่ออธิปไตยของไทย
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือเรื่องนี้กับ นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยมีผู้แทนระดับสูงของยูเนสโกเข้าร่วมด้วย ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ดังนี้
1. ไทยจะสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกซึ่งเสนอโดยกัมพูชา
2. กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร โดยฝ่ายกัมพูชาจะจัดทำแผนที่ฉบับใหม่แสดงขอบเขตปราสาทพระวิหารเพื่อใช้แทนแผนที่ฉบับเดิมที่กัมพูชาใช้ประกอบคำขอขึ้นทะเบียน
3. การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของแต่ละฝ่ายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม
4.ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันจัดทำแผนบริหารจัดการในพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนโดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อเสนอคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ด้วย
ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชาได้บันทึกข้อตกลงไว้เป็นร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ซึ่งจะลงนามเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลของทั้งสองฝ่ายแล้ว
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 กระทรวงการต่างประเทศได้รับแผนที่ฉบับใหม่จากฝ่ายกัมพูชาที่จะใช้แทนแผนที่เดิมที่ยื่นไว้เมื่อปี 2549 และได้ขอความร่วมมือกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ตรวจสอบข้อมูลใน ภูมิประเทศจริงเพื่อความถูกต้องชัดเจน และได้เจรจาให้ฝ่ายกัมพูชาปรับแก้แผนที่ดังกล่าวจนไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของขอบเขตของปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกล้ำพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน ซึ่งร่างแถลงการณ์ร่วมและแผนที่ฉบับใหม่นี้ได้รับความเห็นชอบจาก สภาความมั่นคงแห่งชาติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 และจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 โดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้มอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมกับนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเพื่อยืนยันข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายตามที่ตกลงกันไว้ในการหารือที่กรุงปารีสด้วย
การดำเนินการทั้งหมดของฝ่ายไทยสามารถบรรลุผลให้การขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชา จำกัดเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา ตามคำวินิจฉัยของศาลโลก เมื่อปี 2505 (คณะรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505) โดยไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดล้ำเข้ามาในพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อน ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยสามารถสนับสนุนการขึ้นทะเบียนในลักษณะนี้ได้ และสามารถรักษาสิทธิทางเขตแดนไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อนอีกต่อไป และไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของ แต่ละฝ่ายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันในบริเวณดังกล่าวในอนาคต
สำเนาคำแปลอย่างไม่เป็นทางการของคำแถลงการณ์ร่วม ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 เวลา 23.35 น.
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ได้มีการประชุมระหว่าง นาย สก อาน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรีของราชอาณาจักรกัมพูชา กับ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรไทย เพื่อสานต่อการหารือเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยมี นางฟรองซัวส์ ริวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก เอกอัครราชทูตฟรานเชสโก คารูโซ นายอเซดีน เบส์ชาวุช นางปาโอลา ลีออนซินี บาร์โตลี และ นายจีโอวานนี บอคคาร์ดี เข้าร่วมการประชุมด้วย
การประชุมเป็นไปอย่างฉันมิตรและด้วยความร่วมมืออันดี
ในระหว่างการประชุมทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน ดังนี้
1.ราชอาณาจักรไทยสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งเสนอโดยกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม 2551) ขอบเขตของปราสาทปรากฏตาม N.1 ในแผนที่ที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาตามที่แนบมาพร้อมนี้ ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวได้กำหนดเขตอนุรักษ์ (buffer zone) ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของตัวปราสาทไว้ด้วยดังปรากฏตาม N.2
2.ด้วยเจตนารมณ์แห่งไมตรีจิตและการประนีประนอม ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่าปราสาทพระวิหารจะได้รับการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยในชั้นนี้ไม่มีเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท
3.ให้ใช้แผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 แทน แผนที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรวมทั้ง “Schema Directeur pour la Zonage de Preah Vihear” ตลอดจนการอ้างอิงโดยรูปภาพต่างๆ ทั้งหมดที่แสดงให้เห็นถึงเขตคุ้มครอง (core zone) หรือการกำหนดเขตอื่นๆ (zonage) ในบริเวณปราสาทพระวิหารตามที่ระบุในเอกสารประกอบคำขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชา
4.ในระหว่างที่ยังไม่มีผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ในพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือดังปรากฏตาม N.3 ในแผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 ข้างต้น แผนบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการจัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาและของไทย โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อรักษาคุณค่าอันเป็นสากลที่โดดเด่นของปราสาท ทั้งนี้ ให้บรรจุแผนการบริหารจัดการดังกล่าวไว้ในแผนบริหารจัดการฉบับสุดท้ายสำหรับตัวปราสาทและพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาท ซึ่งจะต้องเสนอต่อศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในสมัยที่ 34 ในปี2553
5.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ของทั้งสองประเทศ
6.ราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก นายโคอิชิโร มัตซุอุระ สำหรับความช่วยเหลือในการอำนวยความสะดวกในกระบวนการอันนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--