นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุกรณีการรับสัญญาณออกอากาศช่อง ASTV ของเคเบิลทีวีขัดรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญาหลายมาตรา
วันนี้ (14 มิ.ย.) เวลา 11.10 น. นางสาววีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คุยนอกทำเนียบกับทีมโฆษกรัฐบาล” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า ขณะนี้มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เช่น เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์ที่ออกมาสนับสนุนแนวคิดของนายนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เชื่อว่าประชาธิปไตยควรมีการร้องเรียกในระบอบและวิถีทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามกฎหมายของบ้านเมือง นอกจากนี้ เอแบคโพลได้เปิดเผยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องดังกล่าว พบว่าประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดกว่าร้อยละ 66 ต้องการให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยุติการชุมนุม อย่างไรก็ตาม ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้องจากหลายฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมในครั้งนี้
ส่วนกรณีที่ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการด้วยวาจาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชี้แจงกับประชาชนในพื้นที่ที่มีเคเบิลทีวีหรือสถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับในจังหวัดที่รับเอาสัญญาณของช่อง ASTV ไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งถือเป็นการทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 85 ฐานโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด โดยผู้ว่าฯ จะต้องใช้มาตรการทางการปกครองขอร้องผู้ประกอบการเคเบิลทีวีให้ยุติการออกอากาศนั้น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การสั่งการดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากพบว่า ASTV ไปทำการออกอากาศและขัดต่อประมวลกฎหมายอาญาหลายมาตรา และที่สำคัญคือเป็นการบ่อยทำลายความมั่นคงของรัฐ อีกทั้งเป็นการพยายามโค่นล้มขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงต้องยุติการออกอากาศผ่านเคเบิลทีวี โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า วันนี้สิ่งที่รัฐบาลทำเป็นการทำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์เหมือนกับ 19 กันยายน 2549 แม้ว่าประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพในการรับฟังข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ ขณะเดียวกันประชาชนก็มีสิทธิเสรีภาพในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าสามารถที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นของตนเองไปยังสื่อสารมวลชนได้ แต่ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ระบุว่าบุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมิได้ จึงหมายความว่า เหตุการณ์ทางการเมืองก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 มีความเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกันโดยคนกลุ่มเดียวกัน แพร่ภาพกระจายเสียงทาง ASTV วิทยุชุมชนบางคลื่นแบบเดียวกัน จนนำไปสู่การยึดอำนาจและล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก่อให้เกิดการปกครองในระบอบเผด็จการทหารขึ้นมาในบ้านเมือง ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ระบุว่าบุคคลไม่มีสิทธิที่จะล้มล้างอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ หรือกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจนี้โดยวิธีอื่นใดต่าง ๆ นานาที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย
“การกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ และการเคลื่อนไหวเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง ASTV ก่อนเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 จนเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่เป็นการจุดชนวนให้เกิดระบอบเผด็จการ เกิดการยึดอำนาจกันในบ้านเมืองนี้ ถือเป็นการกระทำความผิดโดยสำเร็จ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ชัดเจน อีกทั้งเป็นการกระทำที่เรียกได้ว่าเป็นการกบฏต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะฉะนั้น วันนี้เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้อีก คนกลุ่มเดิม ช่องทางทางด้านสื่อช่องเดิม กำลังปฏิบัติการแบบเดิมเพื่อโค่นล้มขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เนื่องจากกลุ่มพันธมิตรฯ มีจุดยืนข้อเรียกร้องอย่างนี้ประกาศต่างกรรมต่างวาระบนเวทีและในแถลงการณ์ ดังนั้น หากรัฐบาลเลือกตั้งไม่มีการดำเนินการ ไม่มีการจัดการตามกรอบกฎหมาย ก็ไม่แน่ว่าบ้านเมืองนี้อาจจะถูกนำเข้าสู่ร่มเงาหรือเงามืดของอำนาจเผด็จการ ด้วยการยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
นอกจากนี้ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงผู้ที่ตั้งข้อสังเกตในการสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยระบุว่าเป็นการกระทำโดยใช้อำนาจรัฐในการคุกคามสื่อและแทรกแซงสื่อว่า รัฐบาลประชาธิปไตยไม่มีสิทธิไม่มีอำนาจในการไปคุกคามสื่อหรือแทรกแซงสื่อแต่อย่างใด รวมทั้งจุดยืนของรัฐบาลชุดนี้ไม่มีความต้องการหรือมุ่งหวังที่จะดำเนินการเช่นนั้น แต่กรณีของ ASTV นั้น ขอตั้งคำถามไปยังนักวิชาการ คณาจารย์ในแวดวงสื่อสารมวลชน และสื่อสารมวลชนทุกแขนงว่า บทบาทของ ASTV ตั้งแต่เคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จนถึงวันนี้ อธิบายได้ว่าเป็นบทบาทของสื่อมวลชนหรือไม่ และจุดยืนของ ASTV กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นเช่นใด การขับไล่รัฐบาลประชาธิปไตยแล้วก็วางเฉย พร้อมกับมีทีท่าสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการ ยังถือว่าเป็นการทำงานในฐานะสื่อมวลชน โดยเป็นรูปแบบเหมือนกับที่ผู้ใหญ่ปูชนียบุคคลในแวดวงสื่อมวลชนต้องการ หรือคาดหวังให้สื่อมวลชนไทยเป็นหรือไม่ วันนี้ ASTV เป็นสื่อมวลชนบริสุทธิ์ที่มีกระบวนการทำงานตรงไปตรงมา มีความเป็นกลาง มีความเที่ยงแท้เที่ยงธรรมที่จะสร้างความสงบสุขในบ้านเมือง ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (14 มิ.ย.) เวลา 11.10 น. นางสาววีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คุยนอกทำเนียบกับทีมโฆษกรัฐบาล” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า ขณะนี้มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เช่น เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสเซอร์แลนด์ที่ออกมาสนับสนุนแนวคิดของนายนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เชื่อว่าประชาธิปไตยควรมีการร้องเรียกในระบอบและวิถีทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามกฎหมายของบ้านเมือง นอกจากนี้ เอแบคโพลได้เปิดเผยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องดังกล่าว พบว่าประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดกว่าร้อยละ 66 ต้องการให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยุติการชุมนุม อย่างไรก็ตาม ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้องจากหลายฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมในครั้งนี้
ส่วนกรณีที่ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการด้วยวาจาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชี้แจงกับประชาชนในพื้นที่ที่มีเคเบิลทีวีหรือสถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับในจังหวัดที่รับเอาสัญญาณของช่อง ASTV ไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งถือเป็นการทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 85 ฐานโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด โดยผู้ว่าฯ จะต้องใช้มาตรการทางการปกครองขอร้องผู้ประกอบการเคเบิลทีวีให้ยุติการออกอากาศนั้น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การสั่งการดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากพบว่า ASTV ไปทำการออกอากาศและขัดต่อประมวลกฎหมายอาญาหลายมาตรา และที่สำคัญคือเป็นการบ่อยทำลายความมั่นคงของรัฐ อีกทั้งเป็นการพยายามโค่นล้มขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงต้องยุติการออกอากาศผ่านเคเบิลทีวี โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อไปว่า วันนี้สิ่งที่รัฐบาลทำเป็นการทำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์เหมือนกับ 19 กันยายน 2549 แม้ว่าประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพในการรับฟังข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ ขณะเดียวกันประชาชนก็มีสิทธิเสรีภาพในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าสามารถที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความคิดเห็นของตนเองไปยังสื่อสารมวลชนได้ แต่ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ระบุว่าบุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมิได้ จึงหมายความว่า เหตุการณ์ทางการเมืองก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 มีความเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกันโดยคนกลุ่มเดียวกัน แพร่ภาพกระจายเสียงทาง ASTV วิทยุชุมชนบางคลื่นแบบเดียวกัน จนนำไปสู่การยึดอำนาจและล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก่อให้เกิดการปกครองในระบอบเผด็จการทหารขึ้นมาในบ้านเมือง ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ระบุว่าบุคคลไม่มีสิทธิที่จะล้มล้างอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ หรือกระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจนี้โดยวิธีอื่นใดต่าง ๆ นานาที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย
“การกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ และการเคลื่อนไหวเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทาง ASTV ก่อนเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 จนเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่เป็นการจุดชนวนให้เกิดระบอบเผด็จการ เกิดการยึดอำนาจกันในบ้านเมืองนี้ ถือเป็นการกระทำความผิดโดยสำเร็จ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ชัดเจน อีกทั้งเป็นการกระทำที่เรียกได้ว่าเป็นการกบฏต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะฉะนั้น วันนี้เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้อีก คนกลุ่มเดิม ช่องทางทางด้านสื่อช่องเดิม กำลังปฏิบัติการแบบเดิมเพื่อโค่นล้มขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เนื่องจากกลุ่มพันธมิตรฯ มีจุดยืนข้อเรียกร้องอย่างนี้ประกาศต่างกรรมต่างวาระบนเวทีและในแถลงการณ์ ดังนั้น หากรัฐบาลเลือกตั้งไม่มีการดำเนินการ ไม่มีการจัดการตามกรอบกฎหมาย ก็ไม่แน่ว่าบ้านเมืองนี้อาจจะถูกนำเข้าสู่ร่มเงาหรือเงามืดของอำนาจเผด็จการ ด้วยการยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
นอกจากนี้ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงผู้ที่ตั้งข้อสังเกตในการสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยระบุว่าเป็นการกระทำโดยใช้อำนาจรัฐในการคุกคามสื่อและแทรกแซงสื่อว่า รัฐบาลประชาธิปไตยไม่มีสิทธิไม่มีอำนาจในการไปคุกคามสื่อหรือแทรกแซงสื่อแต่อย่างใด รวมทั้งจุดยืนของรัฐบาลชุดนี้ไม่มีความต้องการหรือมุ่งหวังที่จะดำเนินการเช่นนั้น แต่กรณีของ ASTV นั้น ขอตั้งคำถามไปยังนักวิชาการ คณาจารย์ในแวดวงสื่อสารมวลชน และสื่อสารมวลชนทุกแขนงว่า บทบาทของ ASTV ตั้งแต่เคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จนถึงวันนี้ อธิบายได้ว่าเป็นบทบาทของสื่อมวลชนหรือไม่ และจุดยืนของ ASTV กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นเช่นใด การขับไล่รัฐบาลประชาธิปไตยแล้วก็วางเฉย พร้อมกับมีทีท่าสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการ ยังถือว่าเป็นการทำงานในฐานะสื่อมวลชน โดยเป็นรูปแบบเหมือนกับที่ผู้ใหญ่ปูชนียบุคคลในแวดวงสื่อมวลชนต้องการ หรือคาดหวังให้สื่อมวลชนไทยเป็นหรือไม่ วันนี้ ASTV เป็นสื่อมวลชนบริสุทธิ์ที่มีกระบวนการทำงานตรงไปตรงมา มีความเป็นกลาง มีความเที่ยงแท้เที่ยงธรรมที่จะสร้างความสงบสุขในบ้านเมือง ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--