รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ที่ประชุม สมช.เห็นชอบในร่างคำแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชาและแผนที่ที่ทางประเทศกัมพูชาได้จัดทำขึ้น โดยในแผนที่ดังกล่าวนั้นจะไม่มีพื้นที่ตัวปราสาท หรือเขตพื้นที่ของตัวปราสาทที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทับซ้อน หรือรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ใด ๆ ของราชอาณาจักรไทย
วันนี้ 12.30 น. ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวว่า วันนี้กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ถึงผลการเจรจาการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารกับประเทศกัมพูชา ที่ได้มีการตกกันที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 22 —23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางและเห็นชอบในร่างคำแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชาและแผนที่ที่ทางประเทศกัมพูชาได้จัดทำขึ้น และส่งให้ไทย โดยในแผนที่ดังกล่าวนั้นจะไม่มีพื้นที่ตัวปราสาท หรือเขตพื้นที่ของตัวปราสาทที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทับซ้อน หรือรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ใด ๆ ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะทำให้ทั้งสองประเทศไม่เสียดินแดน และสามารถรักษาอธิปไตยของตัวเองได้ รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ซึ่งภายหลังจากที่ สมช.ได้อนุมัติแล้ว วันพรุ่งนี้กระทรวงการต่างประเทศจะได้นำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ซึ่งหากครม.เห็นชอบ ตนจะได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้ไปลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม โดยประเทศไทยจะได้แจ้งให้ทางประเทศกัมพูชาได้รับทราบ เพื่อประเทศกัมพูชาจะได้ส่งแผนที่ดังกล่าวไปให้กับคณะกรรมการมรดกโลก ทั้ง 21 ประเทศ เพื่อที่จะมีการได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 32 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศแคนนาดาในต้นเดือนกรกฎาคม ต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ทางทหารทั้งพล.อ.อนุพงษ์ เผ่นจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และพล.อ.วินัย ภัททิยะกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวขอบคุณและชื่นชมการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งการขอร้องไม่ให้การให้สัมภาษณ์ในเรื่องดังกล่าว เพราะเกรงอาจจะมีผลกระทบต่อการเมืองในกัมพูชาที่จะมีการเลือกตั้ง ส่วนกรณีที่ชาวกัมพูชาเข้ามาปลูกบ้านประมาณ 50 หลัง รวมทั้งวัด และตลาดในพื้นที่ทับซ้อนนั้น จะมีการแก้ไขโดยกัมพูชาและไทยต่อไป ทั้งนี้บ้าน วัด และตลาดนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2543 ซึ่งเกิดขึ้นนานแล้ว อย่างไรก็ตามจะสามารถจัดการให้เรียบร้อยได้ภายใน 2 ปี ภายใต้แผนการบริหารจัดการร่วมกัน
ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถไปทำอะไรที่จะทำให้เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะทุกอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และพร้อมที่จะให้ฝ่ายค้านอภิปรายเรื่องนี้ในสภาหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งถือเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้านที่สามารถทำได้ ส่วนรายละเอียดของแผนที่นั้น กระทรวงการต่างประเทศให้กรมแผนที่ทหารเป็นผู้ดูเพราะมีผู้เชียวชาญอยู่ และจะสามารถเปิดเผยได้เมื่อถึงเวลาอันสมควร แต่ตอนนี้ยังเป็นความลับทางราชการอยู่ ไม่มีอะไรปิดบังซ่อนเร้น เพียงแต่จะรอให้กัมพูชาลงนามในแถลงการณ์ร่วมและคณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณาก่อน อีกทั้งการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทจะไม่กระทบต่อการปักปันเขตแดนใดๆ ซึ่งได้เขียนไว้เป็นข้อตกลงร่วมกัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ 12.30 น. ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวว่า วันนี้กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)ถึงผลการเจรจาการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหารกับประเทศกัมพูชา ที่ได้มีการตกกันที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 22 —23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางและเห็นชอบในร่างคำแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชาและแผนที่ที่ทางประเทศกัมพูชาได้จัดทำขึ้น และส่งให้ไทย โดยในแผนที่ดังกล่าวนั้นจะไม่มีพื้นที่ตัวปราสาท หรือเขตพื้นที่ของตัวปราสาทที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทับซ้อน หรือรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ใด ๆ ของราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะทำให้ทั้งสองประเทศไม่เสียดินแดน และสามารถรักษาอธิปไตยของตัวเองได้ รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ซึ่งภายหลังจากที่ สมช.ได้อนุมัติแล้ว วันพรุ่งนี้กระทรวงการต่างประเทศจะได้นำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ซึ่งหากครม.เห็นชอบ ตนจะได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้ไปลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม โดยประเทศไทยจะได้แจ้งให้ทางประเทศกัมพูชาได้รับทราบ เพื่อประเทศกัมพูชาจะได้ส่งแผนที่ดังกล่าวไปให้กับคณะกรรมการมรดกโลก ทั้ง 21 ประเทศ เพื่อที่จะมีการได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 32 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ประเทศแคนนาดาในต้นเดือนกรกฎาคม ต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ทางทหารทั้งพล.อ.อนุพงษ์ เผ่นจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และพล.อ.วินัย ภัททิยะกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวขอบคุณและชื่นชมการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งการขอร้องไม่ให้การให้สัมภาษณ์ในเรื่องดังกล่าว เพราะเกรงอาจจะมีผลกระทบต่อการเมืองในกัมพูชาที่จะมีการเลือกตั้ง ส่วนกรณีที่ชาวกัมพูชาเข้ามาปลูกบ้านประมาณ 50 หลัง รวมทั้งวัด และตลาดในพื้นที่ทับซ้อนนั้น จะมีการแก้ไขโดยกัมพูชาและไทยต่อไป ทั้งนี้บ้าน วัด และตลาดนั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2543 ซึ่งเกิดขึ้นนานแล้ว อย่างไรก็ตามจะสามารถจัดการให้เรียบร้อยได้ภายใน 2 ปี ภายใต้แผนการบริหารจัดการร่วมกัน
ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถไปทำอะไรที่จะทำให้เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะทุกอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และพร้อมที่จะให้ฝ่ายค้านอภิปรายเรื่องนี้ในสภาหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งถือเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้านที่สามารถทำได้ ส่วนรายละเอียดของแผนที่นั้น กระทรวงการต่างประเทศให้กรมแผนที่ทหารเป็นผู้ดูเพราะมีผู้เชียวชาญอยู่ และจะสามารถเปิดเผยได้เมื่อถึงเวลาอันสมควร แต่ตอนนี้ยังเป็นความลับทางราชการอยู่ ไม่มีอะไรปิดบังซ่อนเร้น เพียงแต่จะรอให้กัมพูชาลงนามในแถลงการณ์ร่วมและคณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณาก่อน อีกทั้งการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทจะไม่กระทบต่อการปักปันเขตแดนใดๆ ซึ่งได้เขียนไว้เป็นข้อตกลงร่วมกัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--